หน้าที่ (ต่อ) แก้ไข

การกที่มา (Ablative) เป็นการกที่บ่งบอกแหล่งที่มา แหล่งกำเนิด หรือเครื่องมือของกริยา จะใช้ร่วมกับบุพบท

กฎ: คำนามที่มีรูปเอกพจน์ การกประธาน ลงวิภัตติ -a จะมีรูปเอกพจน์ การกที่มา ลงวิภัตติด้วย -ā และมีรูปพหูพจน์ ลงวิภัตติด้วย -īs

การกอุทาน (Vocative) เป็นการกที่ใช้ระบุการอุทานชื่อ

กฎ: คำนามรูปเอกพจน์และพหูพจน์ การกประธาน ที่ลงท้ายด้วยวิภัตติ -a และ -ae จะมีรูปเดียวกันกับรูปเอกพจน์และพหูพจน์ การกอุทาน

บุพบท แก้ไข

คำบุพบทในภาษาละตินจะมีส่วนเติมเต็มได้สองการก คือ การกที่มา หรือการกกรรมตรง ขึ้นกับบุพบทแต่ละตัว

คำบุพบทต่อไปนี้มีส่วนเติมเต็มเป็นการกที่มา

บุพบท ความหมาย
ā, ab จาก (อังกฤษ: away from เช่น เขาอาศัยอยู่ห่างจากกรุงเทพ)
จาก (อังกฤษ: down from เช่น เขามาจากกรุงเทพ)
ē, ex จาก (อังกฤษ: out from เช่น เขาออกมาจากห้องเรียน)
cum ด้วย (เช่น กินข้าวด้วยซ้อม เดินทางด้วยรถ)
in ใน, บน (เช่น เขาอาศัยอยู่บนเกาะ)

คำคุณศัพท์ แก้ไข

คำคุณศัพท์ ใช้ขยายคำนามเพื่อบอกลักษณะเฉพาะ เช่น

ประโยค Puella parva bonam deam amat.
เด็กผู้หญิงตัวเล็กชอบเทพีที่ดี

คำว่า parva และ bonam เป็นคำคุณศัพท์ที่ขยาย puella และ deam ตามลำดับ

กฎ: คำคุณศัพท์จะผันตามพจน์และการกของคำนามที่มันขยาย

โปรดสังเกตประโยคต่อไปนี้

ประโยค Puella est parva.
เด็กผู้หญิงมีตัวเล็ก
ประโยค Puella parva bonam deam amat.
เด็กผู้หญิงตัวเล็กชอบเทพีที่ดี

จะสังเกตได้ว่า คำคุณศัพท์จะผันตามพจน์และการกของคำนาม ไม่ว่าจะขยายคำนาม หรือเป็นส่วนเติมเต็มของ copula

คำศัพท์ แก้ไข

คำคุณศัพท์ แก้ไข

  • bona ค. ดี (อังกฤษ: bonus)
  • grāta ค. น่าพึงพอใจ (อังกฤษ: great)
  • magna ค. ใหญ่, ยิ่งใหญ่ (อังกฤษ: magnitude)
  • mala ค. เลว, ไม่ดี (อังกฤษ: malaria)
  • parva ค. เล็ก, น้อย
  • pulchra ค. สวย, น่ารัก
  • sōla ค. โดดเดี่ยว (อังกฤษ: isolate)

คำนาม แก้ไข

  • ancilla น. สาวใช้
  • Jūlia น. จูเลีย

สรรพนาม แก้ไข

  • mea ส. ของฉัน
  • tua ส. ของท่าน
  • quid ส. อะไร? (รูปเอกพจน์ การกประธานและการกกรรมตรง)

กริยาวิเศษณ์ แก้ไข

  • cūr ว. ทำไม?
  • nōn ว. ไม่

Enclitics แก้ไข

  • -ne หรือเปล่า? เช่น amat (เขา/เธอ/มัน) ชอบ > amatne (เขา/เธอ/มัน) ชอบหรือเปล่า?

แบบทดสอบ แก้ไข

จงศึกษาบทสนทนาระหว่างกัลบากับจูเลีย แล้วแปลเป็นภาษาไทย

Jūlia: Quis, Galba, est Diāna?
Galba: Diāna, Jūlia, est pulchra dea lūnae et silvārum.
Jūlia: Cujus fīlia, Galba, est Diāna?
Galba: Lātōnae fīlia, Jūlia, est Diāna.
Jūlia: Quid Diāna portat?
Galba: Sagittās Diāna portat.
Jūlia: Cūr Diāna sagittās portat?
Galba: Diāna sagittās portat, Jūlia, quod malās ferās silvae magnae necat.
Jūlia: Amatne Lātōna fīliam?
Galba: Amat, et fīlia Lātōnam amat.
Jūlia: Quid fīlia tua parva portat?
Galba: Corōnās pulchrās fīlia mea parva portat.
Jūlia: Cui fīlia tua corōnās pulchrās dat?
Galba: Diānae corōnās dat.
Jūlia: Quis est cum fīliā tuā? Estne sōla?
Galba: Sōla nōn est; fīlia mea parva est cum ancillā meā.

ข้อสังเกตจากบทสนทนา

  • คำนามในการกอุทาน จะไม่ได้อยู่หน้าสุดของประโยคอย่างที่ภาษาไทยเป็น
  • การตอบคำถาม ใช่/ไม่ใช่ จะใช้การทวนกริยาซ้ำ เช่น คำถาม Pugnatne nauta? (นักเดินเรือกำลังต่อสู้หรือเปล่า) ถ้าจะตอบใช่ ก็ตอบเพียง Pugnat. ถ้าจะตอบไม่ใช่ ก็ตอบเพียง Nōn pugnat.