ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรีฑา/กีฬาประเภทลาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1:
== กรีฑาประเภทลาน (Field ) ==
กรีฑาประเภทลาน ประกอบด้วยการวิ่งกระโดดไกล การวิ่งกระโดดสูง การทุ่มน้ำหนัก การขว้างจักร และการพุ่งแหลน แต่ละประเภทต้องอาศัยทักษะที่แตกต่างกัน โดยการวิ่งกระโดดไกล ระบบการทำงานของร่างกายระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อต้องมีความสัมพันธ์กัน จะช่วยให้สามารถบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างนิ่มนวลและถูกต้องตามจังหวะที่ต้องการ การวิ่งกระโดดสูงต้องรู้จักจังหวะการกระโดด การสปริงตัวขึ้น การลอยตัวในอากาศ และการลงสู่พื้นได้อย่างปลอดภัย การทุ่มลูกน้ำหนักต้องรู้จักการทรงตัว การกระโดดได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว และการใช้แรงส่งลูกน้ำหนักให้ไปไกลที่สุด การขว้างจักรต้องอาศัยการเหวี่ยงตัว และจังหวะที่ดีในการเหวี่ยงจักร รวมทั้งต้องมีความรวดเร็วว่องไว ประสาทและทักษะในการเคลื่อนไหวดี การพุ่งปล่อยแหลนออกไปในท่าที่ถูกต้องรู้จักจังหวะการวิ่ง การบังคับแหลนควรเรียนรู้ทำความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
 
=== การวิ่งกระโดดไกล (Long Jump ) ===
การวิ่งกระโดดไกลมีหลายแบบ เช่น การวิ่งกระโดดไกลแบบงอตัว แบบก้าวขาในอากาศแบบแอ่นตัว ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการวิ่งกระโดดไกลแบบงอตัว ซึ่งมีเทคนิคและกติกาดังนี้
 
บรรทัดที่ 25:
กติกาในการแข่งขันเบื้องต้น การทำผิดกติกาของผู้เข้าแข่งขัน มีดังนี้
 
ล้ำกระดานกระโดดด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ไม่ว่าจะกระโดดหรือไม่ก็ตาม
กระโดดจากนอกกระดานเริ่มนอกปลายสุดด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ว่าจะล้ำเส้นเริ่ม หรือก่อนถึงเส้นเริ่มในแนวของเส้นเริ่มที่ยื่นออกมา
ถูกพื้นภายนอกหลุมทรายก่อนที่จะลงสู่หลุมทราย
หลังจากการกระโดดสมบูรณ์แล้วเดินย้อนกลับมาทางกระดานเริ่ม ใช้ท่ากระโดดแบบลังกาหน้า
 
=== วิ่งกระโดดสูง (High Jump ) ===
จุดหมายของการวิ่งกระโดดสูงหรือการกระโดดสูง คือ การที่ผู้กระโดดวิ่งมาแล้วสามารถกระโดดขึ้นและลอยตัวข้ามไม้พาดที่อยู่สูงไปได้ โดยใช้ท่าที่เหมาะสมกับรูปร่าง ความถนัด และเป็นท่าที่ตนเองกระโดดได้สูงที่สุด ท่าทางที่ใช้ในการกระโดดสูงนี้มีหลายแบบซึ่งได้เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ โดยการคิดค้นหาเทคนิคและท่าทางการกระโดดขึ้นมา เพื่อให้ผู้กระโดดทำสถิติการกระโดดสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการเริ่มฝึกของนักเรียน ควรฝึกจากท่าง่าย ๆ ไปก่อน เพื่อให้รู้จักจังหวะการกระโดด รู้จักการสปริงตัวขึ้น รู้จักการลอยตัวในอากาศและการลงสู่พื้นได้อย่างปลอดภัย
 
บรรทัดที่ 56:
1.2.2 การกระโดด ขณะที่วิ่งก่อนกระโดด ช่วงก้าวสุดท้ายให้สั้นกว่าปกติเล็กน้อยแล้วตบเท้ากระโดดอย่างรวดเร็วผสานกับ
ความเร็วที่เร่งมา ปลายเท้าชี้ตรงไปยังจุดลงพื้น เท้าจะไม่ขนานกับไม้พาด แล้วเหวี่ยงขาอิสระท่อนบนให้สูงขนานกับพื้น
อย่างรวดเร็ว และคงท่าทางนั้นไว้ (1) พร้อมกับเหวี่ยงแขนทั้งสองขึ้นให้กำปั้นสูงในระดับศีรษะ และคงท่าทางนั้นไว้ (2) ข้อต่อ ข้อเท้า เข่าและสะโพกเหยียดสุดตัว
 
1.2.3 การลอยตัวข้ามไม้พาด เมื่อกระโดดขึ้นคงท่าทางของขาอิสระท่อนบนที่เหวี่ยงสูงขนานกับพื้น ขาข้างที่กระโดดเหยียบสุดตัว เหวี่ยงแขนซ้าย ซึ่งเป็นแขนข้ามไม้พาดไปก่อน แล้วแตะสะโพกขึ้นระหว่างช่วงที่สะโพกผ่านไม้พาด เมื่อสะโพกผ่านไม้พาดไปแล้ว ให้เก็บคางชิดหน้าอก และเหยียดขาทั้งสอง
บรรทัดที่ 68:
ไม่ได้กระโดดแต่ปล่อยให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายถูกพื้นรวมทั้งเบาะรองรับระหว่างเสากระโดดสูงทั้งสอง หรือภายนอกเสาที่อยู่หลังขอบหน้าของเสา อย่างไรก็ตามเมื่อนักกรีฑากระโดดขึ้นไปแล้วเท้าไปถูกเบาะ ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าไม่มีการได้เปรียบให้ถือว่าการกระโดดครั้งนั้นมีผลสมบูรณ์
 
=== ทุ่มลูกน้ำหนัก (Shot Putting ) ===
การทุ่มลูกน้ำหนักเป็นกรีฑาประเภทลานอีกชนิดหนึ่ง ผู้เล่นหรือผู้แข่งขันแต่ละคนจะต้องลูกน้ำหนักที่มีน้ำหนักเท่าๆกัน ภายในพื้นที่วงกลมที่ราบเรียบตามกติกากำหนดไว้ โดยทุ่มตรงออกไปข้างหน้า ผู้ที่ทุ่มได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ
 
1) เทคนิคในการทุ่มลูกน้ำหนักการทุ่มน้ำหนักมีทั้งการยืนอยู่กับที่ทุ่มลูกน้ำหนักและการเคลื่อนที่ทุ่มน้ำหนัก จะขอยกตัวอย่างการทุ่มน้ำหนักแบบอยู่กับที่ การยืนอยู่กับที่ทุ่มลูกน้ำหนักมีเทคนิคดังนี้
 
1.1) การถือลูกน้ำหนัก การถือลูกน้ำหนักที่ี่ถูกต้องตามวิธีการ มีส่วนช่วยในการทุ่มลูกน้ำหนักไปข้างหน้าได้ไกลขึ้น
 
1.2) การยืนเตรียมทุ่ม การแข่งขันทุ่มลูกน้ำหนักผู้ทุ่มต้องยืนและทุ่มภายในวงกลมตามกติกากำหนดไว้ สมมุติว่าทุ่มด้วยมือขวา เริ่มต้นด้วยการหยิบลูกน้ำหนักด้วยมือซ้าย(เพื่อสงวนกำลังของมือขวาไว้) วางลงบนมือขวาถือลูกน้ำหนักวางทาบที่ใต้ขากรรไกร คือระหว่างคอกับไหล่ หันฝ่ามือไปข้างหน้าใช้แก้มแนบกระชับไว้ตลอดแขนจนถึงปลายนิ้ว ไม่เกร็ง แบะข้อศอก ยืนหันข้างซ้ายให้ทิศทางที่จะทุ่มเหยียบแขนข้างที่ไม่ได้ทุ่มไปข้างหน้า มือสูงกว่าระดับไหล่ เท้าขวาแยกห่างจากเท้าซ้ายประมาณ 1 ช่วงไหล่ ปลายเท้าขนานกัน
บรรทัดที่ 99:
ลูกน้ำหนักที่ทุ่มไปแล้วต้องถือกลับมาที่วงกลม ห้ามทุ่มกลับมาคานกับหมา
 
=== ขว้างจักร (Throwing a Discus ) ===
การขว้างจักรเป็นกรีฑาประเภทลานอีกชนิดหนึ่ง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนต้องขว้างจักรออกจากพื้นที่ภายในวงกลมให้จักรไปตามทิศทางตามกติกากำหนดไว้ ผู้ที่ขว้างจักรได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ