ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ/ภาคที่ 2/บทที่ 1/ส่วนที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 108:
อนุสัญญาดังกล่าวมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ'''{{ref label|reference_name_ฆ|ฆ|ฆ}} (United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods) หรือเรียกโดยย่อว่า '''ซีไอเอสจี''' (CISG) แต่มักเรียกกันว่า '''อนุสัญญากรุงเวียนนา''' (Vienna Convention) เนื่องจากตกลงรับกันที่กรุงเวียนนา{{ref label|reference_name_ง|ง|ง}}
 
อนุสัญญากรุงเวียนนามีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)<ref>กิตติศักดิ์ ปรกติ, ม.ป.ป. (''อนุสัญญาว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศฯ''): ออนไลน์.</ref> ปัจจุบัน มีรัฐลงนามและให้สัตยบันในอนุสัญญากรุงเวียนนาแล้วจำนวนเจ็ดสิบแปดรัฐ รัฐเหล่านี้อนุสัญญาเรียกว่า "'''รัฐผู้ทำคู่อนุสัญญา"''' (Contracting State){{ref label|reference_name_จ|จ|จ}} ส่วนรัฐที่ลงนามแล้วแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันมีจำนวนสิบเจ็ดรัฐ<ref name = "unc">{{uc|Uncitral}}, 2013: Online.</ref>
 
อนุสัญญากรุงเวียนนานับเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งของอันซิทร็อล รัฐซึ่งเห็นชอบในอนุสัญญานี้มาจาก "ทุกท้องที่ในทางภูมิศาสตร์ ทุกระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และทุกระบบหลักในทางกฎหมาย สังคม และเศรษฐกิจ"<ref>"Every geographical region, every stage of economic development and every major legal, social and economic system" (John Felemegas, 2000: 115).</ref> อนุสัญญานี้ยังได้รับการพรรณนาว่า เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในวงการนิติบัญญัติ<ref>Joseph Lookofsky, 1991: 403.</ref> และเป็น "เอกสารระหว่างประเทศที่ได้รับความสำเร็จมากที่สุดในบัดนี้"<ref>"Most successful international document so far" (Bruno Zeller, 2007: 94).</ref> ด้วย