ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส่วนที่ 2 เทคนิคและเรื่องควรรู้ในการปลูกบ้าน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Preyroam (คุย | ส่วนร่วม)
ปุ้งกี๋ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1,507:
เอาไว้ก่อนนำไปติดตั้ง คือนำแผ่นฝ้ายิปซัมมาวางบนท่อระบาย
น้ำซีเมนต์ ในด้านทางขวาง แล้วนำแผ่นยิปซัมมาซ้อนกันหลาย
ๆ แผ่นตามความต้องการที่จะใช้ ประมาณ 1 หรือ 2 วัน แผ่น
ยิปซัมก็จะดัดโค้งด้วยน้ำหนักของตัวมันเอง ถ้าเราอยากได้โค้ง
ใหญ่ก็ใช้ท่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ ถ้าอยากได้โค้งเล็กก็ใช้ท่อซีเมนต์
ขนาดเล็ก
 
* '''ช่องแสงบนฝ้าใช้พลาสติกดีกว่ากระจก'''
บ้านที่นิยมเปิดช่องแสงบนหลังคาเพื่อให้แสงธรรมชาติ
ส่องลงมามักจะกรองแสงด้วยฝ้าที่เป็นกระจกฝ้า ซึ่งมีอันตรายมาก
ถ้าเกิดกระจกแตก หล่นลงมาควรเปลี่ยนเป็นแผ่นพลาสติกอะครี
ลิกจะดีกว่าซึ่งมีความยืดหยุ่นและน้ำหนักเบา ไม่แตกและไม่เป็น
อันตรายเมื่อหล่นลงมา อีกทั้งคุณภาพในการกรองแสงก็เทียบได้
พอ ๆ กัน ซ้ำยังมีลวดลายให้เลือกได้มากกว่า
 
* '''ทาน้ำยากันปลวกทุกครั้งที่โครงเคร่าเป็นไม้'''
เพื่อป้องกันปลวกมากัดกินไม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้
เนื้ออ่อนเพราะราคาถูก เหมาะแก่การทำโครงเคร่า เสียเงินใน
ครั้งแรกนิดหน่อย ซื้อน้ำยากันปลวก ดีกว่าที่จะมาเสียเงิน
มากมายในการรื้อฝ้าทิ้งในภายหลัง หลังจากที่ปลวกได้จัดการ
เรียบร้อยแล้วกับโครงเคร่าฝ้าเพดาน
 
* '''ในส่วนที่จะติดตั้งแอร์แบบแขวนหรือพัดลมเพดาน'''
ควรเตรียม
โครงเคร่าฝ้าให้แข็งแรง
เมื่อเรากำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งแอร์หรือพัดลมเพดาน
หรือโคมไฟช่อใหญ่ ๆ แล้ว ควรเผื่อโครงเคร่าที่แข็งแรงในส่วน
นั้นด้วย เผื่อเอาไว้สำหรับยึดสิ่งเหล่านั้นให้แน่นหนาไม่ให้หล่น
ลงมา โครงเคร่าที่ว่านี้อาจจะแยกอิสระจากโครงเคร่าหลักของฝ้า
เพดานเลยก็ยิ่งดี หรือใช้วิธีฝังตะขอเหล็กไว้ก่อนในขั้นตอนการเท
พื้นคอนกรีต
 
== ไฟฟ้า, ประปา ==
 
* '''การเดินท่อประปาและไฟฟ้า ระหว่างอาคารเก่ากับอาคารใหม่'''
เนื่องจากการทรุดตัวของอาคารต่างกัน อาคารเก่านั้นคงที่
แต่อาคารใหม่นั้นยังมีการทรุดตัวตามปกติ ดังนั้น
การวางท่อประปาที่อยู่ใต้พื้น ควรระวังปัญหาที่จะเกิดขึ้น
มีผลทำให้ท่อประปาแตกโดยที่เราไม่สามารถรู้ได้เลย ดังนั้น จึง
ควรเดินท่อประปาลอยหรือเดินนอกตัวบ้านเพื่อสามารถตรวจเช็ค
ได้
 
การเดินสายไฟฟ้า ควรเผื่อระยะของสายไฟในช่วงรอยต่อ
อาคารใหม่กับอาคารเก่าให้มากกว่าปกตินิดหน่อย เพื่อกันสายไฟตึง
หรือขาดซึ่งอันตรายมาก
 
* '''ฝังปลั๊กหรือสวิตซ์ในเสา'''
ในขั้นตอนของการฝังจะต้องสกัดบอกช่างให้ระวังเหล็ก
โครงสร้างในเสาจะขาด มีผลทำให้บ้านพังได้ ขั้นตอนการสกัดจึง
ต้องระมัดระวังหรือพยายามหลีกเลี่ยงโดยการฝังกล่องปลั๊กหรือสวิตซ์
ไว้ระหว่างเหล็กเส้นในขณะเทคอนกรีตลงในเสา หรือโดยการ
พอกเสาให้มีความหนามากขึ้นในงานตกแต่งภายใน
* '''อุปกรณ์สัญญาณเตือนไฟไหม้ ใช้กันอย่างไร'''
ปัจจุบันในเทศบัญญัติการก่อสร้างมีกำหนดให้ติดตั้ง
อุปกรณ์สัญญาณเตือนไฟไหม้และเครื่องดับเพลิงขนาดเล็ก ชั้น
ละ 1 จุดในบ้านพักอาศัย ซึ่งอุปกรณ์ที่ว่านี้มีอยู่ 2 ลักษณะการใช้
คือ
 
1. ''SMOKE DETECTOR'' หรือเครื่องดักจับควัน เมื่อมีควัน
ไฟอันเนื่องมาจากไฟไหม้ ปริมาณของควันจำนวนหนึ่งจะทำให้
เครื่องดักจับควันทำงานโดยการส่งเสียงเตือน
 
2. ''HEAT DETECTOR'' หรือเครื่องดักจับความร้อน เมื่อมี
ควันไฟแล้วก็จะมีความร้อนและเปลวไฟตามมา เมื่อมีความร้อน
ร้อนถึงจุดหนึ่งเครื่องดักจับความร้อนก็จะทำงานด้วยการส่งเสียง
เตือนเช่นกัน บ้านไหนจะเลือกอุปกรณ์แบบไหนตามความ
เหมาะสมก็เลือกใช้กันเองขอเพียงแต่ว่าเมื่อติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้
ควรหมั่นบำรุงรักษาอย่าเพียงแค่ติดตั้งเอาไว้เพียงเป็น
เครื่องประดับบ้านเท่านั้น!
* '''อย่าเดินสายโทรศัพท์กับสายไฟในท่อเดียวกัน'''
มักจะเกิดขึ้นสำหรับบ้านที่ชอบฝังสายเหล่านี้ในผนัง
ช่างไฟฟ้าบางคนมักลดต้นทุนของตัวเองด้วยการเดินเอาไว้ในท่อ
เดียวกัน และคิดว่าเจ้าของบ้านไม่รู้เรื่อง ซึ่งกว่าเจ้าของบ้านจะ
รู้ตัวก็สายไปแล้ว หลังจากใช้โทรศัพท์เพราะจะมีเสียงรบกวนอยู่
ตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องมาจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสายไฟไป
รบกวนการทำงานของสัญญาณโทรศัพท์ส่วนกรณีของสายอากาศ
โทรทัศน์ที่เกิดคลื่นรบกวนก็เกิดจากกรณีนี้เช่นเดียวกัน
 
* '''เพิ่มอีกนิดสำหรับเต้ารับไฟฟ้า และเบรกเกอร์สำหรับห้องน้ำ'''
เต้ารับไฟฟ้าทั่วไปส่วนใหญ่เราจะเห็นว่ามี 2 รู ควร
เปลี่ยนมาใช้แบบ 3 รูหรือ 3 ขา ซึ่งมีสายเดินเพิ่มขึ้นมา
สามารถป้องกันไฟฟ้ารั่วได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถใช้กับปลั๊ก
แบบขากลมและขาแบนได้ทั้ง 2 ชนิด
เต้ารับในห้องน้ำและโรงรถจะต้องป้องกันไฟฟ้าชอตและ
รั่วไว้เนื่องจากจะมีเรื่องน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยควรติดตั้งเบรกเกอร์
ตัดไฟขนาด 10 mA ไว้
 
* '''เปิดปิดแอร์บ่อย ๆ เครื่องจะเสียหรือไม่!?'''
ปัจจุบันระบบการทำงานของแอร์ออกแบบไว้เป็นอย่างดี
ในเรื่องของการใช้งานหลายรูปแบบ การปิด-เปิด เครื่องแอร์บ่อย
ๆจึงไม่ค่อยเป็นปัญหาไม่ว่าตัวเครื่องปล่อยแอร์หรือ
คอมเพรสเซอร์ที่ตั้งอยู่นอกตัวบ้าน เนื่องจากในการเปิดสวิตซ์
ทุกครั้งคอมเพรสเซอร์ที่จะเป็นตัวควบคุมการปล่อยน้ำยาจะไม่
ทำงานโดยทันทีโดยจะทิ้งระยะไว้ประมาณ 3นาที
คอมเพรสเซอร์จึงจะเริ่มทำงาน ดังนั้นการเปิด-ปิดแอร์บ่อย ๆ
จึงไม่ทำให้เครื่องแอร์เสีย
 
* '''ข้อจำกัดของแอร์แบบแยกส่วน'''
''(SPLIT TYPE)''
ถ้าเจ้าของบ้านมีความจำเป็นจะต้องตั้งเครื่องแอร์กับ
คอมเพรสเซอร์ห่างกันมาก มีผลทำให้ท่อน้ำยาแอร์จะยาวซึ่งจะ
ทำให้ไม่เย็นจำเป็นจะต้องเสียเงินเพิ่มในส่วนของขนาดท่อ
น้ำยาให้ใหญ่ขึ้นจากขนาดมาตรฐานเพื่อให้น้ำยาวิ่งได้สะดวก หาก
ยังไม่พอก็จำเป็นจะต้องเพิ่มขนาดของคอมเพรสเซอร์ซึ่งราคาก็
จะสูงตามมาอีกด้วยเช่นกัน ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงเป็นข้อจำกัดของ
แอร์แบบแยกส่วน
 
* '''ความสูงที่เหมาะสมของตำแหน่งปลั๊กและสวิตซ์ไฟ'''
ระดับมาตรฐานทั่วไปสำหรับอาคารพักอาศัย แบ่ง
มาตรฐานเป็น 2 ระดับคือ
 
1. '''ระดับ 30 เชนติเมตร''' จากพื้นห้อง ซึ่งจะเป็นระดับ
ของปลั๊กไฟที่ใช้ำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าหนัก เช่น เครื่องดูดฝุ่น
พัดลม และเพื่อเดินสายต่อไปยังเฟอร์นิเจอร์สำหรับตั้งโต๊ะ เช่น
โทรทัศน์ วิทยุ โคมไฟตั้งโต๊ะ เป็นต้น
 
2. '''ระดับ 110 เชนติเมตร''' จากพื้นห้อง เป็นความสะดวก
ในการใช้สวิตช์และปลั๊กไฟสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่าง เช่น ตู้
ทีวี
* '''ระยะห่างจากขอบกำแพงที่เหมาะสม'''
สำหรับตำแหน่งปลั๊กและ
สวิตช์ไฟ
 
โดยทั่วไปริมขอบกำแพงจะมีเสาเอ็นอยู่เสมอ ไม่ควรเจาะ
หรือฝังกล่องปลั๊กหรือสวิตช์ไว้ในแนวนี้คือขนาดของเสาเอ็น
ประมาณ 10 เชนติเมตรดังนั้น จึงควรเจาะหรือฝังให้เลยจาก
ช่วงนี้ออกไปอาจจะประมาณ 20 เชนติเมตร หรือ 30 เชนติ
เมตร ก็ได้
 
* '''ดาวไลท์'''
''(DOWN LIGHTING)''
คือการติดตั้งดวงไฟด้วยการฝังหลอดไฟฟ้าไว้ในเพดานโดย
มีกล่องครอบหรือเป็นกระบอกยาวยื่นออกมาสำหรับเป็นตัวบังคับ
ทิศทางของแสงให้ส่องไปยังจุดที่เราต้องการ จะส่องโดยตรงจาก
หลอดไฟ หรือส่องให้ตกกระทบกับผนังก่อนก็ได้ อุปกรณ์ของ
กล่องครอบส่วนใหญ่จะเป็นอลูมิเนียมมีหลายสี
 
ข้อดีของดาวไลท์ก็คือสามารถบังคับแสงให้ส่องตรงมายัง
พื้นห้องให้ความสว่างเฉพาะจุดที่ต้องการ หรือแก้ไขจุดที่บกพร่อง
ของห้อง โดยการพรางมุมนั้น ๆ ให้กลืนหายไปกับความมืด อีกทั้ง
ยังทำให้บรรยากาศภายในห้องเกิดความสวยงามบังคับความเข้ม
ของแสงได้ตามความต้องการ ดาวไลท์ไม่เหมาะกับห้องที่ต้องใช้
แสงสว่างมาก ๆ ในการทำงาน เช่น ห้องครัว หรือห้องเก็บของ
 
* '''หลอดไฟที่ใช้กับดาวไลท์'''
มีหลายประเภทแล้วแต่ใครจะเลือกใช้ตามความชอบและ
เหมาะสม
 
1. หลอดไฟธรรมดาหรือหลอดที่มีไส้ เป็นแบบขั้วหลอด
เกลียวและหลอดเขียว จะให้แสงที่เป็นสีเหลือง และมีความร้อน
มาก
 
2. ''DAY LIGHT'' เป็นหลอดแก้วสีฟ้าเข้ม ให้แสงนวลตา
คล้าย ๆ กับแสงจันทร์เหมาะสำหรับใช้อ่านหนังสือ
 
3. หลอดฮาโลเจน เป็นหลอดที่ให้แสงออกมาคล้ายกับ
หลอดไฟธรรมดา แต่ความร้อนจะน้อยกว่ามาก และโทนสีที่
อบอุ่นและนุ่มนวลกว่า สมารถใช้ร่วมกับ ''DIMMER'' เพื่อปรับความ
เข้มของแสงได้ด้วย
 
4. หลอดประหยัดไฟ คล้ายกับหลอดนีออนทั่วไปที่ย่อ
ขนาดลงมาให้เล็ก แต่ประสิทธิภาพของแสงและความสว่างจะ
ใกล้เคียงกัน และประหยัดไฟฟ้าเป็นอย่างมากเมือเปิดเป็น
เวลานาน ๆ
 
== หลังคา ==
 
* '''อลูมิเนียมฟอยด์กันความร้อน'''
เป็นวัสดุแผ่นบาง ๆ มีคุณสมบัติในการสะท้อนและไม่ดูด
ความร้อนมีขายเป็นม้วน ๆ นำมาปูบนโครงหลังคาบ้าน ก่อนที่
จะมุงกระเบื้องทับลงไปอีก อะลูมิเนียมฟอยด์นี้มีความเหนียวไม่
ขาดง่าย ๆ เมื่อเรามุงไปแล้วจะช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้
ส่วนหนึ่ง ทำให้ภายในบ้านเย็นสบาย
 
* '''ห้องใต้หลังคาไม่ใช่ห้องอบความร้อน'''
จัดเป็นส่วนใช้สอยที่มีประโยชน์ได้เป็นอย่างดี มี
บรรยากาศของความเป็นบ้านอันเนื่องมาจากความลาดเอียงของ
หลังคานั่นเองเหมาะสำหรับเป็นห้องนอนเล่น ห้องอ่านหนังสือ
ความที่ใกล้กับหลังคานี่เองที่ทำให้ได้รับแสงแดที่ร้อนแรงตลอด
ทั้งวันห้องจะอบ ถึงแม้จะแก้ไขโดยการติดแอร์ก็กลับจะสิ้นเปลือง
ค่าไฟฟ้าโดยใช่เหตุ ดังนั้นสิ่งแรกจึงควรเปลี่ยนสีของหลังคาให้
เป็นสีอ่อนจะได้ไม่ดูดความร้อนและใต้หลังคาปูแผ่นฟอยด์ ''(Foil)''
กันความร้อนของตราช้างอีกชั้นหนึ่งสำหรับฝ้าเพดานให้ตีห่างจาก
แนวกระเบื้องลงมาประมาณ 0.30 เมตร เพื่อเป็นช่องระบาย
ความร้อน ถ้าเป็นฝ้ายิปซัมให้ใช้แบบมีฟอยด์ติดกับยิปซัม ถ้า
เป็นฝ้าไม้ควรเป็นไม้ที่อบแห้งสนิทแล้วจากร้าน ผนังโดยรอบถ้า
ก่ออิฐแบบ 2 ชั้นได้ก็จะดีและที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีช่องระบาย
อากาศติดพัดลมดูดอากาศเพื่อไล่ความร้อนออกไป พื้นไม่ควรปูพรม
เพราะความร้อนจะทำให้พรมเสื่อมคุณภาพ มีกลิ่น ควรเป็น
พื้นที่ให้ความเย็น เช่น กระเบื้องเซรามิก โดยการปูทับพื้นด้วย
กาวซีเมนต์
 
* '''ช่องแสงบนหลังคา'''
''(SKY LIGHT)''
ช่องแสงบนหลังคาหรือบันไดในเมืองนอกมีประโยชน์
เพื่อให้แสงแดดส่องผ่านลงมา เพื่อนำความอบอุ่นเข้ามาในบ้าน
สำหรับบ้านเราความร้อนแรงของแสดแดดนั้นมีมาก ถ้าส่องผ่าน
''SKY LIGHT'' ลงมาโดยตรง ''(DIRECT)'' จะทำให้เพิ่มความร้อน
ภายในบ้านเข้าไปอีก ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยง ''SKY LIGHT'' ควรทำ
แบบให้แสงผ่านตกกระทบ ''(INDIRECT)'' กับส่วนอื่นแล้วจึงสะท้อน
ลงมา '''วิธีนี้จะดีกว่าจะทำให้ความร้อนสูญหายไปบางส่วน''' ช่วยให้
ได้แสงที่นุ่มนวลและไม่ร้อน หรือถ้าเป็นห้องกระจกใสทั้งผนัง
ควรหันผนังหรือห้องไปทางด้านทิศเหนือจะดีกว่า
 
* '''ไม้ปิดลอนมีไว้ทำไม'''
เดี๋ยวนี้ถ้าพูดว่าไม้ปิดลอน คงเชยไปแล้วเพราะเดี๋ยวนี้มี
แบบสำเร็จรูปเป็นแผ่นเหล็กแถมยังเจาะรูเล็ก ๆ ไว้สำหรับระยาย
อากาศได้ด้วย อีกทั้งยังมีขนาดบางสามารถซ่อนไว้หลังเชิงชายได้
อย่างสบาย ซึ่งผิดกับไม้ปิดลอนกระเบื้องสมัยก่อน ที่จะต้องฉลุ
ลายโค้งตามแบบของกระเบื้องมุงหลังคาและต้องวางไว้ด้านนอก
ของเชิงชาย แต่คุณสมบัติของทั้ง 2 ชนิด ก็คือ สำหรับปิดกั้นไว้
ไม่ให้นกหนูแมลงมุดเข้าไปทำรังในหลังคาหรือบนฝ้าเพดาน
* '''ปูนพอกสันหลังคาเดี๋ยวนี้เขาไม่ใช้แล้ว'''
เพราะในปัจจุบัน เขามีกระเบื้องครอบสันหลังคา
สำเร็จรูปวางต่อกันเป็นชิ้น ๆ สะดวกรวดเร็ว มีทั้งแบบครอบมุม
และปีกนก สวนแบบเดิมที่ใช้ปูนพอกนั้น มักจะมีปัญหาเกี่ยว
กันปูนร้าวและน้ำซึมเข้าไปหรือถ้ากระเบื้องแผนบนสุดที่ติดกับ
ครอบปูนแตกก็จะเปลี่ยนแผ่นใหม่ไม่ได้ จนกว่าจะทุบครอบปูน
ออกเสียก่อน
 
* '''ทำไมต้องตะเฆ่ราง ทำไมต้องตะเฆ่สัน'''
ตะเฆ่รางคือ สันของหลังคาที่เห็นเป็นรางหุบลงไป
ปัญหาที่มักเกิดกับตะเฆ่รางก็คือ การรั่ว อันเนื่องมากจากตะเฆ่ปิด
หรือรางน้ำในตะเฆ่บิดหรืออุดตัน หรือรางน้ำเป็นสนิมและมี
ขนาดเล็กเกินไป
 
'''ตะเฆ่สันคือ''' สันของหลังคา ที่เป็นสันขึ้นมา มักจะมี
กระเบื้องครอบมุมทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องน้ำรั่ว ตะเฆ่สันที่ดี
จะต้องเป็นสันตรงไม่บิดหรือโค้งตกท้องช้าง ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น
แสดงว่าโครงหลังคาบ้านคุณกำลังมีปัญหา อาจจะหักพังลงมาได้ให้
รีบแก้ไขโดยด่วน
 
* '''ลงทุนแพงหน่อยแต่อยู่ได้หลาย ๆ ปี รางน้ำตะเฆ่ราง'''
การลงทุนที่ว่านี้คือ การลงทุนซื้อรางน้ำที่จะวางในแนว
ของตะเฆ่รางเป็นแบบสเตนเลส ซึ่งมีราคาแพงกว่าอะลูมิเนียม
และสังกะสีชุบหลายเท่านัก แต่ความแข็งแกร่งและทนทานไม่
เป็นสนิมตลอดกาลนั้นเป็นสิ่งดีเพราะมักจะทำให้หลังคาบ้านไม่
รั่ว ฝ้าไม่บวม และสิ่งที่เสียหายจะตามมาอีกมากมาย จึงเชื่อได้ว่า
การลงทุนในสิ่งที่เห็นว่ามีประโยชน์มาก ๆ ในตอนต้น บั้นปลาย
ก็จะสบายไปจนตาย
 
* '''กระเบื้องรับจานดาวเทียม'''
ยุคของการสื่อสารด้วยดาวเทียม กลายเป็นเรื่องธรรมดา
สำหรับชาวบ้านโดยทั่วไป สามารถหาซื้อกันได้เหมือนของเล่น
แต่ปัญหาจะเกิดหลังจากจะนำมาติดตั้ง ยิ่งถ้าหลังคาเป็นแบบมุง
กระเบื้องหลังหลังแล้วแทบจะหมดสิทธิ์ในการเลือกตั้ง แต่ยังดีที่
ตอนนี้มีคนพยายามคิดกระเบื้องมุงหลังคาแบบพิเศษสามารถทำ
เป็นกระเบื้องขา 3 ขา ยื่นขึ้นมารับขาตั้งจานดาวเทียมอีกทั้งยัง
สามารถปรับมุขของจานดาวเทียมได้อีกด้วย หลังคาที่จะติดตั้งได้
นี้ไม่ค่อยมีความชันของหลังคาเกิน 45™ และควรติดตั้งในแนวของ
จันทันเพราะจะรับน้ำหนักจานดาวเทียมได้ดี และไม่ควรติดตั้ง
ในบริเวณที่อยู่ใกล้ชายคาโดยรอบจนเกินไป ควรห่างขึ้นมาสัก
ประมาณ 1.50 เซนติเมตร เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว 1 ใน 3
ขาของกระเบื้องที่เป็นฐานจะมรฐานหนึ่งที่ออกแบบไว้เป็นรู
สำหรับสอดใส่สายอากาศลงไป โดยที่น้ำไม่สามารถจะซึมผ่านรูนี้
เข้าไปได้
 
== เรื่องอื่น ๆ ==
 
* '''สายล่อฟ้า!?'''
บ้านที่มีความสูง 3 ถึง 4 ชั้นขึ้นไป ควรติดตั้งสายล่อฟ้า
เพื่อความปลอดภัยเพราะไม่เช่นนั้นสายอากาศหรือจานดาวเทียม
ที่มีอยู่บนหลังคำจะเป็นตัวรับฟ้าผ่าแทนหลังจากนั้น
เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลายภายในบ้านก็จะถึงคราวเปลี่ยนใหม่ก่อน
ถึงเวลาอันสมควรอย่างแน่นอน
 
* '''ถังเก็บน้ำของคู่บ้านที่ขาดไม่ได้ในยุคนี้'''
ถังเก็บน้ำมีอยู่ 3 แบบ คือ
 
'''1. ถังเก็บน้ำสเตนเลส''' จัดเป็นรูปทรงกระบอก มีหลาย
ขนาดจูได้ตั้งแต่ 750 ลิตร จนถึง 1,100 ลิตร มีคุณสมบัติไม่
เป็นสนิมและมีอายุการใช้งานก็ยาวนาน แถมยังไม่เกิดตะไคร่
ภายในถังอีกด้วย ถึงแม้จะขังน้ำเอาไว้นาน ๆ ถังก็จะไม่สึกกร่อน
ด้านบนตัวถังจะมีลูกลอยสามารถบังคับให้น้ำที่ไหลเข้าหยุดได้โดย
อัตโนมัติเมื่อได้ระดับน้ำที่ต้องการ
 
'''2. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส''' เป็นแบบเสริมแรงโดยการนำ
ไยแก้ว ''(Fiber Glass)'' ไปเสริมแรงกับพลาสติกที่ทำให้แข็งแรง
ยิ่งขึ้น สามารถรับแรงอัดได้เป็นอย่างดีอีกทั้งน้ำที่เก็บไว้ในถังก็
สะอาดปราศจากสารพิษและไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องของสนิมเลย
รูปทรงนั้นมีหลายแบบ เช่น ทรงกระบอก ทรงแอปเปิ้ล ทรง
กลม ส่วนของขนาดความจุนั้นมีตั้งแต่ 500 ลิตรไปจนถึง
4,000 ลิตร ถังน้ำชนิดนี้สามารถใช้ฝังดินได้ด้วย ซึ่งจะสะดวก
กว่าแบบเก่ามากที่ต้องมาหล่อทำเป็นถังคอนกรีตใต้ดิน ด้านบน
ตัวถังจะมีลูกลอยเช่นเดียวกันกับแบบถังน้ำสเตนเลส
 
'''3. ถังเก็บน้ำสังกะสี ทำมาจากเหล็กอาบสังกะสี''' รูปทรง
สี่เหลี่ยมจัตุรัสจุน้ำได้ 500 ลิตร ตัวถังมีรูให้น้ำเข้าและน้ำออก
บริเวณก้นถังมีความคงทนและแข็งแรงมาก ขอบถังโดยรอบจะถูก
เม้มริมด้วยน๊อตเป็นอย่างดี
 
* '''จะปูพรมต้องติดบัวพื้นก่อนหรือหลัง'''
ต้องติดบัวพื้นและทาสีให้เสร็จเสียก่อน เพราะพรมจะ
เป็นวัสดุปูพื้นชื้นสุดท้ายที่จะปู เนื่องจากมันจะเลอะได้ง่ายและ
ดักเก็บฝุ่น ถ้างานในส่วนอื่น ๆ ของบ้านยังไม่เสร็จ เช่น งานขัด
พื้นไม้ปาร์เกต์หรืองานทำสีบ้านก็ไม่ควรที่จะปูพรมที่พื้น จริง ๆ
แล้วขั้นตอนในการปูพรมนั้นง่ายมาก ใช้เวลาไม่นานนักก็ปูเสร็จ
และสามารถเข้าไปอยู่ไปใช้ได้เลยทันทีจึงไม่ใช่เรื่องยากอะไร ที่
เราจะติดตั้งบัวพื้นและมาสีให้เสร็จเสียก่อนที่จะปูพรม
 
* '''วิธีจบบัวพื้น (บัวเชิงผนัง)'''
บัวพื้นถ้าเราจบด้วยด้านสกัดก็จะเห็นเป็นเสี้ยนไม้ซึ่งไม่
สวยงามควรตัดบัวเป็นแนวเฉียง แล้วหักมุมให้ด้านสกัดหันลงสู่
พื้น เพียงเท่านี้ก็จะได้ตัวจบของบัวพื้นได้อย่างสวยงาม
 
* '''คุณลืมค่าใช้จ่ายที่ต้องให้กับหน่วยราชการหรือเปล่า'''
เช่นค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน ค่า
โอนที่ดิน ค่าขอเลขที่บ้าน ค่าตั้งมิเตอร์ไฟ และมิเตอร์น้ำใหม่
ค่าย้ายเสาไฟ กรณีที่มันตั้งขวางทางเข้า-ออก และอื่น ๆ อีก
มากมายที่จะต้องเกี่ยวข้องกับทางราชการ
 
* '''ค่าแบบของสถาปนิกและค่าพิมพ์เขียว'''
เจ้าของบ้านเวลาคิดงบประมาณของการก่อสร้างมักจะลืม
รวมค่าออกแบบของสถาปนิกลงไปด้วย หรือค่าพิมพ์เขียวแบบที่
เจ้าของบ้านมักขอจากสถาปนิกอยู่บ่อย ๆ นอกเหนือจากที่
สถาปนิกจะต้องให้กับเจ้าของบ้านอยู่แล้วประมาณ 7-8 ชุด
* '''ค่าน้ำค่าไฟของเรือนพักคนงาน'''
หน่วยงานก่อสร้างมักจะมีเรือนพักคนงานมากินมาอยู่ด้วย
จำเป็นจะต้องใช้ไฟใช้น้ำเป็นจำนวนมาก เจ้าของบ้านควรคุยกับ
ผู้รับเหมามาให้ชัดเจนเสียก่อนว่าใครจะเป็นคนออกเงินในส่วน
นี้ เพราะผู้รับเหมาบางรายชอบพาคนงานหนีไปก่อนที่งาน
ก่อสร้างจะเสร็จ
 
* '''ค่าไม้แบบ'''
เจ้าของบ้านควรตกลงกับผู้รับเหมาอีกเช่นกันว่า ใครจะ
เป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้ ผู้รับเหมามักจะคิดเพิ่มจากในสัญญา
เจ้าของบ้านโปรดระวังให้ดี
 
* '''เดินสายไฟลอยกับเดินสายในผนังต่างกันอย่างไร'''
ก่อนฉาบปูนบนผนังตัดสินใจให้แน่นอนเสียก่อนว่าจะ
เดินสายไฟแบบไหน เพราะราคาของเดินในผนังจะแพงกว่าเป็น
เท่าตัว หรือจะมาตัดสินใจตอนฉาบปูนไปแล้ว แล้วจะมานั่งสกัด
ผนังกันใหม่ย่อมจะเสียเวลาและยุ่งยากเป็นทวีคูณและผลที่
ตามมาก็คือ รอยฉาบผนังใหม่บนรอยสกัดกับผนังที่ฉาบไปแล้วไม่
มีวันที่จะกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันไปได้อย่างแน่นอน
 
* '''มุ้งลวด เหล็กดัด รางน้ำ'''
สิ่งที่กล่าวมานี้อย่ามองข้ามว่าไม่สำคัญ ปัจจุบันอาจจะ
ปฏิเสธไม่ได้ถ้าไม่ให้มี ดูจะเป็นส่วนหนึ่งสำหรับบ้านเมืองร้อน
ที่ยุงชุม พอ ๆ กับขโมยที่เต็มบ้านเต็มเมือง ดังนั้นจึงควรเจียด
เงินส่วนหนึ่งหรือเตรียมเงินเอาไว้แต่เนิ่น ๆ สำหรับงานในส่วน
นี้ด้วยก็แล้วกัน
 
* '''ท่อน้ำมีกี่แบบ'''
''(P.V.C)''
แบ่งออกเป็น 3 แบบ โดยใช้สีเป็นตัวกำหนดตาม
ลักษณะของการใช้งาน คือ
 
'''สีเทา''' เป็นท่อที่มีความแข็งแรงน้อยที่สุด บางที่สุด
เหมาะที่จะใช้กับงานที่มีแรงดันในท่อไม่มาก เช่น นำไปใช้
เป็นท่อน้ำทิ้งหรือท่ออากาศ
 
'''สีฟ้า''' เป็นท่อที่มีความแข็งแรงเพิ่มมาอีกระดับหนึ่ง และ
สามารถที่จะใช้กับงานที่มีแรงดันในท่อมากขึ้น เช่น ท่อน้ำที่มี
ปั๊มน้ำเป็นแรงขันดัน
 
'''สีเหลือง''' เป็นท่อที่มีความแข็งแรงมากที่สุด ใช้สำหรับ
งานร้อยสายต่าง ๆ เช่น สายไฟ สายโทรศัพท์ สายทีวี หรือจะฝัง
ในกำแพงหรือในส่วนของโครงสร้างที่เรามองไม่เห็นหรือเปลี่ยน
ได้ยากลำบาก
 
===== ข้อคิดที่สำคัญก่อนลงมือต่อเติมบ้าน =====
 
บ้านเหมือนสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่จะต้องเติบโตและแก่เฒ่า
ชราไป ดังนั้น การต่อเติมบ้านเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้ มี
ข้อคิดที่น่าสนใจว่าเมื่อลงมือต่อเติมบ้านจะทำอย่างไร
 
- ถามตัวเองก่อนว่ามีเงินหรือเปล่า หากมีงบประมาณที่
แน่นอน จงวางแผนที่จะใช้เงินนั้นเพียง 70% ของเงินที่มี
เพราะการต่อเติมบ้าน อาจพบกับปัญหาการบานปลายได้ง่ายกว่า
การสร้างบ้านใหม่
 
- ''ตรวจเช็คว่าการต่อเติมนั้นผิดกฎหมายหรือไม่'' และหาก
จำเป็นต้องขออนุญาตต่อทางราชการ ก็ดำเนินการเสีย
 
- ''ระวังปัญหาโครงสร้าง'' โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อม
โครงสร้างเก่ากับโครงสร้างใหม่ เพราะอาคารใหม่กับอาคารเก่าจะ
ทรุดตัวไม่เท่ากันแน่นอนเกิด “อาคารวิบัติ” ได้ หรือท่อแตก
สายไฟขาด อันเนื่องจากการทรุดตัวไม่เท่ากัน
 
- ''ตรวจเช็คประปา – ไฟฟ้า'' สำหรับส่วนที่ต่อเติมว่าจะเอา
จากไหนมาใช้ และอย่าต่อโดยไม่รู้เรื่อง เช่นดึงสายไฟเล็กๆ จาก
บ้านเก่ามาเข้าบ้านใหม่ทั้งหลัง สายไฟอาจช๊อตและไฟไหม้....ทั้ง
บ้านเก่าบ้านใหม่..หายหมด
 
อย่าสุ่มสี่ สุ่มห้า เปลี่ยนพื้นสำเร็จ กับ พื้นหล่อกับที่...พัง
แน่นอน ?
 
'''เป็นเรื่องที่น่าเศร้าไม่น้อยเลย ว่าผู้รับเหมาบ้านเราหลายคน
ทำให้เกิดอาคารวิบัติโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์''' โดยการเปลี่ยนแปลง
แบบวิศวกรรมโครงสร้างของพื้นจากพื้นหล่อกับที่ธรรมดา ไปเป็น
พื้นสำเร็จเพื่อการทำงานที่ง่ายกว่า...และบางทีก็เปลี่ยนจากพื้น
สำเร็จ ไปเป็นพื้นหล่อกับที่ ยามที่หาพื้นสำเร็จตามแบบไม่ได้
โดยมักจะบอกกับเจ้าของอาคารว่า..”เหมือนกัน”
ธรรมชาติของพื้นทั้งสองระบบนี้แตกต่างกันมาก และทำให้
อาคารของท่านพังลงมาได้ง่ายๆ...หากลองวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานของ
การรับแรงในคานดูจะเห็นได้ถึงความแตกต่างอย่างเด่นชัด
พื้นสำเร็จเป็นการวางแผ่นพื้นลงบนคานสองด้านคือหัวและ
ท้าย สมมุติว่าพื้นทั้งผืนขนาด 6 x 6 เมตร รวมเป็นพื้นที่ 36 ตร.
ม. ต้องการให้รับน้ำหนักได้ ตร.ม.ละ 200 กก. ทำให้จะต้องรับ
น้ำหนักได้ = 36 x 200 = 7,200 กก. และน้ำหนัก 7,200 กก. นั้น
จะถ่ายลงบนคานหัวท้ายสองข้างคานหัวท้ายจะแบ่งน้ำหนักกัน
รับตัวละ = 7,200/2 =3,600 กก. โดยที่คานด้านข้างอีกสองตัว
อาจจะไม่ได้รับแรงกดอะไรเลย ทำหน้าที่เป็นตัวยึดเท่านั้น....เมื่อ
เปลี่ยนพื้นสำเร็จเป็นพื้นหล่อกับที่ การถ่ายน้ำหนักจะถ่ายลงยัง
คานทั้ง 4 ตัว (ด้าน) ทำให้คานแต่ละตัวต้องรับน้ำหนัก =
7,200/4 = 1,800 กก. ค้านด้านข้างทั้งสองที่ออกแบบไม่ให้รับ
น้ำหนักอะไรเลยก็ต้องรับน้ำหนัก 1,800 กก. ทำให้คานนั้นหักได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีพื้นต่อเนื่องทางด้านข้างอีก คานที่ไม่ได้
ออกแบบมาให้รับน้ำหนักอาจจะต้องรับน้ำหนัก 3,600 กก ที่
เดียว ส่วนคานด้านหัวท้ายออกแบบมาให้รับน้ำหนัก 3,600 กก
กลับมีน้ำหนักลงเพียง 1,800 กก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ
ต่อเนื่องได้
 
ทำนองเดียวกัน '''หากเปลี่ยนพื้นหล่อกับที่ธรรมดา'''มาเป็น
พื้นสำเร็จ คานที่ออกแบบหัวท้ายรับเฉลี่ย 4 ส่วน ต้องมารับเฉลี่ย
เพียง 2 ส่วน ก็จะรับน้ำหนักมากไปและจะเกิดการวิบัติได้
(ออกแบบไว้รับได้ 1,800 กก ต้องมารับ 3,600 กก.)
 
* '''เสาเข็มมีกี่อย่าง แล้วจะเลือกใช้อย่างไร ?'''
 
เสาเข็มโดยทั่วไปจะแยกออกเป็นสำคัญ 2 ประเภท คือ
เสาเข็มตอกและเสาเข็มเจาะ (ส่วนเสาเข็มพิเศษอื่นๆ เช่น Micro
Pile นั้น หากไม่ใช่วิศวกรก็ไม่น่าจะไปสนใจ) ...เสาเข็มตอกและ
เสาเข็มเจาะเองก็ยังสามารถแยกออกได้เป็นอย่างละอีก 2 ประเภท
ซึ่งโดยสรุปรวมวิธีการทำงาน และจุดดีจุดด้อยน่าจะสรุปพอเป็น
สังเขปได้ดังต่อไปนี้
 
'''1. เสาเข็มตอกทั่วไป''' จะมีหน้าตาต่างๆ กัน บางทีก็เป็นสี่เหลี่ยม
บางทีก็เป็นหกเหลี่ยม บางทีก็เป็นรูปตัวไอ ซึ่งทุกอย่างจะมีหน้า
ตัดตันทั้งต้นเวลาตอกก็ตอกไปง่ายๆ อย่างที่เราเห็นกันโดยทั่วไป
 
'''2. เสาเข็มกลมกลวง''' เป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงได้มากกว่าเสาเข็ม
แบบแรกเพราะสามารถทำให้โตกว่าได้ ผลิตโดยการปั่นหมุน
คอนกรีตให้เสาเข็มออกมากลมและกลวง เวลาตอกส่วนใหญ่จะขุด
เป็นหลุมก่อนแล้วกดเสาเข็มลงไปพอถึงระดับที่ต้องการจึงจะเริ่ม
ตอก ทำให้มีส่วนของเสาเข็มไปแทนที่ดินน้อยลง (ดินถูกขุด
ออกมาบางส่วนแล้ว) อาคารข้างเคียงเดือดร้อนน้อยลงจากการ
เคลื่อนตัวของดิน (แต่ความดัง ฝุ่นละออง และความสะเทือนยังคง
อยู่
 
'''3. เสาเข็มเจาะแบบแห้ง''' เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วน
ใหญ่จะลึกไม่เกิน 20 เมตร วิธีการคือเจาะดินลงไป (แล้วแต่
ระดับชั้นทราย) รับน้ำหนักต่อต้นได้ไม่เกิน 120 ตัน วิธีการคือ
เจาะดินลงไป (แบบแห้งๆ) แล้วก็หย่อนเหล็กเทคอนกรีตลงไปใน
หลุม....ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่ามาก
ทั้งเรื่องการเคลื่อนตัวของดิน ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง จึง
เป็นที่นิยมใช้ในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น
 
'''4. เสาเข็มเจาะแบบเปียก''' ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุด
ดินจะขุดลึกๆ แล้วใส่สารเคมีลงไปเคลือบผิวหลุมดินที่เจาะ ทำ
หน้าที่เป็นตัวยึดประสานดินและดันดินไม่ให้พังทลายลงเวลา
เจาะลึกๆ (ซึ่งสามารถเจาะได้ลึกกว่า 70 เมตร) รับน้ำหนักได้มาก
และเกิดมลภาวะน้อย ราคาแพงส่วนการเลือกว่าจะใช้แบบไหนดี
นั้น ต้องตั้งข้อสังเกตและปัญหาก่อนแล้วเปรียบเทียบความ
จำเป็น
 
''– ความเป็นไปได้ของแต่ละระบบในแต่ละงาน''โดยยึดถือ
ข้อหลักประจำใจในการพิจารณาดังนี้
 
:ก.) ราคา
:ข.) บ้านข้างเคียง (มลภาวะ)
:ค.) ความเป็นไปได้การขนส่งเข้าหน่วยงาน
:ง.) เวลา (ทั้งเวลาทำงาน และเวลาที่ต้องรอคอย)
 
ในการเลือกระบบเสาเข็มนี้ ต้องขอร้องให้วิศวกรออกแบบเสาเข็ม
และฐานรากหลายๆ แบบดู (อย่าเกิน 3 แบบ) ต้องวิเคราะห์รวม
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราคาและเวลา) ของเสาเข็มและฐานราก จึง
จะใช้เป็นข้อยุติได้ (หลีกเลี่ยงเสาเข็มราคาถูกทำเร็ว แต่ทำให้ฐาน
รากราคาแพงและช้า ทำให้ทั้งโครงการล่าช้าไปหมด)
 
* '''เหล็กข้ออ้อย เขาวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกันตรงไหน ?'''
 
แม้ในแบบจะระบุการใช้เหล็กข้ออ้อยตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
อย่าพยายามวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กข้ออ้อยเป็นอันขาด (บาง
คนวัดจากข้อถึงผิวบางคนวัดจากผิวถึงผิว และข้อถึงข้อเอามาเฉลี่ย
เป็นต้น)....ตามมาตรฐาน ''ASTM'' บอกว่าห้ามวัดเหล็กข้ออ้อย ใช้การ
ชั่งน้ำหนักและทดสอบในห้องปฏิบัติการเท่านั้น
 
* '''ถนนทรุด พื้นแตก คานหัก ท่อแตก ฯลฯ เกิดจากอะไร ?'''
สาเหตุสำคัญสำหรับเหตุการณ์ข้างต้น (ตามคำถาม) ส่วนใหญ่มักจะ
เกิดจากการต่อเชื่อมโครงสร้างที่มีเข็มยาวไม่เท่ากัน หรือบางส่วน
ไม่มีเสาเข็มเลย เช่น ถนน หรือพื้น (บางส่วน) หรือคาน ที่ส่วน
ใหญ่ใช้บริเวณรอบนอกอาคารตอกเสาเข็มขนาดเล็กนำไปเชื่อมต่อ
กับอาคารใหญ่ที่ใช้เสาเข็มขนาดใหญ่การทรุดตัวไม่เท่ากัน เกิด
การฉีกขาด หักเสียหาย
 
''ปูนเสือ ปูนช้าง ใช้ไม่ดีอาจโดน ช้างเหยียบ....เสือคาบไปแด
....นะครับ!''
 
'''คนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจว่าปูนซีเมนต์ทั่วไป'''นั้นมี 2 ชนิด
ชนิดแรกเรียกว่าปูน ''Portland Cement'' (เช่นตราช้าง ตรา
พญานาค ตราดอกจิก) ซึ่งใช้ทำโครงสร้างมีกำลังอัดสูงเข้มแข็งกว่า
ปูนแบบที่สอง หรือที่เรียกว่าปูน Silica Cement (เช่น ตราเสือ
ตรางูเห่า ตรานกอินทรีย์) ซึ่งมีกำลังอัดน้อยซึ่งจะใช้สำหรับงานก่อ
อิฐ หรืองานฉาบปูนเท่านั้น
 
'''วิศวกรโดยส่วนใหญ่จะคำนวณโครงสร้างโดยใช้มาตรฐาน'''กำลังอัด
ของ ''Portland Cement'' พอมาทำจริงๆ หากผู้ก่อสร้างใช้ปูน ''Silica
Cement'' ซึ่งแข็งแรงน้อยกว่า โครงสร้างของคุณก็ไม่แข็งแรง....
ดังนั้นก่อนการก่อสร้างตรวจหรือถามผู้ออกแบบสักนิดว่าเขา
ออกแบบว่าให้ใช้ปูนชนิดใด...รายการใช้ปูนผิด (โกง ?) แบบนี้หาดู
ได้ตามบ้านจัดสรรทั่วไป
 
''ระวัง ระวัง....ผู้รับเหมาใจดี จะแถมพื้นคอนกรีตให้ท่าน
หนาเกินไป!''
 
'''ในการออกแบทั้งหลายทั้งมวล''' วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบพื้น
คอนกรีตไว้หนาเพียงพอแล้ว อย่าให้ผู้รับเหมาเทพื้นคอนกรีตให้
หนาเกินกว่าที่แบบกำหนดด้วยความใจดี (หรือผิดพลาด) แล้วมา
บอกคุณว่า “แข็งแรงขึ้น” เพราะนั่นอาจเป็นสาเหตุให้อาคารของ
คุณพังลงมาได้ .... เพราะคอนกรีตเป็นวัสดุที่หนักมาก 1 ลูกบาศก์
เมตร หนักตั้ง 2,400 กิโลกรัม หากเขาเทคอนกรีตหนาขึ้นเพียง
5 เซนติเมตร คิดเป็นน้ำหนักที่โครงสร้างต้องรับเพิ่มขึ้นถึง
2,400 x 0.05 =120 กิโลกรัม และตามกฎหมาย บ้านพักอาศัยจะ
ออกแบบให้รับน้ำหนักได้เพียง 150 กิโลกรัม/ตร.ม. พอมีน้ำหนัก
เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นตั้ง 120 กิโลกรัม ก็เลยเหลือความแข็งแรงที่
โครงสร้างจะรับได้อีกเพียง 105 – 120 = 30 กิโลกรัม...เท่านั้นเอง
* '''อุปกรณ์ไฟฟ้าที่บ้านคุณ ทำให้คุณจนได้แค่ไหน ?'''
หลายคนชอบบ่นว่าค่าไฟฟ้าแพงเหลือใจ และคนอีกหลายคนก็ใช้
ไฟฟ้ากันอย่างไม่บันยะบันยังและคนหลายคนก็นึกว่า
เครื่องปรับอากาศเท่านั้นที่กินไฟมาก และหลายคนก็อาจจะอยาก
รู้ว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเรานั้นกินไฟและเปลืองสตางค์ขนาด
ไหน และหลายครั้งพยายามศึกษา...แต่ก็ไม่รู้ว่าเรื่องเพราะศัพท์แสง
ทางเทคนิคมากเหลือเกิน วันนี้เราลองมาดูกันแบบง่ายๆ ดีกว่าว่า
อุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้ตัวเรากินเงินเราไปขนาดไหน (โดยสมมุติว่าค่า
ไฟฟ้าราคา 2 บาทต่อหน่วย และอุปกรณ์นั้นทำงานตลอดเวลา)
<poem>
'''ชนิดของอุปกรณ์''' ขนาด กินไฟ ''(Watt)'' จ่ายเงิน(ต่อชั่วโมง)
พัดลมดูดอากาศ ใบพัด 6” 25 0.05บาท
พัดลมตั้งโต๊ะ ใบพัด 12”70 0.14 บาท
T.V ขาวดำ 14” 50 0.10 บาท
T.V สี 14” 120 0.24บาท
T.V สี 20” 200 0.40บาท
T.V สี 24” 250 0.50บาท
เครื่องปรับอากาศ 1.00 ตัน 1,450 2.90บาท
เครื่องปรับอากาศ 1.50 ตัน 2,060 4.12 บาท
เครื่องปรับอากาศ 2.00 ตัน 3,500 7.00บาท
เครื่องปรับอากาศ 3.00 ตัน 5,200 10.40บาท
ตู้เย็น 4 คิว 70 0.14 บาท
ตู้เย็น 6 คิว 90 0.18 บาท
ตู้เย็น 12 คิว 240 0.48บาท
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 6 ถ้วย 500 1.00 บาท
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 10 ถ้วย 600 1.20 บาท
เตารีดไฟฟ้า (ทั่วไป) 1,000 2.00บาท
เครื่องทำน้ำร้อน (ขนาดเล็ก) 1,500 3.00บาท
เครื่องทำน้ำร้อน (ขนาดกลาง) 2,200 4.40บาท
เครื่องทำน้ำร้อน (ขนาดใหญ่) 4,000 8.00บาท
เครื่องซักผ้า (ทั่วไป) 1,00 2.00บาท
</poem>
ตัวอย่างที่อ้างถึง เป็นตัวอย่างทั่วๆ ไป ไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็น
เครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้ออะไร ....หากแต่ใครเริ่มสนุก หรือเริ่มเสียดาย
เงินแล้วลงใช้สูตรนี้ดู
<nowiki>ค่าไฟฟ้า = จำนวน Watt x ค่าไฟต่อหน่วย/1,000 บาท/ชั่วโมง
โดยดูขนาดสิ้นเปลืองไฟฟ้าเป็น Watt จากหลังหรือใต้
เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ที่ปิ้งขนมปังอันหนึ่งเขียนว่าใช้ไฟฟ้า 800
watt แปลว่ากินเงิน
= 800x2.00/1,000=1.60 บาท/ชั่วโมง</nowiki>
 
* '''ไฟฟ้าในครัว น่าจะวางแผนไว้อย่างไร'''
การป้องกันไฟไหม้เวลาคุณไม่อยู่บ้านอย่างหนึ่งก็คือการ “ปิดไฟ”
ที่เรามักเรียกกันว่า “ปิดคัตเอาท์” เพื่อป้องกันไฟช๊อต ...แต่คุณมัก
ไม่สามารถปิดมันได้ เนื่องจากตู้เย็นในครัวของคุณจะละลายหมด
...หากเป็นไปได้ขอแนะนำว่า ควรแยกวงจรไฟฟ้าของครัวออกมา
ต่างหาก เพื่อคุณจะได้ “ปิดคัตเอาท์” ส่วนต่างๆ ในบ้านได้ทั้งหมด
โดยไม่ต้องกังวลว่าอาหารในครัวของคุณจะบูดเสีย
มีปลั๊กฝังในเสา ต้องฝังให้ดี...ไม่งั้นบ้านอาจพังได้
 
ปลั๊กหรือสวิตช์ไฟทั้งหลายจะมีกล่องเหล็กสำหรับสายไฟเข้าออกอยู่
ข้างหลัง ซึ่งมีความหนา (ความลึก) ประมาณ 5 ซม. หาไปฝังอยู่ใน
เสาคอนกรีตซึ่งมีคอนกรีตหุ้มเหล็กที่มีความหนามาตรฐานเพียง
2.5 ซม. ต้องระวังให้ดีว่าช่างไฟฟ้าจะไม่สกัดคอนกรีตและเหล็กเสา
จนขาดเพื่อฝังกล่องไฟนั้น...เพราะอาจทำให้บ้านทั้งหลังของคุณ
พังลงมาได้ เพราะเสาที่โดนตัดเหล็กจนขาดจะรับน้ำหนักของ
อาคารไม่ไหว
 
ขอแนะนำให้ผู้ออกแบบพยายามหลีกเลี่ยงการวางปลั๊กสวิตช์ไฟไว้ที่
เสา หรือหากจำเป็นก็ให้ผู้ก่อสร้างเตรียมการไว้แต่เนิ่น ๆ เช่นการ
ฝังกล่องไว้ระหว่างเหล็กเส้น หรือการพอกเสาให้มีความหนามากขึ้น
(ซึ่งไม่เป็นการแก้ปัญหาที่ดีนัก) เป็นต้น
* '''อะไรกันนะ....MATV, CCTV?'''
อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีและธุรกิจการก่อสร้าง ของเมืองเราก้าว
ไปอย่างรวดเร็ว (จนอาจเกินเหตุ) ทำให้เกิดศัพท์แสงใหม่ ๆ เข้ามา
มากมาย ของง่าย ๆ บางอย่างเรียกแบบไทย ๆ ฟังแล้วดูไม่โก้ ก็เลย
ต้องเรียกเป็นภาษาฝรั่งให้ดูดีขึ้น พอเป็นภาษาฝรั่งก็ต้องเรียกกัน
ให้เต็มยศ ก็เลยยาวยืด จึงต้องมีการเรียกเฉพาะตัวอักษรย่อ จึงขอ
แปลกันให้ฟังง่าย ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
 
'''MATV''' = Master Antenna Televison
(เสาอากาศโทรทัศน์หลักของอาคาร ซึ่งมักอยู่บนดาดฟ้า)
 
'''CCTV''' = Closed Circuit Televison
(โทรศัพท์วงจรปิด ที่มีกล้องอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในหรือ
นอกอาคาร)
 
<font color="red">''Fire Alarm''</font> หรืออุปกรณ์สัญญาณเตือนไฟไหม้มีกี่อย่าง
เวลาเกิดไฟไหม้ขึ้นในอาคาร สิ่งที่ตามมาก็คือการเกิด “ควัน” แล”
ความร้อน” จึงมาการเตือนว่ามีไฟไหม้ใช้อุปกรณ์ดักจับและส่ง
สัญญาณอยู่ 2 ชนิด คือ
 
# ''Smoke Detector'' คือ เครื่องดักจับ “ควัน”
# ''Heat Detector'' คือ เครื่องดักจับ “ความร้อน”
 
ซึ่งอุปกรณ์ทั้งสองอย่างจะส่งเสียงหรือสัญญาณให้ทราบ บางอย่าง
ก็จะส่งเสียง ณ จุดที่เกิดเหตุ (ที่ที่มันโดนติดตั้ง) บางอย่างก็จะส่ง
สัญญาณไปสู่ห้องควบคุมโดยตรง ไม่เกิดเสียงที่ตัวมันเองบางอย่าง
ก็จะส่งสัญญาณไปที่ห้องควบคุม และรอสักพัก หากยังไม่มีการทำ
อะไรก็จะส่งเสียงดังขึ้นที่ตัวมันเองหรือทั้งตึกเลยก็ได้
การเลือกใช้อุปกรณ์เหล่านี้ เป็นเรื่องไม่ยากเย็นนัก เพราะไม่มี
อะไรยุ่งยากแต่สิ่งสำคัญที่สุดของมันคือการ <font color="Blue">“บำรุงรักษา”</font> ''...อย่าติด
เอาไว้เป็นเพียงเครื่องประดับ!อาคารเท่านั้นครับ''
== เรื่อง...ส้วม...ส้วม ==
 
'''ปัญหาเรื่องส้วมเป็นปัญหายอดฮิต'''ของบ้านเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่
เกิดมักจะเป็นเรื่องการราดส้วมไม่ลง, กลิ่นเหม็น, ส้วมเต็มบ่อย
มาก ซึ่งบางบ้านแก้ไขครั้งเดียวก็เสร็จเรียบร้อย บางแห่งแก้ไขกว่า
10 ครั้งก็ยังไม่หาย...ปัญหาดังกล่าวอาจจะสรุปหาสาเหตุหลักๆ ได้
ดังนี้
 
'''1. โถส้วมอยู่ระดับต่ำกว่าบ่อเกรอะ''' ทำให้ระยะลาดของท่อส้วม
ไปถึงบ่อเกรอะน้อยมาก โอกาสที่น้ำจะไหลย้อนกลับมามี
มาก
 
'''2. ท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง''' (หรือเกือบฝังอยู่ในดิน) ทำให้
เกิดกลิ่นเหม็นและราดส้วมไม่ลง หรือบางครั้งราดลง
บางครั้งราดไม่ลง
'''
3. ลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดน้ำจะราดไม่ลง'''
เพราะน้ำที่ราดไม่สามารถเข้าไปแทนที่อากาศได้
 
'''4. หากเป็นระบบบ่อซึม ที่วางไว้ในดิน'''ที่มีความชุ่มชื้นมาก
แทนที่น้ำจาก บ่อเกรอะ บ่อซึมจะซึมไหลออก กลับ
กลายเป็นน้ำซึมเข้า ปัญหาที่ตามมา คือส้วมเต็มบ่อย และ
ราดน้ำไม่ลง
 
'''5. ขนาดบ่อเกรอะและบ่อซึมเล็กเกินไป''' (ในการก่ออาร้าง
ผู้ออกแบบจะกำหนดขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึมไว้ให้มี
ขนาดเหมาะสมกับจำนวนคนที่ใช้ส้วมหากใช้อาคารผิด
ประเภท หรือผู้รับเหมาทำผิดขนาด ขนาดของบ่อเกรอะ
บ่อซึมโตไม่พอ ก็จะทำให้เต็มง่ายและเต็มเร็วเพราะ
ช่องว่างน้อย น้ำซึมออกไม่ทัน)
 
'''6. มีสิ่งของที่ไม่น่าจะใส่ลงไปในโถส้วม'''เข้าไปอยู่ เช่น
ผ้าอนามัย ถุงยางอนามัย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่ยอม
สลายและอุดตัน
 
'''7. ผู้ที่ใช้บ่อเกรอะที่ใช้เครื่องกลช่วยการย่อยสลาย''' ซึ่งโฆษณา
ว่าเป็นถึงส้วม ไม่มีวันเต็ม แต่เดี๋ยวก็เต็ม เดี๋ยวก็เต็ม น่าจะ
ลองตรวจเช็คดูด้วยว่า คุณเสียบปลั๊กไฟฟ้าให้เครื่องจักรมัน
ทำงานหรือเปล่า!!!
 
เหตุทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น คุณอาจจะลองตรวจเช็คด้วย
ตนได้ แต่หากส้วมของคุณยังมีปัญหาอยู่ ก็ต้องเดินไปหา
ผู้รู้จริงๆ แล้วเท่านั้นแหละครับ
 
ท่อเอสล่อนแบบ สีเหลือง สีฟ้า และสีเทา ต่างกันอย่างไร
ว่ากันแบบลูกทุ่งไม่จำเป็นต้องใช้ศัพท์ทางเทคนิคใดๆ ท่อเอ
สลอนแยกตามความเข็งแรงได้ดังต่อไปนี้
 
''- ท่อสีเทา'' เป็นท่อที่อ่อนแอที่สุดใช้ทำท่อน้ำทิ้งทน
แรงอัดอะไรไม่ได้มาก
 
''- ท่อสีฟ้า'' เป็นท่อที่มีความแข็งแรงขนาดกลาง ใช้ทำท่อ
น้ำใช้ที่มีแรงอัดของน้ำ เพราะแรงอัดได้มากพอ
 
''- ท่อสีเหลือง'' เป็นที่ที่มีความแข็งแรงมากที่สุด ใช้ร้อย
สายไฟฝังในอาคารได้
 
* '''เราเตือนคุณแล้ว...มีบ้าน....อย่าทำถังน้ำใต้ดิน'''
 
หากไม่มีความจำเป็นจริง ๆ (ความจำเป็นในที่นี้หมายถึงท่านไม่
มีที่ดินเพียงพอที่จะวางถังน้ำนบดิน หรือท่านเองทนความน่า
เกลียดน่าชังของถังน้ำบนดินไม่ได้จริงๆ) เราขอแนะนำว่าอย่าวาง
ถังน้ำ (ถังเก็บน้ำ) ใต้ดินเลยเพราะเวลาถังน้ำหรือท่อน้ำมันแตก...
ท่านจะไม่มีทางรู้เลยจนกว่าบิลค่าน้ำจากการประปาฯ จะมาถึง
(ถังน้ำจะต้องมีท่อระบายน้ำล้นใต้ดิน เวลาน้ำล้น ก็จะไหลลงสู่ท่อ
ระบายน้ำโดยตรง) ...การแตกของถึงน้ำหรือการหักของท่อน้ำอาจ
เกิดจากสาเหตุได้หลายประการ เช่น โครงสร้างของถึงน้ าโดยส่วน
ใหญ่มักจะแยกออกจากตัวอาคาร และโครงสร้างของถึงน้ ามักจะใช้
เข็มสั้นกว่าตัวอาคาร การทรุดตัวจะไม่เท่ากัน ทำให้เกิดการฉีกขาด
 
'''– หักทำลายได้หรือหากมีการก่อสร้างบริเวณใกล้เคียง'''ที่สร้างความ
สั่นสะเทือนหรือเกิดการไหล (หรืออัด) ของดิน ถังน้ำของท่านก็จะ
วิบัติได้โดยง่าย
* '''เชื่อหรือไม่....คุณน่าจะเลือกโถส้วมก่อนการสร้างบ้าน'''
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเรืองที่ว่านี้เป็นเรื่องจริง เพราะสุขภัณฑ์ใน
บ้านเรา ต่างยี่ห้อกันแล้ว จุดหรือระยะการวางท่อเข้าสู่สุขภัณฑ์ก็
แตกต่างกันออกไปด้วย จึงขอแนะนำว่าคุณน่าจะเลือกยี่ห้อ
สุขภัณฑ์ (รุ่นเอาไว้ทีหลังยังได้) เสียก่อนที่เขาจะเทพื้นคอนกรีต
เพื่อผู้ก่อสร้างจะได้เตรียมวางท่อไว้ให้ถูกจุดบ้านคุณจะได้ไม่มี
ปัญหาเรื่องรั่วซึมจากห้องน้ำ หรือปัญหาสุขภัณฑ์ใช้ไม่ได้ไงครับ
บ้านคุณน่าจะมีถังเก็บน้ำไว้แน่ๆ แต่ทราบไหมว่าคุณ
 
== น่าจะซื้อถังเก็บน้ำขนาดไหน ==
 
ต้องถามก่อนว่าบ้านคุณมีกี่คน คนหนึ่งจะใช้น้ำประมาณ 200
ลิตร ต่อวัน หากบ้านคุณมี 5 คน และต้องการเก็บน้ำไว้เผื่อสัก 3 วัน
ก็คำนวณได้ว่า
<nowiki>ถ้าถังน้ำจะมีขนาด = จำนวนคน x 200 ลิตร x 3 ลบ.ม.
= 5 x 200 x 3 = 3,000 ลิตร = 3 ลบ.ม.
ทั้งนี้ไม่รวมน้ำที่ใช้รดต้นไม้ และสวนขนาดใหญ่นะครับ (สวน
เล็กๆ และต้นไม้ไม่มากไม่เป็นไร เพราะเผื่อไว้แล้ว
ซื้อสุขภัณฑ์ (Fixture) แล้วอย่าลืมเลือก อุปกรณ์ (Fitting)
ด้วย</nowiki>
 
* '''เครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ'''
''(Sanitary Fixture)'' โดยตัวมันเองแล้วไม่
สามารถจะใช้งานได้โดยทันที จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ (Fitting)
ประกอบด้วย เช่น อ่างล้างหน้า จะต้องมีก๊อกน้ำและรูน้ำทิ้ง อ่าง
อาบน้ำจะต้องมีสะดืออ่าง (รูระบาย) และก๊อกน้ำเป็นต้น
ในการเลือกสุขภัณฑ์จำเป็นที่จะต้องเลือกอุปกรณ์ควบไปด้วย อย่า
ผัดวันประกันพรุ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ที่คุณเลือก อาจจะใส่ไม่ได้กับ
สุขภัณฑ์ที่คุณที่คุณเลือก เพราะอาจมีขนาดไม่เท่ากัน ลักษณะ
ของเกลียวตัวผู้ตัวเมียต่างกัน ...ปัญหานี้ก็เหมือนกับการซื้อรถยนต์
กับซื้อยางรถยนต์ จะต้องพิจารณาเลือกให้เข้ากันให้ได้
* ''แอร์มีกี่ชนิด กี่แบบ และต่างกันอย่างไร''
มีคำถามว่า แล้วเจ้าเครื่องปรับอากาศที่เราใช้อยู่ในบ้านเรานี้มีกี่
อย่าง กี่ชนิด กี่ระบบ ก็ขอแยกย่อย โดยสังเขปแบบชาวบ้าน ได้เป็น
3 แบบดังนี้
 
'''1. แบบติดหน้าต่าง''' (Window Type) เป็นแบบที่รวมทุกสิ่งทุก
อย่างไว้ในกล่อง ๆ เดียว และติดแขวนไว้ที่ช่องหน้าต่างหรือ
ผนังห้อง เป่าลมเย็นเข้าห้อง โผบ่กันออกมาระบายความ
ร้อน ขนาด 8,000 – 30,000 BTU หรือภาษาชาวบ้านคือ
.7 – 2.5 ตัน (ใหญ่กว่าน้ำทำไม่ได้เพราะเครื่องจะใหญ่และ
หนักเกินไป ติดตั้งแล้วช่องหน้าต่างหรือผนังจะรับ
น้ำหนักไม่ไหว) กินไฟค่อนข้างมาก และมีเสียงดังกว่าทุก
ระบบ แต่สะดวกในการติดตั้ง สะดวกในการเคลื่อนย้าย
ติดตั้งรวดเร็ว
 
'''2. แบบแยกส่วน''' (Split Type) เป็นแบบที่ได้รับความนิยม
มากที่สุด แยกส่วนเป่าลมเย็นออกจากตัวเครื่องระบายความ
ร้อน ขนาดตั้งแต่ 1 – 50 ตัน (ขนาด 1 – 3 ตัน มักไม่มีการ
ต่อท่อลมไปจ่ายหลาย ๆ จุด แต่หากมากกว่านั้นอาจมีการ
ต่อท่อลมออกจากส่วนเป่าลมไปจ่ายหลาย ๆจุด) แอร์ระบบ
แยกส่วนนี้ดีตรงที่ไม่ค่อยมีเสียงดัง (เพราะเครื่องระบาย
ความร้อนโดยแยกออกไปวางไว้ที่อื่น) แต่จะยุ่งยากในการ
ติดตั้งมากกว่าระบบติดหน้าต่าง เพราะต้องคำนึงถึงการเดิน
ท่อระหว่างเครื่องที่แยกส่วน...ที่สำคัญอย่าลืมท่อระบายน้ำ
จากที่เป่าลมเย็น (Fan Coil) ไปทิ้งด้วย
 
'''3. แบบเครื่องชนิดทำน้ำเย็น''' (Water Chiller) ซึ่งใช้น้ำเป็น
ตัวกลางในการผลิตความเย็น ใช้สำหรับอาคารใหญ่ ๆ มี
ขนาดตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป มีความยุ่งยากในการติดตั้ง แต่
จะกินไฟน้อยกว่าชนิดอื่นๆ ...สถาปนิกและวิศวกรโครงสร้าง
ผู้ออกแบบแต่เริ่มต้นกรุณาอย่าลืมที่จะจัดเตรียมห้อง
เครื่อง และโครงสร้างที่แข็งแรงเพียงพอเพื่อวางระบบนี้
ด้วยนะครับ (โดยการปรึกษากับวิศวกรเครื่องกล)
 
สำหรับแอร์ระบบที่ชาวบ้านเรียกกันว่าCentral Air นั้น ส่วน
ใหญ่จะหมายถึงแอร์ระบบสุดท้าย เพราะมีจุดเครื่องระบาย
ความร้อนจุดเดียว แต่ส่งผ่านไปหลายจุดทั่วทั้งอาคาร แต่
บางครั้งแอร์ระบบ Split Type ใหญ่ๆ ทีส่งลมเย็นไปได้หลายๆ
จุดก็อาจจะเรียกว่าเป็น Central Airได้เหมือนกัน
ใช้เครื่องปรับอากาศให้คุ้ม และถูกวิธี
 
* '''เจ้าระบบปรับอากาศกลายเป็นสิ่งที่สำคัญไปแล้วในชีวิตเรา'''
ปัจจุบัน แต่หลายคนอาจยังเข้าใจผิดใช้เครื่องปรับอากาศเป็น
เพียง “เครื่องทำความเย็น” ซึ่งเป็นการใช้งานที่ผิดหน้าที่ เพราะ
อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะการจัดเตรียมระบบปรับ
อากาศที่ดีจะต้องประกอบด้วยหน้าที่ดังต่อไปนี้
 
# เพื่อลดอุณหภูมิ
# ควบคุมความชื้น ไม่ให้แงเกินไป (ผิวแตก) หรือชื้นเกินไป(เหนอะหนะ)
# ให้อากาศในห้องเคลื่อนไหว (ทำให้รู้สึกสบายไม่อึดอัด)
# ทำให้อากาศสะอาด (ป้องกันฝุ่นและอาจช่วยฟอกอากาศบ้าง)
# มีระบบระบายอากาศ (การถ่ายเทอากาศจากภายนอก)
 
หากใครใช้ระบบปรับอากาศครบ 5 ข้อข้างบน จึงจะทำให้ระบบ
ปรับอากาศมีความสมบูรณ์ ดังนั้นใครที่ติดแอร์อยู่ น่าจะสำรวจดูว่า
เครื่องหรือระบบปรับอากาศของต้นนั้นทำงานครบทุกหน้าที่
หรือไม่ ถ้าไม่ครบก็น่าจะปรับปรุงเสียเพื่อสุขภาพที่ดีของท่าน
เช่นลืมพัดลมระบายอากาศหรือเปล่า เป็นต้น
 
== สีลอก สีขึ้นรา สีวิบัติ เกิดเพราะใช้สีผิดยี่ห้อจริงหรือ ? ==
 
เชื่อหรือไม่ว่า 80% ของผนังที่สภาพสีเสียหายก่อนกำหนด เกิดจา
การเตรียมพื้นผิวไว้ไม่ดี เช่นไม่แห้งสนิท มีสภาพเป็นกรดเป็น
ด่าง มีฝุ่นเกาะฯลฯ ดังนั้นในการเลือกใช้สีจึงสมควรเน้นทีการ
ควบคุมงานว่าการเตรียมพื้นผิวก่อนทาสีนั้นดีเพียงพอ ตลอดจน
การควบคุมให้ทาครบจำนวนครั้งตามที่ บริษัทสีต้องการ (บาง
บริษัทไม่ได้นับจำนวนครั้งที่ทาสี แต่วัดที่ความหนาของผิวสี) ไม่
จำเป็นต้องซีเรียสที่ยี่ห้อของสี (แต่สีประเภทที่ทำเองหลังห้อง
แถวก็ไม่น่าจะเสี่ยงใช้ เพราะอาจเป็นอีก 20 % ที่เหลือซึ่งเป็น
ปัญหาการวิบัติของสีโดยสีจริงๆ
 
รู้หรือไม่ว่าการวางแนวรั้วหน้าบ้าน กับการวางแนวรั้วข้าง
บ้านต่างกันอย่างไร
 
'''รั้วข้างบ้านส่วนใหญ่'''จะติดต่อกับเพื่อนบ้าน ดังนั้นการทำรั้วก็จะ
วางแนวกึ่งกลางรั้วไว้ที่แนวแบ่งเขตที่ดิน (จากกึ่งกลางหลักเขตถึง
กึ่งกลางหลักเขต) ซึ่งทำให้รั้วนั้นอยู่ในเขตเราครึ่งหนึ่งและอยู่ใน
เขตบ้านข้างเคียงอีกครึ่งหนึ่งแต่รั้วหน้าบ้านมักจะต้องติดกับทาง
สาธารณะ การวางแนวรั้วจะต้องวางให้ขอบรั้วด้านนอกอยู่ในแนว
ของเขตที่ดิน (ห้ามมีส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้าไปใน
ที่สาธารณะโดยเด็ดขาด)
 
'''อย่าติดพัดลมระบายอากาศบนผ้าม่าน'''
ความหลงลืมอีกอย่างที่มักเกิดขึ้นโดยไม่ได้เตรียมการเอาไว้ก่อนก็คือ
การติดตั้งผ้าม่านเต็มช่องเปิด (ประตู – หน้าต่าง) แล้วลืมเผื่อช่อง
สำหรับติดตั้งพัดลมระบายอากาศ ทำให้เวลาจะเปิดพัดลมต้องรูด
ม่านก่อน ลำบากและไม่น่าดู...ดังนั้นหากจะติดพัดลมระบายอากาศ
ตรงไหน ตรวจดูก่อนว่ามีม่านหรือไม่ หากมีก็ขอให้ออกแบบเตรียม
ไว้ก่อนด้วย
 
'''หากคุณชอบเตียงใหญ่'''ๆ ๆ ๆ ๆ คุณต้องระวังอะไร ?
ส่วนใหญ่ใครก็ชอบเตียงใหญ่ ๆ แต่บางคนอาจจะชอบมากไป
หน่อย เลยไปสั่งให้ช่างไม้ช่างเฟอร์นิเจอร์ทำเตียงขนาดพิเศษ
พอเอาเข้าไปวางในห้องนอนเสร็จ เดินหาซื้อที่นอนอยู่ 3 เดือนก็
หาไม่เจอที่นอนขนาดเดียวกับเตียงที่สั่งทำ...ก็เลยขอให้ระวังไว้
ด้วยว่าที่นอนสมัยนี้เขามีขนาดแน่นอน ขนาดผิดประหลาดไป
เขาไม่ทำกันแล้ว ระวังหน่อยนะค่ะ
 
* '''ปลูกต้นไม้ใหญ่ อย่าลืมค้ำยัน'''
ปัจจุบันนี้การนำเอาต้นไม้ที่เจริญเติบโตแล้วย้ายมาปลูก กำลัง
เป็นที่นิยมมากเพราะแม้จะมีราคาแพงกว่าต้นไม้ขนาดเล็กๆ แต่ก็
เป็นการซื้อเวลาที่ดี แต่ปัญหาของต้นไม้ที่ปลูกแล้วโตเลยนี้ก็คือ
การไม่มีรากแก้ว และมีรากฝอยสำหรับยึดเกาะดินน้อย ยามมีลมแรง
กรรโชก ทำให้เอนเอียงล้มลงได้ จำเป็นที่จะต้องเตรียมค้ำยันลำ
ต้นไว้เสมอ
 
ในกรณีที่เป็นต้นไม้ไม่ใหญ่นักและยังอยู่ในกระถาง การปลูก
ระยะแรก ๆ แนะนำให้เพียงทุกก้นกระถางออกแล้วลงดิน ให้ปาก
กระถางเป็นตัวยึดเกาะดินกับต้นไม้เอียงในระยะแรก เมื่อราก
ต้นไม้เดินดีแล้วจึงค่อยเอาส่วนปากกระถางออก (การทำแบบนี้จะ
ดีมากสำหรับการปลูกต้นไม้ใน Flower Bed บนอาคารสูง ๆ )
ปลูกต้นไม้บนดาดฟ้า ต้องเตรียมการไว้ให้ดี
การปลูกต้นไม้ไว้บนดาดฟ้า หรือที่เรียกภาษาฝรั่งว่า Roof Garden
เป็นการเอาวิทยาการและเทคโนโลยีไปฝืนธรรมชาติอย่างหนึ่ง มี
ข้อความคำนึงไว้สัก 3 เรื่อง
 
1. แน่ใจว่าเตรียมโครงสร้างที่แข็งแรงเพียงพอไว้ เพราะโดย
ปกติของอาคารธรรมดาจะเตรียมโครงสร้างไว้รับน้ำหนัก
ประมาณ 200 – 400 กิโลกรัม/ตร.ม. แต่หากเป็นสวนลอย
ฟ้าน่าจะเตรียมไว้สัก 700 – 1,500 กิโลกรัม/ตร.ม.
2. แน่ใจว่าเตรียมความลึกสำหรับดินและกรวดเอาไว้ ซึ่งน่าจะ
มีความหนาไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร (ดีที่สุดประมาณ
1.00 เมตร)
 
3. แน่ใจว่าจัดเตรียมน้ำสำหรับรดต้นไม้ และทีสำคัญที่สุด
คือระบบระบายน้ำจะต้องสะดวก และไม่อุดตัน
4. แน่ใจว่าแม้จะมีลมแรงมากระทำ (บางที่อาจถึง 180
กิโลกรัม/ตร.ม.) ต้นไม้ที่ปลูกจะไม่ปลิวว่อน ขุดรากถอน
โคน
 
* ''5. แน่ใจว่า...คุณมีปัญญาขนต้นไม้ – ดิน – กรวด ขึ้นไปปลูก และปรับปรุง''
 
'''อยากปลูกต้นไม้บนตึก''' ''(Flower Bed)'' ต้องไม่ลืมอะไร
หากจะมีการปลูกต้นไม้บนอาคาร พึงต้องจำไว้เสมอว่าต้นไม่ทุก
ชนิดต้องการน้ำและการบำรุงรักษา ดังนั้นสิ่งที่ไม่น่าจะลืมก็คือ
 
'''1. จะเอาน้ำที่ไหนมารด''' ไม่ใช่ต้องหิ้วกระป๋องน้ำผ่าน
ห้องนอนที่ปูพรมให้สกปรกเลอะเทอะทุกวัน...น่าจะเตรียมก๊อก
น้ำเอาไว้รดน้ำด้วย
 
'''2. เมื่อรดน้ำแล้ว น้ำที่ไหลออกจากกระบะต้นไม้'''จะไปทาง
ไหน หากน้ำไม่มีทางออก รากก็จะเน่าตาย แต่หากน้ำออกได้แล้ว
ไปลงท่อระบายน้ำทั่วไปที่ไม่ได้กันหรือเตรียมการไว้กันเศษดิน
ท่อก็จะตัน (แล้วน้ำก็จะท่วม)
 
'''3. กระบะต้นไม้จะต้องมีความชื้น''' (ไม่งั้นต้นไม้ตาย) หาก
กระบะต้นไม้ใช้ผนังเดียวกันกับผนังห้อง ความชื้นก็จะซึมผ่าน
ผนังไปทำให้ผนังอีกด้านชื้นเกิดราหรือสีลอก...ดังนั้นน่าจะเตรียม
วิธีการนี้ไว้ด้วยว่าไม่น่าจะใช้ผนังกระบะต้นไม้เป็นผนังเดียวกับ
ห้อง หรือแยกผนังออกจากกันและมีกันซึม
 
'''4. เมื่อต้นไม้ต้องการบำรุงรักษา''' หรือหากตายไปก็ต้องเปลี่ยน
ต้นไม้ ทำให้ต้องมมีพื้นที่หรือที่ยืนเพียงพอสำหรับจับต้องต้นไม้
นั้นได้ อย่าวางกระบะต้นไม้ที่ต้องเอื้อมตัวนอกตึกมากนัก หรือต้อง
ใช้บันไดพาดไปทำงาน (บนตึกชั้นที่ 20)
{{โครง}}