พระบรมธาตุ
ในคำว่า พระบรมอัฏฐิ หรือพระบรมธาตุนี้ คำแยกหรือบทที่มีแก่คำกำกวมแรกๆ นั้นเห็นจะได้แก่คำว่า อัฏฐิ นั้นเอง ซึ่งตำราที่สถิตแก่สถานะอย่างโลกตั้งไว้ มักใช้กำหนดประกาศอย่างราชบัณฑิต จึงใช้แต่คำว่า อัฐิ นั้นมาแต่โดยมาก ซึ่งก็แปลกบ้าง ที่ ฏ พินทุนั้นถูกทำให้เลือน ลบออกและให้สะกดรวมลงที่ อิ ปัจจัยเลยที่เดียว แต่คัมภีร์ในพระศาสนานั้น เห็นจะใช้ศํพท์นี้ในรูปคำ ว่า อัฏฐิ อยู่ แม้ในอรรถกถาก็นิยมอยู่มาก มากกว่าแบบที่ใช้ตามกำหนดแห่งราชบัณฑิต ฉะนั้นจึงให้ควรเห็นแก่การแก้คำชนิดนี้ก่อน ถึงแม้ว่าทั่วไปจะไม่ค่อยได้ใช้ตามตรงแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้ เรียกเลย(คำว่า อัฏฐิ)ไปเลย เรียกว่า เป็นพระบรมธาตุ หรือพระมหาธาตุ(เจดีย์)ไปเสียทั้งหมด และการณ์เดียวกันนี้ให้อยากจะเห็นบ้างว่ามีใช้อยู่ตรงไหนบ้าง(ว่า ยังไม่เห็น) ดังนั้นจึงยกมาให้เห็นด้วยว่ามี ได้ยกมาด้วยบทหนึ่งประโยคหนึ่ง ว่าดังนี้
นาคาวโลกิตํ ความว่า เหมือนอย่างว่ากระดูกของมหาชนเอาปลายจดปลายตั้งอยู่เหมือนอัฏฐิของพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่เกี่ยวกันเหมือนขอช้าง ฉันใด อัฏฐิของพระพุทธเจ้าหาเหมือนฉันนั้นไม่. ด้วยว่าอัฏฐิของพระพุทธเจ้าติดเป็นอันเดียวกัน ...
ในประโยคกล่าวถึง พระบรมอัฏฐิ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นประเพณีที่มีมาแต่ในศาสนาพุทธเท่านั้น และพระพุทธเจ้า ก็โดยพระองค์เองในที่ซึ่งตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ว่าให้ฌาปนกิจ กำหนดแก่สรีระเมื่อคราวปรินิพพานของภิกษุสงฆ์ผู้เป็นอรหันต์ กระทำแล้ว จากนั้นให้ได้ทำสถูปเจติยสถานประกอบไว้พร้อมด้วย ชื่อว่าสรีระที่ชำระแล้วด้วยเตโชธาตุ เมื่อนั้น ให้เรียกว่าพระบรมอัฏฐิ ถึงที่เป็นของควรเคารพ เป็นบวร อยู่ในสถานะที่ควรแก่การสักการะบูชาเสมอไป เรื่องสรีระของพระอรหันต์ที่ได้รับการชำระ(โดยเตโชธาตุ)ด้วยเป็นพระพุทธประสงค์เป็นกำหนด มีปรากฏแล้ว อยู่ในพระไตรฎกนั้นแล ซึ่งข้อที่ควรทราบนั้นๆ ก็ให้ถือเข้าใจเรื่องราวและเหตุผลตามธรรมดานี้ก่อน
ความรู้ และข้อมูล เกี่ยวแก่พระบรมธาตุ พระบรมอัฏฐิ ที่มีมาในรูปของตำราปัจจุบัน[1]มีดังนี้.
- ความหมายของคำว่าพระบรมสารีริกธาตุ
- พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่าง ๆ
- พระธาตุลอยน้ำ
- ตำนานการเกิดพระบรมสารีริกธาตุ
- มหาปรินิพพานสูตร
- ตำนานธาตุปรินิพพาน
- พุทธเจดีย์
- บุคคลที่สมควรสร้างสถูปไว้บูชา (ถูปารหบุคคล)
- พระธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร
- พระธาตุเจดีย์ประจำวัน
- พระธาตุพุทธสาวก
- บูชาพระธาตุ
- สรงน้ำพระธาตุ
- พระธาตุปาฏิหาริย์
- ลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ
- พระอรหันตธาตุสมัยพุทธกาล
- ↑ รหัส ISBN 978-974-7539-30-1
รวบรวมโดย ดร.สุธี แก้วเขียว