ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบลนเดอร์ ทรีดี: จากมือใหม่สู่มือโปร/basic operator"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gumara (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Gumara (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1:
คำสั่งพื้นฐานที่ใช้สำหรับจัดการกับวัตถุสำหรับโปรแกรมสร้างโมเดล 3มิติ ทุกตัวควรจะมีก็คงจะหรีไม่พ้น Duplicate(คัดลอก) , Grab/Move(ย้าย) , Rotate(หมุน) และ Scaleเปลี่ยนขนาด และในบทนี้ผมจะพาคุณไปทดลองใช้คำสั่งพื้นฐานเหล่านี้ใน Blender กันครับ การจะใช้คำสั่งเหล่านี้กับออพเจคแต่ละชิ้น คุณจะสามารถกระทำกับมันได้ ทั้งในระดับของ Object mode และ Edit mode ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการจะทำอะไรกับวัตถุนั้นๆ
 
การจะใช้คำสั่งเหล่านี้กับออพเจคแต่ละชิ้น คุณจะสามารถกระทำกับมันได้ ทั้งในระดับของ Object mode และ Edit mode ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการจะทำอะไรกับวัตถุนั้นๆ
== Duplicate ==
[[ภาพ:Blender.operation_duplicate.png|thumb|Duplicate กล่องสี่เหลี่ยมออกมา]]
เส้น 19 ⟶ 17:
== เทคนิคเล็กๆ ==
=== ความสัมพันธ์ของมุมมอง ===
[[ภาพ:Blender.operation_rotate1.png|thumb|หัวลิงที่ยังไม่ได้หมุน , หมุนหัวลิง 180องศาจากมุมมองด้านบน และหมุนหัวลิง 180องศา จากมุมมองด้านหน้า (เรียงจากด้านซ้าย)]]
คำสั่งต่างๆเหล่านี้นั้น จะถูกกระทำสัมพันธ์กับมุมที่คุณมองมันอยู่ เช่นถ้าคุณ หมุนวัตถุ จากตอนที่มองด้านหน้า หรือหมุนจากตอนที่มองจากด้านบน จะให้ผลลัพธ์ในการหมุนที่แตกต่างกัน ฉะนั้นก่อนที่คุณจะสั่งคำสั่งใดๆ ให้คุณนึกเสียก่อนว่าต้องการให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างไร แล้วจึงเลือกมุมมองที่คุณจะกระทำกับวัตถุนั้นๆ เพราะงานที่คุณกำลังทำอยู่นั้น อยู่บนพื้นที่แบบ 3มิติ คุณต้องคำนึงไว้เสมอว่างานที่คุณทำนั้นสัมพันธ์อยู่กับแนวแกนด้วย
=== การเคลื่อนที่ของเมาส์ ===
การกระทำกับวัตถุด้วยคำสั่งพื้นฐานเหล่านี้ จะสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของเมาส์ ซึ่งจะเป็นระยะทางที่อาจไม่ลงตัวกับเส้นกริดของโปรแกรม แต่คุณสามารถทำการล๊อกให้การวางวัตถุแต่ละครั้งลงตรงกับแนวของเส้นกริดได้ โดยการกด Ctrl ค้างไว้ขณะที่ขยับเมาส์เพื่อ ย้าย , หมุน หรือกระทำการใดๆกับวัตถุ เพื่อให้วัตถุลงล๊อกกับเส้นกริดได้พอดี หรือคุณอาจกด Ctrl+Shift เพื่อให้ลงล๊อกของเส้นกริดย่อย แต่ถ้าคุณไม่ต้องการล๊อกวัตถุไว้กับเส้นกริด แต่ต้องให้การเคลื่อนที่ของเมาส์นุ่มนวลกว่าเดิม ให้คุณกด Shift ค้างไว้ วัตถุจะย้ายที่ในหน่วยที่ละเอียดกว่าเดิม แต่ถ้ามือคุณไม่นิ่งพอสำหรับการค่อยๆขยับเมาส์ ผมขอแนะนำให้คุณใช้คีย์บอร์ด ในการเคลื่อนย้ายแทน โดยการกดที่ ลูกศร ตามทิศทางที่ต้องการให้เคอเซอร์เลื่อนไป
=== แก้ไขรายละเอียดวัตถุ ===
[[ภาพ:Blender.basic_operation_monkey.png|thumb|ลิงปกติและลิงหลังจากถูกแก้ไขแล้ว]]
คำสั่งพื้นฐานเหล่านี้ สามารถใช้ได้ทั้งเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุ หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุ ขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณใช้มัน เช่น คุณอาจย้ายหัวลิงจากซ้ายไปขวาได้ด้วยคำสั่ง Grab/Move หรือคุณอาจทำให้ลิงกลายเป็นลิงหน้ายาวได้ด้วย การสั่ง Grab/Move ส่วนคางของมันลงมา คุณสามารถนำคำสั่งพื้นฐานเหล่านี้ปรับแก้รายละเอียดของวัตถุต่างๆ จนเกิดเป็นโมเดลที่มีรู้ร่างซับซ้อนได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับทักษะในการใช้งานโปรแกรมของคุณ สิ่งสำคัญคือคุณต้องใช้มัน