ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Prachya.boonkwan (คุย | ส่วนร่วม)
หนังสือ Pāḷi Primer ฉบับแปลเป็นภาษาไทย
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:45, 25 เมษายน 2551

วิกิตำราฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยการแปลและเรียบเรียงขึ้นจากหนังสือภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น (Pāḷi Primer) ของ ดร. ลิลี เด ซิลวา (Lily de Silva) ซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอนภาษาบาลีและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในโลกอินเตอร์เน็ต การสอนภาษาบาลีของ ดร. เด ซิลวา จะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นธรรมชาติตามพฤติกรรมการเรียนภาษาที่สองของมนุษย์ หนังสือภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้นของ ดร. เด ซิลวา นี้ได้รับการตีพิมพ์โดยสถาบันวิจัยการวิปัสสนา (Vipassanā Research Institute - http://www.vri.dhamma.org/) แห่งประเทศอินเดีย และเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตในฐานะ free e-text

Namo Tassa Bhagavato Arahato Sammāsambuddhassa.
नमो तस््स भगवतो अरहतो सम््मासम््बुद्ध्स््स।
ขอนอบน้อมกราบถวายอภิวาทแด่พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยิ่งแล้ว
ขอกราบสักการะพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยความเคารพสักการะอย่างสูงสุดยิ่งแห่งชีวิตนี้

ผู้เรียบเรียงพยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์เฉพาะทางด้านภาษาศาสตร์เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น อนึ่ง ภาษาบาลีที่ใช้ในวิกิตำราเล่มนี้จะเป็นตัวอักษรโรมันเพื่อความสะดวกต่อการอ่าน อย่างไรก็ตาม ผู้เรียบเรียงจะกำกับบาลีที่เขียนด้วยตัวอักษรไทยและตัวอักษรเทวนาครีลงไปด้วย

สารบัญ

  1. การอ่านออกเสียง
  2. บทที่ 1: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a ที่ทำหน้าที่เป็นประธาน รูปเอกพจน์และพหูพจน์. การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์.
  3. บทที่ 2: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์.
  4. บทที่ 3: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ รูปเอกพจน์และพหูพจน์.
  5. บทที่ 4: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์.
  6. บทที่ 5: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์.
  7. บทที่ 6: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์.
  8. บทที่ 7: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์.
  9. บทที่ 8: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a ที่ทำหน้าที่เป็นการเรียกขาน รูปเอกพจน์และพหูพจน์. การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วย -a.
  10. บทที่ 9: การสร้างคำนามจากกริยา.
  11. บทที่ 10: การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล.
  12. บทที่ 11: การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน. การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง.
  13. บทที่ 12: การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ.
  14. บทที่ 13: การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ).
  15. บทที่ 14: การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต.
  16. บทที่ 15: การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ.
  17. บทที่ 16: การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง.
  18. บทที่ 17: การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต.
  19. บทที่ 18: การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วย -ā.
  20. บทที่ 19: การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น.
  21. บทที่ 20: การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วย -i และ -ī.
  22. บทที่ 21: การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ). การผันคำนามเพศหญิง.
  23. บทที่ 22: การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต.
  24. บทที่ 23: การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ.
  25. บทที่ 24: การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วย -u.
  26. บทที่ 25: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -i.
  27. บทที่ 26: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -ī.
  28. บทที่ 27: การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -u และ -ū.
  29. บทที่ 28: การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ.
  30. บทที่ 29: การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วย -i และ -u.
  31. บทที่ 30: การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -vantu และ -mantu.
  32. บทที่ 31: การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ.
  33. บทที่ 32: การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม.
  34. บทที่ 33: รายการคำกริยาในภาษาบาลี. รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี.

เรียบเรียงจาก