ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ/ภาคที่ 2/บทที่ 1/ส่วนที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 68:
2. {{g|0.5em}} อนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายเอกรูปว่าด้วยการก่อสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ (Convention relating to a Uniform Law on the Formation of Contracts for the International Sale of Goods) หรือเรียกโดยย่อว่า "ซีอัลฟ์" (C-ULF) {{ref label|reference_name_ฃ|ฃ|ฃ}}
 
อนุสัญญาทั้งสองฉบับนี้มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า '''อนุสัญญากรุงเฮก''' (Hague Conventions) {{ref label|reference_name_ค|ค|ค}} อย่างไรก็ดี มีเพียงรัฐเก้ารัฐที่ให้สัตยาบันในอนุสัญญาทั้งสอง อ.เฮก คือ แกมเบีย ซานมารีโน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก สหราชอาณาจักร อิตาลี และอิสราเอล<ref>Peter Schlechtriem and Ingeborg Schwenzer, 2005: 1; cited in Alysha Salinger, 2011: 3.</ref> โดยสหราชอาณาจักรยังตั้งข้อสงวนไว้ด้วยว่า จะไม่ผูกพันกับข้อบทบางข้อของอนุสัญญา อ.เฮก<ref>Alysha Salinger, 2011: 3.</ref> ประกอบกับไม่มีประเทศกำลังพัฒนา (developing country) ได้เข้าร่วมในกระบวนการยกร่างเลย<ref name = "psch">Peter Schlechtriem, 1986: Online.</ref> เป็นเหตุให้ อ.เฮก ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร<ref name = "psch"/><ref>Alysha Salinger, 2011: 3-4.</ref>
 
=== อ.เวียนนา ===
บรรทัดที่ 108:
อนุสัญญาดังกล่าวมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ'''{{ref label|reference_name_ฆ|ฆ|ฆ}} (United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods) หรือเรียกโดยย่อว่า '''ซีไอเอสจี''' (CISG) แต่มักเรียกกันว่า '''อนุสัญญากรุงเวียนนา''' (Vienna Convention) เนื่องจากตกลงรับกันที่กรุงเวียนนา{{ref label|reference_name_ง|ง|ง}}
 
อ.เวียนนา มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)<ref>กิตติศักดิ์ ปรกติ, ม.ป.ป. (''อนุสัญญาว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศฯ''): ออนไลน์.</ref> ปัจจุบัน มีรัฐลงนามและให้สัตยบันใน อ.เวียนนา แล้วจำนวนเจ็ดสิบแปดรัฐ รัฐเหล่านี้อนุสัญญา อ.เวียนนา เรียกว่า '''รัฐผู้ทำอนุสัญญา''' (Contracting State){{ref label|reference_name_จ|จ|จ}} ส่วนรัฐที่ลงนามแล้วแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันมีจำนวนสิบเจ็ดรัฐ<ref name = "unc">{{uc|Uncitral}}, 2013: Online.</ref>
 
อ.เวียนนา นับเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งของอันซิทร็อล รัฐซึ่งเห็นชอบในอนุสัญญานี้ อ.เวียนนา มาจาก "ทุกท้องที่ในทางภูมิศาสตร์ ทุกระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และทุกระบบหลักในทางกฎหมาย สังคม และเศรษฐกิจ"<ref>"Every geographical region, every stage of economic development and every major legal, social and economic system" (John Felemegas, 2000: 115).</ref> อนุสัญญาอ.เวียนนา นี้ยังได้รับการพรรณนาว่า เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในวงการนิติบัญญัติ<ref>Joseph Lookofsky, 1991: 403.</ref> และเป็น "เอกสารระหว่างประเทศที่ได้รับความสำเร็จมากที่สุดในบัดนี้"<ref>"Most successful international document so far" (Bruno Zeller, 2007: 94).</ref> ด้วย
 
== การใช้ อ.เวียนนา บังคับ ==
บรรทัดที่ 116:
แน่นอนอยู่แล้วว่า อ.เวียนนา ใช้บังคับแก่สัญญา[[ซื้อขาย]] มิใช่สัญญาอื่นใด
 
แต่ในอันที่จะนำอนุสัญญา อ.เวียนนา มาใช้นั้น มีข้อต้องพิจารณาอยู่สามประการ คือ เรื่องสถานประกอบธุรกิจของคู่สัญญา เรื่องความตกลงของคู่สัญญา และเรื่องลักษณะของสัญญา ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดแล้วก็อาจนำอนุสัญญา อ.เวียนนา มาใช้บังคับได้หรือมิได้ แล้วแต่กรณี
 
=== สถานประกอบธุรกิจของคู่สัญญา ===
บรรทัดที่ 155:
1. {{g|0.5em}} อ.เวียนนา ข. 1 ว. (1) (ก) กำหนดว่า ถ้าในการซื้อขายนั้น สถานประกอบธุรกิจของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายอยู่ต่างรัฐกัน และรัฐทั้งสองเป็นรัฐผู้ทำ อ.เวียนนา ก็ให้นำ อ.เวียนนา มาใช้บังคับ<ref>กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 71-72.</ref>
 
2.{{g|0.5em}} อ.เวียนนา ข. 1 ว. (1) (ข) กำหนดอีกว่า ถ้าในการซื้อขายนั้น สถานประกอบธุรกิจของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายอยู่ต่างรัฐกัน แต่รัฐใดรัฐหนึ่งดังกล่าวนี้ไม่เป็นรัฐผู้ทำ อ.เวียนนา ซึ่งทำให้ไม่เข้าเกณฑ์ตามอนุวรรค (ก) ข้างต้น และปรากฏว่า ตามหลักเกณฑ์ของ[[กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล]] เช่น หลักเกณฑ์เรื่อง[[การขัดกันของกฎหมาย]] (conflict of laws) แล้ว สามารถนำกฎหมายภายในของรัฐผู้ทำอนุสัญญา อ.เวียนนา รัฐใด ๆ มาใช้บังคับแก่สัญญาซื้อขายรายนี้ได้ ก็ให้นำ อ.เวียนนา มาใช้บังคับแทนกฎหมายดังกล่าว<ref>กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 72.</ref>
 
เช่น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 พจมาร สว่างพวง ซึ่งเปิดร้านขายอุปกรณ์คมนาคมอยู่ ณ บ้านทรายดอง กรุงเทพมหานคร ทำสัญญาซื้อขายดาวเทียมเทยคมกับคุณชายกางซึ่งอยู่ตั้งบริษัทอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ขณะนั้น ประเทศไทยยังไม่เป็นรัฐผู้ทำ อ.เวียนนา แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นแล้ว กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ตาม อ.เวียนนา ข. 1 ว. (1) (ก) ที่จะสามารถนำอนุสัญญา อ.เวียนนา มาใช้บังคับได้
 
แต่ปรากฏว่า พจมารถือสัญชาติเกาหลีใต้ คุณชายกางก็ถือสัญชาติเกาหลีใต้ และประเทศเกาหลีใต้เป็นรัฐผู้ทำ อ.เวียนนา แล้ว เป็นเหตุให้สามารถนำกฎหมายของประเทศเกาหลีใต้มาใช้บังคับแก่สัญญาซื้อขายรายนี้ได้ เพราะพจมารอยู่ในประเทศไทย และกฎหมายไทย คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ม. 13 ว. 1 บัญญัติว่า ให้นำกฎหมายของประเทศที่คู่สัญญาถือสัญชาติร่วมกันมาใช้บังคับ ดังนี้ เมื่อสามารถนำกฎหมายเกาเหลีใต้มาใช้ได้ จึงเข้าเกณฑ์ตาม อ.เวียนนา ข. 1 ว. (1) (ข) ที่จะต้องนำ อ.เวียนนา มาใช้แทน สัญญาซื้อขายดาวเทียมเทยคมระหว่างพจมารกับคุณชายกางจึงต้องอยู่ในบังคับแห่ง อ.เวียนนา
 
เรื่องคู่สัญญามีสถานประกอบธุรกิจอยู่ต่างรัฐกันนี้ คู่สัญญาต้องรู้หรือควรรู้กันอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนทำสัญญาหรือในเวลาที่ทำสัญญา โดยอาจรู้ได้จากตัวสัญญาเองก็ดี จากธรรมเนียมการค้า (dealing) ระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเองก็ดี หรือจากข้อมูลข่าวสาร (information) ซึ่งคู่สัญญาเปิดเผยต่อกันก็ดี ตามความใน อ.เวียนนา ข. 1 ว. 2 แต่ถ้ามาทราบเรื่องดังกล่าวหลังทำสัญญาแล้ว แม้เข้าเกณฑ์ตาม ว. 1 ก็ต้องถือว่า นำอนุสัญญา อ.เวียนนา มาใช้บังคับไม่ได้<ref name = "k 73">กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 73.</ref>
 
ถ้าคู่สัญญามีสถานประกอบธุรกิจหลายแห่ง อ.เวียนนา ข. 10 (1) ว่า ให้ถือเอาแห่งที่ "เกี่ยวพันกับสัญญาและการชำระหนี้ตามสัญญานั้นมากที่สุด" (has the closest relationship to the contract and its performance) โดยให้พิจารณาจากพฤติการณทั้งหลายที่คู่สัญญาได้ทราบหรือหยั่งทราบได้ตั้งแต่ก่อนทำสัญญาหรือในขณะทำสัญญา
บรรทัดที่ 186:
อ.เวียนนา นั้นร่างขึ้นเพื่อประมวลเอากฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายระหว่างประเทศเข้าไว้และปรับให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้มีกฎหมายกลางซึ่งนำมาใช้แก่กรณีต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด ไม่ว่าคู่กรณีจะอยู่ในวัฒนธรรม สังคม หรือระบบกฎหมายแบบใดก็ตาม<ref name = "k 70">กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 70.</ref>
 
กระนั้น อ.เวียนนา มิได้ปฏิเสธ[[หลักเสรีภาพในการทำสัญญา]]อันเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งในกฎหมายแพ่ง<ref name = "k 70"/> อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 6 จึงอนุญาตให้คู่สัญญาสามารถตกลงกันว่า ในการซื้อขายระหว่างพวกตนนั้น (ก) มิให้นำอนุสัญญา อ.เวียนนา นี้มาใช้บังคับ, (ข) ให้งดใช้ผลของข้อบทข้อใด ๆ แห่งอนุสัญญา อ.เวียนนา หรือ (ค) กำหนดให้ผลของข้อบทข้อใด ๆ แห่งอนุสัญญา อ.เวียนนา มีความแตกต่างจากที่ตราไว้แล้วก็ได้
 
แต่อนุสัญญา อ.เวียนนา ข. 12 กำหนดว่า
 
1. {{g|0.5em}} คู่สัญญาไม่อาจตกลงตามข้อ (ข) หรือ (ค) ข้างต้นได้ ถ้าคู่สัญญามีสถานประกอบธุรกิจอยู่ในรัฐผู้ทำอนุสัญญากรุงเวียนน่ อ.เวียนนา และได้ทำคำแถลงเอาไว้ตาม ข. 96
 
2. {{g|0.5em}} ห้ามคู่สัญญาไม่นำ ข. 12 นี้มาใช้บังคับ งดใช้ ข. 12 นี้ หรือกำหนดให้ ข. 12 นี้มีผลแตกต่างออกไป
 
คำแถลงตามอนุสัญญา อ.เวียนนา ข. 96 เป็นคำแถลงที่รัฐผู้ทำอนุสัญญานี้ อ.เวียนนา ทำขึ้นเพื่อประกาศว่า เมื่อกฎหมายของตนกำหนดให้สัญญาซื้อขายใด ๆ ต้อง[[ทำเป็นหนังสือ]]หรือมี[[หลักฐานเป็นหนังสือ]] ตนจะไม่ใช้กฎหมายดังกล่าวบังคับแก่การซื้อขายระหว่างประเทศที่คู่สัญญามีสถานประกอบธุรกิจอยู่ในดินแดนของตน (กล่าวคือ ประกาศว่า จะยอมให้คู่สัญญาซึ่งมีสถานประกอบธุรกิจอยู่ในดินแดนของตนทำสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศโดยไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ได้) โดย ข. 96 อนุญาตว่า คำแถลงเช่นนี้รัฐผู้ทำอนุสัญญา อ.เวียนนา จะมีขึ้นเมื่อไรก็ได้
 
เพราะฉะนั้น แม้จะเข้าหลักเกณฑ์ประการแรกซึ่งว่าด้วยเรื่องสถานประกอบธุรกิจดังอธิบายมาแล้ว แต่ถ้าคู่สัญญาตกลงกันตามความในอนุสัญญา อ.เวียนนา ข. 6 ก็อาจไม่สามารถนำอนุสัญญา อ.เวียนนา มาใช้บังคับได้ทั้งหมดหรือบางส่วน
 
=== ลักษณะของสัญญา ===
บรรทัดที่ 239:
หลักเกณฑ์ประการสุดท้ายนั้นว่าด้วยลักษณะของสัญญาซื้อขาย มีทั้งกรณีที่ไม่ให้ใช้ อ.เวียนนา บังคับ และที่ให้นำไปใช้บังคับด้วย ดังนี้
 
1. {{g|0.5em}} '''วัตถุประสงค์แห่งการใช้สอย''' อ.เวียนนา ข. 2 (ก) ว่า ไม่ให้ใช้อนุสัญญา อ.เวียนนา บังคับ ถ้าทรัพย์ซึ่งซื้อขายกันนั้นซื้อไปไว้ใช้สอยส่วนตัว ส่วนครอบครัว หรือส่วนครัวเรือน (for personal, family or household use) แต่ถ้าก่อนทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาทำสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ขายไม่ทราบหรือไม่ควรจะได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการใช้สอยดังกล่าว ก็ให้นำอนุสัญญา อ.เวียนนา มาใช้ได้ เหตุที่ อ.เวียนนา กำหนดไว้ดังนี้ ก็เพื่อมิให้ขัดกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐผู้ทำอนุสัญญา อ.เวียนนา เอง<ref>กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 74.</ref>
 
2. {{g|0.5em}} '''วิธีซื้อขาย''' อ.เวียนนา ข. 2 (ข) และ (ค) ว่า ไม่ให้ใช้อนุสัญญา อ.เวียนนา บังคับแก่การซื้อขายซึ่งกระทำโดยวิธีพิเศษสามวิธี คือ การทอดตลาด (auction), การบังคับคดี (execution) และการอาศัยอำนาจอย่างอื่นตามกฎหมาย (otherwise by authority of law)
 
3. {{g|0.5em}} '''ทรัพย์ซึ่งซื้อขาย''' อ.เวียนนา ข. 2 (ง), (จ) และ (ฉ) ว่า ไม่ให้ใช้อนุสัญญา อ.เวียนนา บังคับแก่การซื้อขายทรัพย์ดังต่อไปนี้
 
{{cl|white|3.}} {{g|0.5em}} ก. {{g|0.5em}} ทรัพย์ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ทุน (stock), หุ้น (share), หลักทรัพย์ในการลงทุน (investment security), ตราสารเปลี่ยนมือ (negotiable instrument) และเงินตรา (money)
บรรทัดที่ 251:
{{cl|white|3.}} {{g|0.5em}} ค. {{g|0.5em}} ไฟฟ้า (electricity)
 
4. {{g|0.5em}} '''จ้างทำของและจ้างแรงงาน''' อ.เวียนนา ข. 3 ว่า นอกจากสัญญาซื้อขายโดยสภาพแล้ว ให้ใช้อนุสัญญา อ.เวียนนา บังคับแก่สัญญา[[จ้างทำของ]] หรือที่อนุสัญญา อ.เวียนนา เรียกว่า "สัญญาจ้างประดิษฐ์หรือผลิตของ" (contract for supply of goods to be manufactured or produced) ด้วย ทั้งนี้ ต้องปรากฏว่า ผู้รับจ้างเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุสำคัญในการทำของนั้นเอง
 
แต่อนุสัญญา อ.เวียนนา จะไม่ใช้บังคับแก่การจ้างทำของ ถ้าผู้จ้างเป็นฝ่ายต้องจัดหาวัสดุดังกล่าว หรือถ้าผู้รับจ้างมีหน้าที่สำคัญเป็นการจัดหาแรงงานหรือทำงานอย่างอื่น (supply of labour or other services) ซึ่งจะกลายเป็นการ[[จ้างแรงงาน]]ไป เช่น "สัญญาซื้อขายสัตว์เลี้ยงซึ่งมีการว่าจ้างผู้เลี้ยงเพื่อให้มาช่วยดูแลสัตว์ในช่วงแรกเพื่อให้สัตว์ปรับตัวได้ หากการจ้างแรงงานดังกล่าวไม่ใช่ส่วนสำคัญของสัญญานี้ ก็ให้ถือว่า เป็นสัญญาซื้อขายตามอนุสัญญานี้"<ref name = "k 75">กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 75.</ref>
 
5. {{g|0.5em}} '''ขอบเขตของอนุสัญญา อ.เวียนนา''' อ.เวียนนา ข. 4 และ 5 ว่า
 
{{cl|white|5.}} {{g|0.5em}} ก. {{g|0.5em}} อนุสัญญานี้อ.เวียนนาว่าด้วยเรื่องก่อสัญญาซื้อขาย และเรื่องสิทธิและหนี้ที่ผู้ขายกับผู้ซื้อมีอยู่ตามสัญญาซื้อขายเท่านั้น
 
{{cl|white|5.}} {{g|0.5em}} ข. {{g|0.5em}} ตราบที่ไม่ได้กำหนดไว้อย่างแจ้งชัด อนุสัญญานี้อ.เวียนนา ย่อมไม่เกี่ยวกับ (1) เรื่องความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขาย ของข้อความในสัญญาซื้อขาย หรือของธรรมเนียม (usage) อย่างใด ๆ และ (2) เรื่องผลซึ่งสัญญาซื้อขายพึงมีต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกัน
 
{{cl|white|5.}} {{g|0.5em}} ค. {{g|0.5em}} อนุสัญญานี้อ.เวียนนา ไม่ใช่บังคับแก่เรื่องความรับผิดที่ผู้ขายพึงมี เมื่อมีผู้ถึงแก่ความตายหรือได้รับความบาดเจ็บเสียหายส่วนบุคลคลเนื่องมาจากทรัพย์ซึ่งซื้อขายกันนั้น
 
คำว่า "ความบาดเจ็บเสียหายส่วนบุคคล" (personal injury) ข้างต้นเป็นศัพท์ใน[[กฎหมายลักษณะละเมิด]] หมายถึง ความบาดเจ็บหรือเสียหายทางกาย ชื่อเสียง หรือจิตใจของบุคคล ตรงกันข้ามกับความเสียหายทางทรัพย์สิน (injury to property)<ref>Merriam-Webster's Dictionary ("personal injury", 2013: Online): "an injury affecting one's physical and mental person as contrasted with one causing damage to one's property"</ref>
 
สาเหตุที่ไม่ใช้อนุสัญญา อ.เวียนนา บังคับแก่เรื่องความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เพราะถือว่า ความรับผิดดังกล่าวเป็น[[ความรับผิดเพื่อละเมิด]] (liability for tort) มิใช่[[ความรับผิดตามสัญญา]] (contractual liability)<ref name = "k 75"/>{{ref label|reference_name_ช|ช|ช}} แต่ก็มีกฎหมายบางประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส ที่จัดว่า ความรับผิดเกี่ยวกับสินค้าเป็นความรับผิดตามสัญญา อนุสัญญาอ.เวียนนา จึงต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า ไม่ให้ใช้อนุสัญญา อ.เวียนนา บังคับแก่ความรับผิดชนิดนี้ เพราะถือเป็นความรับผิดเพื่อละเมิด<ref name = "k 75"/>
 
== หลักการสำคัญใน อ.เวียนนา ==
บรรทัดที่ 290:
อ.เวียนนา วางหลักเกณฑ์สำหรับการตีความอนุสัญญาเองเอาไว้ดังนี้
 
1. {{g|0.5em}} '''สัญชาติของคู่สัญญา''' อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 1 ว. (3) ว่า ในการนำอนุสัญญา อ.เวียนนา ไปใช้บังคับ ไม่ต้องคำนึงถึงสัญชาติของคู่สัญญาซื้อขาย หมายความว่า ไม่ว่าคู่สัญญาซื้อขายจะมีสัญชาติต่างกันหรือไม่ ถ้าเข้าเกณฑ์ที่จะใช้อนุสัญญา อ.เวียนนา บังคับได้ เช่น แม้สัญชาติเดียวกัน แต่มีสถานประกอบธุรกิจอยู่คนละรัฐกัน ก็เป็นอันใช้ได้
 
2. {{g|0.5em}} '''ลักษณะทางแพ่งหรือพาณิชย์''' อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 1 ว. (3) ยังกำหนดว่า ในการนำอนุสัญญา อ.เวียนนา ไปใช้บังคับ ไม่ต้องคำนึงถึง "ลักษณะทางแพ่ง" (civil character) หรือ "ลักษณะทางพาณิชย์" (commercial character) ของสัญญาซื้อขายหรือของคู่สัญญาซื้อขาย กล่าวคือ ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นสัญญาทางแพ่งหรือพาณิชย์หรือไม่ หรือความสัมพันธ์ของคู่สัญญาเป็นไปในทางแพ่งหรือพาณิชย์หรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะเป็นการยุ่งยากและซับซ้อนอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดว่า แพ่งหรือพาณิชย์คืออะไรและมีอะไรบ้าง<ref name = "k 73"/>
 
3. {{g|0.5em}} '''ลักษณะระหว่างประเทศ''' อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 7 ว. (1) ว่า ในการตีความอนุสัญญา อ.เวียนนา ให้คำนึงถึงสิ่งสองสิ่ง คือ
 
{{cl|white|3.}} {{g|0.5em}} ก. {{g|0.5em}} [[ลักษณะระหว่างประเทศ]] (international character) และ
บรรทัดที่ 300:
{{cl|white|3.}} {{g|0.5em}} ข. {{g|0.5em}} ความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้ อ.เวียนนา ได้รับการนำไปใช้บังคับอย่างเป็นระเบียบเดียวกัน และส่งเสริมให้ความสุจริตในการค้าระหว่างประเทศได้รับการถือปฏิบัติอย่างเป็นระเบียบเดียวกันด้วย
 
4. {{g|0.5em}} '''เจตนาของคู่สัญญา''' อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 8 ว่า
 
{{cl|white|3.}} {{g|0.5em}} ก. {{g|0.5em}} ถ้อยคำ (statement) หรือความประพฤติ (conduct) ของคู่สัญญาซื้อขายนั้น ให้ตีความตามเจตนาของคู่สัญญาเอง แต่กำหนดว่า ต้องเป็นเจตนาของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งซึ่งคู่สัญญาอีกฝ่ายได้ทราบหรือเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รับทราบ (knew or could not have been unaware)
บรรทัดที่ 308:
{{cl|white|3.}} {{g|0.5em}} ค. {{g|0.5em}} แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ในการกำหนดเจตนาของคู่สัญญาก็ดี หรือในการกำหนดความเข้าใจของวิญญูชนก็ดี จะต้องคำนึงถึงพฤติการณ์ทั้งหลายที่แวดล้อมกรณีนั้น ๆ เป็นหลัก พฤติการณ์เหล่านี้รวมถึง การเจรจา (negotiation), ระเบียบแบบแผนที่คู่สัญญาก่อตั้งขึ้นใช้ในระหว่างกันเอง (practices which the parties have established between themselves), ธรรมเนียม ตลอดจนความประพฤติที่คู่สัญญากระทำต่อกันในภายหลังก่อสัญญาขึ้นแล้วด้วย
 
5. {{g|0.5em}} '''กฎหมายสำรอง''' อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 7 ว. (2) ว่า เมื่อไม่มีข้อบทในอนุสัญญา อ.เวียนนา สามารถนำมาใช้บังคับแก่กรณีใดโดยเฉพาะ ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตาม "หลักทั่วไปอันเป็นรากฐานแห่งอนุสัญญานี้" (general principles on which it [this Convention] is based) และถ้าหาหลักทั่วไปนั้นไม่ได้แล้วด้วย ก็ให้อาศัยกฎหมายทั้งหลายที่จะนำมาใช้บังคับได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
 
ข้อนี้หมายความว่า เมื่อมีช่องว่างใน อ.เวียนนา ให้อุดช่องว่างนั้นด้วยหลักกฎหมายทั่วไป ถ้าไม่มีหลักกฎหมายทั่วไป ก็ให้อาศัยหลักกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและสอดคล้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ระหว่างประเทศ<ref>กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 76.</ref>
บรรทัดที่ 326:
อ.เวียนนา ยอมรับธรรมเนียมตามปรกติในทางการค้า (normal usage of trade) เช่นเดียวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อื่น ๆ โดยทั่วไปดังนี้
 
1. {{g|0.5em}} อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 9 ว. (1) กำหนดให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม
 
{{cl|white|1.}} {{g|0.5em}} ก. {{g|0.5em}} ธรรมเนียมทั้งหลายที่พวกตนตกลงกันไว้
บรรทัดที่ 332:
{{cl|white|1.}} {{g|0.5em}} ข. {{g|0.5em}} ระเบียบแบบแผนที่พวกตนก่อตั้งขึ้นใช้ในระหว่างกันเอง
 
2. {{g|0.5em}} อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 9 ว. (2) ยังให้ถือโดยปริยายว่า คู่สัญญาได้กำหนดให้นำธรรมเนียมทางการค้าโดยทั่วไปมาใช้ในสัญญาหรือในการก่อสัญญาระหว่างพวกตนด้วย เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันไว้เป็นอื่น ทั้งนี้ ธรรมเนียมดังกล่าวต้องมีลักษณะสองประการ คือ
 
{{cl|white|2.}} {{g|0.5em}} ก. {{g|0.5em}} เป็นธรรมเนียมที่คู่สัญญารับทราบหรือควรรับทราบแล้ว
บรรทัดที่ 353:
|}
 
อ.เฮกเวียนนา ข. 11 อนุญาตว่า การซื้อขายตามอนุสัญญานี้ อ.เวียนนา ไม่จำต้องทำตาม[[แบบแห่งนิติกรรม|แบบ]] (form) ใด ๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะแบบที่กำหนดให้สัญญาต้อง[[แบบเป็นหนังสือ|ทำเป็นหนังสือ]] นอกจากนี้ สัญญาก็ไม่จำต้องมี[[หลักฐานเป็นหนังสือ]]ด้วย ทั้งนี้ อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 13 ระบุว่า คำว่า "หนังสือ" ตามความอนุสัญญา อ.เวียนนา ให้หมายความถึง โทรเลข (telegram) และโทรพิมพ์ (telex) ด้วย
 
เมื่อสัญญาไม่จำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 11 ยังอนุญาตด้วยว่า การพิสูจน์สัญญาจะทำอย่างไรก็ได้ รวมถึงจะเบิกพยานบุคคลมาพิสูจน์ก็ได้
 
อย่างไรก็ดี อนุสัญญาอ.เวียนนา ข. 96 [[#ความตกลงของคู่สัญญา|ยินยอมให้รัฐผู้ทำอนุสัญญา อ.เวียนนา ตั้งข้อสงวน]]ว่า สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศที่ทำขึ้นในรัฐตนนั้นต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ โดยข้อสงวนเช่นนี้จะประกาศขึ้นเมื่อใดก็ได้ แต่แม้ไม่มีข้อสงวนดังกล่าว คู่สัญญาจะอาศัย[[เสรีภาพในการทำสัญญา]]ตกลงกันเองว่า สัญญาระหว่างพวกตนต้องทำเป็นหนังสือก็ได้<ref name = "k 77"/>
 
=== การรักษาสัญญา ===