ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรีฑา/กีฬาประเภทลาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Parintar (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย "กรีฑาประเภทลาน (Field ) กรีฑาประเภทลาน ประกอบด้วยการวิ่งกร..."
 
Parintar (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1:
== กรีฑาประเภทลาน (Field ) ==
 
กรีฑาประเภทลาน ประกอบด้วยการวิ่งกระโดดไกล การวิ่งกระโดดสูง การทุ่มน้ำหนัก การขว้างจักร และการพุ่งแหลน แต่ละประเภทต้องอาศัยทักษะที่แตกต่างกัน โดยการวิ่งกระโดดไกล ระบบการทำงานของร่างกายระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อต้องมีความสัมพันธ์กัน จะช่วยให้สามารถบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างนิ่มนวลและถูกต้องตามจังหวะที่ต้องการ การวิ่งกระโดดสูงต้องรู้จักจังหวะการกระโดด การสปริงตัวขึ้น การลอยตัวในอากาศ และการลงสู่พื้นได้อย่างปลอดภัย การทุ่มลูกน้ำหนักต้องรู้จักการทรงตัว การกระโดดได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว และการใช้แรงส่งลูกน้ำหนักให้ไปไกลที่สุด การขว้างจักรต้องอาศัยการเหวี่ยงตัว และจังหวะที่ดีในการเหวี่ยงจักร รวมทั้งต้องมีความรวดเร็วว่องไว ประสาทและทักษะในการเคลื่อนไหวดี การพุ่งปล่อยแหลนออกไปในท่าที่ถูกต้องรู้จักจังหวะการวิ่ง การบังคับแหลนควรเรียนรู้ทำความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
 
=== การวิ่งกระโดดไกล (Long Jump ) ===
 
การวิ่งกระโดดไกลมีหลายแบบ เช่น การวิ่งกระโดดไกลแบบงอตัว แบบก้าวขาในอากาศแบบแอ่นตัว ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการวิ่งกระโดดไกลแบบงอตัว ซึ่งมีเทคนิคและกติกาดังนี้
 
เส้น 32 ⟶ 30:
หลังจากการกระโดดสมบูรณ์แล้วเดินย้อนกลับมาทางกระดานเริ่ม ใช้ท่ากระโดดแบบลังกาหน้า
 
=== วิ่งกระโดดสูง (High Jump ) ===
 
จุดหมายของการวิ่งกระโดดสูงหรือการกระโดดสูง คือ การที่ผู้กระโดดวิ่งมาแล้วสามารถกระโดดขึ้นและลอยตัวข้ามไม้พาดที่อยู่สูงไปได้ โดยใช้ท่าที่เหมาะสมกับรูปร่าง ความถนัด และเป็นท่าที่ตนเองกระโดดได้สูงที่สุด ท่าทางที่ใช้ในการกระโดดสูงนี้มีหลายแบบซึ่งได้เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ โดยการคิดค้นหาเทคนิคและท่าทางการกระโดดขึ้นมา เพื่อให้ผู้กระโดดทำสถิติการกระโดดสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการเริ่มฝึกของนักเรียน ควรฝึกจากท่าง่าย ๆ ไปก่อน เพื่อให้รู้จักจังหวะการกระโดด รู้จักการสปริงตัวขึ้น รู้จักการลอยตัวในอากาศและการลงสู่พื้นได้อย่างปลอดภัย
 
เส้น 60 ⟶ 57:
ความเร็วที่เร่งมา ปลายเท้าชี้ตรงไปยังจุดลงพื้น เท้าจะไม่ขนานกับไม้พาด แล้วเหวี่ยงขาอิสระท่อนบนให้สูงขนานกับพื้น
อย่างรวดเร็ว และคงท่าทางนั้นไว้ (1)พร้อมกับเหวี่ยงแขนทั้งสองขึ้นให้กำปั้นสูงในระดับศีรษะ และคงท่าทางนั้นไว้ (2) ข้อต่อ ข้อเท้า เข่าและสะโพกเหยียดสุดตัว
 
1.2.3 การลอยตัวข้ามไม้พาด เมื่อกระโดดขึ้นคงท่าทางของขาอิสระท่อนบนที่เหวี่ยงสูงขนานกับพื้น ขาข้างที่กระโดดเหยียบสุดตัว เหวี่ยงแขนซ้าย ซึ่งเป็นแขนข้ามไม้พาดไปก่อน แล้วแตะสะโพกขึ้นระหว่างช่วงที่สะโพกผ่านไม้พาด เมื่อสะโพกผ่านไม้พาดไปแล้ว ให้เก็บคางชิดหน้าอก และเหยียดขาทั้งสอง
 
1.2.4 การลงสู่พื้น หลังจากผ่านข้ามไม้พาดแล้วลงเบาะด้วยแผ่นหลังทั้งหมด ประคองด้วยแขนทั้งสองข้าง ให้แยกเข่าออกจากกันเพื่อป้องกันขากระแทกใบหน้า
 
==== กติกาในการแข่งขันเบื้องต้น ====
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว ซึ่งในกรณีที่ทำผิดกติกา มีดังนี้
 
หลังจากกระโดดแล้ว ไม้พาดหล่นอันเกิดจากการกระทำของผู้กระโดด
ไม่ได้กระโดดแต่ปล่อยให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายถูกพื้นรวมทั้งเบาะรองรับระหว่างเสากระโดดสูงทั้งสอง หรือภายนอกเสาที่อยู่หลังขอบหน้าของเสา อย่างไรก็ตามเมื่อนักกรีฑากระโดดขึ้นไปแล้วเท้าไปถูกเบาะ ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าไม่มีการได้เปรียบให้ถือว่าการกระโดดครั้งนั้นมีผลสมบูรณ์
 
=== ทุ่มลูกน้ำหนัก (Shot Putting ) ===
 
การทุ่มลูกน้ำหนักเป็นกรีฑาประเภทลานอีกชนิดหนึ่ง ผู้เล่นหรือผู้แข่งขันแต่ละคนจะต้องลูกน้ำหนักที่มีน้ำหนักเท่าๆกัน ภายในพื้นที่วงกลมที่ราบเรียบตามกติกากำหนดไว้ โดยทุ่มตรงออกไปข้างหน้า ผู้ที่ทุ่มได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ
 
เส้น 76 ⟶ 74:
 
1.1) การถือลูกน้ำหนัก การถือลูกน้ำหนักที่ี่ถูกต้องตามวิธีการ มีส่วนช่วยในการทุ่มลูกน้ำหนักไปข้างหน้าได้ไกลขึ้น
 
1.2) การยืนเตรียมทุ่ม การแข่งขันทุ่มลูกน้ำหนักผู้ทุ่มต้องยืนและทุ่มภายในวงกลมตามกติกากำหนดไว้ สมมุติว่าทุ่มด้วยมือขวา เริ่มต้นด้วยการหยิบลูกน้ำหนักด้วยมือซ้าย(เพื่อสงวนกำลังของมือขวาไว้) วางลงบนมือขวาถือลูกน้ำหนักวางทาบที่ใต้ขากรรไกร คือระหว่างคอกับไหล่ หันฝ่ามือไปข้างหน้าใช้แก้มแนบกระชับไว้ตลอดแขนจนถึงปลายนิ้ว ไม่เกร็ง แบะข้อศอก ยืนหันข้างซ้ายให้ทิศทางที่จะทุ่มเหยียบแขนข้างที่ไม่ได้ทุ่มไปข้างหน้า มือสูงกว่าระดับไหล่ เท้าขวาแยกห่างจากเท้าซ้ายประมาณ 1 ช่วงไหล่ ปลายเท้าขนานกัน
 
1.3) การเคลื่อนไหวก่อนทุ่ม เมื่อยืนเตรียมพร้อมแล้วให้โน้มตัวไปหาเท้าขวา ย่อเข่าขวางอแขนซ้ายมาด้านหน้า น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา ยกส้นเท้าซ้ายขึ้นเล็กน้อย พร้อมกับบิดไหล่ สะเอวข้างขวาต่ำลง ให้ลูกน้ำหนัก เข่า และปลายเท้าขวาอยู่บนเส้นดิ่งเดียวกัน
 
1.4) การทุ่ม เริ่มจากการโล้น้ำหนักตัวไปยังทิศทางที่จะทุ่ม พร้อมกับเหยียดเข่าขวาขึ้น บิดไหล่ สะเอว แอ่นหน้าอกและดันลูกน้ำหนักออกจากซอกคอเฉียดปลายคางไปข้างหาหน้าทำมุม 45 องศา เหยียดแขนดันลูกน้ำหนักไปให้สุดแขนอย่างแรงและส่งตามด้วยเท้าขวาโดยฉับพลันขณะเดียวกันแขนซ้ายและไหล่ซ้ายจะเหวี่ยงกลับไปข้างหลัง
 
1.5) การทรงตัวหลังการทุ่ม เมื่อทุ่มลูกน้ำหนักไปแล้วให้กระโดดลอยตัวด้วยแรงส่งของเท้าขวา โดยใช้เท้าก้าวไปในลักษณะกระโดดเล็กน้อยแทนที่เท้าซ้าย แล้วลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าขวาพร้อมกับย่อเข่า แขนซ้ายที่เหวี่ยงไปข้างหลังกางออกเล็กน้อยเพื่อช่วยในการทรงตัว ตามองลูกน้ำหนักที่ทุ่มไป
 
==== กติกาการแข่งขันเบื้องต้น ====
 
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเริ่มต้นทุ่มจากท่านิ่งภายในวงกลม ไม่อนุญาตให้วิ่งหรือกระโดดเข้าไปในวงกลม แต่อนุโลมให้ผู้แข่งขันสัมผัสกับด้านในของขอบวงกลม และกระดานหยุดได้
ลูกน้ำหนักจะทุ่มออกไปจากไหล่ ด้วยมือข้างเดียวเท่านั้น
บรรทัดที่ 99:
ลูกน้ำหนักที่ทุ่มไปแล้วต้องถือกลับมาที่วงกลม ห้ามทุ่มกลับมา
 
=== ขว้างจักร (Throwing a Discus ) ===
 
การขว้างจักรเป็นกรีฑาประเภทลานอีกชนิดหนึ่ง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนต้องขว้างจักรออกจากพื้นที่ภายในวงกลมให้จักรไปตามทิศทางตามกติกากำหนดไว้ ผู้ที่ขว้างจักรได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ
 
เส้น 106 ⟶ 105:
 
1.1 ) การจับจักร การจับจักรก่อนขว้าง ควรเลือกจับจักรตามความถนัดความยาว และ ความแข็งแรงของนิ้วมือ
 
1.2) การยืนเตรียมตัวก่อนขว้างจักร ตามปกติผู้แข่งขันขว้างจักรจะต้องเข้าไปยืนอยู่ในพื้นที่ของวงกลมตามที่กติกากำหนดไว้ แต่สำหรับการเรียนของนักเรียนอาจจะขีดเส้นหรือทำเครื่องหมายที่เริ่มขว้างจักรไว้ก็เพียงพอแล้ว ถ้าจับจักรด้วยมือขวา ให้ยืนหันไหล่ซ้ายไปในทิศทางที่จะขว้าง เท้าซ้ายอยู่ชิดขอบในด้านหน้าวงกลม เท้าขวาแยกห่างจากเท้าซ้ายประมาณ 1 ช่วงไหล่
 
1.3) การเหวี่ยงจักร การเหวี่ยงจักรควรฝึกหัดเหวี่ยงจักรอยู่กับที่ผ่านหน้าไปมาในลักษณะคว่ำมือให้คล่องแคล่วโดยไม่เกร็ง
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนสามารถบังคับจักรได้ดีโดยไม่รู้สึกว่าจักรหลุดออกจากมือไปเสียก่อน อาจใช้สายหนังรัดจักรติดกับมือแล้วเหวี่ยงผ่านหน้าไปมา ฝึกทำหลาย ๆ ครั้ง จนเกิดความเคยชินกับจักร
 
1.4) การปล่อยจักร เมื่อเริ่มเหวี่ยงจักรไปข้างหลังให้ย่อเข่าทั้งสองลง เข่าขวาจะแบะออก พร้อมกับบิดลำตัวตามไปเล็กน้อย จักรเหวี่ยงไปข้างหลังสูงระดับไหล่ และคว่ำฝ่ามือ เมื่อสุดจังหวะที่เหวี่ยงไปข้างหลังแล้วให้เริ่มขว้างจักร โดยเหยียดเท้าขวาและเท้าซ้าย (อาจก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปข้างหน้าประมาณครึ่งก้าว) พร้อมกับเหวี่ยงจักรไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วในลักษณะคว่ำฝ่ามือ โดยใช้กำลังส่งจากการบิดไหล่ สะโพก แขนตึง แอ่นหน้าอก แขนซ้ายและไกล่ซ้ายต้องหมุน พร้อมทั้งวาดแขนซ้ายไปข้างหลัง จักรจะทำมุมเหวี่ยงเฉียงขึ้นข้างหน้าประมาณ 30 องศา เมื่อจักรมาถึงระดับหน้าก็ปล่อยทำมุมขึ้นไปประมาณ 40 องศา ซึ่งอาศัยแรงช่วยส่งจากปลายเท้าขวา การบิดไหล่และสะโพก
 
เส้น 121 ⟶ 122:
เพื่อป้องกันกระดูกสันหลังบาดเจ็บผู้เข้าแข่งขันอาจคาดเข็มขัดหนังหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสมได้
ห้ามผู้เข้าแข่งขันโรยสารใด ๆ ลงบนวงกลมหรือบนพื้นรองเท้า
 
การขว้างจักรที่ผิดกติกา คือ หลังจากที่ผู้เข้าแข่งขันได้ก้าวเข้าไปในวงกลม และทำการขว้างจักรออกไปแล้ว ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสขอบวงกลม
ในการแข่งขันนั้นผู้เข้าแข่งขันจะหยุดการแข่งขัน หรือออกไปจากวงกลมก็ได้ เมื่อออกจากวงกลมจะต้องก้าวออกข้างหลัง จากนั้นจะกลับเข้ามาอยู่ในทางนิ่ง และเริ่มต้นการแข่งขันใหม่อีกครั้ง
เส้น 126 ⟶ 128:
การแข่งขันจะออกจากวงกลมไม่ได้จนกว่าจักรจะตกพื้นดินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกจากวงกลมจะต้องออกทางครึ่งหลัง ซึ่งมีเส้นสีขาวเป็นเส้นกำหนดเขต เส้นนี้ต่อออกจากด้านนอกของวงกลมโดยต่อจากเส้นผ่านศูนย์กลาง
จักรที่ขว้างไปแล้วจะต้องถือกลับมาที่วงกลม ห้ามขว้างกลับมา
พุ่งแหลน (Throwing the Javelin)
 
=== พุ่งแหลน (Throwing the Javelin) ===
พุ่งแหลนเป็นกรีฑาประเภทลาน ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องพุ่งแหลนที่มีน้ำหนักเท่า ๆ กันโดยพุ่งแหลนออกไปข้างหน้า ผู้ที่พุ่งได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ การพุ่งแหลนเป็นกรีฑาที่ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีน้ำหนัก นักกรีฑาจึงต้องอาศัยกำลังและความเร็วเพื่อพุ่งแหลนออกไปให้ได้ระยะทางไกลที่สุด การพุ่งแหลนมีทั้งยืนอยู่กับที่และวิ่งพุ่งแหลน
 
เส้น 136 ⟶ 138:
 
1.2.1 การพุ่งแหลนลงดิน การฝึกพุ่งแหลนลงดิน เพื่อให้นักเรียนเกิดความชำนาญในการบังคับแหลน ให้เป็นไปตามทิศทางและเป้าหมายที่ต้องการ โดยยกหางแหลนสูงในลักษณะแทงปลา ครั้งแรกควรพุ่งแหลนไปข้างหน้าลงพื้นดินห่างจากตัวประมาณ 10 ฟุต เมื่อเกิดความชำนาญดีแล้วจึงทำเครื่องหมายห่างตัวออกไปเรื่อย ๆ โดยพุ่งแหลนให้ลงตรงที่หมายที่กำหนด
 
1.2.2 การพุ่งแหลนขึ้นอากาศ เมื่อจับแหลนตามวิธีที่ตนถนัดแล้ว ขณะที่จะเริ่มพุ่งแหลน ให้ทิ้งน้ำหนักตัวมาข้างหลังพร้อมกับเหยียดแขนข้างที่จับแหลนเกือบตึง บิดไหล่ เอวและสะโพกไปทางซ้าย พร้อมกับดึงแหลนเต็มแรง กลั้นหายใจพุ่งแหลนออกไปข้างหน้าทันที เมื่อพุ่งแหลนออกไปแล้วน้ำหนักตัวจะล้ำไปข้างหน้าให้รีบก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า เพื่อรับน้ำหนักของลำตัวพร้อมกับเหวี่ยงเท้าซ้ายไปข้างหลัง ตามองตามแหลนไป
 
1.2.3 มุมของการพุ่งแหลน ขณะดึงแหลนมาข้างหน้าให้แหลนผ่านไหล่และทำมุมขึ้นจากพื้นประมาณ 45 องศา ลักษณะของแหลนที่พุ่งไปในอากาศจะถูกบังคับด้วยปลายนิ้ว
ทั้งหมดและข้อมือไม่ให้แหลนเชิดเกินไป โดยสามารถบังคับให้หัวแลนลงสู่พื้นดินได้อย่างดี
2) กติกาการแข่งขันเบื้องต้น
 
2)==== กติกาการแข่งขันเบื้องต้น ====
ต้องจับแหลนตรงที่จับ การพุ่งแหลนจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่ หรือเหนือท่อนบนของแขนที่ใช้พุ่ง และต้องไม่เหวี่ยงหรือขว้างหรือรูปแบบการพุ่งซึ่งไม่เป็นไปตามแบบแผน
การพุ่งแหลนจะได้ผลเมื่อหัวแหลน ซึ่งเป็นโลหะถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆ ของแหลน