ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิติกรรมและสัญญา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 34:
การแบ่งแยกระหว่างนิติกรรมกับสัญญาเป็นแนวคิดซึ่งพัฒนาขึ้นในวงการนิติศาสตร์เยอรมัน และแพร่หลายมาถึงประเทศที่ใช้กฎหมายเยอรมันเป็นแม่แบบกฎหมายของตัว เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ขณะที่บางท้องที่ในโลก เช่น ประเทศฝรั่งเศส แม้ใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์ (civil law) เหมือนประเทศเยอรมัน แต่ก็ไม่รู้จักนิติกรรม ท้องที่เหล่านี้เรียกความผูกพันทำนองนิติกรรมว่า "สัญญา" ทั้งสิ้น ไม่แบ่งแยกเป็นนิติกรรมและสัญญา รายละเอียดเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญานั้นจะได้ว่ากันต่อไปภายหน้า
 
สำหรับประเทศไทย '''กฎหมายนิติกรรมและสัญญา'''<ref>"กฎหมายนิติกรรมและสัญญา" บางทีเรียกเพียง "กฎหมายนิติกรรม" (law of legal transactions) หรือ "กฎหมายสัญญา" (law of contracts) ส่วนภาษาเก่าเรียก "กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา", "กฎหมายลักษณะนิติกรรม" หรือ "กฎหมายลักษณะสัญญา"</ref> (law of legal transactions and contracts) ปรากฏอยู่ใน ป.พ.พ. บ. 1 ล. 4 และ บ. 2 ล. 2 เป็นหลัก ส่วนในสถาบันอุดมศึกษาไทยโดยทั่วไปนั้น ศึกษากฎหมายนิติกรรมและสัญญากันในปีแรก ถัดจากวิชา[[ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย]] และวิชา[[กฎหมายบุคคล]]
 
เพื่อประโยชน์ในการศึกษากฎหมายนิติกรรมและสัญญา ตำรานี้จึงแบ่งส่วนดังนี้