ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/การอ่านออกเสียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Prachya.boonkwan (คุย | ส่วนร่วม)
Prachya.boonkwan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัดที่ 50:
 
* สระ a, i, u จะมีเสียงสั้น
** ทั้งนี้ สระ a เมื่ออยู่ท้ายคำ จะออกเสียงแผ่วเบาจนกลายเป็นเสียง /เออะ/ เช่น kumāra /กุ-'มา-เร่อะ/ เสียงสระ a ที่ท้ายคำนี้ออกเสียงแผ่วเบามากจนแทบจะหายไปในสำเนียงอินเดีย ดังนั้นในสำเนียงอินเดียจึงอ่าน kumāra ว่า /กุ-'มารฺ/ (ในภาษาฮินดีจะเขียนเพียง kumār ตามเสียงอ่าน)
* สระ ā, ī, ū จะมีเสียงยาว
* สระ e และ o จะมีเสียงกึ่งสั้นกึ่งยาว โดย
** จะออกเสียงสั้นหากนำหน้าพยัญชนะซ้อน เช่น mettā /'เม็ต-ตา/, khetta /'เค็ต-เตอะ/, koṭṭha /'ก็อฎ-เฐอะ/, sotthi /'ซ็อต-ทิ/
** จะออกเสียงยาวหากนำหน้าพยัญชนะเดี่ยว เช่น deva /'เด-เว่อะ/, senā /'เซ-นา/, loka /'โล-เกอะ/, odana /โอ-'ดะ-เนอะ/
 
==== เสียงพยัญชนะ ====