ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิตำรา:ชั้นหนังสือ/ศาสนาและปรัชญา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Newton sa (คุย | ส่วนร่วม)
Darrine (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัดที่ 187:
วิกิตำราที่มีอยู่:
 
'''ปรัชญาไทย'''
(ไม่มี)
 
อารยธรรมไทย เริ่มจากมีนครรัฐเล็ก ๆ จำนวนมากในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนคาบสมุทร นครรัฐเหล่านี้อยู่ภายใต้อาณาจักรขอม ต่อมาได้แยกตัวเป็นอิสระ แรกสุดเป็นอาณาจักรสุโขทัย (ค.ศ. 1238) มีการคิดค้นอักษรไทย และพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก ต่อมามีอาณาจักรอยุธยา (ค.ศ. 1350) ซึ่งชนะอาณาจักรขอมได้และซึมซับวัฒนธรรมขอมไว้เป็นของตน จากนั้นก็รวบรวมอาณาจักรสุโขทัยและนครรัฐอื่น ๆ เข้ามาในอาณาจักร มีความเจริญด้านการศาสนา เกษตรกรรม การค้า ศิลปะและวัฒนธรรม แต่พ่ายสงครามกับอาณาจักรพุกาม 2 ครั้ง และฟื้นตัวในนามอาณาจักรสยาม (ค.ศ. 1767 ยุคธนบุรี, ค.ศ. 1782 ตั้งราชวงศ์จักรี ยุครัตนโกสินทร์) และเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน
 
กีรติ บุญเจือได้เสนอไว้ในหนังสือประวัติปรัชญาไทยฉบับบุกเบิกว่า คนไทยมีปรัชญาไทย (กีรติ บุญเจือ, 2546ซ) มีความอยากรู้อยากเรียนอยากฉลาด คิดตามที่รูปแบบภาษาเปิดทางให้คิด หากแต่รูปแบบภาษาต่างจากปรัชญาตะวันตกและอินเดียที่เน้นนิยาม ภาษาไทยไม่มีไวยากรณ์ มีแต่หลักภาษา ทำให้ภาษาไทยเป็นลักษณะของการบรรยาย มรดกของความรู้ในสังคมไทยเริ่มจากสมมติฐานที่ว่า “คนอารยันชอบนิยาม คนสยามชอบบรรยาย” (กีรติ บุญเจือ, 2546ซ, 10) แนวคิดทางปรัชญาในสังคมไทยนั้นไม่ได้อยู่ที่ความเป็นจริง (reality) เพราะคนไทยไม่คุ้นเคยกับ to be และ not to be ซึ่งเป็น คำกริยาหลักในภาษาอารยัน คนไทยจึงยอมรับการมีอยู่ (existence) ของสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดอย่างยินดี เช่น การรับหลักการอนัตตาของศาสนาพุทธก็ไม่เคยเกิดคำถามถึงความมีอยู่และนิยาม แต่พึงพอใจต่อการบรรยายสภาวะของนิพพานในฐานะของความสุขขั้นสูงสุดและความยิ่งใหญ่ของความว่าง (emptiness) นักคิดไทยมุ่งที่จะสร้างความเข้าใจอะไรได้ใหม่ ๆ จากของเดิมที่มีอยู่แล้ว และไม่มีเจตนาที่จะลบล้างของเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วเสนอขึ้นมาใหม่แทนของเดิม
 
ปรัชญาของไทยอาจแบ่งได้ตามยุคสมัยของไทยได้ว่าในยุคสุโขทัย (ค.ศ. 1238 - 1378) เน้นความกลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่ต่อต้านเทพ หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นไปตามรูปแบบปรัชญากระบวนทรรศน์ดึกดำบรรพ์ แต่การปกครองเน้นการทำตามกฎหมายและตัดสินความตามกฎหมาย แสดงว่ามีปัญญาชนที่ล่วงถึงกระบวนทรรศ์โบราณ ดังเช่นที่แสดงในสุภาษิตพระร่วง ได้มีคำกล่าวไว้ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ” ซึ่งแสดงญาณวิทยา ความจริงเปลี่ยนแปลงไม่ได้อันแสดงถึงอภิปรัชญา “น้ำขึ้นให้รีบตัก” แสดงถึงจริยศาสตร์ “ความรู้เป็นสิ่งไม่ตาย” แสดงปรัชญาการศึกษา และการแสดงอภิปรัชญาในเรื่อง “ขวัญ” ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างร่างกายกับวิญญาณ โดยที่คนไทยไม่ได้ให้คำนิยามใด ๆ แต่มีการใช้อย่างแพร่หลาย อาจตรงกับ ex-machina ในทางปรัชญาตะวันตก (กีรติ บุญเจือ, 2546ซ, 29) เมื่อรับศาสนาพุทธเข้ามาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงจึงได้เริ่มกระบวนทรรศน์ยุคกลาง เมื่ออาณาจักรอยุธยาครองความยิ่งใหญ่ (ค.ศ. 1350 - 1767) ปรัชญากระบวนทรรศน์ดึกดำบรรพ์ก็ยังคงแสดงอิทธิพลอย่างเด่นชัด เช่น การเป็นสมมติเทพของกษัตริย์ การมีอยู่ของหมอผีและไสยเวทย์ต่าง ๆ ขณะเดียวกันปรัชญากระบวนทรรศน์โบราณก็ได้ขยายตัวขึ้นและกระบวนทรรศน์ยุคกลางก็ได้ขยายตัวเช่นกันโดยเหล่าพระสงฆ์ให้ความสำคัญดังแนวคิดเรื่องจักรวาทวิทยาแบบพุทธผ่านบทสวดพระมาลัย และเรื่องพระเจ้าห้าร้อยชาติ สำหรับกระบวนทรรศน์นวยุคนั้นยังไม่ได้รับมาโดยรับเพียงแต่ความเจริญทางวัตถุเทคโนโลยีและความรู้ทางทหารเท่านั้น เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (ค.ศ. 1782 - ปัจจุบัน) ได้มีการเปิดประเทศรับวัฒนธรรมตะวันตกอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่ลัทธิพุทธิปัญญา (enlightenment movement) กำลังแพร่หลาย นักเรียนไทยที่กลับจากการศึกษาในยุโรปได้นำปรัชญากระบวนทรรศน์นวยุคกลับมาเผยแผ่ ร่วมกับการก่อตั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางปรัชญาในวัฒนธรรมไทย
 
ปรัชญาไทยสามารถพิจารณาออกได้ตามกระบวนทรรศน์ทางความคิด ดังนี้
1) กระบวนทรรศน์ที่ 1 ความคิดพื้นฐานของคนไทยในระบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่เน้นอำนาจลึกลับ คุณไสย เข้าทรง ดูฤกษ์ดูยาม
2) กระบวนทรรศน์ที่ 2 แนวคิดในการสร้างกฎภายหลังจากการรับพระพุทธศาสนาเข้ามาซึ่งต่างไปจากประเทศอื่นๆ สุภาษิตที่เน้นการเรียนให้รู้ และรู้ให้ดีก่อนปฏิบัติความคิดเรื่อง ใจ ขวัญ ในสมัยสุโขทัย
3) กระบวนทรรศน์ที่ 3 แนวคิดในทางพระพุทธศาสนาตามแบบสยามวงศ์ การยึดมั่นในกฎแห่งกรรม การเน้นเป้าหมายที่นิพพาน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จนถึงช่วงเสียกรุงครั้งที่ 1
4) กระบวนทรรศน์ที่ 4 แนวคิดที่รับมาจากตะวันตก แนวคิดปฏิฐานนิยม (positivism) ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และแนวคิดวิทยาศาสตร์ที่ได้เผยแพร่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน โดยมีนักคิดสำคัญ ได้แก่ หลวงวิจิตรวาทการ และสมัคร บุราวาศ เป็นต้น
5) กระบวนทรรศน์ที่ 5 แนวคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในกระแสโลกาภิวัตน์ แนวคิดจากผู้วิพากษ์ เช่น พุทธทาสภิกขุ, ศุลักษณ์ ศิวลักษณ์, ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช และผู้ชี้แนะต่าง ๆ โดยเฉพาะแนวคิดที่คนไทยได้ยึดถือเป็นแนวทางสำคัญก็คือพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งได้พระราชทานพระบรมราโชวาทไว้มากกว่าพระองค์ใด ๆ
 
อิทธิพลของปรัชญาศาสนาต่อความรู้ในสังคมไทย สังคมไทยให้ความสำคัญกับความรู้และเก็บสะสมความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้อย่างไทยซึ่งแตกต่างจากอารยธรรมหลัก คือ อินเดีย อารยธรรมไทยมีลักษณะพหุนิยมจากอิทธิพลทางศาสนาต่าง ๆ ร่วมด้วยทั้งศาสนาพุทธ อิสลาม และคริสต์ จึงต้องพิจารณามโนคติความรู้ที่แต่ละศาสนามีอยู่และส่งอิทธิพลต่อปรัชญาไทย ปรัชญาพุทธโดยเฉพาะพุทธศาสนาเถรวาทที่เน้นการสืบทอดพุทธศาสนาโดยการรักษาคำสอนดั้งเดิมให้คงอยู่อย่างซื่อตรงและครบถ้วนที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ (พระพรหมคุณาภรณ์; 2553) ให้สิทธิในการใช้ปัญญาแก่ผู้สนใจในการพิจารณาและนำไปวินิจฉัยว่าคำสอนเป็นอย่างไร พุทธศาสนาถือเป็นหลักการว่ามนุษย์จะมีชีวิตดีงามได้ก็ต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน เมื่อตัวเองมีความรู้ ความเข้าใจ ฝึกฝนพัฒนาตนเองดีแล้วก็จะได้ช่วยผู้อื่น โดยเป็นแหล่งที่คนภายนอกได้มาอาศัยในการที่จะได้รับความรู้ ความเข้าใจในการฝึกฝนพัฒนาตน (พระธรรมปิฎก, 2542) ศาสนาพุทธส่งเสริมการศึกษามวลชน (พระพรหมคุณาภรณ์, 2554) โดยให้วัดเป็นแหล่งการศึกษา และขยายเป็นการศึกษาระดับที่เรียกได้ว่ามหาวิทยาลัย เช่น นาลันทามหาวิหาร ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่เกิดจากการรวมตัวของวัด 6 วัดในกำแพงเดียวกันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 ดังนั้นเมื่อชาวไทยพุทธได้รับพุทธปรัชญาแล้วก็ประสมประสานกับปรัชญาไทยดั้งเดิม และนำเสนอใหม่อย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ การศึกษาเล่าเรียนเป็นเบื้องต้นของสังคมไทยพุทธตั้งแต่ในสมัยก่อน การบวชพระเมื่ออายุได้ 20 ปี ไม่เพียงเป็นการต่ออายุศาสนาตามความเชื่อเท่านั้นแต่ยังเป็นโอกาสให้การศึกษาเล่าเรียนเพื่อจะได้เป็นผู้มีความรู้และเข้ารับราชการได้ เมื่อรัฐบาลไทยได้จัดตั้งโรงเรียน คนไทยก็นิยมส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง และผลักดันให้มีการศึกษาสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
 
ปรัชญาจากศาสนาอิสลาสำหรับชาวไทยมุสลิมได้ดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาอิสลามซึ่งเน้นความสำคัญของความรู้ (ilm) โดยความรู้ที่สำคัญคือ การรู้ (the knowing) ในพระนามทั้ง 99 นามของพระเจ้า คัมภีร์อัลกุรอานแสดงว่าความรู้ได้มาจากพระเจ้า (2:239) และมีวิธีการได้มาซึ่งความรู้ที่หลากหลาย คำสอนสำคัญที่เน้นเรื่องความรู้ เช่น ศาสดามุฮัมมัด (Muhammad) ได้กล่าวไว้ว่า จงแสวงหาความรู้ตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมศพ (seek knowledge from the cradle to the grave) และ โดยแท้จริงเหล่ามนุษย์แห่งความรู้ก็คือผู้รับมรดกจากท่านศาสดา (verily the men of knowledge are the inheritors of the prophets) ชาวมุสลิมมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างในศาสนาอิสลามยืนอยู่บนพื้นฐานความรู้ และมีความเห็นว่าไม่มีความรู้ ไม่มีศาสนา ไร้ความรู้ ไร้ศาสนา (ศูนย์วิจัยและศึกษาอิสลามและพระพุทธศาสนา, 2554, 104) ชาวมุสลิมจึงมีความขวนขวายที่จะเรียนรู้และศึกษาในระดับสูง อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหาเรื่องโรงเรียนสอนศาสนาที่เน้นการสอนศาสนา และภาครัฐยังไม่รับรองหรือสนับสนุน
 
ปรัชญาจากศาสนาคริสต์สำหรับชาวไทยคริสต์มีความเชื่อตามศาสนาคริสต์ว่าความรู้เป็นของขวัญหนึ่งในเจ็ดของพระจิต (one of seven gifs of the holy spirit) ในคัมภีร์เดิม (old testament) ได้เขียนถึงต้นไม้แห่งความรู้ดีและชั่ว (tree of the knowledge of good and evil) ว่ามีความรู้ซึ่งสามารถแยกมนุษย์ออกจากพระเจ้าอยู่ในนั้น ซึ่งพระเจ้าได้ตรัสไว้ว่ามนุษย์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรา เมื่อรู้ดีและรู้ชั่ว (genesis, 3:22) ทำให้ชาวคริสต์ต่างเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ต่าง ๆ ขณะเดียวกันคณะมิชชันนารีต่าง ๆ ได้ก่อตั้งโรงเรียนจำนวนมากในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการ แสดงว่าชาวคริสต์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา จึงได้ส่งเสริมการเล่าเรียนของบุตรหลาน และมีจำนวนไม่น้อยที่ส่งเข้าศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ
 
จากหลักฐานประวัติศาสตร์ โดยแยกเป็น ในสมัยก่อน ร.5 มีบ้านและวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา บ้านเป็นสถานที่อบรมเฉพาะในวงศ์ตระกูลและลูกศิษย์ถ่ายทอดความรู้อาชีพ วังเป็นสถานที่รวมเอานักปราชญ์สาขาต่างๆ มาเป็นขุนนางจึงเป็นสถานที่ที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ส่วนวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนสำหรับผู้ชายไทยผ่านการบวชเรียนและยังสามารถแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ในด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ ในช่วงรัชกาลที่ 5 การศึกษาของประเทศไทยมีหลักฐานที่แสดงถึงการได้รับอิทธิพลจากกระบวนทรรศน์นวยุค จึงให้ความสำคัญกับการศึกษาแบบตะวันตก มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาในระดับต่าง ๆ การจัดตั้งห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ ขณะเดียวกันมีการกำหนดการศึกษาภาคบังคับไว้ที่การศึกษา 4 ปี ต่อมาก็ได้ขยายเป็น 6 ปี และ 9 ปี ตามลำดับ (พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545) การศึกษาหลังจากเกณฑ์พื้นฐานจึงถือเป็นทางเลือก อย่างไรก็ตามการศึกษาระดับปริญญาตรีได้ถูกสังคมยึดถือเป็นพื้นฐานสำคัญหนึ่งที่ผู้มีความรู้จะต้องจบให้ได้เพื่อโอกาสในการทำงานที่ดี สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยของไทยได้แบบอย่างมาจากตะวันตก ต่างก็สอนวิชาชีพชั้นสูง เพื่อที่ให้ผู้ที่จบออกไปรับราชการในยุคแรก เมื่อประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐต้องการกำลังคนอย่างมากเพื่อช่วยพัฒนาประเทศ สถาบันอุดมศึกษาได้จัดตั้งเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างมากมาย และแยกย่อยสาขาวิชาการเชิงลึกเกิดอาชีพเฉพาะที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละยุค จึงเป็นแหล่งผลิตกำลังคนระดับสูงตามความต้องการของรัฐเพื่อพัฒนาประเทศ ดังนั้น อาจมองได้ว่าสังคมไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับความรู้และการศึกษาเล่าเรียนอย่างมากเช่นเดียวกันกับประเทศต่างๆทั่วโลก แต่ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ทำให้คนไทยจำนวนมากหันหลังให้กับความรู้ท้องถิ่น และความรู้ทางศาสนา เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใหญ่ในปีพ.ศ. 2540 และวิกฤติการเมืองในปี พ.ศ. 2549 ได้ทำให้คนหันมาสนใจความรู้ท้องถิ่นเพื่อการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และคนส่วนหนึ่งให้ความสนใจศาสนายิ่งขึ้น เพราะเรื่องทางโลกนั้นวุ่นวาย สับสน ไม่มั่นคง จึงต้องการแสวงหาความสงบความสุขแท้ตามแนวทางในศาสนาต่าง ๆ เท่าที่มีในประเทศไทย
 
 
[[หมวดหมู่:ชั้นหนังสือ]]