ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คอนกรีตเทคโนโลยี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เก็บกวาด
บรรทัดที่ 18:
 
=== ปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ===
ประกอบคัลเซียมซิลิเกตไฮเดรท ทำให้ซีเมนต์เพสท์ เกิดเป็น วุ้น (Gel)
วุ้น (Gel) เป็นตัวประสาน มีความเหนียวคล้ายกาว ก่อตัว แข็งตัว และ ยึดเกาะ แน่นกับวัสดุผสม
 
ส่วน คัลเซียมไฮดรอกไซด์ ทำให้ซีเมนต์เพสท์มีคุณสมบัติเป็นด่าง **ช่วยป้องกันการเกิดสนิมในเหล็กเสริม**
คัลเซียมไฮดรอกไซต์นี้อาจทำปฏิกิริยาต่อไปอีกกับวัสดุที่มีธาตุซิลิก้า และ อลูมิน่าผสมอยู่ เช่น วัสดุปอซโซลาน
 
สารประกอบ C3A จะทำปฏิกิริยากับน้ำทันทีทันใด ซึ่งอาจทำให้เกิดการก่อตัวผิดปกติ (False Set)
แต่ในผงปูนซีเมนต์มี *ยิปซัม* ผสมรวมอยู่ จึงทำให้ปฏิกิริยา ไฮเดรชันช้าลง เช่นเดียวกับสารประกอบ C4AF ที่จะทำปฏิกิริยาอย่างช้า ๆ
 
 
ความร้อนที่ได้จากการที่ปูนซีเมนต์ทำปฏิกิริยากับน้ำเรียกว่า "็ Heat of Hydration " วัดเป็นคาลอรี ต่อ กรัมของปูนซีเมนต์
 
ปูนซีเมนต์ธรรมดาให้ความร้อนประมาณ 85 - 100 คาลอรีต่อกรัม ตามระยะเวลาภายหลังการผสม ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้บางส่วนจะหนีผ่านเนื้อคอนกรีตออกมา แต่บางส่วนจะอยู่ภานในเนื้อคอนกรีต
ถ้าความร้อนที่เกิดขึ้นภายในเนื้อคอนกรีตมีค่าสูง คอนกรีตอาจเสียความแข็งแรงได้ และ ความร้อนนี้จะทำให้เกิดหน่วยแรงต่าง ๆ ภายในเนื้อคอนกรีต ซึ่งเป็นผลให้คอนกรีตแตกร้าว
 
ในโครงสร้างคอนกรีตที่บาง ความร้อนสามารถถ่ายเทออกไปได้
แต่ในโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ และ หนา เช่นเขื่อน จะต้องมีการออกแบบให้มีการถ่ายเทความร้อนให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต วิธีหนึ่งอาจทำได้โดยใช้ปูนซีเมนต์ประเภทสี่ ที่ให้ความร้อนจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นต่ำ (60 - 70 คาลารี ต่อ กรัม)
 
 
การทำปฏิกิริยาระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำจะหยุดเมื่อน้ำระเหยหนีออกจากเพสท์หมดแล้ว ดังนั้นการบ่มซึ่งเป็นวิธีการป้องกันการสูญเสียน้ำในคอนกรีึตจึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ เวลาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ขึ้นอยู่กับปริมาณของปูนซีเมนต์ในส่วนผสม ชนิดของปูนซีเมนต์ ความละเอียดของปูนซีเมนต์ อุณหภูมิ และ อัตราส่วนของน้ำต่อซีเมนต์
สำหรับอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่ต่ำกว่า 0.55 โดยน้ำหนัก จะขึ้นอยู่กับการให้น้ำจากภายนอกด้วย
ถ้าบ่มคอนกรีตที่ใช้กันตามธรรมดาเป็นเวลา 1 เดือน โดยให้อยู่ในสภาวะมาตรฐานของห้องทดลอง จะพบว่าปูนซีเมนต์จะทำปฏิกิริยากับน้ำกว่าร้อยละ 80 อย่างไรก็ดีตามสภาพในสนาม คอนกรีตจะแห้งภายในเวลาไม่กี่วัน หลังจากนั้นปูนซีเมนต์ยังคงทำปฏิกิริยากับน้ำต่อไปได้โดยอาศัยน้ำที่ซึมจากใต้ดินหรือจากความชื้นในขณะฝนตก หรือ ในขณะที่ความชื้นในอากาศสูง
ดังนั้นภายใต้ภาวะแวดล้อมธรรมดาการทำปฏิกิริยาของปูนซีเมนต์กับน้ำจะยังคงมีต่อไปอีกหลายปี
 
=== การทดสอบปูนซีเมนต์ ===