ภาษาพีเอชพี/เริ่มต้นกับ PHP/คู่มือพื้นฐาน/เริ่มเขียนเว็บด้วย PHP

เริ่มเขียนเว็บด้วย PHP แก้ไข

เริ่มจาก ให้คุณลองสร้างไฟล์ชื่อ hello.php และใส่มันไว้ใน ไดเร็คโทรี่หลักของ Webserver (DOCUMENT_ROOT) โดยมีโค๊ดดังต่อไปนี้:

ตัวอย่างที่ 2 – 1. สคริป์ PHP แรกของเรา : hello.php

    <html>
    <head>
    <title>PHP Test</title>
    </head>
    <body>
    <?php echo "<p>Hello World</p>"; ?>
    </body>
    </html>

หลังจากนั้น ใช้เบราว์เซอร์ของคุณเปิดไฟล์ผ่าน URL บนเว็บ โดย URL จะมีลงท้ายด้วย "/hello.php" ซึ่งเป็นชื่ออ้างอิงของไฟล์ที่เราเขียน. แต่หากว่าเราพัฒนาบนเครื่องของเรา ในกรณ๊นี้เราจะเป็นเว็บผ่าน URL เช่น http://localhost/hello.php หรือ http://127.0.0.1/hello.php แต่ในที่นี้ ขึ้นอยู่กับการปรับแต่งของ Webserver. เราจะขอนอกเรื่องนิกหน่อย, ลองดูค่า DocumentRoot และ ServerName ในไฟล์ปรับแต่งของ Webserver (เช่น Apache คือ httpd.conf). ถ้าทุกอย่างปรับแต่งเป็นปกติ ไฟล์ที่เราเขียนขึ้นจะถูกวิเคราะห์ ผ่าน PHP และจะแสดงผลออกมาทางบราวเซอร์ของคุณ ดังนี้ :

    <html>
     <head>
      <title>PHP Test</title>
     </head>
     <body>
     <p>Hello World</p>
     </body>
    </html>

อย่าลืมว่ามันไม่เหมือนกับสคริป์ CGI. ไฟล์ที่เราเขียนใน PHP ไม่จำเป้นต้องแปลงแล้วหรือใช้อะไรพิเศษอื่นๆ. ให้คิดว่า คุณกำลังเขียนไฟล์ HTML ธรรมดาที่เพิ่มรูปแบบ Tag ใหม่อันทรงพลัง ที่ทำให้คุณทำสิ่งต่างๆ ได้ง่ายดายขึ้น

ในโปรแกรมที่เราเขียนขึ้นอย่างง่ายๆ นี้ เป็นการเขียนขึ้นเพื่อทดลองสคริป์ง่ายๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ต้องใช้ PHP ในนี้ก็ได้. สิ่งที่มันทำก็คือแสดงคำว่า "Hello World" โดยใช้ฟังค์ชั่น echo().

ถ้าคุณพยายามทำตามตัวอย่างแล้ว แต่มันยังไม่แสดงผลอะไรให้คุณเลย, หรือมันขึ้นว่าให้คุณดาวน์โหลดไฟล์, หรือคุณเห็นเป็นไฟล์ทั้งหมดเป็นแบบตัวอักษร, นั้นคงหมายความว่า เซอร์เวอร์ของคุณยังไม่ได้เปิดใช้งาน PHP. ลองถาม administrator ของคุณ เพื่อให้เปิดใช้งาน ลองใช่ บท การติดตั้งเป็นคู่มือ. ถ้าคุณพัฒนาโปรแกรมบนเครื่อง, คุณลองอ่านในบท การติดตั้ง ดูเช่นกัน เพื่อที่จะทำให้คุณมั่นใจว่าทุกอย่างถูกปรับแต่งถูกต้องแล้ว. หากยังมีปัญหาอยู่, ลองใช้ชุดโปรแกรมติดตั่ง PHP ซึ่งเป้นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยคุณติดตั่งได้ถูกวิธี

จุดมุ่งหมายของตัวอย่างนี้คือ เพื่อที่จะแสดงรูปแบบแท็คพิเศษของ PHP. ในตัวอย่างเราใช้ <?php ในการบอกว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ แท็ค PHP.หลังจากนั้นเราใส่ฟังค์ชั่นของ PHP ลงไป แล้วหลังจากที่เราเขียน PHP เรียบร้อยแล้วเราก็เพิ่มแท็คปิด, ?>. คุณก็จะออกจากการใช้ PHP แล้วเข้าสู่ในโหมตการใช้ HTML ไฟล์ ตามแต่ที่คุณต้องการ.สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ลองอ่านดูในหมวดคู่มือใน รูปแบบ PHP พื้นฐาน.

คำแนะนำในการใช้ Text Editors: ขณะนี้มี text editors และ Integrated Development Environments (IDEs) มากมายให้คุณเลือกใช้สร้าง, แก้ไข และจัดการไฟล์ PHP. ซึ่งคุณสามารถลองค้นหาดูได้จาก รายชื่อ PHP Editors. ซึ่งในหน้านั้น ยังช่วยคุณในการเลือก editor, ลองเข้าชมในหน้านั้น ที่ด้านบนของหน้า จะมีส่วนที่ช่วยคุณค้นหาอยู่. ซึ่ง Editor บ้างตัวยังมีการ highlighting แท็คด้วย ซึ่งจะช่วยคุณได้มากทีเดียว.

คำแนะนำในการใช้ Word Processors: Word processors อย่างเช่น StarOffice Writer, Microsoft Word และ Abiword นั้น ไม่เหมะสมในการแก้ไขไฟล์ PHP สักเท่าไร. แต่ถ้าหากคุณต้องการใช้มันอยู่ คุณจะต้องมั่นใจว่า คุณบันทึกไฟล์ในรูปแบบ plain text ไม่เช่นนั้นแล้ว PHP จะไม่สามารถอ่านและแสดงผลออกมาได้

คำแนะนำในการใช้ Windows Notepad: ถ้าคุณใช้ Windows Notepad เขียนไฟล์ PHP เมื่อคุณบันทึกคุณจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ให้ลงท้ายเป็นนามสกุล .php (Notepad จะเพิ่มนามสกุล .txt ให้ไฟล์ที่บันทึกโดยอัตโนมัติ ซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนนามสกุลได้ ตามวิธีที่เรากำลังจะแนะนำ) เมื่อคุณบันทึกไฟล์และมีหน้าต่างขึ้นมาให้บันทึกชื่อไฟล์ เปลี่ยนชื่อไฟล์ในฟันหนู (เช่น "hello.php"). หรืออีกทางหนึ่ง ในหน้าต่าง 'Save' ตรง Drop-down Menu 'Text Document' เปลี่ยนค่าที่ตั้งอยู่เป็น "All Files". คุณจะสามารถใส่ชื่อไฟล์โดยไม่ต้องมีฟันหนู

เมื่อคุณสร้างไฟล์ PHP ที่ทำงานได้สำเร็จได้แล้ว, ตอนนี้เรามาเขียนสคริป์ PHP ที่ใช้กันบ่อยๆ! ลองสร้างไฟล์ที่เรียกฟังค์ชั่น phpinfo() แล้วคุณจะได้เห็นข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับระบบของคุณ และค่าติดตั้ง เช่น ตัวแปรตายตัว, Module PHP ที่กำลังถูกใช้งาน, และ ค่าแก้ไขปรับแต่งต่างๆ. ลองอ่านดูสักนิดและลองดูข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้

สารบัญ แก้ไข