ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญานวยุค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darrine (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Darrine (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 52:
'''อภิปรัชญาของมิล''' (John Stuart Mill 1806 – 1873) เน้นลัทธิปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ (logical) เป็นผู้รื้อฟื้นประสบการณ์นิยมของอังกฤษให้ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ มีความเชื่อว่าความเห็นมนุษย์มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อความเป็นอยู่ สังคม และประวัติศาสตร์ของมนุษย์ จึงพยายามสร้างระบบความคิดซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ต่อเสรีภาพของมนุษย์และความผาสุก มิลเน้นที่วิธีอุปนัยเป็นวิธีถูกต้องวิธีเดียวที่จะหาความรู้ใหม่ได้ อภิปรัชญาในความหมายแท้นั้นไม่มี เพราะเราไม่สามารถจะรู้อะไรเลยขอบข่ายของประสบการณ์ไปได้
 
'''อภิปรัชญาของปวงกาเร''' (Jules Henri Poincare 1854-1912) ชาวฝรั่งเศส เชื่อตามคานท์ว่าความจริงมีแต่คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ปรัชญามีหน้าที่ค้นคว้าแต่เพียงปรากฎการณ์ของความเป็นจริง กฎต่าง ๆ เป็นเรื่องของความพร้อมใจ คณิตศาสตร์เป็นความรู้ประเภทสังเคราะห์ก่อนประสบการณ์ (synthetic a priori) กฎคณิตศาสตร์เริ่มจากอุปนัยเหมือนวิทยาศาสตร์ โดยเลือกที่ต้องการจากการพร้อมใจ และใช้อัชฌัตติกญาณรับรองความถูกต้อง อัชฌัตติกญาณของปวงกาเรก็คือที่คานท์เรียกว่าโครงสร้างสมองของคานท์ ปวงกาเรชี้ว่ามีความจริงบางอย่างที่จริงชนิดเหนือโครงสร้างของสมอง จริงแบบอสัมพัทธ์ เรียกว่าเป็นอัชฌัตติกญาณวิเคราะห์ก่อนประสบการณ์ (analytic a priori intuitions)
 
 
'''ลัทธิปรัชญาวิเคราะห์''' กระบวนทรรศน์นวยุคได้รวบยอดผ่านอภิปรัชญาของลัทธิปรัชญาวิเคราะห์ (Analytic Philosophy) ซึ่งเป็นการพัฒนาลัทธินิรันดรนิยมและสารัตถะนิยมถึงขั้นสมบูรณ์แบบ โดยการสร้างระบบเครือข่าย (network) ด้วยวจนศูนย์ (logocenter) อย่างแน่นแฟ้นอันประกอบด้วย 3 ระบบเครือข่ายที่ตรงกัน คือ
 
# ระบบเครือข่ายในความเป็นจริง อันได้แก่ กฎทั้งหลายของเอกภพที่โยงใยถึงกันในลักษณะกลศาสตร์ที่เป็นระบบระเบียบแน่นแฟ้น
# ระบบเครือข่ายของความคิดซึ่งโยงใยถึงกันตามกฎตรรกวิทยา โดยรวมคณิตศาสตร์อยู่ในตรรกวิทยาด้วย
# ระบบเครือข่ายของภาษาอุดมการณ์ซึ่งต้องสร้างใหม่หรือปรับภาษาสามัญให้แสดงโครงสร้างตามตรรกวิทยาได้อย่างสมบูรณ์
 
 
 
นักปรัชญากระแสนี้ส่วนมากไม่เชื่อว่ามีจิตวิญญาณ จะมีก็แค่จิตและชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งของพลังงานสัมพันธ์กับสสารอย่างคำนวณได้แน่นอนชัดเจนและแม่นยำ ลัทธินี้ยังได้ชื่อว่าวจนศูนย์นิยม (logocentrism) โดยเรียกทั้ง ๓ ระบบเครือข่ายรวมกันว่า วจนศูนย์ (logocenter) คือมี logos (วจนะ) เป็นศูนย์กลาง ดังนั้นปรัชญาที่สนใจจึงมุ่งไปที่มาตรการความจริงว่าควรเป็นมาตรการใด (ญาณปรัชญา)