ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ/ภาคที่ 2/บทที่ 1/ส่วนที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 108:
อนุสัญญาดังกล่าวมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ'''{{ref label|reference_name_ฆ|ฆ|ฆ}} (United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods) หรือเรียกโดยย่อว่า '''ซีไอเอสจี''' (CISG) แต่มักเรียกกันว่า '''อนุสัญญากรุงเวียนนา''' (Vienna Convention) เนื่องจากตกลงรับกันที่กรุงเวียนนา{{ref label|reference_name_ง|ง|ง}}
 
อนุสัญญากรุงเวียนนามีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)<ref>กิตติศักดิ์ ปรกติ, ม.ป.ป. (''อนุสัญญาว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศฯ''): ออนไลน์.</ref> ปัจจุบัน มีรัฐลงนามและให้สัตยบันในอนุสัญญากรุงเวียนนาแล้วจำนวนเจ็ดสิบแปดรัฐ รัฐเหล่านี้อนุสัญญาเรียกว่า "รัฐภาคีผู้ทำคู่อนุสัญญา" (Contracting State) {{ref label|reference_name_จ|จ|จ}} ส่วนรัฐที่ลงนามแล้วแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันมีจำนวนสิบเจ็ดรัฐ<ref name = "unc">{{uc|Uncitral}}, 2013: Online.</ref>
 
อนุสัญญากรุงเวียนนานับเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งของอันซิทร็อล รัฐซึ่งเห็นชอบในอนุสัญญานี้มาจาก "ทุกท้องที่ในทางภูมิศาสตร์ ทุกระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และทุกระบบหลักในทางกฎหมาย สังคม และเศรษฐกิจ"<ref>"Every geographical region, every stage of economic development and every major legal, social and economic system" (John Felemegas, 2000: 115).</ref> อนุสัญญานี้ยังได้รับการพรรณนาว่า เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในวงการนิติบัญญัติ<ref>Joseph Lookofsky, 1991: 403.</ref> และเป็น "เอกสารระหว่างประเทศที่ได้รับความสำเร็จมากที่สุดในบัดนี้"<ref>"Most successful international document so far" (Bruno Zeller, 2007: 94).</ref> ด้วย
บรรทัดที่ 123:
| style = "text-align: left;" | {{g}} (1) {{g|0.3em}} อนุสัญญานี้ใช้บังคับแก่สัญญาซื้อขายระหว่างคู่สัญญาซึ่งมีสถานประกอบธุรกิจอยู่ต่างรัฐกัน
 
{{g}} {{cl|#cce5b2| (1)}} {{g|0.3em}} (ก) {{g|0.3em}} เมื่อรัฐนั้นเป็นรัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญานี้ หรือ
 
{{g}} {{cl|#cce5b2| (1)}} {{g|0.3em}} (ข) {{g|0.3em}} เมื่อหลักเกณฑ์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเปิดช่องให้นำกฎหมายของรัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญานี้มาใช้บังคับได้
 
{{g}} (2) {{g|0.3em}} ไม่จำต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า คู่สัญญามีสถานประกอบธุรกิจอยู่ต่างรัฐกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเช่นนี้จากตัวสัญญาเองก็ดี หรือจากธรรมเนียมการค้าใด ๆ ระหว่างคู่สัญญา หรือจากข้อมูลข่าวสารซึ่งเปิดเผยขึ้นโดยคู่สัญญาไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนหรือขณะทำสัญญานั้นก็ดี
บรรทัดที่ 153:
หลักเกณฑ์แรกสุดในการนำอนุสัญญากรุงเวียนนามาใช้บังคับนั้นว่าด้วยเรื่องสถานประกอบธุรกิจ (place of business) ของคู่สัญญาดังนี้
 
1. {{g|0.5em}} อนุสัญญากรุงเวียนนา ข. 1 ว. (1) (ก) กำหนดว่า ถ้าในการซื้อขายนั้น สถานประกอบธุรกิจของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายอยู่ต่างรัฐกัน และรัฐทั้งสองเป็นรัฐภาคีแห่งผู้ทำอนุสัญญากรุงเวียนนา ก็ให้นำอนุสัญญากรุงเวียนนามาใช้บังคับ<ref>กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 71-72.</ref>
 
2.{{g|0.5em}} อนุสัญญากรุงเวียนนา ข. 1 ว. (1) (ข) กำหนดอีกว่า ถ้าในการซื้อขายนั้น สถานประกอบธุรกิจของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายอยู่ต่างรัฐกัน แต่รัฐใดรัฐหนึ่งดังกล่าวนี้ไม่เป็นรัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญากรุงเวียนนา ซึ่งทำให้ไม่เข้าเกณฑ์ตามอนุวรรค (ก) ข้างต้น และปรากฏว่า ตามหลักเกณฑ์ของ[[กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล]] เช่น หลักเกณฑ์เรื่อง[[การขัดกันของกฎหมาย]] (conflict of laws) แล้ว สามารถนำกฎหมายภายในของรัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญารัฐใด ๆ มาใช้บังคับแก่สัญญาซื้อขายรายนี้ได้ ก็ให้นำอนุสัญญากรุงเวียนนามาใช้บังคับแทนกฎหมายดังกล่าว<ref>กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 72.</ref>
 
เช่น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 พจมาร สว่างพวง ซึ่งเปิดร้านขายอุปกรณ์คมนาคมอยู่ ณ บ้านทรายดอง กรุงเทพมหานคร ทำสัญญาซื้อขายดาวเทียมเทยคมกับคุณชายกางซึ่งอยู่ตั้งบริษัทอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ขณะนั้น ประเทศไทยยังไม่เป็นรัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญากรุงเวียนนา แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นแล้ว กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ตามอนุสัญญากรุงเวียนนา ข. 1 ว. (1) (ก) ที่จะสามารถนำอนุสัญญามาใช้บังคับได้
 
แต่ปรากฏว่า พจมารถือสัญชาติเกาหลีใต้ คุณชายกางก็ถือสัญชาติเกาหลีใต้ และประเทศเกาหลีใต้เป็นรัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญากรุงเวียนนาแล้ว เป็นเหตุให้สามารถนำกฎหมายของประเทศเกาหลีใต้มาใช้บังคับแก่สัญญาซื้อขายรายนี้ได้ เพราะพจมารอยู่ในประเทศไทย และกฎหมายไทย คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ม. 13 ว. 1 บัญญัติว่า ให้นำกฎหมายของประเทศที่คู่สัญญาถือสัญชาติร่วมกันมาใช้บังคับ ดังนี้ เมื่อสามารถนำกฎหมายเกาเหลีใต้มาใช้ได้ จึงเข้าเกณฑ์ตามอนุสัญญากรุงเวียนนา ข. 1 ว. (1) (ข) ที่จะต้องนำอนุสัญญากรุงเวียนนามาใช้แทน สัญญาซื้อขายดาวเทียมเทยคมระหว่างพจมารกับคุณชายกางจึงต้องอยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา
 
เรื่องคู่สัญญามีสถานประกอบธุรกิจอยู่ต่างรัฐกันนี้ คู่สัญญาต้องรู้หรือควรรู้กันอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนทำสัญญาหรือในเวลาที่ทำสัญญา โดยอาจรู้ได้จากตัวสัญญาเองก็ดี จากธรรมเนียมการค้า (dealing) ระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเองก็ดี หรือจากข้อมูลข่าวสาร (information) ซึ่งคู่สัญญาเปิดเผยต่อกันก็ดี ตามความในอนุสัญญากรุงเวียนนา ข. 1 ว. 2 แต่ถ้ามาทราบเรื่องดังกล่าวหลังทำสัญญาแล้ว แม้เข้าเกณฑ์ตาม ว. 1 ก็ต้องถือว่า นำอนุสัญญามาใช้บังคับไม่ได้<ref name = "k 73">กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 73.</ref>
บรรทัดที่ 174:
| style = "text-align: right;" | '''อนุสัญญากรุงเวียนนา ข. 6'''{{ref label|reference_name_c|c|c}}
|-
| style = "text-align: left;" | {{g}} ความใด ๆ ในข้อ 11 ข้อ 29 หรือภาค 2 แห่งอนุสัญญานี้ ที่ยอมให้ทำสัญญาซื้อขาย หรือให้ตกลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกสัญญานั้น หรือให้เสนอ สนอง หรือแสดงเจตนาอย่างอื่นในรูปแบบใด ๆ นอกเหนือไปจากการทำเป็นหนังสือได้นั้น ย่อมไม่ใช้บังคับถึงกรณีที่คู่สัญญามีสถานประกอบธุรกิจอยู่ในรัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญานี้และได้ให้คำแถลงไว้ตามข้อ 96 แห่งอนุสัญญานี้แล้ว ห้ามมิให้คู่สัญญางดใช้หรือกำหนดให้แตกต่างออกไปซึ่งผลดังกล่าวหรือข้อบทข้อนี้
|-
| style = "text-align: right;" | '''อนุสัญญากรุงเวียนนา ข. 12'''{{ref label|reference_name_d|d|d}}
|-
| style = "text-align: left;" | {{g}} รัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญานี้ซึ่งกฎหมายของตนกำหนดให้สัญญาซื้อขายต้องทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ จะทำคำแถลงตามข้อ 12 ณ เวลาใดก็ได้ว่า ความใด ๆ ในข้อ 11 ข้อ 29 หรือภาค 2 แห่งอนุสัญญานี้ ที่ยอมให้ทำสัญญาซื้อขาย หรือให้ตกลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกสัญญานั้น หรือให้เสนอ สนอง หรือแสดงเจตนาอย่างอื่นในรูปแบบใด ๆ นอกเหนือไปจากการทำเป็นหนังสือได้นั้น มิให้นำมาใช้บังคับแก่คู่สัญญาซึ่งมีสถานประกอบธุรกิจอยู่ในรัฐตน
|-
| style = "text-align: right;" | '''อนุสัญญากรุงเวียนนา ข. 96'''{{ref label|reference_name_e|e|e}}
บรรทัดที่ 190:
แต่อนุสัญญา ข. 12 กำหนดว่า
 
1. {{g|0.5em}} คู่สัญญาไม่อาจตกลงตามข้อ (ข) หรือ (ค) ข้างต้นได้ ถ้าคู่สัญญามีสถานประกอบธุรกิจอยู่ในรัฐภาคีที่ผู้ทำอนุสัญญากรุงเวียนน่และได้ทำคำแถลงเอาไว้ตาม ข. 96
 
2. {{g|0.5em}} ห้ามคู่สัญญาไม่นำ ข. 12 นี้มาใช้บังคับ งดใช้ ข. 12 นี้ หรือกำหนดให้ ข. 12 นี้มีผลแตกต่างออกไป
 
คำแถลงตามอนุสัญญา ข. 96 นั้น เป็นคำแถลงที่รัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญานี้ทำขึ้นเพื่อประกาศว่า เมื่อกฎหมายของตนกำหนดให้สัญญาซื้อขายใด ๆ ต้อง[[ทำเป็นหนังสือ]]หรือมี[[หลักฐานเป็นหนังสือ]] ตนจะไม่ใช้กฎหมายดังกล่าวบังคับแก่การซื้อขายระหว่างประเทศที่คู่สัญญามีสถานประกอบธุรกิจอยู่ในดินแดนของตน (กล่าวคือ ประกาศว่า จะยอมให้คู่สัญญาซึ่งมีสถานประกอบธุรกิจอยู่ในดินแดนของตนทำสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศโดยไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ได้) โดย ข. 96 อนุญาตว่า คำแถลงเช่นนี้รัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญาจะมีขึ้นเมื่อไรก็ได้
 
เพราะฉะนั้น แม้จะเข้าหลักเกณฑ์ประการแรกซึ่งว่าด้วยเรื่องสถานประกอบธุรกิจดังอธิบายมาแล้ว แต่ถ้าคู่สัญญาตกลงกันตามความในอนุสัญญา ข. 6 ก็อาจไม่สามารถนำอนุสัญญามาใช้บังคับได้ทั้งหมดหรือบางส่วน
บรรทัดที่ 239:
หลักเกณฑ์ประการสุดท้ายนั้นว่าด้วยลักษณะของสัญญาซื้อขาย มีทั้งกรณีที่ไม่ให้ใช้อนุสัญญากรุงเวียนนาบังคับ และที่ให้นำไปใช้บังคับด้วย ดังนี้
 
1. {{g|0.5em}} '''วัตถุประสงค์แห่งการใช้สอย''' อนุสัญญากรุงเวียนนา ข. 2 (ก) ว่า ไม่ให้ใช้อนุสัญญาบังคับ ถ้าทรัพย์ซึ่งซื้อขายกันนั้นซื้อไปไว้ใช้สอยส่วนตัว ส่วนครอบครัว หรือส่วนครัวเรือน (for personal, family or household use) แต่ถ้าก่อนทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาทำสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ขายไม่ทราบหรือไม่ควรจะได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการใช้สอยดังกล่าว ก็ให้นำอนุสัญญามาใช้ได้ เหตุที่อนุสัญญากรุงเวียนนากำหนดไว้ดังนี้ ก็เพื่อมิให้ขัดกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญาเอง<ref>กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 74.</ref>
 
2. {{g|0.5em}} '''วิธีซื้อขาย''' อนุสัญญากรุงเวียนนา ข. 2 (ข) และ (ค) ว่า ไม่ให้ใช้อนุสัญญาบังคับแก่การซื้อขายซึ่งกระทำโดยวิธีพิเศษสามวิธี คือ การทอดตลาด (auction), การบังคับคดี (execution) และการอาศัยอำนาจอย่างอื่นตามกฎหมาย (otherwise by authority of law)
บรรทัดที่ 357:
เมื่อสัญญาไม่จำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว อนุสัญญา ข. 11 ยังอนุญาตด้วยว่า การพิสูจน์สัญญาจะทำอย่างไรก็ได้ รวมถึงจะเบิกพยานบุคคลมาพิสูจน์ก็ได้
 
อย่างไรก็ดี อนุสัญญา ข. 96 [[#ความตกลงของคู่สัญญา|ยินยอมให้รัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญาตั้งข้อสงวน]]ว่า สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศที่ทำขึ้นในรัฐตนนั้นต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ โดยข้อสงวนเช่นนี้จะประกาศขึ้นเมื่อใดก็ได้ แต่แม้ไม่มีข้อสงวนดังกล่าว คู่สัญญาจะอาศัย[[เสรีภาพในการทำสัญญา]]ตกลงกันเองว่า สัญญาระหว่างพวกตนต้องทำเป็นหนังสือก็ได้<ref name = "k 77"/>
 
=== การรักษาสัญญา ===
บรรทัดที่ 461:
{{fs|130%|{{note label|reference_name_ง|ง|ง}}}} ระวังสับสนกับอนุสัญญาฉบับอื่นซึ่งทำขึ้น ณ กรุงเวียนนา และก็เรียก "อนุสัญญากรุงเวียนนา" เช่นกัน ฉบับที่โดดเด่นเป็นต้นว่า อนุสัญญากรุงเวียนนาเพื่อพิทักษ์ชั้นโอโซน (Vienna Convention for the Protection of the Ozone Layer), อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา (Vienna Convention on the Law of Treaties), อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรับกับองค์การระหว่างประเทศหรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ (Vienna Convention on the Law of Treaties between States and International Organizations or Between International Organizations), และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยการค้ายาเสพติดและสารทางจิตเวชโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (Vienna Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances), อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล (Vienna Convention on Consular Relations) และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต (Vienna Convention on Diplomatic Relations)
 
{{fs|130%|{{note label|reference_name_จ|จ|จ}}}} ปรกติแล้ว "รัฐภาคี" ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "State Party" ส่วน "Contracting State" แปลว่า "รัฐผู้ทำสัญญา" หรือ "รัฐคู่สัญญา" แต่ในภาษาไทย ถ้าแปลว่า "รัฐผู้ทำสัญญา" หรือ "รัฐคู่สัญญา" แล้วใช้เช่นนั้นอาจสร้างความสับสนว่าเป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายหรือคู่สัญญาซื้อขายได้ (ทั้งที่จริงแล้วเป็นผู้ทำอนุสัญญากรุงเวียนนา หรือเป็นคู่อนุสัญญา) ประกอบกับในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของอนุสัญญาเรียกรัฐเหล่านี้ว่า "Party" (ภาคี) ({{uc|Uncitral}}, 2013: Onlineกรุงเวียนนา) จึงแปล "Contracting State" ว่า "รัฐภาคีผู้ทำอนุสัญญา".
 
{{fs|130%|{{note label|reference_name_ฉ|ฉ|ฉ}}}} อนุสัญญากรุงเวียนนาใช้ทั้งคำว่า "ship" และ "vessel" คำทั้งสองนี้ปรกติแล้วมีความหมายว่า เรือ เหมือนกัน และยังไม่ปรากฏว่ามีนักนิติศาสตร์อธิบายว่า "ship" กับ "vessel" ตามอนุสัญญากรุงเวียนนามีความหมายต่างกันอย่างไร ในที่นี้จึงแปล "ship" ว่า เรือ และ "vessel" ว่า เครื่องเดินท้องน้ำ เพราะในทางนาวิกศาสตร์