ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญาหลังนวยุค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เก็บกวาด
บรรทัดที่ 1:
กระบวนทรรศน์ที่ 5 กระบวนทรรศน์หลังนวยุคนิยม (Postmodern paradigm)
 
การค้นหาความเป็นจริงตามแนวคิดทางอภิปรัชญาที่เกิดขึ้นตามแนวคิดกระบวนทรรศน์ที่ 5 หลังนวยุค เกิดจากการค้นความเป็นจริงด้วยแนวทางวิทยาศาสตร์ที่ค้านต่อความตายตัวของกฎฟิสิกส์ที่ควบคุมตรงไปตรงมา และกระบวนการทางสังคมที่ต่อต้านนวยุคภาพ รวมถึงวจนศูนย์นิยม นักอภิปรัชญาในกระบวนทรรศน์หลังนวยุคซึ่งส่วนหนึ่งเป็นนักอภิปรัชญาจากปลายนวยุคเริ่มมองว่าความเป็นจริงที่กล่าวอ้างนั้นเป็นเพียงความเชื่อถือทางภาษาเท่านั้น และไม่เชื่อว่ามนุษย์สามารถรู้ความจริงเชิงวัตถุวิสัยได้และความรู้ที่ได้ก็เป็นเพียงความเชื่อทางภาษาเท่านั้น กระแสหลังนวยุคแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะข้อกังขา ระยะรื้อทิ้ง (deconstructionism) และระยะรื้อสร้างใหม่ (reconstructionism)
 
 
1.# กระแสข้อกังขา
 
* <big>อภิปรัชญาของฮายเซนเบิร์ก</big> (Werner Heisenberg ค.ศ.1901-1976) หลักความไม่แน่นอนที่เขาตั้งขึ้นได้สะเทือนถึงหลักค้ำประกันความเป็นจริงของระบบเครือข่ายตามกระบวนทรรศน์นวยุค เพราะเป็นการค้นพบที่นอกเหนือไปกว่ากฎวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบกันอยู่ แต่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนใดที่จะสรุปเป็นกฎหรือพยากรณ์ได้ผ่านกระบวนการวิทยาศาสตร์ หากแต่เป็นความจริงที่ค้นพบ หลักการความไม่แน่นอนนี้จึงทำให้ทฤษฎีแควนเทิม (Quantum theory) ซึ่งแสดงความตายตัวของอนุภาคซึ่งเป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง กฎฟิสิกส์ที่ควบคุมตรงไปตรงมา และแสดงการพยากรณ์ที่ได้รับการยอมรับในยุคแรกของกระบวนทรรศน์นวยุค เป็นหลักค้ำประกันความจริงบนระบบเครือข่ายที่ใช้วิธีการวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์สิ่งต่างๆ เกิดการสั่นไหวอย่างรุนแรง เพราะความไม่แน่นอนทำให้ไม่อาจพยากรณ์ได้
บรรทัดที่ 17:
 
 
2.# กระแสรื้อถอน
 
* <big>อภิปรัชญาของนีทเฌอ</big>(Friedrich Nietzsche ค.ศ.1844-1900) แสดงอภิปรัชญาผ่านเรื่อง “พระเจ้าตายแล้ว” และชี้ว่าความเป็นจริงเป็นพลังที่แสวงหาอำนาจอย่างตาบอด ไม่อยู่นิ่งตายตัวและไม่เป็นระบบระเบียบ และอภิปรัชญาที่ว่าความจริงอันติมะ ซึ่งได้แก่เจตจำนงที่เป็นพลังตาบอด ไม่ใช่จิตที่รู้คิดด้วยปัญญาเหตุผล การดิ้นรนของเจตจำนงไม่จำเป็นต้องประสานกันเป็นระบบ เพราะแต่ละอย่างที่เกิดขึ้น ขึ้นกับว่าขณะนั้นพลังดิ้นรนกำลังดิ้นรนไปทางไหนตามยถากรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับอดีตและไม่จำเป็นต้องมีแผนสู่อนาคต ความเป็นสากลเป็นเพียงสถิติบันทึก การเอาจริงเอาจังกับกฎสากลจึงเป็นการหลงใหล การสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นธรรมชาติจึงเป็นการบิดเบือนและหลอกตนเองของมนุษย์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำจัดทิ้งไปเพื่อให้มนุษย์ได้มีความคิดเสรีไร้พันธะ
*
* <big>อภิปรัชญาของซาร์ต</big> (Jean Paul Sartre ค.ศ.1905-1980) เน้นว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตนตามแนวทางอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) มีเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน และเสนอแนวทาง 3 กล้า ได้แก่
 
# กล้าเผชิญปัญหา
# กล้าประเมินวิธีปฏิบัติ
# กล้าลงมือทำด้วยความรับผิดชอบ
 
*
* <big>อภิปรัชญาของฟูโกลต์</big> (Michel Foucault ค.ศ.1926-1984) มองว่าจิตขีปนาความเป็นจริงและความจริงให้กับสังคม ซึ่งก็คือความต้องการของผู้มีอำนาจในสังคมที่ขีปนาออกมา ปัญญาชนในแต่ละยุคเป็นผู้กำหนดความคิดของสังคมก็เป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจที่สนับสนุนปัญญาชนนั้นๆ อยู่
* <big>อภิปรัชญาของฟูโกลต์</big> (Michel Foucault ค.ศ.1926-1984) มองว่าจิตขีปนาความเป็นจริงและความจริงให้กับสังคม ซึ่งก็คือความต้องการของผู้มีอำนาจในสังคมที่ขีปนาออกมา ปัญญาชนในแต่ละยุคเป็นผู้กำหนดความคิดของสังคมก็เป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจที่สนับสนุนปัญญาชนนั้นๆ อยู่
 
 
3.# กระแสรื้อสร้างใหม่
 
* <big>อภิปรัชญาของเกิทซ์</big>(Clifford Geertz) นิยามวัฒนธรรมว่าเป็นชุดหนึ่งของสัญญะที่กำหนดกรอบชีวิต มนุษย์สากลไม่มีจริง สิ่งสากลทางวัฒนธรรมอันได้แก่ความเชื่อร่วมกันของมนุษย์ทุกคนก็ไม่มีจริง เพราะว่าค้นหาไม่พบ สิ่งที่พบก็คือความแตกต่าง มีศาสนาหลายรูปแบบที่ยึดถือความเชื่อแตกต่างกัน ความเชื่อถือและการปฏิบัติก็แตกต่างกัน ยังไม่พบรูปแบบร่วมของการปฏิบัติตนในสังคมจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน นั่นคือไม่พบหนทางที่จะเป็นสังคมสมบูรณ์แบบตามแนวคิดนวยุคนิยม มนุษย์คือที่รวมของความหลากหลาย คือพร้อมที่จะเรียนรู้ และเข้าใจวัฒนธรรมอื่นๆ โดยที่มนุษย์เองยังมีความสามารถในการปรับตัวตามวัฒนธรรมต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มาและเห็นว่าดีได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัดใดๆ เจตจำนงเลือกอย่างเสรีเป็นเครื่องมือธรรมชาติที่สำคัญ ร่วมกับความสามารถจำอย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้มนุษย์จำการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมได้ สามารถรวบรวมไว้ปฏิบัติและถ่ายทอดสืบต่อมาด้วยภาษาและการปฏิบัติเป็นตัวอย่าง กลายเป็นประเพณีและวัฒนธรรมประจำสังคมนั้นๆ
 
 
สรุปได้ว่าแนวความคิดหลักของกระบวนทรรศน์หลังนวยุคเชื่อว่า ความเป็นจริงที่กล่าวอ้างนั้นเป็นเพียงความเชื่อถือทางภาษาเท่านั้น และไม่เชื่อว่ามนุษย์สามารถรู้ความจริงเชิงวัตถุวิสัยได้และความรู้ที่ได้ก็เป็นเพียงความเชื่อทางภาษาเท่านั้น จึงมีทรรศนะต่อระบบความรู้ว่าเป็นเรื่องเล่า (narrative) เรื่องหนึ่งเท่านั้น ซึ่งนิยมแบ่งเรื่องเล่าออกเป็นยุคก่อนนวยุคนิยม(ยุคโบราณ ยุคกลาง) ที่นิยมทำภาษาให้มีความหมายด้วยเรื่องปรัมปรา(myth) และเรื่องเล่า(narrative) โดยเชื่อว่ามีความหมายตรงกับความเป็นจริงอยู่บ้าง แต่ไม่มีความเป็นจริงวัตถุวิสัยอย่างแท้จริง เพราะมีส่วนอัตวิสัยของผู้เล่านำเข้ามาแทรกไว้ ต่อมาเมื่อมาถึงนวยุคนิยมก็พยายามปลดเปลื้องภาษาจากความหมายปรัมปราและเรื่องเล่า เพราะถือว่ามีความหมายไม่ตรงกับความเป็นจริง ตามความเชื่อของนวยุคนิยมที่ว่า มีความจริงวัตถุวิสัยในระบบความรู้ ซึ่งความรู้ที่เชื่อว่าความจริงต้องมีวัตถุวิสัยที่ตรงกัน 3 อย่าง คือ ความเป็นจริง ความคิด และภาษา เป็นระบบเครือข่าย (systematic network) ของนวยุคภาพ และได้สร้างความหมายใหม่ให้กับภาษาด้วยเหตุผล (อุปนัยและนิรนัย) และระบบที่ทำให้ความหมายเก่าที่มีความหมายโฉมหน้าใหม่
 
นักปรัชญาและชาวหลังนวยุคไม่เชื่อว่ามนุษย์เราสามารถรู้ความจริงวัตถุวิสัย และเชื่อว่าภาษาไม่สามารถสื่อความจริง ดังเช่นนวยุคภาพพยายามวิจารณ์และขจัดเรื่องปรัมปรา และเรื่องเล่าของศาสนาคริสต์ออกจากความรู้ยุคกลาง แต่ก็ทำไม่สำเร็จเพราะในที่สุดชาวนวยุคก็สร้างเรื่องปรัมปราใหม่ขึ้นมาแทน คือสร้างวิธีคิดด้วยระบบเหตุผลขึ้นมา และให้มีอำนาจแทนพระเจ้า ความรู้ที่นวยุคเสนอออกมาด้วยเหตุผลก็เป็นเพียงเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องเล่าประเภทสร้างความเชื่อถือให้กับความรู้ด้วยอำนาจของเหตุผล
 
กระบวนทรรศน์หลังนวยุคนิยมพยายามปลดเปลื้องความหมายของภาษาให้พ้นไปจากพันธะนี้โดยการรื้อถอนความหมาย และคัดเอาความหมายที่ติดข้องอยู่กับเหตุผลและระบบออกทิ้งไปให้เหลือแต่ความหมายที่มีคุณค่าจริง ๆ ไว้ จากนั้นสร้างความหมายใหม่ให้กับภาษา ด้วยการวางใจเป็นกลางให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยใช้วิธีการย้อนอ่านใหม่ทั้งหมดและแสวงหาความหมายใหม่จากเรื่องปรัมปรา และเรื่องเล่าตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
กระบวนทรรศน์หลังนวยุคมุ่งที่จะแก้จุดบกพร่องของกระบวนทรรศน์ในอดีตให้ได้ จะต้องแก้ไขประเด็นที่เอื้อสงครามและสนับสนุนประเด็นส่งเสริมสันติภาพ ส่งเสริมวิถีทางที่มนุษย์ควรจะดำรงอยู่ในโลกได้อย่างสันติสุข เพราะแนวคิดต่างๆ จากกระบวนทรรศน์ทั้ง 4 กระบวนทรรศน์ก็ยังมีประเด็นที่เอื้อต่อสงครามคือความยึดมั่นถือมั่น (attachment) กล่าวคือ ใครเชื่อปรัชญาระบบใดก็จะคิดตามระบบนั้นระบบเดียวเป็นความจริงถูกต้อง มีประโยชน์ ระบบอื่น ๆ ล้วนแต่เท็จ ผิด หลงประเด็น ให้โทษทั้งนั้น
 
วิถีทางที่จะทำให้เกิดความสันติสุขได้นั้น จะต้องไม่มีการยึดมั่นถือมั่น ซึ่ง ศ.กีรติ บุญเจือ ได้กล่าวไว้ว่า การยึดมั่นถือมั่นเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยก การแบ่งแยกเป็นเหตุให้เกิดการแข่งขัน การแข่งเป็นเหตุให้เกิดความไม่ไว้ใจกัน ความไม่ไว้ใจกันเป็นเหตุให้เกิดการทำลายกัน แนวทางที่ควรส่งเสริมและสนับสนุนคือ ควรหันหน้ามาปรึกษาหารือกันให้รอบคอบและเปิดโอกาสให้พิจารณารับส่วนดีจากทุกส่วนทุกทางสามารถร่วมมือกันได้โดยไม่ต้องคิดเหมือนกัน สร้างบรรยายกาศเอกภาพในความหลากหลายและช่วยเสริมกันและกัน โดยความไม่ยึดมั่นถือมั่นนำไปสู่การแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ การแบ่งหน้าที่ฯนำไปสู่การส่งเสริมกัน การส่งเสริมกันนำไปสู่ความไว้ใจกัน ความไว้ใจกันนำไปสู่ความร่วมมือกัน ความร่วมมือกันนำไปสู่สันติภาพ แนวทางการสร้างกระบวนทรรศน์ใหม่นี้น่าจะเป็นแนวทางที่ส่งเสริมสันติสุขของโลกได้ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากความรู้ได้อย่างถูกต้องที่สุดในแนวทางของการแสวงหาความรู้ของปรัชญา
 
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเท่านั้นที่ให้ความเข้าใจและความรู้อย่างถ่องแท้ และทำให้สมรรถภาพคิดเติบใหญ่ขึ้น กระบวนการหาความรู้อย่างหนึ่งที่ใช้อยู่อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อความที่ได้ชี้แนะแนวทางไว้ว่าหากต้องการหาความรู้อย่างถ่องแท้ควรดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถพัฒนาสมรรถภาพการคิดให้กว้างขวางเติบโตมากขึ้นได้ กลุ่มคำกลุ่มนี้เป็นเสมือนญาณปรัชญา
 
== อ้างอิง ==