ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส่วนที่ 2 เทคนิคและเรื่องควรรู้ในการปลูกบ้าน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
County sight see Departitioning ...Token-files
ค้อนปอนด์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 201:
นั่นก็คือ การรู้ถึงความต้องการเบื้องต้นก่อนว่า บ้านที่ต้องการนั้น
จะเป็นลักษณะใด ขนาดของตัวบ้าน จำนวนห้องนอน ห้องน้ำ
สิ่งประกอบอื่น ๆ ต้องการอย่างไร ทั้งนี้จะพิจารณาได้จากจ านวนจำนวน
สมาชิกในครอบครัว กิจกรรมความเป็นอยู่ส่วนตัว เช่น จำนวน
สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก 2 คน จำนวน
บรรทัดที่ 2,852:
# เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ทั้งผืน (ไม่น่าเปลี่ยนเฉพาะบางแผ่น เพราะโรคขี้กลากอาจจะหาไป แต่ทิ้งโรคเอนไว้แทนที่)
# ใช้สีพิเศษสำหรับทากระเบื้องทาทับลงไป (ติดตอร้านขายสีหรือบริษัทขายสีได้ แต่ต้องแน่ใจว่าเป็นสีชนิดใช้ทากระเบื้องหลังคาจริงๆ ) สีนี้ราคาค่อนข้างแพง จนราคาต่อตารางเมตรเกือบจะเท่ากับตัวกระเบื้องทีเดียว น่าจะใช้ในกรณีที่การเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาทำได้ยากจริงๆ เท่านั้น
 
== ดู “ฮวงจุ้ย” พื้นฐาน ==
 
ตอนนี้ศาสตร์การดู ''“ฮวงจุ้ย”'' กำลังเป็นที่นิยมกันมาก หากจับหลัก
ใหญ่ ๆ ที่ใช้ดูที่ดินแบบชาวบ้านก็มีอยู่ไม่กี่ประการซึ่งพอสรุปการ
ดูง่าย ๆ ได้ดังต่อไปนี้
 
# ที่ดินที่มีถนนวิ่งเข้าใส่...ไม่ดี
# ที่ดินรูปถุง (หน้าแคบหลังกว้าง) ..ดี หน้ากว้างหลังแคบ...ไม่ดี
# หน้าอิงน้ำหลังอิงเขา...มักจะดี (แต่มีสายน้ำพุงเข้าหา...ไม่ดี)
# ประตูหน้า ตรงกับประตูหลังโดยไม่มีอะไรกั้นขวาง....ไม่ดี
 
ส่วนรายละเอียดอย่างอื่น'''ห้ามจอดรถ''' (หรือเลี้ยงสัตว์ใต้ห้องนอน
ใหญ่)ห้ามมีแนวคานขวางบนเตียงนอน ฯลฯ นั้นเป็นความเชื่อ
โบราณที่ปัจจุบันอาจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หรือการหันทิศของ
อาคาร ตำแหน่งห้องน้ำ จำนวนช่องเปิด เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
และแล้วแต่ดวงหรือลักษณะของเจ้าของบ้านหาคุณเชื่อจริง ๆ คง
จะต้องไปหาซินแสโดยตรงแล้วละครับ
 
'''ปูปาเก้ไม้แดง เผื่อช่องว่าง'''ที่ผนังไว้บ้างก็ดี
ปาเก้ไม้แดงเป็นที่นิยมใช้กันมากพอ ๆ กับปาเก้ไม้มะค่าและปาเก้
ไม้สัก เพราะมีความแข็งแกร่งและสวยงาม แต่ปาเก้ไม้แดงจะมีการ
ยืดหดตัวมากกว่าไม้มะค่าและไม้สัก เวลาปูปาเก้ไม้แดงน่าจะเผื่อ
ช่องว่างระหว่างแผ่นไม้กับผนังไว้นิดหนึ่ง เผื่อยามมีการขยายตัว
ของเจ้าปากเก้ จะได้ไม่ดันจนผนังสวย ๆ ของคุณแตกร้าว (ไม่ต้อง
ห่วงความน่าเกลียดของช่องนั้น เพราะเราจะมีบัวเชิงผนังปกปิด
อยู่แล้ว)
 
'''ไม้ตะเคียนทอง....ต้องมีรอยมอดกินเสมอ'''
โดยทั่วไปสถาปนิกส่วนใหญ่จะแจ้งรายละเอียดของไม้วงกบประตู
หน้าต่างให้เป็นไม้อย่างดี ๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหายืดหดของวงกบ
(เพราะหากยืดหดได้ประตูจะบิด แอ่นงอ เปิดปิดไม่ได้หรือไม่
สะดวกภายหลัง) รายละเอียดชนิดของไม่ที่จะใช้มักบอกว่า “เป็นไม้
ที่ไม่เคยใช้มาก่อน ไม่มีมอดและแมลง เช่น ไม้เต็งไทยแท้ ไม้
มะค่า ไม้สัก หรือไม้ตะเคียนทอง” ซึ่งในชีวิตจริงเป็นเรื่องยาก
เพราะไม้ตะเคียนทอง (แท้) จะต้องมีร่องรอยของมอดป่าเจาะ
เป็นรูเล็กๆ เสมอ (หากไม่มีรอยมอดป่า 99.88% จะเป็นไม้ชนิด
อื่น ที่มีสีเหลือง ๆ คล้ายกับไม้ตะเคียนทอง ซึ่งมีการยืดหดสูงและ
ราคาถูกมาก) จึงขอแจ้งให้บรรดาสถาปนิกที่เขียนสเป็คแก้ไขเสีย
ส่วนผู้ตรวจงานก็น่าจะทราบไว้ด้วย เพราะเดี๋ยวนี้จะเด๋อตอน
ตรวจงานและต่อว่าผู้รับเหมา ขอรับ
หาฤกษ์ก่อสร้างง่ายๆ โดยตัวเอง
 
หากท่านเป็นผู้เชื่อโชคลาง (มากน้อยไม่ว่ากัน) และไม่มีเวลา
หรือไม่สะดวกในการตามหาพระอาจารย์ทั้งหลายมาให้ฤกษ์ให้ยาม
ขอแนะนำว่าท่านอาจจะหาฤกษ์ด้วยตนเองก็ได้ โดยหาซื้อหนังสือ
โหราศาสตร์ ประเภทสรุปรวบรวมฤกษ์ประจำวันทั้งปี ซึ่งหนังสือ
พวกนี้จะออกวางตลาดตอนปลายปีทุกปี ลองอ่านและหาฤกษ์ด้วย
ตัวเองได้ครับ
เมื่อได้หนังสือนั้นมาแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าจะอ่านไม่รู้เรื่อง เพราะ
ศัพท์แสงที่เขาเขียนไม่ยากเย็นอะไร นอกจากทราบว่าวันไหนดี
สำหรับการสร้างแล้วทานอาจจะมีความรู้อื่นๆ เพิ่มเติมด้วย (แต่อย่า
ไปหลงไหล มากนักก็คงจะดีครับ) เพราะงานก่อสร้างไม่สามารถที่
รอฤกษ์ได้มากมายนัก เดี๋ยวฝนก็ตกคอนกรีตก็ขาดตลาด คนงานก็
จะหยุด วุ่นวายมากพอแล้ว หากต้องมารอฤกษ์อีกอย่างสงสัยจะแย่
ครับ
ฤกษ์เสาเอกอาคารสมัยใหม่เขานับกันตรงไหน
ในสมัยโบราณ ฤกษ์ลงเสาเอกก็คือเวลาที่เรานำเสาหลักของบ้าน
หย่อนลงสู่หลุมที่ขุมเตรียมเอาไว้ จัดเสาให้ตั้งตรงและเอาไม้ค้ำยัน
ไว้ เอาดินกลบหลุมใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกินชั่วยาม แต่ปัจจุบันการ
สร้างอาคารสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไปมากมายเหลือเกิน อาคาร
ปัจจุบันต้องมีการตอกเสาเข็ม ต้องมีการเท ฐานราก – ทำตอม่อ
แล้วจึงจะขึ้นเสาโผล่พ้นดินได้ คนหลายคนจึงงง ๆว่าแล้วตอน
ไหนละที่เขาเรียกว่า “ ขึ้นเสาเอก” เพื่อจะเอาเวลาที่ดีที่สุดที่หามา
ได้ทำพิธีตอนนั้น...จากการสรุปมากกว่า 20 ปี สามารถสรุปความ
ของ “ ฤกษ์” ขึ้นเสาเอกได้ดังนี้
1. ยึดเวลาที่ตอก (เจาะ) เสาเข็มต้นแรก หรือ เวลาที่ตอก
(เจาะ) เสาเข็มต้นที่กำหนดให้เป็นเสาเอก (น่าจะเรียกว่า “ฤกษ์
เข็มเอก”)
2. ยึดเวลาที่เทคอนกรีตฐานราก (จะทำฐานรากพร้อมตอม่อ)
ต้นที่ถูกกำหนด ซึ่งน่าจะเรียกว่า “ตอม่อเอก” หรือ “เสาสั้นเอก”
3. เวลาที่มีการเทคอนกรีตหล่อเสาอาคารจริงๆ (ซึ่งอาจจะตั้ง
ครึ่งค่อนปีหลังจากเริ่มทำการก่อสร้าง) จึงขอให้ท่านทั้งหลายเลือก
โอกาสกันตามสบาย ๆ ตามฤกษ์สะดวกเถอะครับ
อยากมีสนามหญ้าสวยๆ ปลูกต้นไม้ออกดอก มีผล อย่าลืมทาง
ระบายน้ำ
หากคุณมีสนามหญ้า หรือที่ดินเพียงพอที่จะปลูกต้นไม้ใบหญ้า
เวลาคุณถมดินและปรับระดับดินขอให้อย่าลืมคำนึงถึงเสมอว่า
น้ำฝนที่ตกมาหนัก ๆ บนสนามของคุณ หรือไหลมาจากที่อื่นนั้น
จะไหลระบายไปทางไหน (น่าคำนึงถึงการเลือกชนิดดินที่ดูดซึม
– เก็บอมน้ำได้ด้วย) หากคุณลืมสิ่งนี้ไป ต้นไม้คุณจะเกิดอาการ
“รากเน่า” เนื่องเพราะรากแช่น้ำ (จากน้ำท่วมโดยไม่สามารถจะ
ระบายออกไปที่อื่นได้) ใบจะเหลือง ไม่ให้ดอกให้ผล และจะ
เสียชีวิต (ตาย) ไปในที่สุดครับ
 
จะปลูกต้นไม้ใหญ่ข้างบ้าน คุณคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้บ้างหรือ
ยัง
ตอนนี้ที่ดินแพงขึ้นทุกวัน ๆ บ้านแต่ละหลังเหลือพื้นที่สำหรับ
ปลูกต้นไม้นิดเดียว บังเอิญคุณก็อยากปลูกต้นไม้ใหญ่ ๆ ให้ร่มเงา
สดชื่นตามธรรมชาติจึงจำเป็นที่จะต้องปลูกต้นไม้ใหญ่ติดตัวบ้าน
ของคุณ... หากเป็นเช่นนั้น คุณต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้บ้างนะ
ครับ
1. อย่าเลือกต้นไม้ใหญ่ที่มีรากโต ๆ และเลื้อยไปทั่ว เช่น ต้น
จามจุรีต้นหางนกยูง เพราะรากจะดัน โครงสร้างบ้านคุณจน
พังทลายได้
2. ดูทิศทางลมมาว่าวิ่งเข้าปะทะบ้านคุณโดยตรง และรุนแรง
ในแนวที่คุณจะลงต้นไม้หรือไม่ เพราะคุณน่าจะเผื่อแนวที่
ต้นไม้ล้มไว้บ้างว่าไม่น่าจะล้มทับบ้านคุณ แต่หาไม่อยู่ในแนวลม
ก็น่าดัดต้นไม้บ้างว่าไม่ให้เอนเข้าหาตัวบ้านคุณ
3. คุณกลัวขโมยใช้ต้นไม้เป็นบันไดเข้าบ้านคุณหรือเปล่า
4. คุณเชื่อโชคลางคนไทยโบราณว่า “อย่าให้กิ่งไม้ใบไม้มา
เกาะแกะระรานที่ตัวบ้าน เพราะเป็นตัวกวาดทรัพย์สินเงินทอง
ออกไป” บ้างไหม
หากคุณแก้ไขความเชื่อ ความกลัว และเข้าใจ 4 สิ่งทีเอ่ยมาได้ ก็ปลูก
ได้เลยครับ
ปลูก “เฟื่องฟ้า” อย่างไรให้ออกดอก
คนกว่า 90% ที่ชอบสีสดใสของต้นเฟื่องฟ้าและหาซื้อจากร้านขาย
ต้นไม้มาประดับบ้าน ในขณะที่ซื้อมาดอกดกเต็มต้น พอเอาเข้า
บ้านมาปลูกแค่เดือนเดียว ดอกดก ๆ ก็ร่วงหมด แล้วก็ไม่โผล่ดอก
(แบบเป็นเรื่องเป็นราว) มาให้เห็นอีกเลย (นี่ก็ตั้งหลายปีแล้ว) จะ
ทำอย่างไรดี ...ลองทำแบบนี้ดูซิครับ
1. ย้ายต้นไม้ไปปลูกกลางแจ้ง
2. อย่าให้น้ำมาก
3. อย่าให้ดินมาก (ปลูกไว้ในกระถางจะดีกว่า)
4. ให้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสมาก ๆ (เป็นปุ๋ยที่มีสูตรตัวเลขกลาง
สูงๆ) เช่น 12 -22 - 20 หรือ 0 – 46 – 0 หรือ 15 – 22 – 18 เป็นต้น
5. บางคนเขาก็ใช้วิธีทรมานต้นไม้ และใช้วิธีที่ 4 ที่กล่าวมา
ตามเวลาที่สมควร คือ เอาต้นไม้วางไว้กลางแดด ไม่ให้น้ำต้นไม้
ประมาณ 5 -7 วันจนกระทั่งใบเฉาลงนิดนึง หลังจากนั้นให้ปุ๋ยที่
มีฟอสฟอรัสมาก ๆ และให้น้ำตามปกติต้นไม้ก็น่าจะออกดอกพอ
ดอกเต็มต้นและร่วงโรยหมด ก็เริ่มกลับมาทรมานต้นไม้ใหม่ (แต่
อย่าทำติดต่อกันเกิน 3 รอบ เพราะต้นไม้จะโทรมหมด)
แต่การปลูกต้นไม้เป็นเรื่องของมนุษย์กับธรรมชาติ เทคนิควิธีการ
มีหลายอย่างหลายวิธี บางคนก็บอกว่า ต้นเฟื่องฟ้านี้ใช้เพียงใส่ปุ๋ย
16 – 16 – 16 เรื่อย ๆ ทุกอาทิตย์ ก็จะออกดอกเป็นประจำทั้งปีอยู่
แล้วบางคนก็บอกให้ปุ๋ยละเอียดพ่นทางใบถึงจะประสบ
ความสำเร็จ ก็เห็นจะต้องลองกันไป แต่สำหรับผู้เขียนที่ได้ทดลอง
มา วิธีกรรม 5 ข้อ ข้างต้นดูจะประสบความสำเร็จ (บ้าง) มากที่สุด
ครับ
วางโถส้วมไว้ใกล้แนวคานโครงสร้าง ต้องระวังให้ดี
โถส้วมจะใช้งานได้สมบูรณ์ต่อเมื่อต้องมีท่อส้วมเพื่อนำสิ่งปฏิกูล
ไปสู่บ่อเกรอะ หากท่อส้วมถูกขวางทางด้วยโครงสร้าง จนไม่สามารถ
เดินทาง (หรือเดินทางไม่สะดวก) ไปสู่บ่อเกรอะได้ โถส้วมนั้นก็ใช้
การไม่ได้
การวางโถส้วมซ้อนทับที่แนวคานโครงสร้าง หรือยู่ใกล้แนวคาน
มากเกินไปขอให้ผู้ออกแบบ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาปนิกและ
มัณฑนากร) ตรวจสอบตรวจดูแบบโครงสร้างประกอบ เพื่อหา
แนวทางเดินท่อส้วมก้อนวางต าแหน่งโถส้วมนะครับ
“สายช าระ” ต้องอยู่ทางขวามือเสมอ
“สายช าระ” เป็นของใหม่และอุปกรณ์ใหม่ในห้องน้ าบ้านเรา
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี่เอง ช่างติดตั้งสุขภัณฑ์หรือสถาปนิกบาง
ท่านอาจยังไม่เคยชินเลยไปติดสายช าระอยู่ทางซ้ายมือ (ของผู้
ก าลังนั่งอยู่บนโถส้วม) ท าให้การใช้งานล าบาก – ขัดเขินมาก (...ลอง
หลับตาและวาดมโนภาพการใช้งานดู) เส้นผมบังภูเขานะครับ
ต่อเติมบ้านหรือสร้างอาคารใหม่ชิดอาคารเก่า....ระวังเข็มที่
ตอกใหม่ดันไป
ทิ่มแทงฐานรากเก่าเข้า
การต่อเติมอาคารที่ต้องแยกโครงสร้างเก่ากับโครงสร้างใหม่ออกจาก
กันแต่ต้องกาให้ตัวอาคารวางชิดกัน หรือการก่อสร้างอาคารใหม่ที่มี
เสาใหม่วางชิดเสาอาคารเก่า สิ่งที่น่าตรวจเช็คเบื้องแรกก่อนการ
ออกแบบโครงสร้างและต้องสอบเช็คอีกครั้งก่อนการตอกเสาเข็ม
อาคารใหม่ คือการหาแนวขอบเขตของฐานรากอาคารเดิมว่าแผ่
ออกมากว้างแค่ไหน เพราะถ้าออกแบบผิดพลาดหรือไม่มีการ
ตรวจสอบที่สถานที่ก่อสร้าง (อาจต้องขุดดินตรวจสอบ) เข็มอาคาร
ใหม่อาจตอกทิ่มลงบนฐานรากอาคารเก่า (ที่แผ่ออกมา) ...รับรองว่า
อาคารใหม่จะไม่ได้สร้าง แถมอาคารเก่าจะต้องได้สร้างใหม่ด้วยละ
ครับ
 
อย่าเสริมพื้นให้สูงขึ้นโดยวิธีเทคอนกรีตทับ
ท่านที่ต้องการดัดแปลงต่อเติมบ้านของตน โดยการดัดแปลงนั้น
บางส่วนทานต้องการเสริมความสูงของพื้นขึ้นมา (เช่นอยากให้
ห้องครัวที่ต่ ากว่าห้องทานข้าว ให้มีความสูงเท่า ๆ กัน) กรุณาอย่าเท
คอนกรีตเพื่อเสริมความหนา (ความสูง) เด็ดขาด เพราะคอนกรีตที่
ท่านเทอาจสูงขึ้นเพียง 10 ซม. นั้น หนักถึง 240 กิโลกรัม/ตาราง
เมตร (คอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตร หนักถึง 2.4 ตันครับ) ในขณะที่
วิศวกรโครงสร้างออกแบบให้พื้นนั้นรับน้ าหนักได้เพยง 150 กก./
ตร.ม....เทปุ๊บอาจพังปั๊บเลยครับ
แต่หากคุณต้องการเสริมระดับจริง ๆ ขอให้คิดถึงวัสดุที่เบา ๆ เช่น
ไม้หรืออิฐมอญ เป็นต้น ทางที่ดีและปลอดภัยที่สุดก็คือ ปรึกษา
สถาปนิก – วิศวกรหน่อยเถอะครับ
หากพื้นมีรอยร้าวจะทดสอบอย่างไร
ค าว่าพื้นในที่นี้หมายถึงโครงสร้างพื้นไม่ใช่วัสดุปูพื้น ส่วนรอยร้าว
ที่เกิดขึ้นก็คือ รอยร้าวที่เกิดขึ้นบนโครงร้างพื้น อันแสดงว่า
“โครงสร้างอาคารของคุณอาจก าลังมีปัญหา ” การจะเข้าไป
ตรวจสอบว่าท าไมถึงร้าวบางครั้งเป็นเรื่องยาก เพราะคอนกรีตถูก
หล่อและแข็งตัวแล้วไม่มีทางตรวจสอบองค์ประกอบภายเช่น ชนิด
ของเหล็ก – ขนาดของเหล็ก – จ านวนเหล็ก – การผูกเหล็ก – สภาพ
ของคอนกรีตได้
ถ้าท่านเป็นผู้ต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบรอยร้าวนั้น วิธีการที่
ดีที่สุดและทุกคนยอมรับที่สุด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของ
โครงการ) คือการทดสอบด้วยการเอาน้ าหนักจริงๆ ขึ้นไปวาง ซึ่ง
อาจท า (เอง) ได้3 วิธี คือ
1. ใช้ถุงปูนวางบนพื้นทดสอบ (หาง่ายเพราะปูนถุงแต่ละถุงมี
น้ าหนักก ากับไว้แน่นอน แต่ราคาอาจแพงเพราะปูนอาจเสียหาย
ได้
2. ใช้ถุงปุ๋ยบรรจุทรายวางบนพื้นทดสอบ (ยากขึ้นมานึดนึง
เพราะต้องเอาทรายใส่ถุงแล้วช่างน้ าหนักแต่ละถุงก่อน อาจเลอ
เทอะเพราะผงทรายหล่นร่วงบ้าง แต่ราคาถูกที่สุด)
3. กันของพื้นบริเวณที่จะทดสอบและใส่น้ าลงไป (ยากเพราะ
ต้องเตรียมการนาน แพงเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการก่อเสริม
(พร้อมฉาบปูนอย่างดี) แต่นอกจากจะทดสอบน้ าหนักแล้ว ยัง
ตรวจสอบการรั่วซึมได้อีก)
ลองเลือกวิธีที่เหมาะสมดู... แต่วาขอให้ผ่านวินิจฉัย – วิธีการ –
น้ าหนักที่จะทดสอบจากวิศวกรผู้ออกแบบก่อนเสมอ
เสาเอ็นทับหลัง ต้องเทด้วยคอนกรีต ไม่ใช่ปูนทรายนะ
ครับ
เสาเอ็นทับหลังนับได้ว่าเป็นส่วนของโครงสร้างส่วนหนึ่ง ที่ท า
หน้าที่บีบรัดรับน้ าหนักของผนังก่ออิฐ ดังนั้นเสาเอ็นทับหลังจึง
ต้องเป็น คอนกรีตเสริมเหล็กไม่ใช่ปูนทรายเสริมเหล็กที่ช่างปูน
หลายคนนิยมกัน (โดยเอาปูนทรายที่ใช้ก่ออิฐนั่นแหละมาเทเสา
เอ็นทับหลัง) ช่วย ๆ กันดูแลด้วยเถอะครับ ...เดี๋ยวใครเขามาเห็น
เข้า แล้วสั่งทุบผนังคุณทั้งตึกละก็ อย่าหาว่าไม่บอกกันลวงหน้า
ไม่ได้นะครับ
 
== ความรู้เผยแพร่เพื่อประชาชน ==