ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/การอ่านออกเสียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Prachya.boonkwan (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: == ตัวอักษร == ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษรใช้เป็นขอ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:14, 25 เมษายน 2551

ตัวอักษร

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษรใช้เป็นของตนเอง ภาษาบาลีจึงถูกบันทึกด้วยตัวอักษรของประเทศต่างๆ ที่ศึกษาภาษาบาลี เช่น ในอินเดียจะใช้ตัวอักษรเทวนาครี ในศรีลังกาจะใช้ตัวอักษรสิงหล ในประเทศพม่าจะใช้ตัวอักษรพม่า ในประเทศกัมพูชาใช้ตัวอักษรเขมร และในประเทศไทยใช้ตัวอักษรไทยและตัวอักษรขอมควบคู่กันไป ปัจจุบันนี้ภาษาบาลีเริ่มถูกบันทึกด้วยตัวอักษรโรมันมากขึ้น ตามความนิยมและศรัทธาของชาวตะวันตกที่มีต่อพระพุทธศาสนานั่นเอง ในตำราฉบับแปลเป็นภาษาไทยนี้จะใช้ตัวอักษรโรมันเป็นหลัก แต่ผู้เรียบเรียงจะกำกับตัวอักษรไทยและตัวอักษรเทวนาครีไว้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ศึกษาต่อไปในภายภาคหน้าด้วย

เสียงในภาษาบาลี

ในภาษาบาลีมีเสียงทั้งหมด 41 เสียง เป็นเสียงสระ 8 เสียง และเสียงพยัญชนะ 33 เสียง

เสียงสระ

เสียงสระมีดังต่อไปนี้

อักษรโรมัน a ā i ī u ū e o
อักษรไทย อา อิ อี อุ อู เอ โอ
อักษรเทวนาครี अा

เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะมีทั้งสิ้น 33 เสียง โดยจะแบ่งออกตามออกเป็นชุด (หรือที่เรียกว่า วรรค) ตามแหล่งกำเนิดเสียงได้ดังนี้

แหล่งกำเนิดเสียง เสียงพยัญชนะ
คอ k kh g gh
เพดานแข็ง c ch j jh ñ
เสียงม้วนลิ้น ṭh ḍh
ฟัน t th d dh n
ริมฝีปาก p ph b bh m
ที่อื่นๆ y r l v s h
อํ
अं