ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาเกาหลีฉบับรวมหลักไวยากรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pkphakmai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pkphakmai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัดที่ 52:
กล่าวคือคำว่า "식사하다" เขียนได้อีกรูปหนึ่งคือ "식사(를) 하다" ......ซึ่งคำว่า 식사 = meal(มื้ออาหาร) เป็นผู้ถูกกระทำนั่นเอง
 
== คำช่วยชี้ประธาน(-이/-가),(-은/-는) และคำช่วยชี้กรรม(-을/-를) ==
คำช่วยเหล่านี้ใช้เติมไว้หลังคำนาม เพื่อบอกหน้าที่ของคำนามนั้นๆ ว่าเป็นประธาน ,หัวเรื่อง หรือเป็นกรรมในประโยค
 
(-이/-가)เป็นคำช่วยชี้ประธาน
(-은/-는)เป็นคำช่วยชี้หัวเรื่อง
(-을/-를)เป็นคำช่วยชี้กรรม
 
คำช่วยชี้ประธานและคำช่วยชี้หัวเรื่องมีลักษณะที่คล้ายกันมาก แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่นัก เพราะสำหรับคนเกาหลีแล้ว
จะละประธานในประโยคไว้(ไม่เอ่ยถึง)เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า ประธานในประโยคนั้นคืออะไร เช่นเดียวกับภาษาไทย ยกตัวอย่างเช่น
เวลาจะถามใครสักคน เราก็เดินไปหาเขาแล้วพูดว่า กินข้าวหรือยัง? จะไม่นิยมพูดประโยคเต็มๆเลยว่า เธอกินข้าวหรือยัง? เป็นต้น
 
'(-이/-가)เป็นคำช่วยชี้ประธาน'
-이 :ใช้กับคำนามที่มีตัวสะกด เช่น 닥이= คุณหมอ 곰이= แบก 눈이= ตา(ดวงตา)
-가 :ใช้กับคำนามที่ไม่มีตัวสะกด เช่น 개미가,돼지가
 
(-은/-는)เป็นคำช่วยชี้หัวเรื่อง
-은 :ใช้กับคำนามที่มีตัวสะกด
-는 :ใช้กับคำนามที่ไม่มีตัวสะกด
 
(-을/-를)เป็นคำช่วยชี้กรรม
-을:ใช้กับคำนามที่มีตัวสะกด
-를:ใช้กับคำนามที่ไม่มีตัวสะกด
 
การผันเป็นประโยคคำถาม
ขั้นแรก ให้ตัด 다(ดา) ตัวท้ายของกริยารากศัพท์
ออก แล้วพิจารณาตัวสะกด นะจ๊ะ
1.เติม ㅂ니까? (พีอึบนีก่า) เมื่อกริยาลงท้าย "ไม่มีตัวสะกด"
2. เติม 습니까?(ซึมนีก่า) เมิ่อกริยาลงท้าย "มีตัวสะกด"
เช่นการเติมㅂ니까?
1.가다 →→가+ㅂ니까 ?
갑니까? (คัมนีก่า?) ไปไหน?
ต่อมาการเติม 습니까?
1.먹다→→먹+습니까?
먹습니까? (มอกซึมนีก่า)กินใช่ไหม?
 
2.คำกิริยาที่มีตัวสะกด ให้ตัด 다 ท้ายคำ แล้วเติม 습니다(ซึมนีดา) ไว้ด้านท้าย ตัวอย่างเช่น
먹다 (มอกดา) >> 먹습니다 (ม่อกซึมนีดา) = กิน
읽다 (อิลดา) >> 읽습니다 (อิลซึมนีดา) = อ่าน
듣다 (ทึดดา) >> 듣습니다 (ทึดซึมนีดา) = ฟัง
걷다 (ค่อดดา) >> 걷습니다 (ค่อดซึมนิดา) = เดิน
씻다 (ชิดตา) >> 씻습니다 (ชิดซึมนิดา) = ล้าง
받다 (พัดดา) >> 받습니다 (พัดซึมนิดา) = รับ
입다 (อิบดา) >> 입습니다 (อิบซึมนิดา) = สวม,ใส่
닫다 (ทัดตา) >> 닫습니다 (ทัดซึมนิดา) = ปิด
열다 (ยอลดา) >> 열습니다 (ยอลซึมนิดา) = เปิด
เป็นรูปแบบการลงท้ายประโยคที่มีความสุภาพมาก ๆ และยังเป็นการแสดงถึงความมีมารยาท ความเคารพ และความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อคู่สนทนา
โดยปกติแล้วมักใช้ในพิธีการต่อหน้าแขกเหรื่อทั้งหลาย-กลุ่มผู้คน หรือใช้ในการกล่าวสุนทรพจน์ หรือใช้กับผู้ที่มีความอาวุโสกว่าเรามาก ๆ ทั้งในด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิ ก็ได้