ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญายุคกลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darrine (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'กระบวนทรรศน์ที่ 3 กระบวนทรรศน์ยุคกลาง (Medieval paradigm) การ...'
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:14, 31 พฤษภาคม 2555

กระบวนทรรศน์ที่ 3 กระบวนทรรศน์ยุคกลาง (Medieval paradigm) การค้นหาความเป็นจริงตามแนวคิดทางอภิปรัชญาที่เกิดขึ้นตามแนวคิดกระบวนทรรศน์ที่ 3 ยุคกลาง มีการค้นความเป็นจริงด้วยแนวทางศาสนาคริตส์ ดังนี้

  • อภิปรัชญาของเซนต์ออเกิสทีน (St. Augustine ค.ศ.345-?) เห็นว่าปรัชญาของเพลโทว์ซึ่งผ่านมาทางโพลทายเนิส อาจจะนำมาใช้อธิบายความเชื่อในคริสต์ศาสนาได้ โดยปรับการล้นขององค์เอกะมาเป็นวิญญาณของมนุษย์แต่ละคนเป็นสิ่งสร้างของพระเจ้า ไม่ใช่ส่วนหนึ่งชองพระเจ้าซึ่งล้นออกมา คำสอนเรื่องพระตรีเอกภาพในคริสต์ศาสนา ซึ่งถือว่าพระเจ้าเดียวมีสามบุคคล คือ พระบิดา พระบตร และพระจิต(พระวิญญาณบริสุทธ์) อธิบายด้วยปรัชญาของเพลโทว์ได้ คือ พระบุตรเป็นพระปัญญาของพระบิดา และพระจิตเป็นความรักระหว่างพระบิดากับพระบุตร ทั้งสามเป็นพระเจ้าองค์เดียว สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายที่เป็นหน่วยเฉพาะ ย่อมมีความเป็นจริงแท้อยู่ในที่แห่งเดียวกัน คือ ในพระปัญญา พระเจ้าทรงมีแผนการสร้างไว้เรียบร้อยทุกอย่างแล้ว สิ่งต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นมาตามแผนการนี้ จะออกนอกลู่ทางไปไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีกฎเกณฑ์ประสานกันเรียบร้อยเป็นระบบจักรวาล (Cosmos)
  • อภิปรัชญาของเซนต์ ธามเมิส อไควเนิส (St. Thomas Aquinas ค.ศ. 1225-1274) เน้นว่าความเป็นจริงทั้งหลายนั้นก็คือพระเจ้านั่นเอง พระเป็นเจ้าจึงเป็นกฎเกณฑ์แห่งความจริงทั้งหลาย และทรงเป็นแบบของความจริงทั้งหลาย ต่อมาได้ศึกษาปรัชญาของแอร์เริสทาทเทิลและยืนยันว่าสามารถช่วยให้เข้าใจความเป็นจริงตามแนวทางศาสนาคริตส์ได้


นักอภิปรัชญากระบวนทรรศน์ที่ 3 ช่วงหลังไม่ว่าจะนับถือศาสนาคริสต์ อิสลามหรือยูดาห์ ถือเป็นแนวคิดร่วมกันว่าเอาปรัชญาของแอร์เริสทาทเทิลเป็นหลัก แต่ไม่เห็นด้วยว่าความเป็นจริงในเอกภพเกิดจากการผสมของธาตุ ๔ จึงแปลงให้เข้ากับความเชื่อเรื่องพระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกสิ่งในเอกภพ ในการสร้างพระองค์ทรงมีแผนการสร้างอันมีระเบียบตามพระสัพพัญญู (Providence) สิ่งสร้างทั้งหลายแบ่งออกเป็น ๒ ระดับใหญ่ คือ ระดับสสารและระดับจิต โดยมีมนุษย์เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสสารกับจิต สสารเป็นเนื้อเดียว แต่ต่างกันที่รูปแบบซึ่งเรียงลำดับชั้นตามแผนการสร้างของพระองค์คือ วัตถุ พืช สัตว์ มนุษย์และเหนือมนุษย์ขึ้นไปก็มีเทวดาซึ่งมีการลดหลั่นชั้นต่าง ๆ จากต่ำไปหาสูง


บรรณานุกรม : กีรติ บุญเจือ, ย้อนอ่านปรัชญาโบราณของมนุษยชาติ ในชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห็น , กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น , 2546