ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญาดึกดำบรรพ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darrine (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Darrine (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 18:
 
กระบวนทรรศน์ดึกดำบรรพ์ มีบทบาทในอารยธรรมต่างๆ ดังนี้
# อารยธรรมอียิปต์ (ก.ค.ศ. 3100- ก.ค.ศ.300)
# อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ก.ค.ศ. 3000-ก.ค.ศ.331)
# อารยธรรมกรีก (ก.ค.ศ. 1200- ค.ศ.529)
# อารยธรรมจีน (ก.ค.ศ. 2100- ค.ศ.1900)
# อารยธรรมอินเดีย (ก.ค.ศ. 3300- ค.ศ.1200)
 
สุเมเรียนเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักประดิษฐ์อักษรได้ราว 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช อักษรลิ่มนี้นับว่าเป็นหลักฐานที่เป็นลายอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในทางประวัติศาสตร์ ได้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และความรู้ทางด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ ปฎิทิน การชั่ง ตวง วัด ราว ๆ 2000 ปีก่อนคริสตกาลเริ่มมีอารยธรรมที่มีความรู้ทางการอ่าน-เขียนในยุโรปคืออารยธรรมของพวกมิโนน (Minoans) ที่เกาะครีต และตามด้วยพวกไมเซเนียน (Myceneans, ประเทศกรีซในปัจจุบัน) ความรู้ได้สะสมเพิ่มพูนกลายเป็นวิชาการต่างๆ และได้มีการสะสมความรู้ไว้ในรูปแบบตำรา หนังสือต่างๆ โดยเกิดเป็นห้องสมุด สถานที่ตั้งขึ้นในยุคแรก ได้แก่ ห้องสมุดวัด  และห้องสมุดวังกษัตริย์ เพราะเป็นแหล่งรวมของเหล่านักปราชญ์ นักบวชต่างๆ
บรรทัดที่ 51:
'''แนวทางการตอบปัญหาในกระบวนทรรศน์ดึกดำบรรพ์'''
 
* ทำไมน้ำจึงไหลลงสู่ที่ต่ำ คำตอบคือเบื้องบนประสงค์อย่างนั้น ถ้าประสงค์จะไหลขึ้นบนก็ทำได้
* ทำอย่างไรให้พระเจ้าพอใจ ก็ทำตามที่เบื้องบนบอก เบื้องบนบอกเองไม่ได้ก็ต้องทำตามที่นักบวช คนทรง หมอผีบอก ไม่มีสิทธิขัดขืน
* ขอเพียงทำให้เบื้องบนพอใจ โลกนี้ก็จะดี โลกไหนๆ ก็จะดีด้วย
* คติแห่งกระบวนทรรศน์ดึกดำบรรพ์คือ “ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับน้ำพระทัยของเบื้องบน”
 
== อ้างอิง ==