ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรีฑา/กีฬาประเภทลาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัดที่ 135:
การจับแหลนทั้งสองวิธีนี้ นิ้วทั้งหมดต้องไม่เกร็งจนแน่นเกินไป กำแหลนไว้เพียงหลวม ๆ จะกำแน่นเข้าเมื่อจะเริ่มพุ่งออกไปข้างหน้าเท่านั้น เมื่อจับแหลนตามวิธีที่ 1 หรือวิธีที่ 2 เรียบร้อยแล้วให้ยกแหลนขึ้นอยู่ในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะพาแหลนวิ่งหรือยืนพุ่งแหลนไปได้ จะเลือกจับยกแหลนแบบใดก็ได้ ตามที่ถนัด และสามารถบังคับแหลนไม่ให้ส่ายไปมา
 
1.21) การพุ่งแหลนยืนอยู่กับที่ การฝึกหัดพุ่งแหลนยืนอยู่กับที่เพื่อให้เกิดความชำนาญในการบังคับแหลน การฉุดแหลนและการปล่อยแหลนอย่างมีประสิทธิภาพ ครั้งแรกพุ่งใกล้ ๆ แล้วค่อย ๆ ไกลออกไปตามลำดับ โดยใช้กำลังส่งจากไหล่ ลำตัว เอว สะโพกและขา ตลอดจนการฝึกเปลี่ยนเท้า ซึ่งการพุ่งแหลนมีวิธีฝึก ดังนี้
 
1.21.1 การพุ่งแหลนลงดิน การฝึกพุ่งแหลนลงดิน เพื่อให้นักเรียนเกิดความชำนาญในการบังคับแหลน ให้เป็นไปตามทิศทางและเป้าหมายที่ต้องการ โดยยกหางแหลนสูงในลักษณะแทงปลา ครั้งแรกควรพุ่งแหลนไปข้างหน้าลงพื้นดินห่างจากตัวประมาณ 10 ฟุต เมื่อเกิดความชำนาญดีแล้วจึงทำเครื่องหมายห่างตัวออกไปเรื่อย ๆ โดยพุ่งแหลนให้ลงตรงที่หมายที่กำหนด
 
1.21.2 การพุ่งแหลนขึ้นอากาศ เมื่อจับแหลนตามวิธีที่ตนถนัดแล้ว ขณะที่จะเริ่มพุ่งแหลน ให้ทิ้งน้ำหนักตัวมาข้างหลังพร้อมกับเหยียดแขนข้างที่จับแหลนเกือบตึง บิดไหล่ เอวและสะโพกไปทางซ้าย พร้อมกับดึงแหลนเต็มแรง กลั้นหายใจพุ่งแหลนออกไปข้างหน้าทันที เมื่อพุ่งแหลนออกไปแล้วน้ำหนักตัวจะล้ำไปข้างหน้าให้รีบก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า เพื่อรับน้ำหนักของลำตัวพร้อมกับเหวี่ยงเท้าซ้ายไปข้างหลัง ตามองตามแหลนไป
 
1.21.3 มุมของการพุ่งแหลน ขณะดึงแหลนมาข้างหน้าให้แหลนผ่านไหล่และทำมุมขึ้นจากพื้นประมาณ 45 องศา ลักษณะของแหลนที่พุ่งไปในอากาศจะถูกบังคับด้วยปลายนิ้ว
ทั้งหมดและข้อมือไม่ให้แหลนเชิดเกินไป โดยสามารถบังคับให้หัวแลนลงสู่พื้นดินได้อย่างดี