ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 6"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย "== การผันรูปคำนามเพศชาย อะ การันต์ ในสัมพันธการก == การผันรูปคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) ให้ทำหน้าที่<u>แสดงความเป็นเจ้าของ</u> มีหลักการดังนี้ {| cellpadding="5" style="border: 1px soli..."
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:55, 12 มกราคม 2565

การผันรูปคำนามเพศชาย อะ การันต์ ในสัมพันธการก

การผันรูปคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) ให้ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของ มีหลักการดังนี้

ความเป็นเจ้าของ หรือ สัมพันธการก ในภาษาบาลีถือเป็นวิภัตตินามลำดับที่หก (ฉัฏฐี) ภาษาอังกฤษเรียก genitive case
ตัวอย่างประโยคที่แสดงลักษณะความเป็นเจ้าของ เช่น บ้านของลุงลุง ทำหน้าที่เป็น "เจ้าของ" โดยมีคำว่า ของ เป็นตัวบ่ง
เมื่อแปลนามที่ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของจากบาลีเป็นไทย จะให้ความหมายว่า แห่ง... หรือ ของ... (หรือ เมื่อ... สำหรับอนาทร)


1. ถ้าต้องการให้เป็นเอกพจน์ ให้เติม -สฺส (-ssa) ลงที่ท้ายต้นเค้าคำนาม
นร
(nara
+ -สฺส
-ssa)
= นรสฺส
(narassa)
(แห่งผู้ชาย, ของผู้ชาย)
มาตุล
(mātula
+ -สฺส
-ssa)
= มาตุลสฺส
(mātulassa)
(แห่งลุง, ของลุง)
กสฺสก
(kassaka
+ -สฺส
-ssa)
= กสฺสกสฺส
(kassakassa)
(แห่งชาวนา, ของชาวนา)


2. ถ้าต้องการให้เป็นพหูพจน์ ให้เติม -านํ (-ānaṃ) ลงที่ท้ายต้นเค้าคำนาม
นร
(nara
+ -านํ
-ānaṃ)
= นรานํ
(narānaṃ)
(แห่งผู้ชายทั้งหลาย, ของพวกผู้ชาย)
มาตุล
(mātula
+ -านํ
-ānaṃ)
= มาตุลานํ
(mātulānaṃ)
(แห่งลุงทั้งหลาย, ของพวกลุง)
กสฺสก
(kassaka
+ -านํ
-ānaṃ)
= กสฺกานํ
(kassakānaṃ)
(แห่งชาวนาทั้งหลาย, ของพวกชาวนา)

การใช้

ภาษาบาลีจะวางเจ้าของไว้ข้างหน้าสิ่งที่เป็นของเจ้าของนั้น เพื่อให้เห็นภาพจะแสดงตัวอย่างดังนี้

นรสฺส ปุตฺโต
(narassa putto)
= บุตรของผู้ชาย (สังเกตทั้งประธานและเจ้าของเป็นเอกพจน์)
นรสฺส ปุตฺตา
(narassa puttā)
= บุตรทั้งหลายของผู้ชาย (สังเกตประธานเป็นพหูพจน์แต่เจ้าของเป็นเอกพจน์)
นรานํ ปุตฺตา
(narānaṃ puttā)
= บุตรทั้งหลายของผู้ชายทั้งหลาย (สังเกตทั้งประธานและเจ้าของเป็นพหูพจน์)

ตัวอย่างประโยค

เอกพจน์

นรสฺส ปุตฺโต ภตฺตํ ยาจติ.
(Narassa putto bhattaṃ yācati.)
= บุตรของผู้ชายขอข้าว

แปลตามคำ: นรสฺส (ของผู้ชาย), ปุตฺโต (อันบุตร), ภตฺตํ (ซึ่งข้าว), ยาจติ (ขอ)

อธิบายไวยากรณ์: นร → นรสฺส (เจ้าของ เอกพจน์), ปุตฺต → ปุตฺโต (ประธาน เอกพจน์), ภตฺต → ภตฺตํ (กรรมตรง เอกพจน์), ยาจติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามเอกพจน์ กาลปัจจุบัน)

มาตุลสฺส สหายโก รถํ อาหรติ.
(Mātulassa sahāyako rathaṃ āharati.)
= เพื่อนของลุงนำรถมา

แปลตามคำ: มาตุลสฺส (ของลุง), สหายโก (อันเพื่อน), รถํ (ซึ่งรถ/พาหนะ), อาหรติ (นำมา, พามา)

อธิบายไวยากรณ์: มาตุล → มาตุลสฺส (เจ้าของ เอกพจน์); สหายก → สหายโก (ประธาน เอกพจน์); รถ → รถํ (กรรมตรง เอกพจน์); อาหรติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามเอกพจน์ กาลปัจจุบัน)

กสฺสกสฺส สูกโร ทีปํ ธาวติ.
(Kassakassa sūkaro dīpaṃ dhāvati.)
= หมูของชาวนาวิ่งไปยังเกาะ

แปลตามคำ: กสฺสกสฺส (ของชาวนา), สูกโร (อันสุกร), ทีปํ (ยังเกาะ, สู่เกาะ), ธาวติ (วิ่ง)

อธิบายไวยากรณ์: กสฺสก → กสฺสกสฺส (เจ้าของ เอกพจน์); สูกร → สูกโร (ประธาน เอกพจน์); ทีป → ทีปํ (กรรมตรง เอกพจน์ ในที่นี้ทำหน้าที่เป็นจุดหมายของการเคลื่อนที่); ธาวติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามเอกพจน์ กาลปัจจุบัน)


พหูพจน์

นรานํ ปุตฺตา ภตฺตํ ยาจนฺติ.
(Narānaṃ puttā bhattaṃ yācanti.)
= บุตรทั้งหลายของผู้ชายทั้งหลายขอข้าว

แปลตามคำ: นรานํ (ของผู้ชายทั้งหลาย), ปุตฺตา (อันบุตรทั้งหลาย), ภตฺตํ (ซึ่งข้าว), ยาจนฺติ (ขอ)

อธิบายไวยากรณ์: นร → นรานํ (เจ้าของ พหูพจน์), ปุตฺต → ปุตฺตา (ประธาน พหูพจน์), ภตฺต → ภตฺตํ (กรรมตรง เอกพจน์), ยาจติ → ยาจนฺติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามพหูพจน์ กาลปัจจุบัน)

มาตุลานํ สหายกา รเถ อาหรนฺติ.
(Mātulānaṃ sahāyakā rathe āharanti.)
= เหล่าเพื่อน ๆ ของลุงทั้งหลายนำรถทั้งหลายมา

แปลตามคำ: มาตุลานํ (ของลุงทั้งหลาย), สหายกา (อันเพื่อนทั้งหลาย), รเถ (ซึ่งรถทั้งหลาย), อาหรนฺติ (ขอ)

อธิบายไวยากรณ์: มาตุล → มาตุลานํ (เจ้าของ พหูพจน์); สหายก → สหายกา (ประธาน พหูพจน์); รถ → รเถ (กรรมตรง พหูพจน์); อาหรติ → อาหรนฺติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามพหูพจน์ กาลปัจจุบัน)

กสฺสกานํ สูกรา ทีเป ธาวนฺติ.
(Kassakānaṃ sūkarā dīpe dhāvanti.)
= พวกหมูของชาวนาทั้งหลายวิ่งไปยังหมู่เกาะ

แปลตามคำ: กสฺสกานํ (ของชาวนาทั้งหลาย), สูกรา (อันสุกรทั้งหลาย), ทีเป (ยังหมู่เกาะ, สู่หมู่เกาะ), ธาวนฺติ (วิ่ง)

อธิบายไวยากรณ์: กสฺสก → กสฺสกานํ (เจ้าของ พหูพจน์); สูกร → สูกรา (ประธาน พหูพจน์); ทีป → ทีเป (กรรมตรง พหูพจน์ ในที่นี้ทำหน้าที่เป็นจุดหมายของการเคลื่อนที่); ธาวติ → ธาวนฺติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามพหูพจน์ กาลปัจจุบัน)

สารบัญ

บทนำ - การอ่านออกเสียง
บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี