ปาปารัสซี่ บนมุมมองของนักกฎหมาย
เนื้อหาในบทความนี้ไม่ถูกต้องแม่นยำ และอาจมีข้อท้วงติงอยู่ที่หน้าอภิปราย |
ปาปารัสซี่ (Paparazzi) คือ การใช้คำเรียกแทนช่างภาพ ซึ่งผู้ถ่ายรูปจะเปิดเผยรูปนักแสดงเพื่อให้เห็นความจริงของดารา ในขณะที่ผู้ถูกถ่ายไม่รู้ตัว คนเหล่านี้ต้องการเปิดเผยรูปในส่วนที่ลึกกว่ารูปปกติ [1]แต่อย่างไรก็ตามการกระทำของปาปารัสซี่ (Paparazzi) คือการแอบถ่าย (STALKER) หรือพวกแอบสุ่มถ้ำมอง แอบติดตามโดยที่คนที่ถูกติดตามหรือเป้าหมายนั้นไม่รู้ตัว
ลักษณะการกระทำ
แก้ไข- เก็บข้อมูล การที่ปาปารัสซีจะติดตามเป้าหมายได้นั้นต้องมีข้อมูลของเป้าหมายพอสมควรเพื่อรู้ว่าเป้าหมายนั้นกำลังจะทำอะไร แต่ในบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลว่าเป้าหมายจะทำอะไรแต่ปาปารัสซีอาศัยการจัดกิจกรรมต่างที่กลุ่มเป้าหมายจะไปกระทำและเข้าไปร่วมงาน เช่น การออกงาน การแสดงคอนเสิร์ต เป็นต้น
- ติดตามเป้าหมาย การที่ปาปารัสซีจะทำการเก็บภาพของเป้าหมายได้นั้นต้องมีการติดตามถ่ายถาพของเป้าหมายโดยไม่ให้เป้าหมายรู้ตัว
- ถ่ายภาพของเป้าหมาย และนำไปเผยแพร่ อาจจะเพื่อธุรกิจหรือไม่ก็ตาม
อุปรณ์ที่ใช้ถ่ายภาพ
แก้ไข- กล้องถ่ายรูป
- กล้องวีดีโอ
- กล้องวงจรปิด
- กล้องถ่ายภาพขนาดเล็ก ที่อาจะซุกซ้อนไว้ตรงส่วนใดก็ได้ เช่น รองเท้า กระเป๋าสตางค์ เป็นต้น
ข้อกฎหมายกับการกระทำของปาปารัสซี่
แก้ไขประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR : International Covenant on Civil and Political Rights)[2] [3] เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 (ICCPR ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2519) และมีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2540 โดยมีสาระสำคัญในส่วนของการใช้ Internet ดังนี้
- การห้ามแทรกแซงความเป็นส่วนตัว (Privacy Right)
- การคุ้มครองเสรีภาพทางความคิด/การแสดงความคิดเห็น/การแสดงออก/สื่อ (Freedom of Belief/Freedom of Press/Freedom of Expression)
หลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติกาดังกล่าวแล้ว ไทยได้อนุวัติการ (หมายถึง การที่ประเทศไทยรับเอากฎหมายระหว่างประเทศมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายไทย) กติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR : International Covenant on Civil and Political Rights) ไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 [4] ไว้ในมาตราดังนี้
- มาตรา 35 : สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ ส่วนตัว
- มาตรา 36 : เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย
- มาตรา 37 : เสรีภาพทางความคิดในการถือศาสนา/ความเชื่อ
- มาตรา 45 : เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
- มาตรา 46 : เสรีภาพของสื่อ
ถึงแม้ว่าปาปารัสซี่ จะเป็นสื่อมวลชนที่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นใด และ บุคคลผู้ที่ถูกแอบเก็บภาพ อาธิเช่น ดารา จะเป็นบุคคลสาธารณะก็ตาม ปาปารัสซี่ต้องเคารพความเป้นส่วนตัวของบุคนนั้นด้วย
กรณีนำไปเผยแพร่บนสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆหรือบนสถานที่ต่างๆ ซึ่งมิใช่เป็นการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
แก้ไขในลักษณะนี้แป็นการเผยเพร่บนสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น นิตยสาร (Magazine) หนังสือพิมพ์ เป็นต้น หรือบนสถานที่ต่างๆ ซึ่งมิใช่เป็นการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ แล้วการเผยแพร่นั้นทำให้บุคคลผู้ที่ถูกเหล่าปาปารัสซี แอบเก็บภาพ (เหยื่อ หรือ เป้าหมาย) ได้รับ’’’ความเสียหาย’’’
ความผิดทางประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แก้ไข- ’’’ความเสียหาย’’’ ในที่นี้ทำให้เสียหายต่อ’’’ชื่อเสียง’’’ ในทางกฎหมายนั้นเราจะเรียก ปาปารัสซี ว่า ’’’ผู้ที่กระทำละเมิด’’’ ต่อ บุคคลผู้ที่ถูก แอบเก็บภาพ เราจะเรียกบุคคลนี้ว่า ’’’ผู้ที่ถูกกระทำละเมิด’’’ ฉะนั้นแล้ว ปาปารัสซี กระทำละเมิดตาม ‘’’มาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์’’’
ซึ่ง’’’มาตรา 420’’’ บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”[5]
- และในบางทีเหล่าปาปารัสซี ก็นำภาพที่ถ่ายได้ไปทำข่าว ซึ่งบางครั้งข่าวเหล่านั้นก็อาจมีข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงและข่าวเหล่านั้นก็อาจทำให้ผู้ที่ตกเป็นข่าวนั้นได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือการงานได้ เมื่อเป็นการกระทำเช่นนี้ผู้ที่ทำการให้ข่าวต่างๆหรือสื่อ ในทางที่เสียหายก็มีความผิดฐานละเมิดต่อผู้ที่ตกเป็นข่าวนั้นได้ ตามมาตรา 420 ประกอบกับมาตรา 423
ซึ่ง ‘’’มาตรา 423’’’ บัญญัติว่า “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่การนั้นแม้ทั้งเมื่อ ตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้ ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่” [6]
- สำหรับค่าสินไหมเพื่อการละเมิดนั้นผู้ที่ถูกละเมิดต้องร้องขอต่อศาลเองเพื่อที่ศาลจะได้ทำการวินิจฉัยไปตามรูปการแห่งคดีแล้วแต่กรณีว่าจะให้ได้รับการทดแทนหรือเยียวยาอย่างไรบ้าง ซึ่งมีบัญญัติไว้ใน’’’มาตรา 447’’’ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องที่เกียวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่องความเสียหายที่มีต่อชื่อเสียง
ซึ่ง ‘’’มาตรา 447’’’ บัญญัติว่า “บุคคลใดทำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ ต้องเสียหายร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามควรเพื่อทำให้ ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหายหรือทั้งให้ใช้ค่า เสียหายด้วยก็ได้” [7]
ความผิดทางประมวลกฎหมายอาญา
แก้ไข- ในกรณีที่ปาปารัสซี ก็นำภาพที่ถ่ายได้ไปทำข่าว ซึ่งบางครั้งข่าวเหล่านั้นก็อาจมีข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงและข่าวเหล่านั้นก็อาจทำให้ผู้ที่ตกเป็นข่าวนั้นได้รับความเสียหาย น้องจากผู้เสียหายจะฟ้องร้องดำเนินคดีในทางแพ่งได้แล้ว ยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในทางอาญาได้อีกด้วย ในส่วนของการ’’’หมิ่นประมาท’’’ ในมาตรา 326 [8]
ซึ่ง ‘’’มาตรา 326’’’ บัญญัติว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
และถ้าหากได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด แผ่นแสง แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกแสง บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายแสง หรือการกระจายเสียง การกระจายภาพ หรือการกระจายอักษร หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น นั้นทำให้ต้องได้รับโทษสูงขึ้น ตามมาตรา 328[9]
ซึ่ง ‘’’มาตรา 328’’’ บัญญัติว่า “ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นแสง แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกแสง บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายแสง การกระจายเสียง การกระจายภาพ หรือการกระจายอักษร หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”
การแสดงความคิดเห็นที่จะไม่ให้’’’ตกเป็นผู้ต้องหาในข้อหา หมิ่นประมาท’’’ นั้นสามารถแสดงออกได้ดังนี้
- เพื่อความชอบธรรม
- ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่
- ติชมด้วความเป็นธรรม ตามภาวะวิสัยของวิญญูชนที่ควรกระทำ
- แจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม
ซึ่ง บัญญัติไว้ใน‘’’มาตรา 326’’’[10] ว่า “ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท” และหากว่าพิสูจน์ได้ว่าเรื่องที่ตนหมิ่นประมาทนั้นเป็นเรื่องจริงก็’’’ไม่มีความผิด’’’เช่นกัน
แต่หากว่าเป็นเรื่องส่วนตัวและหากพิสูน์ไปแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน ทางกฎหมายก็ไม่ให้พิสูจน์
ซึ่ง บัญญัติไว้ใน‘’’มาตรา 330’’’[11] ว่า “ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน”
- ในกรณีที่ปาปารัสซีได้เสนอภาพที่สื่อไปในทางลามกอนาจารก็ยังถูกดำเนินคดีในทางอาญาได้ ตามมาตรา 287 (1) และ (2) [12]
ซึ่ง ‘’’มาตรา 287’’’ บัญญัติว่า “ผู้ใด (๑) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่ายภาพยนตร์ แถบบันทึกแสง แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ แถบบันทึกอักษรหรือสิ่งอื่นใดอันลามก (๒) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุหรือสิ่งของเช่นว่านั้น ... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ”
กรณีนำไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต (Internet) เข้าลักษณะเป็นการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ผิดกฎหมายแน่นอนฟ้องร้องได้
แก้ไขในลักษณะนี้แป็นการเผยเพร่บนอินเตอร์เน็ต (Internet) ซึ่งในปัจจุบันการติดต่อ สื่อสาร การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มในการติดต่อสื่อสารที่มากขึ้นทุกวัน เพราะเป็นช่องทางที่เสนอได้ง่ายและร่วดเร็ว ทำให้มีการเผยแพร่ภาพรวมทั้งข่าวจากบรรดาเหล่าปาปารัสซี ได้รวดเร็วและมากขึ้นและผิดกฎหมายสามารถฟ้องร้องค่าเสียหายได้
ถ้าหากภาพและข่าวนั้นนำเสนอไปในทางที่ขัดต่อความเป็นจริง บรรดาเหล่าปาปารัสซี ที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตก็มีความผิดทางประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ ความผิดทางประมวลกฎหมายอาญา ที่กล่าวไว้ข้างต้นอีกด้วย ถ้าหากภาพที่นำเสนอออกไปในทางอินเตอร์เน็ตและภาพนั้นมีลักษณะเป็นภาพที่สื่อไปในทางลามกอนาจานอกจากจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้วยังผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐[13] อีกด้วย
ซึ่ง บัญญัติไว้ใน‘’’มาตรา 330’’’ ว่า “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้”
อ้างอิง
แก้ไข- ↑ [1] ,oknation.net
- ↑ [2],กติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ฉบับภาษาอังกฤษ)
- ↑ [3] ,กติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ฉบับแปลภาษาไทย)
- ↑ [4],รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
- ↑ [5], ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 5 ละเมิด ตั้งแต่มาตรา 420 - 437
- ↑ [6], ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 5 ละเมิด ตั้งแต่มาตรา 420 - 437
- ↑ [7],ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 5 ละเมิด ตั้งแต่มาตรา 438 - 448
- ↑ [8],ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท
- ↑ [9],ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท
- ↑ [10],ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท
- ↑ [11],ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท
- ↑ [12],ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ
- ↑ [13],พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550