ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Parintar (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย "ตลาดในระบบเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื..."
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:48, 5 ธันวาคม 2558

ตลาดในระบบเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่าง

ผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค และยังช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการ

มาบำบัดความต้องการได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในบทนี้ จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดในทางเศรษฐศาสตร์

ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์

ตลาด หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวะการณ์ในการซื้อขายสินค้านั้นๆ ซึ่งก็

หมายถึงว่า การซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีตลาดเป็นตัวตน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาพบกัน เพียงแต่ใช้

เครื่องมือสื่อสารตกลงกัน

หน้าที่ของการตลาด

การตลาด ซึ่งรวมถึงการรับเสี่ยงภัยและการขนส่ง ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในฐานะเป็นขั้น

หนึ่งของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ก็เพราะ การผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นถือว่าจะมีผลผลิต ก็ต่อเมื่อสินค้าได้

ถึงมือผู้บริโภคแล้ว เท่านั้น จึงพอสรุปหน้าที่ได้ ดังนี้

• แสวงหาอุปสงค์และคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับอุปสงค์

• เสริมสร้างให้เกิดอุปสงค์

• สนองความต้องการอุปสงค์

ประเภทและลักษณะของตลาด

ประเภทของตลาด ลักษณะของตลาด ตัวอย่างสินค้า

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์

มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากแต่สินค้าจะมีน้อย โดยที่

สินค้าจะมีลีกษณะเดียวกัน ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องรู้ถึงสภาวะ

ของตลาด โดยที่จะมีการขนส่งโดยสมบูรณ์ หน่วยธุรกิจ

สามารถเข้าออกจากธุรกิจโดยเสรี

ข้าว ข้าวโพด

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีอิสระ

ในการเลือกซื้อ แต่ชนิดสินค้าที่ผลิตจะต่างมาตรฐานและ

ลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ผู้ขายสามารถกำหนดราคาได้

ตามต้องการทั้งๆต้องแข่งขันกับคู่ค้ารายอื่น

เสื้อผ้า รองเท้า สบู่

ยาสระผม ยาสีฟัน

แปรงสีฟัน

ประเภทของตลาด ลักษณะของตลาด ตัวอย่างสินค้า

ตลาดผู้ขายน้อยราย มีผู้ขายไม่กี่รายแต่จะมีสินค้าจำนวนมาก เมื่อเทียบกับ

ปริมาณทั้งหมดในตลาด หากผู้ขายรายใดเปลี่ยนแปลงราคา

หรือนโยบายการขายแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรายอื่น

น้ำมัน หนังสือพิมพ์

น้ำอัดลม

ตลาดแบบผูกขาด มีผู้ขายเพียงรายเดียว ทำให้ผู้ขายมีสิทธิเหนือราคา

และปริมาณขายสินค้า โดยจะเพิ่มหรือลดราคาและควบคุม

จำนวนขายได้ทั้งหมด

ไฟฟ้า ประปา รถไฟ โรงงาน

ยาสูบ

กลไกราคากับระบบเศรษฐกิจ

1. กลไกราคา

กลไกราคา หมายถึง ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้าและบริการอันเกิดจาก

แรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน เมื่อผู้ผลิตพยายามปรับปรุงการผลิตและบริการให้สอดคล้องกับความ

ต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นจะเห็นได้ว่าราคาสินค้าและบริการเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดอุปสงค์และ

อุปทาน ตลอดจนเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนราคาให้เข้าสู่จุดดุลยภาพ เช่น เมื่อราคาสินค้าและบริการ

เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ก็จะลดลง แต่อุปทานของสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้น

กลไกราคาจะพบได้ในทุกตลาด ยกเว้น ตลาดแบบผูกขาด เพราะกลไกราคาจะเกิดได้เฉพาะ

ตลาดที่มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะของตลาดเสรีหรือประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุน

นิยมหรือเสรีนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสมเท่านั้น โดยระบบเศรษฐกิจเหล่านี้จะมีกลไกราคาเป็น

ตัวกำหนดว่าจะผลิตสินค้าปริมาณเท่าใดและราคาเท่าใด

2. การกำหนดราคาสินค้าและบริการในทางเศรษฐกิจ กำหนดไว้ 2 วิธี คือ

1. ให้กลไกราคาเป็นเครื่องมือในการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตาม

แรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน

2. รัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการด้วยการควบคุมและแทรกแซงราคาสินค้าและ

บริการด้วยวิธีกำหนดราคาเมื่อสินค้าที่จำเป็นขาดตลาด เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค การประกันราคาขั้นต่ำเพื่อ

ช่วยเหลือผู้ผลิต การพยุงราคาสินค้าไม่ให้ตกต่ำมากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ให้ขาดทุน

3. อุปสงค์ (Demand)

อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคที่

เต็มใจจะซื้อและซื้อหามาได้ ณ ระดับราคาต่างๆที่ตลาดกำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการที่จะ

ซื้อสินค้าและบริการนั้นแล้ว ก็จะสามารถมีกำลังซื้อสินค้านั้นได้ แต่ถ้าผู้บริโภคไม่สามารถที่จะซื้อหรือไม่มีกำลัง

ซื้อ ก็จะไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ตามความหมายในทางเศรษฐศาสตร์

3.1 กฎของอุปสงค์ (Law of Demand) หมายถึง ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและ

บริการในราคาต่ำ(ราคาถูก) ในปริมาณมากกว่าซื้อสินค้าในราคาสูง(ราคาแพง)

3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์

การที่ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นจำนวน

เท่าใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ราคาสินค้าและบริการ (ตามกฎของอุปสงค์)

2. รายได้ของผู้บริโภค

3. รสนิยมของผู้บริโภค

4. สมัยนิยม

5. การโฆษณาและเทคนิคการตลาด

6. ราคาสินค้าหรือบริการอื่นๆที่ต้องใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้

7. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค

8. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค

9. พฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ฤดูกาล การศึกษา

10. ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ

4. อุปทาน (Supply)

อุปทาน

หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ขายหรือผู้ผลิตยินดีขายหรือผลิตให้แก่ผู้ซื้อ ณ

ระดับราคาต่างๆตามที่ตลาดกำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มสูงขึ้น ผู้ผลิตก็ยินดีที่จะ

เสนอขายมากขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าชนิดนั้นลดลงปริมาณของอุปทานก็จะลดลงตามไปด้วย

4.1 กฎของอุปทาน (Law of Supply) หมายถึง ผู้ผลิตมีความต้องการเสนอขายสินค้า

และบริการในราคาสินค้าและบริการที่สูง(ราคาแพง) ในปริมาณมากกว่าราคาสินค้าและบริการที่ต่ำ(ราคาถูก)

4.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปทาน

การที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อมากน้อยเพียงใด

ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังนี้

1. ราคาสินค้าและบริการในขณะนั้นๆ (กฎของอุปทาน)

2. ต้นทุนการผลิตที่เปลี่ยนแปลง (วัตถุดิบ)

3. เทคโนโลยีการผลิตที่นำมาใช้

4. ฤดูกาล

5. สภาวะของตลาดและภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น

6. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการของผู้ผลิต (การเกิดกำไร)

7. จำนวนผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่ง (ราคาสินค้าและบริการชนิดเดียวกันที่มีการแข่งขันกัน)

5. ดุลยภาพ (Equilibrium)

กลไกราคาทำงานโดยได้รับอิทธิพลจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ว่า ณ

เวลาใด เวลาหนึ่ง ถ้าปริมาณความต้องการหรือปริมาณอุปสงค์ต่อสินค้าในตลาดมีมากเกินกว่าปริมาณสินค้าที่

ผู้ผลิตจะยินดีขายให้ ราคาสินค้าก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการขาดแคลนของสินค้า แต่ถ้า

ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตประสงค์จะขายให้ผู้บริโภค หรือปริมาณอุปทานของสินค้ามีมากกว่าปริมาณสินค้าที่

ผู้บริโภคประสงค์จะซื้อ ราคาสินค้านั้นก็จะมีแนวโน้มลดต่ำลง เมื่อปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานเท่ากัน

ราคาสินค้าจึงจะอยู่นิ่ง หรือที่เรียกว่า มีเสถียรภาพไม่ปรับขึ้นลงอีก ยกเว้นว่า จะมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ตลาดต้อง

เปลี่ยนแปลงไป

สรุป การทำงานของกลไกราคาจะทำให้การจัดสรรทรัพยากรสามารถดำเนินไปได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ โดยที่รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ตัดสินใจแทนผู้อื่น เพราะการแข่งขันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย จะ

ทำให้สินค้ามีราคาที่สะท้อนความขาดแคลนของสินค้าหรือ ทรัพยากรนั้นๆ ผู้ซื้อย่อมทราบดีถึงความต้องการที่

แท้จริงของตน เช่นเดียวกับผู้ผลิตก็ย่อมทราบดีกว่าผู้อื่นว่าต้นทุนการผลิตของตนเองเป็นอย่างไร และสมควร

ตอบสนองความต้องการสินค้าในท้องตลาดอย่างไร

6. อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกิน

6.1 ภาวะอุปสงค์ส่วนเกินหรืออุปทานส่วนขาด คือ ถ้าสินค้าใดเป็นที่ต้องการมาก จะทำให้

ราคาสินค้าและบริการสูง ส่งผลให้สินค้าและบริการขาดตลาด อุปสงค์ส่วนเกินจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อราคา

สินค้าต่ำกว่าจุดดุลยภาพ ซึ่งหมายถึง ความต้องการซื้อมีมากกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตทำการผลิต

ออกมาขาย

6.2 ภาวะอุปทานส่วนเกินหรืออุปสงค์ส่วนขาด คือ ถ้าสินค้าใดเป็นที่ต้องการน้อยจะทำให้

การบริโภคสินค้าและบริการต่ำ ส่งผลให้สินค้าและบริการล้นตลาด อุปทานส่วนเกินจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อราคา

สินค้าอยู่เหนือจุดดุลยภาพ ซึ่งหมายถึงความต้องการซื้อสินค้าและบริการมีน้อยกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่

ผู้ผลิตผลิตออกมาขาย

ปัญหาทางเศรษฐกิจ

1. เงินเฟ้อ (Continued)

คือ ภาวะที่ราคาของแพง ค่าของเงินลดลง

ผลกระทบของเงินเฟ้อ

1. อำนาจการซื้อลดลง

2. การออมและการลงทุนลดลง (High consumption in the current period)

3. การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำมากขึ้น

 บุคคลที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ : เจ้าของกิจการ ผู้ผลิต นักเก็งกำไร ลูกหนี้

 บุคคลที่เสียประโยชน์ : ผู้ที่มีรายได้ประจำ เจ้าหนี้

4. การส่งออกของประเทศลดลง การนำเข้าเพิ่มขึ้น

2. เงินฝืด (Deflation)

คือ ภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ราคาราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ

เนื่องจากอุปสงค์มีน้อยกว่าปริมาณสินค้าทำให้สินค้าเหลือ ราคาสินค้าลดลง การผลิตลดลง การจ้างงาน

ลดลง รายได้ลดลงค่าของเงินสูง

 ผลของเงินฝืด : อำนาจซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น

 ผู้ที่ได้ประโยชน์ : เจ้าหนี้ , ผู้มีรายได้ประจำ

 ผู้ที่เสียประโยชน์ : ผู้ที่มีรายได้จากกำไร , ลูกหนี้

 การแก้ปัญหาเงินฝืด : ใช้นโยบายการเงิน การคลัง เพื่อกระตุ้นให้ อุปสงค์รวมสูงขึ้น

3. การว่างงาน

การว่างงาน คือ ภาวการณ์ที่บุคคลในวัยแรงงาน (ผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป) มีความสามารถที่จะ

ทำงานและสมัครใจที่จะทำงาน แต่ไม่สามารถหางานทำได้ จึงทำให้ไม่มีงานทำ เราถือว่าบุคคลเหล่านี้

ว่างงานโดยไม่สมัครใจ (Involuntary Unemployment)

ประเภทของการว่างงาน

1. การว่างงานโดยเปิดเผย (in survey period): temporary, seasonal

2. การว่างงานแอบแฝง หรือ การทำงานต่ำกว่าระดับ

ผลกระทบของการว่างงาน

1. การใช้ประโยชน์จากแรงงานไม่เต็มที่

2. การออมและการลงทุนของประเทศลดลง

3. การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำมากขึ้น

4. การคลังของรัฐบาลแย่ลง (T ลด, G เพิ่ม)