ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระบวนการประมาณราคาในงานก่อสร้าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 32:
 
9. มีความรู้และความเข้าใจที่สามารถศึกษาเอกสาร สัญญา รายการประกอบแบบก่อสร้าง ที่จะมีผลกับรายการก่อสร้างในด้านงานที่จะต้องเสร็จตามกำหนดเวลา ถ้างานไม่สร็จตามกำหนดเวลาจะต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น ค่าปรับ เป็นต้น
 
การประเมินราคาก่อสร้าง
 
1. โครงสร้างต้นทุนค่าก่อสร้าง โดยทั่วไปการก่อสร้างอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างประเภทต่าง ๆ จะประกอบ
ด้วยต้นทุนหลัก 3 ส่วน คือค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างอาคาร และค่าบริหารโครงการ ซึ่งจะมีสัดส่วนของต้นทุนแต่ละประเภท
แตกต่างกันไปตามประเภทของสิ่งก่อสร้างนั้น เช่น การก่อสร้างที่อยู่อาศัยต้นทุนค่าที่ดินจะใกล้เคียงกับต้นทุนอาคาร
การก่อสร้างคอนโดมิเนียม ต้นทุนค่าอาคารจะสูงกว่าค่าที่ดินเป็นต้น
2. วิธีการคำนวณต้นทุนค่าก่อสร้าง การประมาณราคา1/ หมายถึงการกะประมาณ ตีราคา คาดคะเน
และวิเคราะห์ราคาที่ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายสำหรับงานให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ถึงแม้ว่าผู้ประมาณราคาจะได้
พยายามคิดราคาอย่างละเอียด 1 แต่ยังมีปัจจัยหลายประการที่มีความผันแปรไปในช่วงเวลาก่อนและ / หรือระหว่าง
กำลังก่อสร้าง ทำให้ราคาค่าก่อสร้างคลาดเคลื่อนไปหรือระยะเวลาการก่อสร้างอาจยาวนานขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ ส่วนหนึ่ง
อาจเกิดมาจากการเขียนแบบไว้ไม่ชัดเจน หรือตัวผู้ประมาณการเองที่พิจารณาแบบและรายการก่อสร้างแตกต่างกัน
หรือ การเลือกวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพแตกต่างกัน หรือราคาวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงานในท้องตลาดมีระดับสูงกว่า
ปกติ ซึ่งผู้ประมาณราคากลางของฝ่ายสถาปนิก วิศวกรหรือฝ่ายผู้ประกอบการจะต้องมีความละเอียดรอบคอบและต้อง
พิจารณาเหตุการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วย นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึงขอบเขตเงื่อนไขและวัตถุประสงค์ของงาน ซึ่งจะทำให้
ราคาต้นทุนแตกต่างกันด้วย คือ
1) การประมาณราคาเพื่อนำเข้าประมูล ในลักษณะของงานเช่นนี้ควรมีความละเอียด เลือกวิธี
การก่อสร้างที่ประหยัด เลือกวัสดุและอุปกรณ์เท่าที่จำเป็น การเพิ่มวัสดุควรเผื่อไว้กรณีเกิดการเสียหายระหว่างก่อสร้าง
เท่าที่จำเป็นเท่านั้น แต่ต้องนำยอดราคากลางที่พอจะสืบได้จากสำนักงานสถาปนิกหรือจากหน่วยเจ้าของโครงการหรือ
บัญชีราคากลางของทางการ เพื่อเทียบเคียงดูว่าการประมาณราคาสูงหรือต่ำเพราะเหตุใด บางครั้งอาจประมาณราคา
ไว้สูงไปเนื่องจากเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ดินเกินหรือต่ำไป เนื่องจากคิดตกหล่นบางส่วนของอาคารไป เป็นต้น
 
 
 
เอกสารประกอบหมายเลข 1
วิธีการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคาร
 
ประเภทก่อสร้าง วิธีการประมาณราคา
1.การเตรียมพื้นที่
 
2.งานดิน
 
 
 
 
3.งานคอนกรีต
 
 
4.งานเหล็ก
 
 
5.งานแบบหล่อและโครง
สร้างรับแบบ
 
 
6.งานไม้
 
7.งานก่ออิฐ ฉาบปูนและ
งานผิวกระเบื้อง
 
8.งานกระเบื้องมุงหลังคา ค่าตัดต้นไม้ปรับถางพื้นที่ การทำรังวัดและการให้ระดับ ( ส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงาน )
 
งานดินตัวอาคาร งานขุดสำหรับห้องใต้ดิน ฐานราก และถมข้าง งานขุดบ่อยืมดิน
และถมปิด งานขุดเป็นร่องเพื่อเทคอนกรีต ฐานกำแพง และอื่น ๆ
( คำนวณจากคุณสมบัติของดิน ความลาดของมุม ปริมาตรของดินที่ขุดและถมเป็น
เงินบาทต่อตารางเมตร ค่าใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรทุ่นแรง
 
คำนวณจากส่วนผสมคอนกรีต ( ปูนซีเมนต์ ทราย และหิน ) ค่าแรงงาน และค่าวัสดุที่
ใช้ โดยคิดจากปริมาณงานที่ทำ จำแนกเป็นเสาตอม่อ / เสาเข็ม คานพื้นคอนกรีต
 
ประมาณจำนวนเหล็กและประเภทเหล็กที่ใช้ในแต่ละส่วนของงานคอนกรีตรวม
ทั้งค่าแรงงาน
 
ประมาณราคาค่าแบบตามจำนวนที่จะใช้การก่อสร้าง โดยพิจารณาจากความ
แข็งแรงของโครงสร้างส่วนอื่นและความเหมาะสมก่อนหลัง แบบหล่อนี้ประกอบด้วย
แบบที่ใช้ไม้ และแบบที่ไม่ใช้ไม้
 
คิดจากปริมาตรและชนิดของไม้ที่จะใช้ในอาคารนั้น
 
คิดจากปริมาตรพื้นที่ ประเภทวัสดุ และค่าแรงงาน
 
 
คิดจากปริมาตรพื้นที่ ประเภทวัสดุ และค่าแรงงาน
 
 
 
 
 
 
2) การประมาณราคาสำหรับอาคารที่ต้องทำอย่างดี การเลือกวัสดุ (นอกเหนือจากระบุ)การ
ใช้ช่างที่มีฝีมือดี และการใช้เทคนิคการก่อสร้างเป็นพิเศษทำให้ราคาค่าก่อสร้างจะสูงขึ้น แม้จะมีการเสนอราคาสูง
แต่ก็อาจได้รับงานก็ได้ เพราะเจ้าของอาคารเชื่อว่าผู้รับเหมาจะทำการก่อสร้างให้ดีได้ตามความต้องการของตนจึง
ควรคิดราคาอย่างเต็มที่ ซึ่ผู้รับเหมาหลายรายต้องขาดทุนเนื่องจากดูไม่ออกว่าเจ้าของต้องการผลงานแค่ไหนทำให้
ประมาณราคาผิดพลาดไป
3) การประมาณราคาที่มีการครอบคลุมอย่างเข้มงวด โดยเจตนาของผู้รับเหมาจะทำการก่อ
สร้างให้ดีอยู่แล้ว แต่บุคคลผู้เป็นตัวแทนของเจ้าของอาคารตัวแทนสถาปนิก หรือวิศวกร ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการก่อ
สร้างจะเข้มงวดให้เป็นไปตามแบบแปลนรวมถึงความถูกต้องในเทคนิคการก่อสร้างจึงทำให้ชะงัก นอกจากนี้ก็มี
ปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่างทำให้ผู้รับเหมาต้งจ่ายเงินเกินกว่ายอดที่ประมาณไว้เสมอ จึงควรสืบดูว่าหน่วยงาน หรือ
เจ้าของโครงการจะมีการควบคุมกันอย่างไรใครมีหน้าที่ดังกล่าว จึงมีอยู่หลายครั้งที่ผู้ควบคุมการก่อสร้างขาด
ประสบการณ์ โดยคิดแต่ว่าวิธีการของ ตนถูกต้องเสมอ และมีทัศนะคติว่าผู้รับเหมาจะบิดพลิ้วจึงเข้มงวดจนกระทั่ง
ก่อสร้างต่อไปไม่ได้โดยลืมนึกไว้ว่าหน้าที่ของการควบคุมการก่อสร้างอันหนึ่งก็คือช่วยหาวิธีการที่ดีกว่าและให้คำ
แนะนำแก่ผู้รับเหมา เพื่อให้งานดำเนินไปให้แล้วเสร็จตามกำหนดทุกฝ่าย ถ้าสัมพันธ์กันก็จะทำให้งานดำเนินไป
ตามจุดประสงค์ได้
4) การประมาณราคางานราชการ ผู้รับเหมาหลาย ๆ รายมีความถนัดและชอบที่จะรับงาน
ราชการ เนื่องจากมีระบบการจ่ายแน่นอนหรืออาจรู้จักบุคคลในหน่วยงานนั้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการต่าง ๆ
ดังนั้นจะพบบริษัทหน้าใหม่เข้าไปประมูลงานน้อยมาก แต่งานราชการก็มีจุดอ่อนในเรื่องขั้นตอนการดำเนินงานมาก
และมีกรรมการหลาย ๆ ฝ่ายเปิดช่อง ฝ่ายพิจารณาการประมูล ฝ่ายทำสัญญา ฝ่ายตรวจงานเป็นลักษณะคณะ
กรรมการร่วมหลาย ๆ หน้าที่ทำให้เกิดความล่าช้า โดยเฉพาะในเรื่องการเบิกจ่ายเงินจึงควรระมัดระวังและคำนึง
ถึงไว้ด้วย
3. การประมาณราคาของโครงการขอกู้เงิน ธนาคารส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญต่อการวิเคราห์ความ
เป็นไปด้างการเงินมากกว่าการควบคุมต้นทุนของโครงการ โดยเจ้าหน้าที่สินเชื่อ จะเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วย
กับโครงการที่เคยมีมาในลักษณะเดียวกันและสอบถามจากลูกค้าบริษัทก่อสร้าง และใช้ประสบการณ์ของตนเอง
ส่วนเจ้าหน้าที่ประเมินราคาของธนาคารก็ใช้หลักเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นราคาประมาณ 70% ของค่าก่อสร้าง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. ต้นทุนค่าก่อสร้างในโครงการประเภทเดียวกันยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัย
ต่าง ๆ เหล่านี้คือ
- ขนาดความสูงของอาคารและระดับราคาขายของอาคารสำหรับบุคคลในแต่ละกลุ่มรายได้
 
- การออกแบบกำหนดให้อาคารมีความแข็งแรงมากก็ใช้ต้นทุนสูงขึ้น
 
- วัสดุที่ใช้ในการตกแต่งภายนอกหรือภายในตัวอาคาร ถ้ามีคุณภาพดีก็มีต้นทุนแตกต่างกันกว่า
คุณภาพธรรมดาเกือบเท่าตัว
 
- ตัวอาคารที่ใช้กระจกมีต้นทุนสูงกว่าอาคารคอนกรีตไม่มากนัก แต่ถ้าใช้กระจกจะมีค่าบำรุง
สูงมาก
 
- พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปจะถูกกว่าพื้นคอนกรีตประเภทหล่อกับที่ประมาณ 20-30% แต่พื้นคอนกรีต
จะเกิดความเสียหายจากการขนส่งได้และไม่เหมาะสมกับการก่อสร้างอาคารที่สูงมาก ถึงภูมิกาศ
ในเมืองไทย จึงมีการใช้พื้นคอนกรีตไร้คานแทน (ผสมระหว่างคอนกรีตสำเร็จรูปกับพื้นหล่อกับที่)
- อาคารที่มีชั้นใต้ดินจะมีต้นทุนแพงกว่าชั้นบนดินประมาณ 2-3 เท่าตัว เช่น อาคารจอดรถ ถ้าเป็น
อาคารบนดินมีต้นทุนตารางเมตร 4,000-5,000 บาท ถ้าเป็นอาคารใต้ดินแล้วมีต้นทุนตารางเมตร
ละ 12,000-15,000 บาท ชึ้นไป
- เข็มเจาะแพงกว่าเข็มตอกเกือบเท่าตัว โดยเฉพาะพื้นดินในเขตกรุงเทพมหานครเป็นดินโคลนปน
ทราย ถ้าก่อสร้างอาคารสูงกว่า 16 ชั้นแล้ว จึงเป็นต้องใช้เข็มเจาะและต้นทุนค่าเสาเข็มจะแพงเพิ่ม
ขึ้นกว่าเท่าตัว
 
- ประสิทธิภาพของการบริหารโครงการโดยเฉพาะค่าแรงงานถ้าบริหารได้ดีแล้วจะสามารถลดราคาต้น
ทุนลงบ้าง
- ถ้าบริษัทรับเหมาก่อสร้างมีชื่อเสียงดีหรือเป็นชาวญี่ปุ่นแล้วจะคิดค่าก่อสร้างแพงกว่ากันเกือบเท่าตัว
 
==ประเภทของการประมาณราคา==