ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Pitpisit/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pitpisit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pitpisit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1:
{{หัวเรื่อง
<center><br>{{c|{{fs|140%|'''หมายกำหนดการ'''}} <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๓ ข/หน้า ๙/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙</ref>}}
|ชื่อเรื่อง=รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ค.ศ. 2003
</center>
|ชื่อเรื่องย่อย=
<center><br>{{c|{{fs|120%|'''วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
|วิกิพีเดียชื่อเรื่อง= สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว
<br>
|ผู้แต่ง=
พุทธศักราช ๒๕๕๘'''}} }}<br><br></center>
|ผู้แต่งไม่ลิงก์=
<center>_______________<br><br><br></center>
|วิกิพีเดียผู้แต่ง=
|เรื่องก่อนหน้า=
|เรื่องถัดไป=
|ก่อนหน้า=
|ถัดไป=
|หมายเหตุ=ข้อความในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวแห่งนี้ เป็นการแปลและปริวรรตอักษรจากต้นฉบับภาษาลาวในเว็บไซท์ของ[http://www.smepdo.org/lao/law_regulations/lao_consititution/laoconstitution.html สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อยและกลาง (SMEPDO) ประเทศลาว]
}}
 
[[File:Emblem_of_Laos.svg|center|Emblem of Lao PDR|150px]]
เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า วันที่ ๒๘ ธันวาคม ทางราชการได้กําหนดเป็นวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และได้จัดให้มีการถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ กรุงเทพมหานคร ในการนี้ จะได้เสด็จพระราชดําเนินไปถวายราชสักการะ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กาหนดการดังนี้
 
<u>วันจันทร์ที่ ๒๘ ธันวาคม</u> ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดําเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ โดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 
{{c|{{fs|110%|สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว}}}}
เวลา ๑๗ นาฬิกา ๓๐ นาที ทรงวางพุ่มดอกไม้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพุ่มดอกไม้ของส่วนพระองค์ ทรงจุดธูปเทียนถวายราชสักการะแล้ว เสด็จพระราชดําเนินกลับ
{{c|{{fs|110%|สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร}}}}
<div align=right>เลขที่ 32 /สปป</div>
 
{{c|{{fs|160%|รัฐดำรัส}}}}
<u>การแต่งกาย</u> แต่งเครื่องแบบปกติขาว
 
{{c|{{fs|140%|ของประธานประเทศ}}}}
<center>{{c|{{fs|120%|'''สำนักพระราชวัง'''}} }}</center>
<center>วันที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘
</center>
 
{{c|{{fs|140%|สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว}}}}
== เชิงอรรถ ==
 
{{reflist}}
 
{{c|{{fs|110%|เกี่ยวกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง}}}}
 
{{c|{{fs|110%|สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ฉบับปรับปรุง.}}}}
 
 
{{rule|8em}}
 
 
----
* อิงตามรัฐธรรมนูญ แห่ง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, หมวดที่ 5, มาตรา 53, ข้อ 1;
{{แม่แบบ:ข้อมูลข่าวสารของราชการ-ไทย}}
* อิงตามมติตกลงของสภาแห่งชาติ แห่ง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ฉบับเลขที่ 25/สพช, ลงวันที่ 6 พฤษภา 2003 เกี่ยวกับการรับรองเอารัฐธรรมนูญ แห่ง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ฉบับปรับปรุง;
* อิงตามการเสนอ ของคณะประจำสภาแห่งชาติ ฉบับเลขที่ 18/คปจ, ลงวันที่ 9 พฤษภา 2003.<br />
 
 
<center>
''ประธานประเทศ''<br />
''สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวออกรัฐดำรัส:''
</center><br />
 
มาตรา 1: ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แห่ง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ฉบับปรับปรุง.
 
มาตรา 2: รัฐดำรัสฉบับนี้ มีผลศักดิ์สิทธิ์นับแต่วันลงลายเซ็นเป็นต้นไป.
 
 
<center>เวียงจันทน์, วันที่ 28 พฤษภา 2003<br />
 
ประธานประเทศ แห่ง สปป ลาว<br />
 
(ลายเซ็น พร้อมตราประทับ)
 
คำไต สีพันดอน</center>
 
== คำนำ ==
 
นับเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว ที่บรรดาบรรพบุรุษของชาติลาวได้พร้อมกับประชาชนลาวบรรดาเผ่า ดำเนินการต่อสู้เพื่อการดำรงคงตัว และขยายตัวอยู่บนดินแดนอันแสนรักแห่งนี้. เริ่มแต่กลางศตวรรษที่สิบสี่เป็นต้นมา, บรรพบุรุษของพวกเรา โดยเฉพาะเจ้าฟ้างุ่ม ได้พาประชาชนเราก่อตั้ง และสร้างประเทศล้านช้างให้เป็นเอกภาพ และเจริญรุ่งเรือง. ตั้งแต่ศตวรรษที่สิบแปดเป็นต้นมา, แผ่นดินลาวได้ถูกบรรดาอิทธิกำลังภายนอกจ้องมอง และรุกรานอยู่เสมอ. ประชาชนเราได้พร้อมกันเสริมขยายมูลเชื้ออันวีระอาจหาญ มิยอมจำนนของบรรพบุรุษ และได้ต่อสู้อย่างต่อเนื่อง, เหนียวแน่น เพื่อกอบกู้เอกราช, อิสรภาพ.
 
นับแต่ปี 1930 เป็นต้นมา ภายใต้การนำพาอันถูกต้องของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนในเมื่อก่อน และพรรคประชาชนปฏิวัติลาวในปัจจุบัน, ประชาชนลาวบรรดาเผ่าได้ดำเนินการต่อสู้อันยุ่งยากลำบาก, วีระอาจหาญที่เต็มไปด้วยความเสียสละ จนสามารถทลายแอกครอบครอง, การกดขี่ของพวกล่าเมืองขึ้น และระบอบศักดินา, ปลดปล่อยประเทศชาติอย่างสมบูรณ์, สร้างตั้งประเทศ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ในวันที่ 2 เดือน ธันวา ปี 1975, อันได้เปิดศักราชใหม่, ศักราชที่ประเทศชาติมีเอกราช และประชาชนได้มีอิสรภาพอย่างแท้จริง.
 
ภายหลังที่ประเทศชาติได้รับการปลดปล่อยมานี้ ประชาชนเราได้พร้อมกันปฏิบัติสองหน้าที่ยุทธศาสตร์คือ: ปกปักรักษา และสร้างสาประเทศชาติ โดยเฉพาะการดำเนินภารกิจเปลี่ยนแปลงใหม่ เพื่อขุดค้น และเสริมขยายกำลังแรงสังรวมของชาติ เข้าในการสร้าง และบูรณะระบอบประชาธิปไตยประชาชน, สร้างปฐมปัจจัยก้าวขึ้นสู่ระบอบสังคมนิยม.
 
มาในระยะใหม่นี้ ชีวิตของสังคมได้เรียกร้องให้รัฐเราต้องมีรัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญนี้ เป็นรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตยประชาชนอยู่ประเทศเรา ซึ่งได้รับรู้ผลงานอันยิ่งใหญ่ที่ประชาชนเราเอามาได้ในภารกิจต่อสู้ปลดปล่อยชาติ, ปกปักรักษา และสร้างสาประเทศชาติ; กำหนดระบอบการเมือง, เศรษฐกิจ-สังคม, การป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ, การต่างประเทศ, กำหนดสิทธิ์ และพันธะพื้นฐานของพลเมือง, ระบบการจัดตั้ง กงจักรรัฐในระยะใหม่. ในประวัติศาสตร์ของชาติเรา ครั้งที่เป็นครั้งแรก ที่ได้กำหนดสิทธิ์เป็นเจ้าของประชาชนอยู่ในกฎหมายพื้นฐานของชาติ.
 
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นดอกผลรวมยอดแห่งสติปัญญา และการประกอบความเห็นของประชาชนในทั่วประเทศ ที่ส่องแสงถึงเจตจำนงอันยาวนาน และความตัดสินใจอย่างแรงกล้าของวงคณาญาติแห่งชาติ ที่จะพร้อมกันสู้ชนจนบรรลุเป้าหมาย สร้างประเทศลาวให้เป็นประเทศสันติภาพ, เอกราช, ประชาธิปไตย, เอกภาพ และวัฒนาถาวร
 
== หมวดที่ 1 ระบบการเมือง ==
 
=== มาตรา 1. ===
 
สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวเป็นประเทศเอกราช, มีอำนาจอธิปไตย และผืนแผ่นดินอันครบถ้วน รวมทั้งเขตน่านน้ำ และน่านฟ้า; เป็นประเทศเอกภาพของทุกชนเผ่า ที่ตัดแยกออกจากกันมิได้.
 
=== มาตรา 2. ===
 
รัฐแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว เป็นรัฐประชาธิปไตยประชาชน. อำนาจทั้งหมดเป็นของประชาชน, โดยประชาชน และเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนบรรดาเผ่า ซึ่งประกอบด้วยบรรดาชั้นคนอยู่ในสังคม โดยได้แก่ กรรมกร, กสิกร, และนักเรียนรู้ปัญญาชนเป็นหลักแหล่ง.
 
=== มาตรา 3. ===
 
สิทธิ์เป็นเจ้าประเทศชาติ ของประชาชนบรรดาเผ่า ได้รับการปฏิบัติ และรับประกันด้วยการเคลื่อนไหว ของระบบการเมือง ซึ่งมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นแกนนำ.
 
=== มาตรา 4. ===
 
ประชาชนเป็นผู้สร้างตั้งองค์การตัวแทนแห่งสิทธิอำนาจ และผลประโยชน์ของตน ซึ่งมีชื่อว่า สภาแห่งชาติ.
 
การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ปฏิบัติตามหลักการทั่วไป, เสมอภาพ, โดยตรง และลงคะแนนเสียงปิดลับ.
 
ผู้หย่อนบัตรเลือกตั้งมีสิทธิ์เสนอปลดผู้แทนของตนได้ ถ้าหากเห็นว่ามีการประพฤติตนมิสมเกียรติศักดิ์ศรี และขาดความไว้วางใจจากประชาชน.
 
=== มาตรา 5. ===
 
สภาแห่งชาติ และทุกองค์การของรัฐได้รับการจัดตั้ง และเคลื่อนไหวตามหลักการรวมศูนย์ประชาธิปไตย.
 
=== มาตรา 6. ===
 
รัฐปกป้องสิทธิอิสรภาพ และสิทธิประชาธิปไตยของประชาชน ที่ไม่มีผู้ใดล่วงละเมิดได้. ทุกองค์การ และพนักงานของรัฐ ต้องโฆษณาอบรมบรรดานโยบาย และระเบียบกฎหมายให้ประชาชน และพร้อมกันจัดตั้งปฏิบัติ เพื่อรับประกันสิทธิ และผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชาชน. ห้ามทุกการกระทำแบบอาชญาสิทธิ์, ข่มขู่ อันจะก่อความเสียหายถึงเกียรติศักดิ์ศรี, ร่างกาย, ชีวิต, จิตใจ และทรัพย์สมบัติของประชาชน.
 
=== มาตรา 7. ===
 
แนวลาวสร้างชาติ, สหพันธ์กรรมบาลลาว, คณะชาวหนุ่มประชาชนปฏิวัติลาว, สหพันธ์แม่หญิงลาว และบรรดาองค์การจัดตั้งสังคม เป็นที่รวบรวมความสามัคคี และปลุกระดมบรรดาชั้นคนของทุกชนเผ่าเข้าร่วมในภารกิจปกปักรักษา และสร้างสาประเทศชาติ, เสริมขยายสิทธิ์เป็นเจ้าของประชาชน, ปกปักรักษาสิทธิ์ และผลประโยชน์อันชอบธรรมของสมาชิกองค์การจัดตั้งของตน.
 
=== มาตรา 8. ===
 
รัฐปฏิบัตินโยบายสามัคคีและเสมอภาพระหว่างชนเผ่าต่างๆ. ทุกชนเผ่าล้วนแต่มีสิทธิ์ปกปักรักษา, เสริมขยายจารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของตนและของชาติ. ห้ามทุกการกระทำแบ่งแยกและการประพฤติจำแนกระหว่างชนเผ่า.
 
รัฐปฎิบัติทุกมาตราเพื่อขยาย และยกระดับเศรษฐกิจ-สังคมของทุกชนเผ่าให้สูงขึ้น
 
=== มาตรา 9. ===
 
รัฐเคารพและปกป้องการเคลื่อนไหวอันถูกกฎหมายของพุทธศาสนิกชนและศาสนิกชนอื่น. ปลุกระดมส่งเสริมพระภิกษุสามเณร และนักบวชของศาสนาให้เข้าร่วม ในการเคลื่อนไหวที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน. ห้ามทุกการกระทำ ที่เป็นการแบ่งแยกศาสนา, แบ่งแยกประชาชน.
 
=== มาตรา 10. ===
 
รัฐคุ้มครองสังคมด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย. องค์การจัดตั้งของพรรค, รัฐ, แนวลาวสร้างชาติ, องค์การจัดตั้งมหาชน, องค์การจัดตั้งสังคม และพลเมืองทุกคน ต้องเคารพและปฏิบัติรัฐธรรมนูญและกฏหมายอย่างเข้มงวด.
 
=== มาตรา 11. ===
 
รัฐปฏิบัติแนวทาง, นโยบายป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบทั่วปวงชนและรอบด้าน; ปรับปรุงและก่อสร้างกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบให้เข้มแข็ง, มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติและต่อประชาชน, มีความสามารถปฏิบัติหน้าที่ปกปักรักษาดอกผลของการปฏิวัติ, ชีวิต, ทรัพย์สิน และการออกแรงงานของประชาชน; ประกอบส่วนเข้าในภารกิจพัฒนาประเทศชาติให้มั่งคั่งเข้มแข็ง.
 
=== มาตรา 12. ===
 
สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ปฏิบัตินโยบายการต่างประเทศ สันติภาพ, เอกราช, มิตรภาพ และการร่วมมือ; ขยายสายสัมพันธ์ และการร่วมมือกับทุกประเทศ บนหลักการอยู่ร่วมกันโดยสันติ, เคารพเอกราช, อธิปไตย, ผืนแผ่นดินอันครบถ้วนของกัน, ไม่แทรกแซงเข้ากิจการภายในของกัน, เสมอภาพ และต่างฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์.
 
สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวสนับสนุนการต่อสู้ของประชาชนในโลก เพื่อสันติภาพ, เอกราชแห่งชาติ, ประชาธิปไตย และความก้าวหน้าทางสังคม.
 
 
== หมวดที่ 2 ระบบเศรษฐกิจ และสังคม ==
 
=== มาตรา 13. ===
 
เศรษฐกิจแห่งชาติ ของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว คือเศรษฐกิจหลายภาคส่วนที่คงตัวอย่างยาวนาน ซึ่งล้วนแต่ได้รับการส่งเสริม เพื่อขยายกำลังการผลิต, เปิดกว้างการผลิต, ธุรกิจ และการบริการ, หันเศรษฐกิจธรรมชาติไปสู่เศรษฐกิจสินค้า, ปฏิบัติการหันเป็นอุตสาหกรรม และการหันเป็นทันสมัย; เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของภาคพื้น และของโลก, ทำให้เศรษฐกิจแห่งชาติมีเสถียรภาพ และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง, ยกระดับชีวิตการเป็นอยู่ทางด้านวัตถุ และจิตใจของประชาชนให้สูงขึ้น.
 
ทุกภาคส่วนเศรษฐกิจล้วนแต่มีความเสมอภาพต่อหน้ากฎหมาย และเคลื่อนไหวตามกลไกเศรษฐกิจตลาด, ทั้งแข่งขัน และร่วมมือกันขยายการผลิต, ธุรกิจภายใต้การควบคุมของรัฐตามทิศสังคมนิยม.
 
=== มาตรา 14. ===
 
รัฐส่งเสริมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจภายในประเทศ ลงทุนเข้าในการผลิต, ธุรกิจ และการบริการ, ประกอบส่วนเข้าในการหันเป็นอุตสาหกรรม และการหันเป็นทันสมัย, ทำให้เศรษฐกิจแห่งชาติเติบใหญ่เข้มแข็ง.
 
 
=== มาตรา 15. ===
 
รัฐส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, สร้างสิ่งแวดล้อมอำนวยความสะดวกให้แก่การนำเอาทุน, เทคโนโลยี และการคุ้มครองที่ก้าวหน้าเข้าสู่กระบวนการผลิต, ธุรกิจ และการบริการ.
 
ทรัพย์สมบัติ และทุนที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ลงทุนในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว จะมิถูกเก็บเกณฑ์, มิถูกยึด หรือโอนเป็นของรัฐ.
 
=== มาตรา 16. ===
 
รัฐปกป้อง และเสริมขยายบรรดารูปการกรรมสิทธิ์ของรัฐ, ของรวมหมู่, เอกเทศ, เอกชนภายใน และต่างประเทศที่ลงทุนในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว.
 
=== มาตรา 17. ===
 
รัฐปกป้องสิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ (สิทธิ์ครอบครอง, สิทธิ์นำใช้, สิทธิ์ได้รับดอกผล, สิทธิ์ชี้ขาด) และสิทธิ์สืบทอดทรัพย์สมบัติของการจัดตั้ง และของบุคคล. สำหรับที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของวงคณาญาติแห่งชาติ, รัฐรับประกันสิทธิ์นำใช้, สิทธิ์โอน และสิทธิ์สืบทอดตามกฎหมาย.
 
=== มาตรา 18. ===
 
รัฐคุ้มครองเศรษฐกิจตามกลไลเศรษฐกิจตลาดที่มีการควบคุมของรัฐ, ปฎิบัติหลักการสบทบการคุ้มครองรวมศูนย์ เป็นเอกภาพของแขนงการศูนย์กลางกับการแบ่งความรับผิดชอบคุ้มครองให้ท้องถิ่น ตามระเบียบกฎหมาย.
 
=== มาตรา 19. ===
 
ทุกองค์การจัดตั้ง และพลเมืองทุกคน ต้องปกปักรักษาสิ่งแวดล้อม, ปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ: หน้าดิน, พื้นดิน, ป่าไม้, สัตว์, แหล่งน้ำ และอากาศ.
 
=== มาตรา 20. ===
 
สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ปฏิบัตินโยบายเปิดกว้างการพัวพันร่วมมือเศรษฐกิจกับต่างประเทศ โดยนำใช้รูปการสัมพันธ์เศรษฐกิจแบบหลายทิศ, หลายฝ่าย, หลายรูปแบบ บนหลักการเคารพเอกราช, อธิปไตยของกัน, เสมอภาพ และต่างฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์.
 
=== มาตรา 21. ===
 
รัฐให้ความสำคัญแก่การพัฒนาเศรษฐกิจ ติดพันกับการพัฒนาวัฒนธรรม-สังคม โดยใช้บุริมสิทธิ์แก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.
 
=== มาตรา 22. ===
รัฐเอาใจใส่ปฏิบัตินโยบายพัฒนาการศึกษา, ปฏิบัติระบอบการศึกษาชั้นประถมแบบบังคม เพื่อสร้างคนลาวให้เป็นพลเมืองดี, มีคุณสมบัติศีลธรรมปฏิวัติ, มีความรู้และความสามารถ.
 
รัฐและทั่วสังคม ตั้งหน้าพัฒนาการศึกษาแห่งชาติให้มีคุณภาพ, สร้างโอกาส และเงื่อนไขให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่เขตห่างไกลซอกหลีก, ชนเผ่า, แม่หญิง, เด็กน้อย และผู้ด้อยโอกาส.
 
รัฐส่งเสริม และผลักดันให้เอกชนลงทุนเข้าในการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติตามกฎหมาย.
 
=== มาตรา 23. ===
 
รัฐส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นมูลเชื้ออันดีงามของชาติ และของชนเผ่า สมทบกับการรับเอาวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าของโลกอย่างมีการเลือกเฟ้น
 
รัฐส่งเสริมการเคลื่อนไหววัฒนธรรม, ศิลปะวรรณคดี, การประดิษฐ์คิดแต่ง, คุ้มครอง และปกปักรักษามรดกทางด้านวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ, บูรณะปฏิสังขรณ์วัตถุโบราณ และปูชนียสถาน.
 
รัฐเอาใจใส่ปรับปรุง และขยายงานสื่อมวลชน เพื่อรับใช้ภารกิจปกปักรักษา และพัฒนาประเทศชาติ.
 
ห้ามทุกการเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรม หรือนำใช้สื่อมวลชน เพื่อก่อความเสียหายให้แก่ผลประโยชน์ของชาติ, ทำลายจารีตประเพณีอันดีงาม หรือเกียรติศักดิ์ศรีของคนลาว.
 
=== มาตรา 24. ===
 
รัฐเอาใจใส่ส่งเสริมสติปัญญา และหัวคิดประดิษฐ์สร้างในงานการค้นคว้า และการนำใช้วิทยาศาตร์-เทคโลยี, ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ไปเคียงคู่กับ การบำรุง และก่อสร้างนักวิทยาศาสตร์ เพื่อผลักดันการหันเป็นอุตสาหกรรม และการหันเป็นทันสมัย.
 
=== มาตรา 25. ===
 
รัฐเอาใจใส่ปรับปรุง และขยายงานสาธารณสุข เพื่อรักษาสุขภาพของประชาชน.
 
รัฐ และสังคมตั้งหน้าก่อสร้าง และปรับปรุงระบบการป้องกันโรค และรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างทั่วถึง, สร้างเงื่อนไขให้ประชาชนทุกคนได้รับการดูแลด้านสุขภาพ โดยเฉพาะแม่ และเด็กน้อย, ประชาชนผู้ทุกยาก และผู้อยู่เขตห่างไกลซอกหลีก เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี.
 
รัฐส่งเสริม และผลักดันให้เอกชนลงทุน เปิดบริการด้านสาธารณสุข ตามระเบียบกฎหมาย.
 
ห้ามทุกการบริการด้านสาธารณสุข ที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย.
 
=== มาตรา 26. ===
 
รัฐ และสังคมเอาใจใส่ผลักดัน, ส่งเสริม และลงทุนเข้าในการกีฬากายกรรมของมหาชน นับทั้งประเภทกีฬาที่เป็นมูลเชื้ออันดีงามของเผ่าต่างๆ และกีฬาสากล เพื่อยกระดับความสามารถด้านการกีฬาให้สูงขึ้น, เสริมสร้างกำลัง และสุขภาพของประชาชน.
 
=== มาตรา 27. ===
 
รัฐ และสังคมเอาใจใส่พัฒนาฝีมือแรงงาน; ยกสูงวินัยแรงงาน, ส่งเสริมวิชาชีพ และงานทำของประชาชน; ปกป้องสิทธิ์ และผลประโยชน์อันชอบธรรมของผู้ออกแรงงาน.
 
=== มาตรา 28. ===
 
รัฐ และสังคมเอาใจใส่ปฏิบัติโยบายสวัสดิการสังคมเป็นอย่างดี โดยเฉพาะต่อวีรชนแห่งชาติ, นักรบแข่งขัน พนักงานบำนาญ, ผู้เสียอวัยวะ, ครอบครัวผู้เสียสละชีวิต เพื่อภารกิจปฏิวัติ และผู้มีคุณงามความดีต่อประเทศชาติ.
 
=== มาตรา 29. ===
 
รัฐ, สังคม และครอบครัวเอาใจใส่ปฏิบัตินโยบายพัฒนา และส่งเสริมความก้าวหน้าของแม่หญิง, ปกป้องสิทธิ์ และผลประโยชน์ของแม่หญิง และเด็กน้อย.
 
=== มาตรา 30. ===
 
รัฐ และสังคมส่งเสริม, พัฒนา และเปิดกว้างการท่องเที่ยววัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ.
ห้ามการท่องเที่ยว ที่จะสร้างความเสื่อมเสียต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ หรือขัดกับระเบียบกฎหมาย ของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว.
 
 
== หมวดที่ 3 การป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ ==
 
=== มาตรา 31. ===
 
การป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ เป็นหน้าที่ของกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ, เป็นพันธะของทุกการจัดตั้ง และพลเมืองลาวทุกคน ในการปกปักรักษาความเป็นเอกราช, อำนาจอธิปไตย และผืนแผ่นดินอันครบถ้วนของประเทศชาติ; ปกปักรักษาชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน, รับประกันเสถียรภาพ และความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยประชาชน
 
การป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ ต้องสมทบแน่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม.
 
=== มาตรา 32. ===
 
กำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ ต้องเอาใจใส่ปรับปรุง และก่อสร้างตนเองให้เติบใหญ่เข้มแข็ง, เชิดชูความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ, เป็นกำลังประกอบอาวุธของประชาชน ที่มีธาตุแท้ปฏิวัติ, ระเบียบวิไนเข้มงวด และมีแบบแผนทันสมัย, มีความสามารถในการสู้รบสูง; เป็นกำลังหลักแหล่งในการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ, ความสงบ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม.
 
รัฐเอาใจใส่ประกอบวัตถุอุปกรณ์, เทคนิค, เทคโนโลยี, พาหนะ, เครื่องมือ และยกระดับความรู้, ความสามารถ, วิชาเฉพาะ, ยุทธศิลป์ และยุทธวิธีของกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบให้สูงขึ้น.
 
=== มาตรา 33. ===
รัฐ และสังคมเอาใจใส่ปฏิบัตินโยบาย, ดูแลชีวิตการเป็นอยู่ทางด้านวัตถุ และจิตใจ และปฏิบัตินโยบายแนวหลังต่อกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ เพื่อเพิ่มทวีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ปกปักรักษาประเทศชาติ และรักษาความสงบของสังคม.
 
กำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ ต้องเอาใจใส่ยกสูงจิตใจพึ่งตนเอง, กุ้มตนเอง, ออกแรงสร้างพลาธิการกับที่ เพื่อรับประกันการปฏิบัติหน้าที่ของตน และประกอบส่วนในการสร้างสาพัฒนาประเทศชาติ.
 
== หมวดที่ 4 สิทธิ์และพันธะพื้นฐานของพลเมือง ==
 
=== มาตรา 34. ===
 
พลเมืองลาว คือผู้ที่มีสัญชาติลาว ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
=== มาตรา 35. ===
 
พลเมืองลาว โดยไม่จำแนกหญิงชาย, ฐานะทางด้านสังคม, ระดับการศึกษา, ความเชื่อถือ และชนเผ่า ล้วนแต่มีความเสมอภาพต่อหน้ากฎหมาย.
 
=== มาตรา 36. ===
 
พลเมืองลาวผู้ที่มีอายุแต่สิบแปดปีขึ้นไป มีสิทธิ์หย่อนบัตรเลือกตั้ง และผู้ที่มีอายุแต่ยี่สิบเอ็ดปีขึ้นไป มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง เว้นเสียแต่ผู้เป็นบ้า, เสียจริต และผู้ที่ถูกศาลตัดสิทธิปลดสิทธิ์เลือกตั้ง และสมัครรับเลือกตั้ง.
 
=== มาตรา 37. ===
 
พลเมืองลาวหญิงชาย มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ในด้านการเมือง, เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม-สังคม และครอบครัว.
 
=== มาตรา 38. ===
 
พลเมืองลาว มีสิทธิ์ได้รับการศึกษาร่ำเรียน, ยกสูงความก้าวหน้า.
 
=== มาตรา 39. ===
 
พลเมืองลาวมีสิทธิ์ทำงาน และประกอบอาชีพที่มิขัดต่อกฎหมาย. ผู้ออกแรงงานมีสิทธิ์ได้รับการพักผ่อน, ได้รับการรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บป่วย, ได้รับการช่วยเหลือในกรณีที่หมดความสามารถออกแรงงาน, เสียอวัยวะ, ในเวลาเฒ่าแก่ และในกรณีอื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
=== มาตรา 40. ===
 
พลเมืองลาว มีสิทธิ์เสรีภาพในการตั้งภูมิลำเนา และในการไปมา ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
=== มาตรา 41. ===
 
พลเมืองลาว มีสิทธิ์ร้องทุกข์, ร้องฟ้องและเสนอความเห็นต่อองค์การที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พัวพันถึงสิทธิ์ และผลประโยชน์รวม หรือสิทธิ์ และผลประโยชน์เฉพาะของตน.
 
คำร้องทุกข์, คำร้องฟ้อง และความเห็นของพลเมืองต้องได้รับการพิจารณา และแก้ไขตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
=== มาตรา 42. ===
 
พลเมืองลาวมีสิทธิ์โดยไม่มีผู้ใดจะล่วงละเมิดได้ทางร่างกาย, เกียรติศักดิ์ศรี และเคหะสถาน. พลเมืองลาวจะไม่ถูกจับตัว หรือตรวจค้นเคหะสถาน ถ้าหากไม่มีคำสั่งของอัยการ หรือศาลประชาชน เว้นเสียแต่ในกรณีที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
=== มาตรา 43. ===
 
พลเมืองลาว มีสิทธิ์เสรีภาพในการเชื่อถือ หรือไม่เชื่อถือศาสนา.
 
=== มาตรา 44. ===
 
พลเมืองลาว มีสิทธิ์เสรีภาพในการพูดคุย, ขีดเขียน, รวมชุมนุม, จัดตั้งสมาคม และเดินขบวน ที่มิขัดกับระเบียบกฎหมาย.
 
=== มาตรา 45. ===
 
พลเมืองลาวมีสิทธิ์เสรีภาพในการค้นคว้า และนำใช้ความก้าวหน้า ทางด้านวิทยาศาสตร์, เทคนิค และเทคโนโลยี, ประดิษฐ์สร้างศิลปะวรรณคดี และดำเนินการเคลื่อนไหววัฒนธรรม ที่มิขัดกับระเบียบกฎหมาย
 
=== มาตรา 46. ===
 
รัฐปกป้องสิทธิ์ และผลประโยชน์อันถูกกฎหมายของพลเมืองลาวที่อยู่ต่างประเทศ.
 
=== มาตรา 47. ===
 
พลเมืองลาว มีพันธะเคารพรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย, ปฏิบัติระเบียบการออกแรงงาน, ระเบียบการดำรงชีวิตของสังคม และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง.
 
=== มาตรา 48. ===
 
พลเมืองลาวมีพันธะเสียภาษี และส่วยสาอากรตามระเบียบกฎหมาย.
 
=== มาตรา 49. ===
 
พลเมืองลาว มีพันธะปกปักรักษาประเทศชาติ และป้องกันความสงบ, ปฏิบัติพันธะการทหารตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
=== มาตรา 50. ===
 
ชาวต่างด้าว และผู้ไม่มีสัญชาติก็มีสิทธิ์ได้รับการป้องกันสิทธิ์ และเสรีภาพตามที่ได้กำหนดไว้อยู่ในกฎหมายของ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, มีสิทธิ์ร้องฟ้องต่อศาล และองค์การที่เกี่ยวข้องของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, มีพันธะเคารพรัฐธรรมนูญ และระเบียบกฎหมายของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว.
 
=== มาตรา 51. ===
 
สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว อนุญาตการลี้ภัยให้แก่คนต่างประเทศที่ถูกปราบปราม เพราะได้ทำการต่อสู้ เพื่ออิสรภาพ, ความเป็นธรรม, สันติภาพ, และภารกิจวิทยาศาสตร์.
 
== หมวดที่ 5 สภาแห่งชาติ ==
=== มาตรา 52. ===
 
สภาแห่งชาติ คือองค์การตัวแทนแห่งสิทธิอำนาจ และผลประโยชน์ ของประชาชนบรรดาเผ่า, เป็นองค์การอำนาจแห่งรัฐ และทั้งเป็นองค์การนิติบัญญัติ ที่มีสิทธิ์ตกลงปัญหาพื้นฐานของประเทศชาติ, ติดตามตรวจตราการเคลื่อนไหวขององค์การบริหาร, ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน.
 
=== มาตรา 53. ===
 
สภาแห่งชาติมีสิทธิ์ และหน้าที่ดังนี้:
# สร้าง, รับรองเอา หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ.
# พิจารณา, รับรองเอา, เปลี่ยนแปลง หรือลบล้างกฎหมาย.
# พิจารณารับรองเอาการกำหนด, การเปลี่ยนแปลง หรือลบล้างภาษี และส่วยสาอากร.
# พิจารณา, รับรองเอาแผนยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม และแผนงบประมาณแห่งรัฐ.
# เลือกตั้ง หรือปลดตำแหน่งประธาน, รองประธาน และกรรมการคณะประจำสภาแห่งชาติ.
# เลือกตั้ง หรือปลดตำแหน่งประธานประเทศ และรองประธานประเทศตามการเสนอของคณะประจำสภาแห่งชาติ.
# พิจารณา, รับรองเอาการเสนอแต่งตั้ง หรือปลดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามการเสนอของประธานประเทศ, พิจารณา, รับรองเอาโครงประกอบกงจักรของรัฐบาล, การแต่งตั้ง, การโยกย้าย, หรือการปลดตำแหน่งสมาชิกรัฐบาล (คณะรัฐมนตรี) ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี.
# เลือกตั้ง หรือปลดตำแหน่งประธานศาลประชาชนสูงสุด และอัยการประชาชนสูงสุดตามการเสนอของประธานประเทศ.
# ตกลงสร้างตั้ง หรือยุบเลิกกระทรวง, องค์การเทียบเท่ากระทรวง, แขวง และนคร, ตกลงเขตแดนของแขวง และนคร ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี
# ตกลงให้นิรโทษกรรม.
# ตกลงให้สัตยาบัน หรือลบล้างสนธิสัญญา, สัญญาที่ได้เซ็นกับต่างประเทศตามกฎหมาย.
# ตกลงปัญหาสงคราม หรือสันติภาพ.
# ติดตามตรวจตราการเคารพ และปฏิบัติรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย.
# ปฏิบัติสิทธิ์ และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
=== มาตรา 54. ===
สภาแห่งชาติ แต่ละชุดมีอายุการห้าปี.
 
สมาชิกสภาแห่งชาติ คือพลเมืองลาวผู้เลือกตั้งตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
* การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติชุดใหม่ ต้องให้แล้วอย่างช้าหกสิบวัน ก่อนสภาแห่งชาติชุดเก่าจะหมดอายุการ.
* ในกรณีที่เกิดสงคราม หรือด้วยสาเหตุอื่น ซึ่งก่อความยุ่งยากให้แก่การเลือกตั้งนั้น สภาแห่งชาติอาจจะต่ออายุการของตนก็ได้ แต่ต้องดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติชุดใหม่ อย่างช้ามิให้เกิดหกเดือน ภายหลังสภาพการได้กลับคืนสู่ปกติ.
* ในกรณีมีความจำเป็น สภาแห่งชาติจะดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติก่อนการหมดอายุการของตนก็ได้แต่ต้องได้รับความเห็นดีอย่างน้อยสองส่วนสามของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติ ที่เข้าร่วมกองประชุม.
 
=== มาตรา 55 ===
สภาแห่งชาติเลือกตั้งคณะประจำของตน ซึ่งประกอบด้วยประธาน, รองประธาน และกรรมการจำนวนหนึ่ง.
 
ประธาน และรองประธานสภาแห่งชาติ เป็นทั้งประธาน และรองประธานคณะประจำสภาแห่งชาติ.
 
=== มาตรา 56. ===
คณะประจำสภาแห่งชาติ คือองค์การประจำการของสภาแห่งชาติ, ปฏิบัติหน้าที่แทนสภาแห่งชาติ ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดกองประชุม.
 
คณะประจำสภาแห่งชาติมีสิทธิ์ และหน้าที่ดังนี้:
* ตระเตรียมกองประชุมสภาแห่งชาติ และรับประกันให้สภาแห่งชาติ ปฏิบัติแผนการที่ได้กำหนดไว้.
* ตีความหมาย และอธิบายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ.
* ติดตามตรวจตราการเคลื่อนไหวขององค์การบริหาร, ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดกองประชุม.
* แต่งตั้ง, ยกย้าย หรือปลดตำแหน่งผู้พิพากษาของศาลประชาชนทุกขั้น และผู้พิพากษาของศาลทหาร.
* เรียกรวมกองประชุมสภาแห่งชาติ
* ปฏิบัติสิทธิ์ และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
=== มาตรา 57 ===
สภาแห่งชาติเปิดกองประชุมสมัยสามัญปีละสองครั้ง โดยคณะประจำสภาแห่งชาติเป็นผู้เรียกรวม. คณะประจำสภาแห่งชาติอาจจะเรียกรวมกองประชุมสมัยวิสามัญก็ได้ ถ้าหากเห็นว่ามีความจำเป็น.
 
=== มาตรา 58 ===
กองประชุมสภาแห่งชาติจะดำเนินได้ ก็ต่อเมื่อหากมีสมาชิกสภาแห่งชาติเข้าร่วมมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติทั้งหมด.
 
มติของกองประชุมสภาแห่งชาติ จะมีคุณค่าได้ก็ต่อเมื่อได้รับคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกองประชุม เว้นเสียแต่กรณีที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 54, 66 และมาตรา 97 ของรัฐธรรมนูญ.
 
=== มาตรา 59. ===
องค์การจัดตั้ง และบุคคลที่มีสิทธิ์เสนอสร้างร่างกฎหมายมีดังนี้:
# ประธานประเทศ.
# คณะประจำสภาแห่งชาติ.
# รัฐบาล.
# ศาลประชาชนสูงสุด.
# องค์การอัยการประชาชนสูงสุด.
# แนวลาวสร้างชาติ และองค์การจัดตั้งมหาชนขั้นศูนย์กลาง.
=== มาตรา 60===
กฎหมายที่สภาแห่งชาติได้รับรองเอาแล้วนั้น ต้องได้ประกาศใช้โดยประธานประเทศ อย่างช้ามิให้เกินสามสิบวัน นับแต่วันได้รับรองเป็นต้นไป. ในระยะเวลาดังกล่าวนั้น ประธานประเทศมีสิทธิ์เสนอให้สภาแห่งชาติพิจารณาใหม่. กฎหมายที่ได้นำมาพิจารณาใหม่นั้น ถ้าว่าสภาแห่งชาติหากยังตกลงยืนยันเอาตามเดิมแล้ว ประธานประเทศก็ต้องประกาศใช้ภายในกำหนดสิบห้าวัน.
=== มาตรา 61 ===
บรรดาปัญหาที่เกี่ยวพันถึงชะตากรรมของประเทศชาติ และผลประโยชน์อันใหญ่หลวงของประชาชน ต้องผ่านสภาแห่งชาติ หรือคณะประจำสภาแห่งชาติ ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดกองประชุม.
=== มาตรา 62. ===
สภาแห่งชาติสร้างตั้งบรรดากรรมาธิการของตน ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย และร่างรัฐบัญญัติ และนำเสนอต่อคณะประจำสภาแห่งชาติ และประธานประเทศ พร้อมทั้งช่วยสภาแห่งชาติ และคณะประจำสภาแห่งชาติปฏิบัติสิทธิ์ตรวจตราการเคลื่อนไหวขององค์การบริหาร, ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน.
=== มาตรา 63. ===
สมาชิกสภาแห่งชาติมีสิทธิ์ซักถามนายกรัฐมนตรี หรือสมาชิกรัฐบาล, ประธานศาลประชาชนสูงสุด และอัยการประชาชนสูงสุด. บุคคลที่ถูกซักถามนั้น ต้องชี้แจงต่อกองประชุมสภาแห่งชาติด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร.
===มาตรา 64===
สมาชิกสภาแห่งชาติ จะมิถูกดำเนินคดี หรือกักขัง ถ้าหากมิได้รับความเห็นดีของสภาแห่งชาติ หรือของคณะประจำสภาแห่งชาติ ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดกองประชุม.
 
ในกรณีที่มีการกระทำผิดซึ่งหน้า หรือรีบด่วนนั้น องค์การที่กักขังสมาชิกสภาแห่งชาติ ต้องรายงานทันทีให้สภาแห่งชาติ หรือคณะประจำสภาแห่งชาติในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดกองประชุมเพื่อพิจารณาตกลง. การสืบสวน-สอบสวนมิเป็นสาเหตุให้สมาชิกสภาแห่งชาติที่ถูกดำเนินคดีนั้น ขาดประชุมสภาแห่งชาติ.
 
== หมวดที่ 6 ประธานประเทศ ==
 
=== มาตรา 65. ===
 
ประธานประเทศเป็นประมุขรัฐแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, เป็นผู้แทนให้ประชาชนลาวบรรดาเผ่าทั้งอยู่ภายในและต่อต่างประเทศ.
 
===มาตรา 66. ===
 
ประธานประเทศ นั้นสภาแห่งชาติเป็นผู้เลือกตั้งโดยรับคะแนนเสียงอย่างน้อยสองส่วนสามของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติที่เข้าร่วมกองประชุม.
 
ประธานประเทศมีอายุการเท่ากับอายุการของสภาแห่งชาติ
 
===มาตรา 67. ===
 
ประธานประเทศมีสิทธิและหน้าที่ดังนี้:
# ประกาศใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่สภาแห่งชาติได้ตกลงรับรองเอาแล้ว.
# ออกรัฐบัญญัติและรัฐดำรัส.
# เสนอการแต่งตั้งหรือปลดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อสภาแห่งชาติเพื่อพิจารณาตกลง.
# แต่งตั้งหรือปลดตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, แต่งตั้ง, โยกย้าย หรือปลดตำแหน่งสมาชิกรัฐบาลภายหลังที่สภาแห่งชาติได้รับรองเอาแล้ว.
# แต่งตั้งหรือปลดตำแหน่งรองประธานศาลประชาชนสูงสุด ตามการเสนอของประธานศาลประชาชนสูงสุด, แต่งตั้งหรือปลดตำแหน่งรองอัยการประชาชนสูงสุด ตามการเสนอของอัยการประชาชนสูงสุด.
# แต่งตั้ง โยกย้าย หรือปลดตำแหน่งเจ้าแขวง, เจ้าครองนคร ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี.
# เป็นแม่ทัพกำลังประกอบอาวุธของประชาชน.
# ตกลงเลื่อนชั้นหรือปลดชั้นนายพลอยู่กองกำลังป้องกันชาติ - ป้องกันความสงบ ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี.
# เรียกรวมและเป็นประธานกองประชุมพิเศษของรัฐบาล
# ตกลงประดับเหรียญคำแห่งชาติ, เหรียญกิตติคุณ, เหรียญชัย และนามยศสูงสุดแห่งรัฐ.
# ตกลงการให้อภัยโทษ.
# ตกลงการระดมพลทั่วไปหรือเป็นภาคส่วน, ตกลงภาวะฉุกเฉินในทั่วประเทศหรือในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง
# ประกาศให้สัตยาบันหรือการลบล้างสนธิสัญญาที่ได้เซ็นกับต่างประเทศ
# แต่งตั้งผู้แทนมีอำนาจเต็มของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวไปประจำอยู่ต่างประเทศหรือเรียกกลับคืนประเทศ ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี, รับรองเอาผู้แทนที่มีอำนาจเต็มของต่างประเทศที่มาประจำอยู่สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว. ปฏิบัติสิทธิและหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย
 
===มาตรา 68. ===
 
ประธานประเทศมีรองประธานประเทศซึ่งสภาแห่งเป็นผู้เลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติที่เข้าร่วมกองประชุม.
 
รองประธานประเทศปฏิบัติตามหน้าที่การมอบหมายของประธานประเทศ และทำการแทนประธานประเทศในเวลาประธานประเทศติดขัด.
 
== หมวดที่ 7 รัฐบาล ==
 
=== มาตรา 69. ===
 
รัฐบาลเป็นองค์การบริหารแห่งรัฐ.
 
รัฐบาลคุ้มครองอย่างเป็นเอกภาพการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐในทุกด้าน: การเมือง, เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม-สังคม, ป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ และการต่างประเทศ.
 
=== มาตรา 70. ===
 
รัฐบาลมีสิทธิ และหน้าที่ดังนี้:
 
# ปฏิบัติรัฐธรรมนูญ, กฎหมาย และมติของสภาแห่งชาติ, รัฐบัญญัติ และรัฐดำรัสของประธานประเทศ.
# เสนอร่างกฎหมาย และร่างรัฐบัญญัติต่อสภาแห่งชาติ, ร่างรัฐดำรัสต่อประธานประเทศ.
# กำหนดแผนยุทธศาสตร์, แผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม และแผนงบประมาณแห่งรัฐประจำปี แล้วนำเสนอให้ สภาแห่งชาติพิจารณา และรับรองเอา.
# รายงานการเคลื่อนไหวทำงานของตนต่อสภาแห่งชาติ, ต่อคณะประจำสภาแห่งชาติ (ในเวลาที่สภาแห่งชาติไม่ได้เปิดกองประชุม) และรายงานต่อประธานประเทศ.
# ออกดำรัส, มติตกลงเกี่ยวกับการคุ้มครองรัฐ, คุ้มครองเศรษฐกิจ-สังคม, วิทยาศาสตร์, เทคนิค, เทคโนโลยี, ทรัพยากแห่งชาติ, สิ่งแวดล้อม, การป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ และการต่างประเทศ.
# จัดตั้ง, ชี้นำ และตรวจตราการเคลื่อนไหวของบรรดาแขนงการ และองค์การปกครองท้องถิ่น.
# จัดตั้ง และตรวจตราการเคลื่อนไหวของกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ.
# เซ็นสนธิสัญญา, สัญญากับต่างประเทศ และชี้นำการปฏิบัติสนธิสัญญา และสัญญาที่ได้เซ็นแล้ว.
# งดการปฏิบัติ, ลบล้าง หรือยกเลิกข้อตกลง, คำสั่งของกระทรวง, องค์กรเทียบเท่ากระทรวง, องค์การที่ขึ้นกับรัฐบาล และองค์การปกครองท้องถื่นที่ขัดกับระเบียบกฎหมาย.
# ปฏิบัติสิทธิ์ และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
=== มาตรา 71. ===
 
รัฐบาล ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, หัวหน้าองค์การเทียบเท่ากระทรวง.
 
รัฐบาลมีอายุการ เท่ากับอายุการของสภาแห่งชาติ.
 
=== มาตรา 72. ===
 
นายกรัฐมนตรี นั้นประธานประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง หรือปลดตำแหน่ง ภายหลังที่สภาแห่งชาติได้รับรองเอาแล้ว.
 
=== มาตรา 73. ===
 
นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และเป็นตัวแทนให้รัฐบาล ชี้นำ และอำนวยควบคุมงานของรัฐบาล, ชี้นำงานของกระทรวง, องค์การเทียบเท่ากระทรวง, ทบวง และองค์การอื่นๆ ที่ขึ้นกับรัฐบาล, ชี้นำงานของแขวง และนคร
 
นายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง, ยกย้าย หรือปลดตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ, รองหัวหน้าองค์การเทียบเท่ากระทรวง, หัวหน้าทบวง, รองเจ้าแขวง, รองเจ้าครองนคร, เลี่อนชั้น หรือปลดชั้นพันเอก ของกองกำลังป้องกันชาติ-ป้องกันความสงบ และตำแหน่งอื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
บรรดารองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยงานนายกรัฐมนตรี และรับผิดชอบงานใดหนึ่งตามการมอบหมายของนายกรัฐมนตรี. เมื่อนายกรัฐมนตรีติดขัด นั้นรองนายกรัฐมนตรีผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ว่าการแทน.
 
=== มาตรา 74. ===
 
รัฐบาล หรือสมาชิกรัฐบาลท่านใดท่านหนึ่ง อาจจะถูกสภาแห่งชาติพิจารณา และลงมติไม่ไว้วางใจ ถ้าว่าคณะประจำสภาแห่งชาติ หรือมีอย่างน้อยหนึ่งส่วนสี่ของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติทั้งหมดหากเสนอปัญหานี้ขึ้น.
 
ในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง ภายหลังที่สภาแห่งชาติ ได้ลงมติไม่ไว้วางใจแล้ว ประธานประเทศมีสิทธิ์เสนอให้สภาแห่งชาติพิจารณาคืนใหม่. การพิจารณาครั้งที่สองต้องห่างจากการพิจารณาครั้งที่หนึ่งสี่สิบแปดชั่วโมง. ถ้าว่า การลงมติครั้งใหม่หากไม่ได้รับความไว้วางใจอีกแล้ว รัฐบาล หรือสมาชิกรัฐบาลท่านนั้น ต้องลาออก.
 
== หมวดที่ 8 การปกครองท้องถิ่น ==
 
=== มาตรา 75. ===
 
สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว แบ่งการปกครองท้องถิ่น ออกเป็นสามขั้นคือ: ขั้นแขวง, ขั้นเมือง และขั้นบ้าน.
 
* ขั้นแขวง มีแขวง และนคร.
* ขั้นเมือง มีเมือง และเทศบาล.
* ขั้นบ้าน มีบ้าน.
 
แขวง มีเจ้าแขวง, นคร มีเจ้าครองนคร, เมือง มีเจ้าเมือง, เทศบาล มีหัวหน้าเทศบาล, บ้านมีนายบ้าน.
 
เจ้าแขวง มีรองเจ้าแขวง, เจ้าครองนคร มีรองเจ้าครองนคร, เจ้าเมือง มีรองเจ้าเมือง, หัวหน้าเทศบาล มีรองหัวหน้าเทศบาล, นายบ้าน มีรองนายบ้าน เป็นผู้ช่วยงาน.
 
ในกรณีที่จำเป็น อาจจะต้องสร้างตั้งเขตพิเศษขึ้นตามการตกลงของสภาแห่งชาติ. เขตพิเศษมีฐานะเทียบเท่ากับแขวง.
 
=== มาตรา 76. ===
 
เจ้าแขวง, เจ้าครองนคร, เจ้าเมืองมีสิทธิ์ และหน้าที่รวมดังนี้:
 
# รับประกันการปฏิบัติรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย, จัดตั้งปฏิบัติทุกมติคำสั่งที่ขั้นสูงวางออกอย่างเข้มงวด.
# ชี้นำ และตรวจตราการเคลื่อนไหว ของทุกแขนงการ, ทุกขั้นที่ขึ้นกับขอบเขตความรับผิดชอบของตน.
# งดการปฏิบัติ, ลบล้าง หรือยกเลิกข้อตกลงของทุกแขนงการ ที่อยู่ขั้นของตน หรือขั้นล่างที่ขัดกับระเบียบกฎหมาย.
# คุ้มครองพลเมือง, พิจารณา และแก้ไขคำร้องทุกข์ และคำเสนอของประชาชน อยู่ในขอบเขตสิทธิ์อำนาจของตน ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
# ปฏิบัติสิทธิ์ และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
=== มาตรา 77. ===
 
หัวหน้าเทศบาลมีสิทธิ์ และหน้าที่ในการวางแผนการ, จัดตั้งปฏิบัติ และคุ้มครองการพัฒนาตัวเมือง, บริการสาธารณะให้ทั่วถึง, มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย, สะอาด และสวยงาม ในขอบเขตตัวเมืองตามที่ได้กำหนดไว้ในผังเมือง, ปฏิบัติสิทธิ์ และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย.
 
=== มาตรา 78. ===
 
นายบ้านมีความรับผิดชอบ จัดตั้งปฏิบัติระเบียบกฎหมาย และมติคำสั่งของรัฐ, ปกปักรักษาความสงบ, ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้าน และพัฒนาบ้านให้มีความหนักแน่นในทุกด้าน.
 
== หมวดที่ 9 ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน ==
 
=== มาตรา 79. ===
 
ศาลประชาชนเป็นองค์การพิพากษาของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย:
* ศาลประชาชนสูงสุด.
* ศาลอุทธรณ์.
* ศาลประชาชนแขวง, นคร.
* ศาลประชาชนเมือง.
* ศาลทหาร.
ในกรณีที่จำเป็น อาจจะสร้างตั้งศาลเฉพาะตามแขนงการขึ้นก็ได้ โดยการตกลงของคณะประจำสภาแห่งชาติ.
 
=== มาตรา 80. ===
 
ศาลประชาชนสูงสุดเป็นองค์การพิพากษาสูงสุดของรัฐ.
 
ศาลประชาชนสูงสุด คุ้มครองด้านบริหาร ต่อศาลประชาชนทุกขั้น, ศาลทหาร และตรวจตราคำตัดสินของศาลดังกล่าว.
 
=== มาตรา 81. ===
 
รองประธานศาลประชาชนสูงสุด นั้นประธานประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง หรือปลดตำแหน่ง ตามการเสนอของประธานศาลประชาชนสูงสุด.
 
บรรดาผู้พิพากษาของศาลประชาชนสูงสุด, ประธาน, รองประธาน, บรรดาผู้พิพากษาของศาลอุทธรณ์, ประธาน และรองประธาน และบรรดาผู้พิพากษา ของศาลประชาชนแขวง, นคร, เมือง, หัวหน้า, รองหัวหน้า และบันดาผู้พิพากษาของศาลทหาร นั้นคณะประจำสภาแห่งชาติเป็นผู้แต่งตั้ง, ยกย้าย หรือปลดตำแหน่ง ตามการเสนอของประธานศาลประชาชนสูงสุด.
 
=== มาตรา 82. ===
 
ศาลประชาชนพิจารณาตัดสินเป็นหมู่คณะ. ในเวลาพิจารณาตัดสิน ผู้พิพากษาต้องเป็นเอกราช และมีแต่ปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น.
 
=== มาตรา 83. ===
 
การไต่สวนคดีในที่ประชุมศาล ต้องดำเนินอย่างเปิดเผย เว้นเสียแต่กรณีที่ได้กำนหดไว้ในกฎหมาย. ผู้ต้องหามีสิทธิ์ต่อสู้คดีที่ตนถูกกล่าวฟ้อง, ทนายความมีสิทธิ์ช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ผู้ถูกกล่าวฟ้อง.
 
=== มาตรา 84. ===
 
ผู้แทนบรรดาองค์การจัดตั้งสังคม มีสิทธิ์เข้าร่วมในการดำเนินคดีอยู่ศาล ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย.
 
=== มาตรา 85. ===
 
คำตัดสินของศาลประชาชนที่ใช้ได้อย่างเด็ดขาดแล้วนั้น ทุกองค์การจัดตั้งพรรค, องค์การจัดตั้งรัฐ, แนวลาวสร้างชาติ, องค์การจัดตั้งมหาชน, องค์การจัดตั้งสังคม และพลเมืองทุกคนต้องเคารพ, บุคคล และองค์การจัดตั้งที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติอย่างเข้มงวด.
 
=== มาตรา 86. ===
 
องค์การอัยการประชาชนเป็นองค์กรติดตามตรวจตราการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย:
* องค์การอัยการประชาชนสูงสุด.
* องค์การอัยการประชาชนขั้นอุทธรณ์.
* องค์การอัยการประชาชนแขวง, นคร.
* องค์การอัยการประชาชนเมือง.
* องค์การอัยการทหาร.
 
องค์การอัยการประชาชนมีสิทธิ์ และหน้าที่ดังนี้:
# ติดตามตรวจตราการเคารพ ระเบียบกฎหมายอย่างถูกต้อง และเป็นเอกภาพอยู่ในทุกกระทรวง, องค์การเทียบเท่ากระทรวง, องค์การที่ขึ้นกับรัฐบาล, แนวลาวสร้างชาติ, องค์การจัดตั้งมหาชน, องค์การจัดตั้งสังคม, องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น, วิสาหกิจ, รัฐกร และพลเมือง.
# ปฏิบัติสิทธิ์กล่าวฟ้อง.
 
=== มาตรา 87. ===
 
อัยการประชาชนสูงสุดชี้นำการเคลื่อนไหว ขององค์การอัยการประชาชนทุกขั้น.
 
รองอัยการประชาชนสูงสุดนั้นประธานประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง หรือปลดตำแหน่งตามการเสนอของอัยการประชาชนสูงสุด.
 
อัยการประชาชน และรองอัยการประชาชนขั้นอุทธรณ์, แขวง, นคร, เมือง, อัยการทหารนั้นอัยการประชาชนสูงสุด เป็นผู้แต่งตั้ง, ยกย้าย หรือปลดตำแหน่ง.
 
=== มาตรา 88. ===
 
ในเวลาปฏิบัติหน้าที่ของตนนั้น อัยการประชาชนมีแต่ปฏิบัติตามกฎหมาย และคำสั่งของอัยการประชาชนสูงสุดเท่านั้น.
 
== หมวดที่ 10 ภาษา, อักษร, เครื่องหมายชาติ, ธงชาติ, เพลงชาติ, วันชาติ, สกุลเงิน และนครหลวง ==
 
=== มาตรา 89. ===
 
[[w:ภาษาลาว|ภาษา]]และ[[w:อักษรลาว|อักษรลาว]]เป็นภาษาและอักษรที่ใช้เป็นทางการ.
 
=== มาตรา 90. ===
 
[[w:ตราแผ่นดินของลาว|เครื่องหมายชาติของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว]]คือรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์อักษร "สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว" สองข้างล้อมด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร "สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร", ระหว่างกลางของสองปลายรวงข้าวมีรูปพระธาตุหลวง, อยู่กลางรูปวงกลมมีหนทาง, ทุ่งนา, ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก.
 
=== มาตรา 91. ===
 
[[w:ธงชาติลาว|ธงชาติของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว]] คือธงพื้นสีคราม, แถบแดง และวงเดือนสีขาวอยู่กึ่งกลางของธงชาติ. ความกว้างของธงเท่ากับสองส่วนสามของความยาว, ความกว้างขอบแถบสีแดงแต่ละข้างเท่ากับกึ่งหนึ่งของแถบสีคราม และวงเดือนสีขาวกว้างเท่ากับสี่ส่วนห้าของความกว้างแถบสีคราม.
 
=== มาตรา 92. ===
 
เพลงชาติของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวคือเพลงที่มีชื่อว่า [[w:เพลงชาติลาว|"ชาติลาว"]].
 
=== มาตรา 93.. ===
 
วันชาติของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ได้แก่วันสถาปนาสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว คือ: วันที่ 2 เดือนธันวาคม ปี 1975.
 
=== มาตรา 94. ===
 
สกุลเงินของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวคือ[[w:กีบ (สกุลเงิน)|เงินกีบ]].
 
=== มาตรา 95. ===
 
นครหลวงของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวคือ[[w:นครหลวงเวียงจันทน์|นครหลวงเวียงจันทน์]].
 
== หมวดที่ 11 บทบัญญัติสุดท้าย ==
 
=== มาตรา 96.. ===
รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวคือกฎหมายพื้นฐานของชาติ. ทุกกฎหมายต้องให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ.
 
=== มาตรา 97. ===
มีแต่กองประชุมสภาแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวเท่านั้นจึงมีสิทธิเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ.
 
ในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ต้องมีสมาชิกสภาแห่งชาติอย่างน้อยสองส่วนสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเห็นชอบ.
 
=== มาตรา 98. ===
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลศักดิ์สิทธิ์นับแต่ประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวออกรัฐดำรัสประกาศใช้เป็นต้นไป
 
 
 
เวียงจันทน์, วันที่ 6 พฤษภาคม 2003<br>
สะหมาน วิยะเกด
ประธานสภาแห่งชาติ
 
[[หมวดหมู่:รัฐธรรมนูญ]]