ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กายอุปกรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Buddhi (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: == คำจำกัดความ == === ในแง่อุปกรณ์ทางการแพทย์ === กายอุปกรณ์ ห...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:32, 5 มีนาคม 2551

คำจำกัดความ

ในแง่อุปกรณ์ทางการแพทย์

กายอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆที่ใช้กับร่างกาย

ในความหมายที่ใช้โดยทั่วไปในปัจจุบัน มักจะหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหว เช่น แขนเทียม ขาเทียม อุปกรณ์ประคองหรือดามหลัง อุปกรณ์ดามมือ เป็นต้น แต่แท้จริงแล้วขอบเขตของกายอุปกรณ์ ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้กับร่างกายด้วย เช่น ลูกตาเทียม (Eye prosthesis) ข้อเข่าเทียมที่ใช้สำหรับผ่าตัดทดแทนเข่าเดิมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม (Knee prosthesis) เป็นต้น และอุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น รถล้อเข็น (Wheelchair) ไม้เท้า (Cane) ไม้ค้ำยัน (Crutches) เป็นต้น

ในแง่กลุ่มงาน

นอกจากจะใช้เรียกอุปกรณ์แล้ว กายอุปกรณ์ยังถูกใช้เป็นชื่อของกลุ่มงานอีกด้วย โดยกลุ่มงานกายอุปกรณ์ ทำหน้าที่ผลิต ประดิษฐ์ ดัดแปลง แก้ไข ซ่อมแซม กายอุปกรณ์ประเภทที่ช่วยเหลือการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย งานกายอุปกรณ์ต้องอาศัยทักษะฝีมือ ความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะบุคคลค่อนข้างสูง ร่วมกับความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัสดุศาสตร์ และเรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านกายวิภาคประยุกต์ ด้านชีวกลศาสตร์และการเคลื่อนไหวประยุกต์ด้วย

ในทางการแพทย์จัดให้กลุ่มงานกายอุปกรณ์เป็นส่วนหนึ่งงานเวชกรรมฟื้นฟู

การเรียกชื่อในภาษาอังกฤษ

ในสหรัฐฯ เรียกกายอุปกรณ์ที่เป็นอุปรณ์ว่า Orthosis and Prosthesis (ตัวย่อว่า O&P) แต่ในประเทศไทยและยุโรปนิยมเรียกว่า Prosthesis and Orthosis (ตัวย่อ PO)

อนึ่งคำว่า Prosthesis อาจเขียนว่า Prostheses ก็ได้ และคำว่า Orthosis ก็อาจเขียนว่า Orthoses ได้เช่นกัน

ส่วนคำว่า งานกายอุปกรณ์ ใช้ว่า Prosthetics and Orthotics (ตัวย่อ PO) หรือ Orthotics and Prosthetics (ตัวย่อ O&P) ก็ได้เช่นกัน


บุคลากรด้านกายอุปกรณ์

บุคลากรที่ทำหน้าที่ผลิตและดัดแปลงซ่อมแซมกายอุปกรณ์ มีชื่อเรียกในทางราชการว่า ช่างกายอุปกรณ์ (PO technician) ซึ่งใช้เรียกผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา และใช้คำว่า นักกายอุปกรณ์ (Prosthetist/Orthotist)หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาขึ้นไป

เหตุเพราะในอดีต หลักสูตรด้านกายอุปกรณ์ในประเทศไทยเหมือนกับอีกหลายๆหลักสูตร เช่น พยาบาล(เทคนิค), ครู (ประกาศนียบัตรชั้นสูง) เป็นต้นคือ ไม่มีการจัดเป็นหลักสูตรปริญญา แต่ในปัจจุบันมีการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี

ปัจจุบันในหลายๆประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ปัจจุบันยังมีหลักสูตรกายอุปกรณ์ทั้งระดับปริญญา (เรียน 4 ปี) และระดับอนุปริญญา (เรียน3 ปี) เช่นกัน

หากเป็นการผลิตกายอุปกรณ์เสริมสำหรับมือ และอุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนไหวของมือ มักเป็นหน้าที่ของ นักกิจกรรมบำบัด (Occupational therapist หรือ OT)

นอกเหนือไปจากนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่สั่งการรักษาและตรวจสอบกายอุปกรณ์กับผู้ป่วยคือ แพทย์ ซึ่งมักเป็น แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์