พระโค
พระโค เป็นเรื่องหลักและสิ่งสำคัญสำหรับพิธีแรกนา ซึ่งเป็นพระราชพิธีจำลองกระบวนและวิธีการของการกสิกรรมสำหรับประเทศและรัฐกิจ อันมีอยู่ในราษฎรและนิคมต่างๆในแผ่นดิน
ในการประกอบพิธี เจ้าราชพิธีนั้นโดยพระราชานุญาต จะนำพญาโค ซึ่งคือโคที่คัดสรรอย่างดีแล้วจากปศุสัตว์ทั่วประเทศ มาตระเวนอยู่ในที่ๆจัดทำไว้แล้วอย่างดี เพื่อแสดงตัวอย่างการคราด ไถ และการเลือกกินอาหาร ซึ่งตลอดรายการนั้น ผู้คนก็จะได้รำลึกถึงสิ่งต่างๆอันเนื่องด้วยการกสิกรรม และการตั้งถิ่นฐาน ตลอดถึงการพ้นจากการเป็นชนเร่ร่อน แล้วมีอาหารการกินสมบูรณ์ ซึ่งให้นับเป็นความดีของพระโคดังนี้ด้วย และเมื่อจบรายการกสิกรรมที่ชุมชนและสังคมได้จัดทำขึ้น ก็จึงได้ให้ประกาศ ว่า ได้ให้เกิดความเรียบร้อยและสมบูรณ์ดีแล้วร่วมกันทุกๆคน
ในสมัยโบราณ ชื่อ ความหมาย และสิ่งเสี่ยงทายที่ปรากฏระหว่างพิธีจากพระยาแรกนา และพญาโคจึงมีความสำคัญมาก เรื่องพระโคปรากฏเป็นที่สรรเสริญยิ่งกว่าแต่ก่อนเสมอมา (ว่าพระโคทำอะไร พระยาแรกนาทำอะไร) มากยิ่งขึ้นเมื่อปรากฏเรื่องราวโดยพุทธประวัตินับจากพุทธกาลนั้นเป็นต้นแล้ว กษัตริย์ตามคติพุทธศาสนาย่อมนับถือนิยมในการณ์โครักขกรรม และกสิกรรม มากกว่าที่จะมุ่งแต่ภาระกิจทางการทำสงครามแย่งชิง เชื่อกันว่า กษัตริย์ผู้ทรงกิจแห่งพระพุทธศาสนาเป็นอุปถัมภ์ ทรงอยู่ที่ใด ที่นั้นก็คงจะยังมีพิธีแรกนาขวัญโดยพระโคดังกล่าวนี้อยู่ และประเทศแห่งกษัตริย์นั้นย่อมได้ชื่อว่า ได้เป็นประเทศแห่งพฤกษาบูชาด้วยกันกะพระโค
เรื่องพระโค นี้คงไม่นับเป็นชื่อบทความได้ตามนี้ เพราะยังไม่มีการสร้างบทความ ตามแบบของสารานุกรมที่ควรจะมีรายละเอียดครบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆในพิธีแรกนาฯ แม้พิธีแรกนา อันนับเป็นพระราชพิธีแต่โบราณ ที่ยังปรากฏว่ามีอยู่ ก็เฉพาะแต่เรื่องพระโคเห็นจะยังไม่มีบทความที่พอจะเป็นสาระเท่าที่ควรนัก ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าในที่อาจจะให้ค้นหาได้นั้นอาจจะยังไม่ปรากฏ
เรื่องพระโคสำหรับพิธีแรกนาฯ นับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายสำคัญของพิธีการอันแสดงออกถึงสามัคคีธรรม และทำนองแห่งสมมุติด้วยประกาศวาระ ว่า เมื่อสังคมมนุษย์และกลุ่มชนแต่ก่อนปรับรูปแบบวิถีชีวิตได้สำเร็จ รู้ตั้งถิ่นฐาน ดำรงตน และตั้งอาณาเขต เมื่อสำเร็จจึงนับเนื่องไว้ให้ประกอบเป็นพิธีกรรมอันแสดงออกถึงความสำเร็จและการตั้งตัวได้ของบรรพบุรุษ ว่าพ้นจากสังคมป่า และการเป็นคนเร่ร่อน เครื่องหมายอันเป็นสิ่งแทนเรื่องราวต่างๆนี้เอง ให้นับที่พระโค หรือพญาโคตัวที่นำฝูงมานั้นเป็นเครื่องหมาย
เรื่องพระโคและตารางแสดงคำศัพท์ต่อไปนี้ กำหนดให้แสดงถึง บทอาทิสำคัญเป็นต่างๆ อันหมายถึงได้แก่ โค หรือเรื่องที่เป็นมาด้วยนิทานตามหมายที่มีปรากฏมาในพระไตรปิฎก ซึ่งได้กำหนดแล้วได้ตรง ความว่า, แปลว่า, ดังกล่าว, คือ หรือ เป็นอาทิ ว่าเป็นโค เป็นพระโค อุสภ ที่เป็นหัวหน้าฝูงโค หรือ ปสุ ที่แปลว่า เป็นโค. ซึ่งจะค้นไปกว่าตรงศัพท์ตามตัวมานั้นที่มีกำหนดว่า หมายถึงตามที่กล่าว ให้เป็นความความรู้ในทางคำศัพท์ ที่เป็นมาโดยบท (ว่านี้(ตามนิทาน)ก็สมัยพระเจ้าโค.)
คำศัพท์ เรื่อง โค (ปศุสัตว์) | ||||||
ลำดับที่ | คำศัพท์ | อนุทินศัพท์ ความหมาย/หรือนิยามศัพท์ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
๑. | โคคณํ | แปลว่าฝูงโค | ||||
๒. | ควชา | แปลว่า โคลาน | ||||
๓. | โคอากปฺปํ | แปลว่า อาการของโค | ||||
๔. | - | - |