ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญาดึกดำบรรพ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darrine (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'คำถามเกิดขึ้นในความคิดของมนุษย์ได้อย่างไร หลา...'
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:54, 31 พฤษภาคม 2555

คำถามเกิดขึ้นในความคิดของมนุษย์ได้อย่างไร หลายคนอาจตอบได้ว่าเกิดจากความคิดที่แก้ปัญหา คำถามที่เป็นจุดก่อตัวของปรัชญานั้น ย่อมไม่เป็นเพียงปัญหาแรกเท่านั้นเพราะสัตว์เดรัจฉานก็มีปัญหาได้ ปัญหาจากสัญชาตญาณ(problem from instinct) ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอโดยไม่ต้องอาศัยปัญญา เฉพาะปัญหาที่เกิดจากการตรึกตรอง(problem from reflection)เท่านั้นจึงจะเป็นคำถามและจุดเริ่มต้นของปรัชญา เพราะสร้างความสนใจให้แสวงหาคำตอบโดยไม่ต้องตอบสนองความต้องการของสัญชาตญาณ

การค้นหาความเป็นจริงตามแนวคิดทางอภิปรัชญาที่เกิดขึ้นตามแนวคิดกระบวนทรรศน์ที่ ๑ ยุคดึกดำบรรพ์ มนุษย์มีความเชื่อว่าเหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นไปด้วยฤทธิ์อำนาจลึกลับในธรรมชาติที่มีแฝงอยู่ในธรรมชาติและมองไม่เห็น เชื่อว่าจะพ้นภัยธรรมชาติได้หากเอาใจหรือตอบสนองความต้องการของอำนาจลึกลับได้อย่างถูกต้อง เชื่อว่าโลกหรือเอกภพไม่มีกฎเกณฑ์ เรียกว่า “กลีภพ” (chaos) จึงค้นหาวิธีรู้ใจ วิธีเอาใจอำนาจดังกล่าว โดยถือคติว่า "มุ่งโลกนี้ให้ดีไว้ โลกหน้าจะดีเอง" ความคิดในยุคดึกดำบรรพ์จะแปรผันได้ง่าย หากฝ่ายใหม่สามารถให้ผลประโยชน์มากกว่า และสามารถคุ้มครองภัยจากฝ่ายตรงข้ามได้ ก็จะยินยอมปฏิบัติตามอย่างไม่มีข้อกังขา

ดังนั้นเมื่อมนุษย์ดึกดำบรรพ์พบอะไรในประสบการณ์ชีวิตของตน ก็จะตีความออกมาเป็นน้ำพระทัยของเบื้องบนทั้งสิ้น และไม่กล้าตีความเป็นอย่างอื่น เพราะกลัวจะถูกลงโทษที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างไรและเมื่อใดก็ได้


บรรณานุกรม: กีรติ บุญเจือ ชุดเริ่มรู้จักปรัชญาดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น , พิมพ์ครั้งที่ ๑, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, ๒๕๔๖.