ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิติกรรมและสัญญา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 30:
</ref>) และ {{cl|grey|'''สัญญา'''}} (contract) เป็นความผูกพันของบุคคลในทางกฎหมาย เกิดขึ้นจากความสมัครใจของบุคคลเหล่านั้นเอง คู่กับ[[นิติเหตุ]] (legal cause) ซึ่งเป็นความผูกพันที่บุคคลมิได้สมัครใจให้เกิด แต่กฎหมายบัญญัติให้เกิด ทั้งนิติกรรมและนิติเหตุส่งผลให้บุคคลเป็น[[หนี้]]และมี[[หนี้/บทที่ 1#นิยาม|สิทธิเรียกร้อง]]
 
นิติกรรมและสัญญานั้นเป็นวิวัฒนาการของนิติทฤษฎีในกฎหมาย[[ระบบซีวิลลอว์]]แบบเยอรมัน ประเทศซีวิลลอว์ซึ่งอ้างอิงระบบกฎหมายเยอรมัน เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย จะมีนิติสัมพันธ์แบบนิติกรรมและสัญญา ขณะที่ในนิติทฤษฎีอื่นของระบบซีวิลลอว์ เช่น แบบฝรั่งเศส จะรู้จักแต่สัญญา ไม่มีการแบ่งแยกเป็นนิติกรรมและสัญญา ดังจะได้ศึกษากันต่อไปข้างหน้า อนึ่ง ทฤษฎีเกี่ยวกับสัญญาในกฎหมาย[[ระบบคอมมอนลอว์]]ก็ยังแตกต่างจากของระบบซีวิลลอว์พอสมควรด้วย
 
นิติกรรมและสัญญาตามระบบกฎหมายไทยอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 หลักทั่วไป ลักษณะ 4 นิติกรรม และบรรพ 2 หนี้ ลักษณะ 2 สัญญา ซึ่งบางตำราเรียก "กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา" (Law of Legal Transactions and Contracts) หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า "กฎหมายลักษณะสัญญา" (Law of Contracts) จัดเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายแพ่ง