ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญานวยุค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darrine (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'กระบวนทรรศน์ที่ 4 กระบวนทรรศน์นวยุค (Modern paradigm) การค้...'
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 42:
# ภวันต์สำหรับตัวเอง(being-for-itself) ได้แก่ จิตซึ่งมีสมรรถภาพตัดสินใจเลือกการกระทำของตัวเอง มีสภาพเป็นสุขตามที่จะได้เลือกเพื่อสร้างสถานภาพให้กับตนเอง
# ภวันต์สำหรับตัวเองในตัวเอง(being-for-itself-in-itself) คือ จิตมนุษย์ที่ไม่กล้าตัดสินใจเลือก จึงมีฐานะเป็นผู้สามารถเลือกแต่ทำตัวให้มีฐานะไม่สามารถเลือก เป็นพวกผิดธรรมชาติ มีความสำคัญผิดที่เลว (bad faith) จึงแสดงอาการป่วยทางใจด้วยอาการหงุดหงิด เคว้งคว้าง ไม่พอใจกับชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง
 
 
 
เส้น 57 ⟶ 56:
# ระดับปฏิฐาน (Positive Stage) ความรู้ที่แท้จริงอยู่ที่ข้อมูลเท่านั้นจึงยึดถือเป็นหลัก ความรู้ระดับนี้ทดสอบกันได้ด้วยประสาทสัมผัส ทุกคนต้องยอมรับ พัฒนาเป็นขั้น ๆ จากง่ายไปยาก
 
* อภิปรัชญาของสเพนเซอร์ (Herbert Spencer 1820-1903) นำเอาทฤษฎีวิวัฒนาการของชาล์ส ดาร์วิน ไปใช้กับความรู้ทุกแขนง นั่นคือ พยายามจะทำทฤษฎีวิวัฒนาการแบบสสารนิยมให้เป็นระบบปรัชญา เห็นว่าวิทยาศาสตร์มีพื้นฐานอยู่บนข้อมูลรู้ด้วยประสาทสัมผัส ไม่สามารถเป็นความรู้สมบูรณ์ได้ ต้องอาศัยปรัชญาช่วยโยงให้ ปรัชญาจึงต้องอยู่เหนือประสาทสัมผัส ความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงานทำให้เกิดพฤติกรรมวิวัฒนาการและสลายตัว (evolution and dissolution) ซึ่งเกิดขึ้นสลับกันตลอด
เส้น 80 ⟶ 78:
* อภิปรัชญาของรัสเซล(3th Earl Bertrand Arthur William Russell ค.ศ.1872-1970) เชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างมโนภาพที่สมรรถภาพเหตุผลมองเห็นเป็นระเบียบตรรกะนั้นน่าจะมีความจริงตายตัว ไม่ใช่เป็นเพียงโครงสร้างของสมองที่สมองยัดเยียดให้ และไม่น่าจะเป็นเพียงระยะแห่งปฏิพัฒนาการของจิต การที่จะได้ความคิดที่พัฒนาถึงจุดนี้จะต้องเข้าใจกระบวนการทำงานของสมรรถภาพเหตุผลได้ชัดเจน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับตีความเรื่องอื่น ๆ ที่อยากจะรู้ต่อไป รัสเซล สร้างอภิปรัชญาของตนขึ้นแทน โดยใช้วิธีพรรณนาจำกัดกับผลสรุปจากวิทยาศาสตร์ รัสเซลเดินตามลัทธิเอกนิยมเชื่อว่าความเป็นจริงมีอย่างเดียว ได้ชื่อว่าสายกลาง เพราะถือว่าความเป็นจริงอย่างเดียวนั้นอยู่กลาง ๆ ระหว่างจิตกับสสาร คือ จิตก็ไม่ใช่และสสารก็ไม่เชิง แต่เป็นอะไรสักอย่างที่เป็นกลาง ๆ แต่อาจจะแสดงตัวเป็นจิตก็ได้ สสารก็ได้ เบื้องหลังเป็นสิ่งเดียวกัน คือ ปรมาณูทางอภิปรัชญา (metaphysical atoms) ซึ่งเมื่อรวมกันในโครงสร้างต่างกันจะเกิดอณูทางอภิปรัชญาที่มีคุณสมบัติและคุณภาพต่าง ๆ กัน บางอณูอาจมีคุณภาพสูงถึงขั้นเป็นจิต จิตมีสมรรถภาพคือการรับรู้ เมื่อจิตรับรู้อะไรก็ตาม จะเกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับรู้กับสิ่งที่ถูกรู้ ทำให้เกิด 2 บรรยากาศ (two spheres) ที่สัมพันธ์กัน แต่ละบรรยากาศก็จะมีทัศนียภาพ (perspective) ซึ่งเป็นบริบทของผู้รู้และบริบทของสิ่งที่ถูกรู้ เอกภพแห่งความเป็นจริงจึงประกอบด้วยบรรยากาศนับไม่ถ้วนซึ่งแต่ละบรรยากาศก็มีทัศนียภาพตามบริบทที่รับรู้และถูกรู้ เรารู้ว่ามีสสารเพราะเรามีผัสสาการ(sensation) ซึ่งเป็นผล จึงต้องมีสาเหตุที่ทำให้เกิดผัสสาการ สิ่งนั้นคือ สสาร ก็หมายความว่ารัสเซลเชื่อทฤษฎีสาเหตุ (causal theory) ในเรื่องจักรวาลวิทยา คือมีการแยกแยะระหว่างผัสสาการกับข้อมูลทางผัสสะ (sense-data) และโลกแห่งสสาร (material world) สสารทำให้เกิดผัสสาการและผัสสาการทำให้เกิดข้อมูลทางผัสสะ ในประเด็นเรื่องความจริง(truth) รัสเซลเน้นทฤษฎีสมนัย(correspondence theory) คือ เชื่อตามลักษณะของนวยุคนิยมว่ามีความสมนัยหรือความตรงกันจริงระหว่างวัตถุ ความรู้กับภาษาอุดมคติ รัสเซลจึงพยายามค้นหาวิธีรู้ให้ตรงกับวัตถุ นั่นคือวิธีวิเคราะห์เชิงปรัชญา และพยายามสร้างภาษาอุดมคติที่สามารถสื่อความรู้สึกกันได้ตรงกับความ
 
== อ้างอิง ==
#* กีรติ บุญเจือ . ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มสี่ ย้อนอ่านปรัชญานวยุคของมนุษยชาติ (ช่วงสร้างระบบเครือข่าย), พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2546.
#* ----------- . ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์ เล่มห้า ย้อนอ่านปรัชญากังขาของมนุษยชาติ (ช่วงวิจารณ์ระบบเครือข่าย), พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2546.
 
[[หมวดหมู่:ปรัชญา]]
บรรณานุกรม
 
# กีรติ บุญเจือ . ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มสี่ ย้อนอ่านปรัชญานวยุคของมนุษยชาติ (ช่วงสร้างระบบเครือข่าย), พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2546.
# ----------- . ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์ เล่มห้า ย้อนอ่านปรัชญากังขาของมนุษยชาติ (ช่วงวิจารณ์ระบบเครือข่าย), พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2546.