ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กายอุปกรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Buddhi (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: == คำจำกัดความ == === ในแง่อุปกรณ์ทางการแพทย์ === กายอุปกรณ์ ห...
 
Buddhi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1:
 
== คำจำกัดความ ==
 
เส้น 21 ⟶ 20:
 
ส่วนคำว่า งานกายอุปกรณ์ ใช้ว่า Prosthetics and Orthotics (ตัวย่อ PO) หรือ Orthotics and Prosthetics (ตัวย่อ O&P) ก็ได้เช่นกัน
 
=== คำจำกัดความตามมาตรฐานสากล ===
 
องค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISO) ให้คำจำกัดความคำว่า Prosthesis และ Orthosis ไว้ในข้อกำหนดมาตรฐานเรื่องกายอุปกรณ์สำหรับขาว่า
 
*Prosthesis; Prosthetic device: Externally applied device used to replace wholly, or in part, an absent or deficient limb segment. (จากข้อ 2.1.1 ใน ISO 8549-1 : 1989)
*Orthosis; Orthotic device: Externally applied device used to modify the structural and functional characteristics of the neuro-muscular and skeletal systems. (จากข้อ 2.1.2 ใน ISO 8549-1 : 1989)
 
 
เส้น 34 ⟶ 40:
 
นอกเหนือไปจากนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่สั่งการรักษาและตรวจสอบกายอุปกรณ์กับผู้ป่วยคือ แพทย์ ซึ่งมักเป็น แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์
 
== การจำแนกประเภท ==
 
แบ่งออกได้เป็น
 
#กายอุปกรณ์เทียม (prosthesis)
#กายอุปกรณ์เสริม (orthosis)
 
*กายอุปกรณ์เทียม คืออุปกรณ์ต่างๆที่นำมาจากภายนอก(ร่างกาย) ซึ่งใช้ทดแทนอวัยวะหรือชิ้นส่วนของอวัยวะที่ขาดหายไป เช่น ขาเทียม แขนเทียม นิ้วมือเทียม เป็นต้น
**ในทางกายอุปกรณ์สำหรับแขนขา หมายถึง อุปกรณ์ใดๆก็ตามภายนอกร่างกาย ที่นำมาทดแทนส่วนของระยางค์(แขน-ขา)ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งไม่เคยมีอยู่เลยหรือขาดหายไป
*กายอุปกรณ์เสริม คือ กายอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เพื่อเสริมการทำหน้าที่ของอวัยวะที่มีปัญหาในการทำงาน (เช่น อ่อนแรง, เจ็บปวด, เสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น) อาจเรียกชื่อสามัญว่า อุปกรณ์เสริม, อุปกรณ์ดาม หรือที่ประคอง (Splint หรือ Brace) ก็ได้
**ในทางกายอุปกรณ์สำหรับแขนขา หมายถึง อุปกรณ์ใดๆก็ตามภายนอกร่างกาย ที่นำมาดัดแปลงลักษณะโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของระบบประสาท-กล้ามเนื้อและระบบค้ำจุนร่างกาย(กระดูก-กล้ามเนื้อ)ของร่างกาย
**เมื่อดูจากคำจำกัดความตาม ISO อุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนไหว (Mobility aids) ชนิดต่างๆ เช่น รถล้อเข็น (Wheelchair), ไม้เท้า (Cane), ไม้ค้ำยัน (Crutches) ก็จัดได้ว่าเป็นกายอุปกรณ์เสริมชนิดหนึ่งเช่นกัน แต่ตามปรกติในทางปฏิบัติ มักไม่ถูกรวมอยู่ในกายอุปกรณ์เสริม มักจัดเป็นอีกกลุ่มซึ่งแยกออกมา
 
 
== กายอุปกรณ์เทียมในงานกายอุปกรณ์ ==
 
แบ่งออกตามอวัยวะได้แก่
 
#กายอุปกรณ์สำหรับระยางค์ล่าง หรือเรียกง่ายๆว่า ขาเทียม
#กายอุปกรณ์เทียมสำหรับระยางค์บน หรือเรียกแบบง่ายว่า แขนเทียม
 
หมายเหตุ
*ระยางค์ล่าง (Lower extremity) หมายถึง ขา (ตั้งแต่ปลายนิ้วเท้าจนถึงข้อสะโพก) และกระดูกเชิงกราน (ทำหน้าที่เป็นโครงให้ขายึดกับแกนกลางร่างกายที่กระดูกสันหลัง)
*ระยางค์บน (Upper extremity) หมายถึง แขน (ตั้งแต่ปลายนิ้วมือจนถึงข้อไหล่) กระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก (ทำหน้าที่เป็นโครงให้ขายึดกับแกนกลางร่างกายที่กระดูกซี่โครง)
 
การเรียกชื่อชนิดต่างๆของแขนเทียมและขาเทียม สามารถทำได้ 2 แบบคือ
 
*เรียกตามตำแหน่งที่ระยางค์ล่างโดนตัด แบ่งได้เป็น (จากด้านล่างขึ้นมาด้านบน)
#สำหรับระยางค์ล่าง แบ่งได้เป็น
##กายอุปกรณ์เทียมทดแทนนิ้วเท้า (Toe prosthesis)
##กายอุปกรณ์เทียมทดแทนบางส่วนของเท้า (Partial foot prosthesis)
##ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อเท้า (Ankle disarticulation(AD) prosthesis)
##ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกหน้าแข้ง (Transtibial(TT) prosthesis)
##ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อเข่า (Knee disarticulation(KD) prosthesis)
##ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกต้นขา (Transfemoral(TF) prosthesis)
##ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อสะโพก (Hip disarticulation(HD) prosthesis)
##ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาและเอากระดูกเชิงกรานออกไปด้วย 1 ข้าง(Hemipelvectomy prosthesis)
#สำหรับระยางค์บน แบ่งได้เป็น
##กายอุปกรณ์เทียมทดแทนนิ้วมือ (Finger prosthesis)
##กายอุปกรณ์เทียมทดแทนบางส่วนของมือ (Partial hand prosthesis)
##แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อมือ (Wrist disarticulation(WD) prosthesis)
##แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกปลายแขน (Transradial(TR) prosthesis)
##แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อศอก (Elbow disarticulation(ED) prosthesis)
##แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกต้นแขน (Transhumeral(TH) prosthesis)
##แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกต้นแขนที่คอกระดูกต้นแขน (Humeral-neck amputation prosthesis)
##แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อไหล่ ("True" shoulder disarticulation prosthesis)
##แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนร่วมกับเอากระดูกสะบักและกระดูกไหปลาร้าออกไปด้วย 1 ข้าง(Forequater amputation prosthesis)
*เรียกโดยอ้างอิงจากตำแหน่งของข้อต่อ เป็นการแบ่งง่ายๆและเป็นระบบเดิมที่นิยมใช้กันมา ได้แก่
#ขาเทียม มักใช้ข้อเข่าเป็นจุดอ้างอิง โดย
##ใช้ ขาเทียมระดับใต้เข่า (Below-knee(BK) prosthesis) แทน ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกหน้าแข้ง
##ใช้ ขาเทียมระดับข้อเข่า (Through-knee(TK) prosthesis) แทน ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อเข่า
##ใช้ ขาเทียมระดับเหนือเข่า (Above-knee(AK) prosthesis) แทน ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกต้นขา
#แขนเทียม มักใช้ข้อศอกเป็นจุดอ้างอิง โดย
##ใช้ แขนเทียมระดับใต้ศอก (Below-elbow(BE) prosthesis) แทน ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกปลายแขน
##ใช้ แขนเทียมระดับข้อศอก (Through-elbow(TE) prosthesis) แทน ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อศอก
##ใช้ แขนเทียมระดับเหนือศอก (Above-elbow(AE) prosthesis) แทน ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกต้นแขน
**นอกจากนี้ สำหรับแขนเทียม ยังสามารถแบ่งตามคุณสมบัติได้แก่
***ประเภทสวยงาม (Cosmetic type) ประเภทนี้ไม่สามารถเคลื่อนไหวมือเทียม/ข้อมือ/ข้อศอก/ข้อไหล่ได้
***ประเภทใช้งานได้ (Functional type) สามารถเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของแขนเทียมได้ตามความต้องการของผู้พิการ โดยยังสามารถแบ่งลงไปได้ตามประเภทของการควบคุมการเคลื่อนไหวเป็น
****ควบคุมโดยการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body controlled)
****ควบคุมโดยใช้พลังงานภายนอก (External-power controlled) ซึ่งควบคุมการจ่ายไฟฟ้าด้วยปุ่มสวิตช์กด (Switch controlled) หรือ ตัวรับสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (Myoelectric)