ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญาหลังนวยุค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pitpisit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
คำผิด ม่ง เป็น มุ่ง,ชีปนา เป็น ขีปนา
บรรทัดที่ 18:
'''อภิปรัชญาของเวสเทอร์มาร์ก''' (Edvard Westermarck ค.ศ.1862-1939) ได้ชี้ว่าหลักจริยธรรมเป็นสัมพัทธ์ตามวัฒนธรรมของสังคมที่ตนจำกัดอยู่ กฎจริยศาสตร์เป็นอัตวิสัยเกิดจากอาเวค (emotion) ไม่ใช่จากเหตุผล หน้าที่ของจริยศาสตร์จึงไม่ใช่การวางกฎเกณฑ์สำหรับความประพฤติ แต่ต้องค้นคว้าหาข้อมูลของความสำนึกทางศีลธรรม มนุษย์คิดว่ากฎจริยธรรมเป็นหลักตายตัวก็เพราะขีปนา (projection) อาเวคศีลธรรมเป็นวัตถุวิสัย ก็เพราะได้รับการหนุนโดยศาสนา ประเพณี และอุดมคติ วัตถุวิสัยนิยมทางจริยศาสตร์ก็คือการยืนยันว่าหลักเกณฑ์การตัดสินดีชั่วที่สมมติว่ามีอยู่จริงนอกความคิดเห็นของบุคคลแต่ละคน บุคคลแต่ละคนอาจจะเข้าใจผิดหรือไม่ก็ตัดสินไปโดยพละการอย่างผิดๆ ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อความเที่ยงตรงของหลักเกณฑ์ที่สมมติไว้ แต่อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ที่สมมติกันขึ้นมานี้ก็มีต่างๆ กันไปตามแต่พื้นฐานของระบบสังคมนั้นๆ ทำให้มีหลักเกณฑ์หลากหลาย ซึ่งหากมีหลักเกณฑ์ที่หลากหลายเสียแล้วจะถูกไปหมดทุกระบบย่อมเป็นไปไม่ได้ ต่างระบบต่างก็มีเหตุผลและข้อบกพร่องของตน ดังนั้นจริยศาสตร์จึงเป็นเรื่องอัตวิสัย
 
'''อภิปรัชญาของวิทเกินชทายน์''' (Ludwig Wittgenstein ค.ศ.1889-1951 ) ภาษาพัฒนาไปตามความสำนึก ความสำนึกทั้งหลายของมนุษย์มีหลากหลายแต่แสดงออกผ่านทางภาษา ภาษาที่ใช้กันก็คือภาษาสามัญ ซึ่งเป็นภาษาของสังคมและเพื่อสังคม มนุษย์ไม่สามารถใช้ภาษาส่วนตัวของใครของมันในการสื่อสาร เพราะจะไม่มีทางเข้าใจร่วมได้ การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมต้องการสื่อสารถึงกัน จึงพัฒนาภาษามาเป็นเครื่องมือ ภาษาสามัญเป็นภาษาสังคมและมีความหมายลึกซึ้งอยู่ในตัว ซึ่งภาษาอุดมคติทำได้ในขอบเขตจำกัดมาก ดังนั้นควรหาความหมายจากภาษาสามัญด้วยทฤษฎีภาพ (picture theory) เพราะว่าความหมายของภาษาอาจเป็นไปอย่างแท้จริง หรือหลอกลวงเราไว้แต่แรกก็ได้ เราจึงต้องใช้ประโยคที่ม่งมุ่งแสดงความสัมพัทธ์กับโลกแห่งความเป็นจริง
 
'''อภิปรัชญาของเฮเกล''' (Friedrich Hegel ค.ศ.1770-1831 ) มองว่าความรู้ทั้งหลายที่เราคิดว่าเป็นความจริงและความเป็นจริงล้วนแต่ตรงกับระบบเครือข่ายตรรกะ ดังนั้นจึงเป็นระบบเครือข่ายตรรกะนั่นเองที่ขีปนาออกไปภายนอกความคิด แม้แต่จิตของเราก็เป็นเพียงขีปนาการของจิตดวงใหญ่ดวงเดียวกันทั้งสิ้นที่ขีปนาตัวเองออกเพื่อมีการชนะอุปสรรค จะได้ก้าวหน้า ดังนั้นความเป็นจริงมีแต่จิตและชีปขีปนาการของจิต ความจริงคือการสร้างสรรค์ของจิตเท่านั้น