ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ชนิดของคำ/คำวิเศษณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เก็บกวาด
บรรทัดที่ 1:
'''คำวิเศษณ์''' คือ คำที่บอกลักษณะต่าง ๆ ของคำนามและคำกริยาให้มีความชัดเจนมากขึ้น คำวิเศษณ์มักจะวางอยู่หลังคำที่ขยาย เพื่อช่วยให้ประโยคมีความหมายชัดเจน
 
== หน้าที่ของคำวิเศษณ์ ==
* ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น ไข่'''สด'''อยู่ในตะกร้า'''เก่า''' คน'''แก่'''กินหมาก'''แดง''' รถ'''ใหม่'''ราคา'''แพง'''
* ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น เขา'''นั่นแหละ'''เป็นคนช่วย เรา'''ทั้งหมด'''เป็นคนทำ ท่าน'''ทั้งหลาย'''เป็นสมาชิก
* ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น ฉันกินขนม'''เก่ง''' รถไฟฟ้่าแล่น'''เร็ว''' พ่อตื่น'''เช้า'''
* ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ เช่น เธอวิ่งเร็ว'''มาก''' ต้นไม้สูง'''ลิบ''' เขาพูดดัง'''จริงๆ'''
 
== ชนิดของคำวิเศษณ์ ==
คำวิเศษณ์มีหลายชนิด ดังนี้
* '''ลักษณะวิเศษณ์''' คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะ เช่น
** คำวิเศษณ์บอกชนิด เข่น ชั่ว ดี อ่อน แก่ หนุ่ม เป็นต้น เช่น วรรณาเป็นคนดี
** คำวิเศษณ์บอกลักษณะที่เป็นขนาด เช่น ใหญ่ โต เล็ก กว้าง ยาว แคบ เป็นต้น เช่น ห้องนี้มีขนาดเล็ก ชามใบใหญ่
** คำวิเศษณ์บอกลักษณะที่เป็นอาการ เช่น เร็ว ช้า ไว เป็นต้น
** คำวิเศษณ์บอกลักษณะที่เป็นรส เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม เป็นต้น
** คำวิเศษณ์บอกลักษณะที่เป็นสี เช่น แดง ดำ คล้ำ เป็นต้น