ประมวลคำภาษาบาลีและสันสกฤตที่ไทยนำมาใช้
ľก
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
กฐิน | กฐิน | กฐิน | ผ้าที่ถวายพระที่จำพรรษาแล้ว |
กฎ | กฏ | กฤต | (ไทย) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม, ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ |
กฏุมพี | กุฏุมฺพี | กุฎุมฺพินฺ | คนมั่งมี. (ไทย) คนเลว |
กนิษฐา | กนิฏฺฐ | กนิษฺฐ | "ผู้น้อยที่สุด", น้อง; นิ้วก้อย |
กบฏ | กปฏ | กปฏ | ความทรยศ |
กมล | กมล | กมล | ดอกบัว; ใจ |
กมลาสน์ (กะ-มะ-ลาด) | กมล+อาสน | กมล+อาสน | ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง (หมายถึง พระพรหม). กมล ‘บัว’ + อาสน ‘ที่นั่ง’. |
กร, กรณ์ | กร กรณ | กรณ | ทำ |
กรณีย์ | กรณีย | กรณีย | (กิจ) ควรทำ |
กรรดึก | กตฺติกา | กฺฤตฺติกา | (เก่า) เดือนสิบสอง, ดาวลูกไก่ |
กรรม | กมฺม | กรฺมนฺ | การกระทำ |
กรรมการ | กมฺมกโร | กรฺมการ | ผู้ทำการงาน. (ไทย) ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งเข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับมอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ |
กระษาปณ์ | กหาปณ | กรฺษาปณ | เหรียญ |
กรินทร์ | กรี+อินฺท | กรี+อินฺทฺร | ช้าง |
กริยา | กิริยา, กฺริยา | กฺริยา | ชนิดของคำที่แสดงการกระทำ อาการ |
กรีฑา | กีฬา | กรีฑา | เล่น. (ไทย) การแข่งขันประเภทลู่และประเภทลาน |
กรุณา | กรุณา | กรุณา | ความเห็นใจคิดช่วยให้พ้นทุกข์ |
กล | กล | กล | การนับ, ส่วน. (ไทย) แบบ |
กลึงค์ | กลิงค์ | กลิงฺค | เรียกชาวอินเดียใต้พวกหนึ่งที่มีผิวดําว่า แขกกลิงค์ มาจากแคว้นกลิงคราษฎร์ |
กเลวระ กเฬวราก | กเลวร กเลวฬ กเลพร | กลเวร | ร่างกาย, ซากศพ |
กษัย | ขย | กฺษย | ความเสื่อม สิ้น, โรคซูบผอม, กระษัย |
กสิกรรม | กสิ+กมฺม | กฺฤษิ+กรฺม | การทำนา, ทำไร่ |
กักขฬะ | กกฺขล กกฺขฬ | กฐร | แข็ง, กระด้าง, หยาบ |
กัจฉา | กจฺฉา | กกฺษ กกฺษฺยา | รักแร้ |
กัญญา, กันยา | กญฺญา | กนฺยา กนฺยกา | หญิงสาว |
กัณฐ์ | กณฺฐ | กณฺฐ กรฺณ | คอ |
กัณฑ์ | กณฺฑ | กาณฺฑ | ลูกธนู, ก้าน |
กัณหา, กฤษณา | กณฺห | กฺฤษฺณ | ดำ, ความชั่ว, บาป |
กัป กัลป์ | กปฺป | กลฺป | 1) กำหนดอายุของโลก. 2) กำหนดอายุของสัตว์ =อายุกัป เช่น 100 ปี |
กัมปนาท | กมฺป+นาท | กมฺป+นาท | เสียงกึกก้อง |
กัมพล | กมฺพล | กมฺพล | ผ้าขนสัตว์ |
กัมพู | กมฺพุ | กมฺพุ | หอยสังข์ |
กัลบก | กปฺปก | ช่างตัดผม | |
กัลปาวศาน | กปฺป+อวสาน | กลฺป+อวศาน | จุดจบ คือที่สุดแห่งระยะเวลากัลป์หนึ่ง คือ ช่วงเวลา 4.32 พันล้านปีมนุษย์ |
กากณึก | กากณิกา | กากิณิกา | ชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด |
กากบาท (กา-กะ-บาด) | กาก+ปาท | กาก+ปาท | ตีนกา, เครื่องหมายเป็นรูปตีนกา (กาก=กา, ปาท=เท้า) |
กาชาด | - | - | เครื่องหมายรูปกากบาท ( + ) สีแดงชาดบนพื้นขาว. กา (ขีด) +ชาด (สีแดง) |
กาญจน์, กาญจนา | กาญฺจน | กาญฺจน | ทอง, ทองคำ |
กาญจนบุรี | กาญฺจน+ปุรี | กาญฺจน+ปุรี | เมืองทอง |
กานดา | กนฺตา | กานฺตา | งาม, ผู้หญิง, หญิงงาม |
กาพย์ | กพฺพ | กาพฺย กาวฺย | คำประพันธ์ |
กาม | กาม | กาม | รัก, ใคร่, อยาก, ต้องการ. |
การ | การ | การ | การกระทำ, ผู้ทำ, หน้าที่ |
การบูร | กปฺปุร | กฺรบูร | ต้นชนิดหนึ่ง กลั่นน้ำมันกลิ่นฉุนร้อน ใช้ทํายา |
การเวก | กรวิก กรวีก | กรวีก | นกการเวก |
การุญ, การุนย์ | การุญฺญ | การุนฺย | ความกรุณา |
การุนยฆาต | การุญฺญฆาต | การุนฺยฆาต | การฆ่าด้วยความกรุณา |
กาลี | กาลี กาฬี | กาตี กาฏี | ดำ, หญิงคนชั่ว, ปางหนึ่งของพระอุมาเทวี |
กิจจะลักษณะ | กิจฺจ+ลกฺขณ | กิตฺย+ลกฺษณ | (ไทย) เป็นการเป็นงาน, เป็นเรื่องเป็นราว. (บาลี ไม่มีที่ใช้ - ลักษณะของกิจ) |
กิริยา | กิริยา กฺริยา | กฺริยา | การกระทำ, อาการที่แสดงออกมาด้วยกายมารยาท |
กีฬา | กีฬา | กฺรีฑา | การเล่น. (ไทย) การเล่นออกกำลังกาย |
กุญแจ | กุญฺจิกา | กุญฺจิกา | ลูกกุญแจ |
กุญชร | กุญฺชร | กุญฺชร | ช้าง |
กุมภ | กุมฺภ | กุมฺภ | หม้อ |
กุมภีล์ | กุมฺภีล | กุมฺภีร | จระเข้ |
กุมาร | กุมาร | กุมาร | เด็กชาย |
กุมารี | กุมารี | กุมารี | เด็กหญิง |
กุลสตรี | กุล+อิตฺถี | กุล+สฺตรี | หญิงแห่งสกุล |
เกศ, เกศา | เกส | เกศ | ผม |
เกษตร | เขตฺต | เกฺษตฺร นา, ไร่ | |
เกษตราธิการ | เขตฺต+อธิการ | เกฺษตฺร+อธิการ | กษัตริย์ |
เกษม | เขม | เกฺษม | ปลอดภัย, สุขสบาย |
เกษียณ | ขีณ | กฺษีณ | สิ้นไป เช่น เกษียณอายุราชการ |
เกษียน | - | - | เขียน (เขียน แผลงเป็น เกษียน เลียนแบบสันสกฤต) |
เกษียร | ขีร | กฺษีร | น้ำนม เช่น เกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม) |
เกียรติ | กิตฺติ | กีรฺติ | คำสรรเสริญ, คำเล่าลือ |
โกกนุท | โกกนท | โกกนท | บัวแดง |
โกญจา | โกญฺจ โกญฺจา | เกราญฺจ | นกกระเรียน |
โกมล | โกมล | โกมล | อ่อน, ละเอียด, อ่อนนุ่ม |
โกมุท | โกมุท, โกมุทฺท | บัวแดง, แสงจันทร์ | |
โกลาหล | โกลาหล | โกลาหล | เสียงเอิกเกริก |
โกสุม | กุสุม | กุสุม | ดอกไม้ |
โกหก | กุหก | กุหก | พูดเท็จ, พูดปด |
ไกรลาส | ไกลาศ | ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. สีขาวเหมือนเงินยวง. (ไทย) เติม ร. |
ข
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ขฑิกา | ขฬิกา (khaḷikā) | ขฑิกา (khaḍikā) | ชอล์ค, ดินสอพอง |
ขฑุ | ขฬุ (khaḷu) | ขฑุ (khaḍu) | รถศพ |
ขณะ | ขณ (khaṇa) | กฺษณ (kṣana) | ชั่วเวลาหนึ่ง |
ขนิษฐา | ขนิฏฺฐ (khaniṭṭha) | ขนิษฺฐ (khaniṣṭha) | น้อง |
ขมา | ขมา | กฺษมา | อดทน, อดโทษ (ไม่เอาโทษ, ยกโทษ), ษมา, สมา |
ขรรค์ | ขคฺค (khagga) | ขฑฺค (khaḍa) | มีดปลาบเเหลมสองคม |
ขฬิกา | ขฬิกา (khaḷu) | ขฑิกา (khaḍikā) | ชอล์ค, ดินสอพอง |
ขฬุ | ขฬุ (khaḷikā) | ขฑุ (khaḍu) | รถศพ |
ขัณฑ์ | ขณฺฑ (khaṇḍa) | ขณฺฑ (khaṇḍa) | ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น. |
ขัณฑสกร | ขณฺฑสกรา (khaṇḍasakarā) | น้ำตาลกรวด | |
ขัณฑสีมา | ขณฺฑ+สีมา | ขณฺฑ+สีมา | เขตแดน |
ขัตติยะ, กษัตริย์ | ขตฺติย (khattiya) | กฺษตฺริย (kṣatriya) | พระเจ้าแผ่นดิน |
ขันที | ขณฺฑี | ขณฺฑี | (ไทย) ชายที่ถูกตอน (ถูกตัดอวัยวะเพศ); "ผู้(มีอวัยวะเพศ)ขาด?". |
ขันธ์, สกนธ์ | ขนฺธ (khandha) | สฺกนฺธ (skandha) สฺกนฺท (skanda) | ร่างกาย |
ขีดขินธ์ | เสาหลักเมือง, เมืองขีดขินธ์ ชื่อเมืองของพาลีในเรื่องรามเกียรติ์, อีกชื่อว่า กิษกินธ์ | ||
เขฏะ | เขฬ (kheḷa) | เขฏ (theṭa) | น้ำลาย |
เขต | เขตฺต (khetta) | เกฺษตฺร (kṣetra) | เขตแดน, ขอบเขต, ไร่, นา |
เขฬะ | เขฬ (kheḷa) | เขฏ (kheṭa) | น้ำลาย |
เข้ารีต -จาริตฺต -จาริตฺร เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น, เช่นเปลี่ยนไปถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก |
ค
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
คงคา | คงฺคา | คงฺคา | แม่น้ำคงคา (Ganges). (ไทย) แม่น้ำ. |
คงคาลัย | คงฺคา+อาลย | คงฺคา+อาลย | แม่น้ำคงคา |
คดี | คติ | คติ | ที่ไป. (ไทย) ข้อสอนใจ, เรื่อง, มักใช้ประกอบศัพท์อื่น เช่น วรรณคดี สารคดี; เรื่องฟ้องร้องกันทางกฎหมาย คดีอาญา คดีปกครอง. |
คนโท | กุณฺฑ | กุณฺฑ | หม้อ, กระถาง. (ไทย) ภาชนะใส่น้ำดื่ม |
คนธรรพ์ | คนฺธพฺพ | คนฺธรฺว | เทพจำพวกหนึ่ง |
ครรภ์ | คพฺภ | ครฺภ | ท้อง, ลูกในท้อง |
ครู | ครุ | คุรุ | ครู. En. guru |
คฤหัสถ์ | คหฏฺฐ | คฺฤหสฺถ | ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส |
คาถา | คาถา (gāthā) | คาถา (gāthā) | คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ 4 บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง. (ไทย) คาถาอาคม, คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์. |
คาม | คาม | คฺราม | บ้าน, หมู่บ้าน |
คาวี | คาวี | แม่วัว. En. cow | |
คำนวณ | คุณ | คุณ | กะประมาณ, คิดหาผลลัพธ์โดยวิธีเลข. |
คีต | คีต | คีต | เพลงขับ, การขับร้อง |
คีรี | คิริ | คิริ | ภูเขา |
คุณ | คุณ | คุณ | ความดี, ชั้น; สายธนู. (ไทย) ความดี, คำนำหน้าชื่อ, อาถรรพ์, ชั้น (คูณ). |
คูณ | คุณ | คุณ | ชั้น. (ไทย) เพิ่มจํานวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ. |
คูหา | คุหา | คุหา | ถ้ำ |
เคราะห์ | คห | คฺรห | การจับ ยึด บังคับ. (ไทย) สิ่งที่นำผลให้โดยมิได้คาดหมาย |
เคารพ | คารว | เคารว | ความเคารพ |
โค | โค | โค | วัว |
โคดม | โคตม | โคตม | พระโคตรของพระพุทธเจ้า (พระองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระองค์ที่ 4 ใน 5 พระองค์ ในภัทรกัปนี้), พ ระอาทิตย์ |
โคตร (โคด) | โคตฺต | โคตฺร | วงศ์, สกุล, เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย เช่น โคตมโคตร |
โคตรภู (โคด-ตฺระ-พู) | โคตฺรภู | โคตฺรภู | บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับอริยมรรค คือกำลังก้าวล่วงพ้นความเป็นปุถุชน
เข้าสู่ความเป็นอริยะ = โคตรภูบุคคล; ภิกษุสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีวัตรปฎิบัติห่างจากธรรมวินัย แต่ยังมีเครื่องแสดงเพศภาวะอยู่ เช่น ผ้าเหลืองพันคอ (กาสาวกณฺฐา) เป็นต้น ถือตนว่ายังเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์/โคตรภูภิกษุ, สงฆ์ในระยะหัวต่อจะสิ้นศาสนา |
ฆ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ฆราวาส | ฆราวาส | คฺฤห+อาวาส | การอยู่ครองเรือน, ผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช |
ฆาน | ฆาน (ghāna) | ฆฺราณ (ghrāṇa) | จมูก |
โฆษ | โฆส (ghosanā) | โฆษ (ghoṣa) | เสียงดัง, เสียงกึกก้อง |
โฆษณา | โฆสนา (ghosanā) | โฆษณา (ghoṣaṇā) | โห่ร้อง, ป่าวร้อง, กึกก้อง. (ไทย) เผยแพร่ข้อความแก่สาธารณชน |
จ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
จงกรม | จงฺกม | จงฺกฺรม | เดินกลับไปกลับมา |
จตุ-, จตุร- | จตุ | จตุร | สี่ |
จตุรงค์ | จตุร+องฺค | จตุร+องฺค | มีองค์ 4 |
จริต | จริต | จริต | ความประพฤติ. (ไทย) บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต |
จราจร | จราจร | จราจร | การเคลื่อนที่ไปมา |
จริยา | จริย | จรฺย | ความประพฤติ |
จลาจล | จลาจล | จลาจล | ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ |
จักร | จกฺก | จกฺร | วงกลมมีเฟืองรอบ, ล้อ |
จักรยาน | จกฺกยาน | จกฺรยาน | ยานมีล้อ |
จักรี | จกฺกี | จกฺรินฺ | ผู้มีจักร หมายถึงพระนารายณ์. (ไทย) พระราชา ตามที่เชื่อกันว่าเป็นพระนารายณ์อวตารลงมา. | |
จักรพรรดิ (จัก-กะ-พัด) | จกฺกวตฺติ | จกฺรวรฺตินฺ | (พระราชา) ผู้ยังจักรให้เป็นไป, พระราชาจักรพรรดิ ผู้มีรัตนะ 7, จักรพรรดิราช. (ไทย) ประมุขของจักรวรรดิ = emperor. |
จักรวรรดิ (จัก-กะ-หฺวัด) | จกฺกวตฺติ จกฺรวรฺตินฺ | (ไทย) รัฐหรือสหภาพของรัฐต่างๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น จักรวรรดิโรมัน, อาณาเขตหรืออาณาจักรที่อยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตย การปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ = empire. | |
จักษุ | จกฺขุ | จกฺษุ | ตา |
จัตวา | จตุ | จตุ | (ไทย) [จตุ เอา อุ เป็น วฺ เป็น จตฺวา] สี่; เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรี ว่า ชั้นจัตวา; เครื่องหมายวรรณยุกต์รูป "+" |
จัณฑ์ | จณฺฑ | จณฺฑ | ดุร้าย. (ไทย) น้ำจัณฑ์ = เหล้า "กินแล้วดุ". |
จัณฑาล | จณฺฑาล | จณฺฑาล | ตํ่าช้า; ลูกที่เกิดจากคนต่างวรรณะกัน เช่น ลูกที่บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์ |
จันทน์ | จนฺทน | จนฺทน | ต้นจันทน์, ผลจันทน์ |
จันทร์ | จนฺท | จนฺทฺร | ดวงจันทร์, ดวงเดือน; ชื่อวันที่ 2 ของสัปดาห์ |
จาบัล, จาบัลย์ | จาปลฺย | จาปลฺย | ความหวั่นไหว |
จาม | จมฺม | จรฺมนฺ | หนังสัตว์ |
จาริก | จาริก | จาริก | เดินไป, เที่ยวไป |
จารีต | จาริตฺต | จาริตฺร | ความประพฤติ, ความสมสู่. (ไทย) ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. |
จิต, จินตนา, เจตนา | จิต, จินฺต | จิต, จินฺต | คิด |
จุณ | จุณฺณ | จูรฺณ | ละเอียด |
จุมพิต | จุมฺพ | จุมฺพ | จูบ |
จุล | จุลฺล, จูล, จูฬ | กฺษุลฺล | น้อย |
จุฬา, จุฑา | จูฬา | จูฑา | จุกบนหัว |
เจดีย์ | เจติย | ไจตฺย | สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือมีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ |
เจษฎา | เชฏฺฐ | เชฺยษฺฐ | "ผู้ใหญ่ที่สุด", พี่ |
เจรจา (เจน-ระ-) | จรฺจา | พูด, พูดจากัน, พูดจากันเป็นทางการ, จำนรรจา | |
เจียร | จิร | จิร | ช้านาน, ยืนนาน |
แจตร์ | ไจตฺร เดือนห้า | ||
โจทย์ | โจทน | โจทฺย | (ไทย) คําถามในวิชาคณิตศาสตร์, โดยปริยายใช้หมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น |
โจร | โจร | โจร, เจาร | โจร |
โจรี | โจรี | โจรี | โจรผู้หญิง |
ฉ
ช
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ชงฆ์ ชงฺฆา ชงฺฆา แข้ง | |||
ชฎา ชฏา ชฎา เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย | |||
ชน ชน ชน เกิด | |||
ชนก ชนก ชนก พ่อ | |||
ชนบท ชนปท ชนปท ประเทศ, จังหวัด, บ้านนอก, พลเมือง (ชาวชนบท). (ไทย) บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวง ออกไป. | |||
ชมพู่ ชมฺพุ ชมฺพุ หว้า, ชมพู่ | |||
ชมพูนุท ชมฺพุนท ชามฺพุนท ทองคำเนื้อบริสุทธิ์ | |||
ชลี อญฺชลิ อญฺชุลิ อญฺชลิ กระพุ่มมือไหว้. (ไทย) อัญชลี ตัด อัญ, เป็น ชุลี บ้าง. | |||
ชวาล, ชาล ชาล ชาล ข่าย | ชันษา (ชัน-นะ-) ชนวสฺส ชนฺมวรฺษ ชนมพรรษา [ชน-มะ-พัน-สา] อายุ. ขวบปีที่เกิดมา. (ไทย) ลบ ม | ||
ชัย ชย ชย ชนะ | |||
ชาคริต ชาคริต ชาคริตวตฺ ผู้ตื่น | |||
ชาตา ชาต ชาต เกิด. (ไทย) เวลาเกิดของคน เป็นต้น ที่โหรคำนวณไว้, ชะตา ก็ว่า. | |||
ชาติ ชาติ ชาติ การเกิด. (ไทย) การเกิด; ชนิด, จําพวก; ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, | |||
ชานุ ชานุ ชานุ เข่า | |||
ชิวหา ชิวฺหา ชิวฺหา ลิ้น | |||
ต้นนาม เป็นเครื่องหมายแห่งความยกย่อง. | |||
ชีวประวัติ ชีว+ปวตฺติ ชีว+ปฺรวฤตฺติ ประวัติของชีวิต | |||
เชษฐา เชฏฺฐ เชฺยษฺฐ "ผู้ใหญ่ที่สุด", พี่ | |||
เชตุพน เชตุ+วน เชตุ+วน สวนเจ้าเชต, (ไทย) วัดพระเชตุพน | |||
โชดึก โชติก โชฺยติก ผู้มีความรุ่งเรือง | |||
โชติ โชติ โทฺยติสฺ โชฺยติสฺ ความรุ่งเรือง, ความสว่าง | |||
ไชย เชยฺย เชฺยย ชฺยายสฺ ดีกว่า, เจริญกว่า |
ฌ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ฌลา | ฌลา (jhalā) | ฌลา (jhalā) | เด็กหญิง, ลูกสาว, แสงอาทิตย์, แสงแวววาว |
ฌัตวา | ฌติวา (jhativa) | ฌตฺวา (jhatva) | ไหม้แล้ว |
ฐ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ฐลา | ฐลา (ṭhalā) | ฐลา (ṭhalā) | รถบรรทุก, โกดัง |
ฐัตวา | ฐติวา (ṭhativā) | ฐตฺวา (ṭhatvā) | ตั้งอยู่แล้ว, ยืนอยู่แล้ว |
ด
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ดนตรี | ตนฺติ | ตนฺตฺรินฺ | แบบแผน, ระเบียบ, สาย, เส้นด้าย, แผ่ไป, สายพิณ, พุทธวจนะ, แถว, บาลี. (ไทย) ลำดับเสียงอันไพเราะ. |
ดนยา | ตนยา | ตนยา | ลูกสาว |
ดนัย | ตนย | ตนย | ลูกชาย |
ดนู | ตนุ | ตนุ | น้อย |
ดรรชนี, ดัชนี | ตชฺชนี | ตรฺชนี | นิ้วชี้, บัญชีคําเรียงตามลําดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือ (index) |
ดรุณ | ตรุณ | ตรุณ | หนุ่ม |
ดรุณี | ตรุณี | ตรุณี | สาว, อ่อน, รุ่น |
ดัสกร | ตกฺกร | ตสฺกร | โจร, ขโมย. (ไทย) ข้าศึก, ศัตรู. |
ดาบส | ตาปส | ตาปส | นักบวช |
ดารา | ตารา | สฺตาร | ดาว. En. star |
ดาวดึงส์ | ตาวตึส | ตฺรยสฺตฺรึศตฺ | ชื่อสวรรค์ชั้นที่สอง |
ดิถี | ติถิ | ติถิ | การนับวันตามจันทรคติ |
ดิเรก | อติเรก | อติเรก | เกินหนึ่ง (ใหญ่ยิ่ง, มาก, พิเศษ). (ไทย) อดิเรก ตัด อ. |
ดีบุก | ติปุ | ตฺรปุ | ดีบุก (tin) |
ตุ๊ | สาธุ | สาธุ | (ไทย) คำสำหรับเรียกพระภิกษุ ทางภาคเหนือ กร่อนมาจาก สาธุ |
ดุรงค์ | ตุรงฺค | ตุรงฺค | ม้า "ไปเร็ว" |
ดุลย์ | ตุลย | ตุลฺย | คล้าย, เช่นกัน |
ดุษฎี | ตุฏฺฐิ | ตุษฺฏิ | ความยินดี, ความชื่นชม. (ไทย) ดุษฎีบัณฑิต ปริญญาเอก, ผู้ได้รับปริญญาเอก |
ดุษณี | ตุณฺหี | ตุษฺณีมฺ | อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. (ไทย) โดยดุษณีภาพ |
ดุสิต | ตุสิต (Tusita) | ตุษิต (Tuṣita) | สวรรค์ชั้นดุสิต |
เดช, เดโช | เตช | เตช | อำนาจ, ไฟ, ความร้อน |
เดรัจฉาน | ติรจฺฉาน | ติรศฺจีน | "ผู้เป็นไปโดยขวาง", สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย. เดียรัจฉาน |
เดียงสา | เดียง+ภาสา | +ภาษา | รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็กยังไม่รู้เดียงสา.
เดียง ‘รู้’ (คำเขมร - ฎึง) +ภาสา ‘ภาษา’ = รู้ภาษา (ลบ ภา) |
ต
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ตติยะ | ตติย | ตฺฤตีย | ที่สาม |
ตถาคต | ตถาคต | ตถาคต | ผู้ไปแล้วอย่างนั้น (พระพุทธเจ้า) |
ตน | ตนุ | ตนุ | เบาบาง, น้อย, ห่าง; ละเอียด; ตน. (ไทย) ตน. |
ตบะ | ตป | ตปสฺ | ความร้อน, ธรรมเครื่องเผาบาป |
ตมะ | ตม | ตมสฺ | มืด |
ตรรก | ตกฺก | ตกฺร | คิด, ตรึก |
ตระกูล | กุล | กุล | วงศ์, เชื้อสาย. (ไทย) เติม ตระ- |
ตรัยตรึงศ์ | เตตฺตึส | ตฺรยสฺตฺรึศตฺ | สามสิบสาม |
ตรี | ติ | ตฺริ | สาม |
ตรีภูมิ | ติ+ภูมิ | ตฺริ+ภูมิ | ภูมิสาม |
ตรีโลก | ติ+โลก | ตฺริ+โลก | โลกสาม |
ตฤณ, ติณ | ติณ | ตฤณ | หญ้า |
ตฤษณา | ตณฺหา | ตฺฤษฺณา | ความยาก |
ตักษัย | ชีวิตกฺขย | ชีวิตกฺษย | สิ้นชีวิต, ตาย. (ไทย) ตัดพยางค์ ชีวิ ออก. |
ตัณหา | ตณฺหา | ตฺฤษฺณา | ความยาก |
ตาล | ตาล | ตาล | ลูกตาล, ลูกกุญแจ |
ตาว | ตาว | ตาวตฺ | เพียงนั้น |
ตุลา | ตุลา | ตุลา | คันชั่ง |
เตโช | เตช | เตช | อำนาจ, ไฟ, ความร้อน |
ไตร | ติ, เต ตฺริ | ไตฺร ตฺรย | สาม. En. three, tri(cycle) |
ไตรยางศ์ | ติ+อํส | ตฺริ+อํส, ตฺรยํศ | ประกอบ 3 อย่าง, มี 3 ส่วน |
ไตรสรณคมน์, -าคมน์ | ติ+สรณ+คมน | ไตฺร+สรณ+คมน | การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก. |
ถ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ถัญ | ถญฺญ (thañña) | ถฺนย (thanya) | น้ำนม |
ถัน | ถน (thana) | สฺตน (stana) | นม (อวัยวะ), เต้านม |
ถันย์ | ถญฺญ (thañña) | ถนฺย (thanya) | น้ำนม |
ถาวร, สถาพร | ถาวร (thāvara) | สฺถาวร (sthāvara) | มั่นคง, แข็งแรง. En. stand |
ถุส, ถุษ | ถุส (thusa) | ถุษ (thuṣa) | แกลบ, เปลือก, เปลือกข้าว. |
เถน | เถน (thena) | เสตฺน (stena) | ลัก, ขโมย; สมัยก่อน คนไทยใช้เป็นคำอุทาน/ด่า เช่น ไอ้เถน! |
เถระ, เถรี | เถร (thera), เถรี (their) | สฺถวิร (sthavira), สฺถวิรา (stavirā) | คนแก่, ผู้เฒ่า, ผู้มั่นคง, พระที่มีพรรษา 10 ขึ้นไป |
ท
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ทรกรรม | ทุร-+กมฺม | ทุสฺ-+กรฺม | การทำให้ลำบาก |
ทรชน | ทุรชน | ทุร- + ชน | ทุสฺ-+ชน คนชั่ว |
ทรพิษ | ทุร-+วิส | ทุสฺ-+วิษ | "พิษชั่ว", ชื่อโรคระบาด มักขึ้นตามตัว เป็นเม็ดเล็กๆ ดาษทั่วไป เรียกว่า ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ ก็ว่า. |
ทรยศ ทุรยศ | ทุร- + ยส | ทุสฺ-+ยศสฺ | เกียรติชั่ว (กบฏ) |
ทรยุค | ทุร- +ยุค | ทุสฺ- +ยุค | ยุคชั่ว |
ทรราช ทุรราช | ทุร- + ราช | ทุสฺ- +ราชนฺ | พระราชาชั่ว, ผู้ปกครองชั่ว. En. tyrant. การปกครองเช่นนั้น เรียกว่า (ระบบ) ทรราชย์. En. tyranny.
(ไทย) ทุ เมื่ออยู่หน้าอักษรต่ำ แปลง ทุ- เป็น ทร- ทุร- |
ทรลักษณ์ | ทุร- + ลกฺขณ | ทุสฺ- +ลกฺษณ | ลักษณะชั่ว, เครื่องหมายชั่ว |
ทรหน | ทุร- + | ทุสฺ- + | ทางลำบาก, ทางกันดาร |
ทรัพย์ | ทพฺพ | ทฺรวฺย | ของมีค่า |
ทฤษฎี | ทิฏฺฐิ | ทฺฤษฺฏิ | ความเห็น. (ไทย) หลักที่นักปราชญ์วางไว้. |
ทวาร | ทฺวาร | ทฺวาร | ประตู (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d). En. door |
ทวีป | ทีป | ทฺวีป | เกาะ |
ทหาร | ทหร | ทหร | คนหนุ่ม. (ไทย) ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ (จากอาหม) |
ทักษิณ | ทกฺขิณ | ทกฺษิณ | ทิศใต้, ขวา. |
ทั้งเพ | + สพฺเพ (สพฺพ) | + สรฺเว (สรฺว) | (ปักษ์ใต้) ทั้งปวง, ทั้งหมด. (ทั้ง + สัพเพ). |
ทัณฑ์ | ทณฺฑ | ทณฺฑ | ไม้ตะบอง, ไม้เท้า; การลงอาญา, การลงโทษ. (ไทย) การลงอาญา, การลงโทษ.. |
ทัณฑฆาต | ทณฺฑ+ฆาต | ทณฺฑ+ฆาต | ชื่อเครื่องหมาย |
ทนต์ | ทนฺต | ทนฺต | ฟัน (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d) En. dental |
ทวิ- | ทฺวิ, ทิ, ทุ, โท | ทฺวิ | สอง. En. two, twice |
ทศ- | ทส | ทศ | สิบ. En. ten; decimal |
ทัศนะ, ทรรศนะ | ทสฺสน | ทรฺศน | ความคิดเห็น |
ทัศนีย์ | ทสฺสนีย | ทรฺศนีย, ทฺฤศฺ | ควรดู, น่าดู |
ทาน | ทาน | ทาน | การให้ |
ทาน | ปทาน | ปฺรทาน | กิน (ไทย ภาษาพูด) กร่อนมาจากคำว่า รับประทาน. . (ไม่ควรใช้ในภาษาเขียน และยังไปพ้องกับคำว่า ทาน ที่แปลว่าการให้) |
ทายก | ทายก | ทายก | ผู้ให้ |
ทารก | ทารก | ทารก | เด็กผู้ชาย |
ทาริกา | ทาริกา | ทาริกา | เด็กหญิง |
ทิฐิ | ทิฏฺฐิ | ทฺฤษฺฏิ | ความเห็น. (ไทย) ความดื้อรั้นในความเห็น; ความถือดี =มานะ. En. theory |
ทิด | ปณฺฑิต | ปณฺฑิต | คํานําหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด. อาจจะกร่อนจากคำว่า (บัณ)ฑิต |
ทิพย์ | ทิพฺพ (dibba) | ทิวฺย (divya) | เป็นของเทวดา, ดีหรือวิเศษอย่างเทวดา |
ทิพโลก | ทิพฺพโลก | ทิพฺยโลก | โลกสวรรค์ |
ทิพากร | ทิวากร | ทิวากร | ผู้กระทำหน้าที่กลางวัน, ทำ "วัน", พระอาทิตย์ |
ทิวงคต | ทิวงฺคต | ทิวมฺคต | ไปสู่สวรรค์ (ตาย) |
ทิวากร | ทิวา+กร | ทิวา+กร | ผู้กระทำหน้าที่กลางวัน, ทำ "วัน", พระอาทิตย์ |
ทิวากาล | ทิวากาล | ทิวา+กาล | (เวลา) กลางวัน |
ทิวาราตรี | ทิวารตฺติ | ทิวาราตฺรมฺ | กลางวันและกลางคืน |
ทีป | ทีป | ทีป | แสงไฟ |
ทีปังกร | ทีปงฺกร | ทฺวีป+กร | ผู้ที่ทำที่พึ่ง, พระนามของพระพุทธเจ้า |
ทุคติ | ทุคฺคติ (ทุ- + คติ) | ทุสฺ-/ทุรฺ- +คติ (ทุรฺคติ) | ที่ไปชั่ว, ที่ไปไม่ดี (เปรต นรก อสุรกาย เดรัจฉาน). (มักเขียนผิดเป็น ทุกข์คติ) |
ทุจริต | ทุจฺจริต (ทุ- + จริต) | ทุสฺ-/ทุศฺ- +จริต (ทุศฺจริต) | ประพฤติชั่ว |
ทุติยะ | ทุติย | ทฺวิตีย | ที่สอง |
ทุนนิมิต | ทุนฺนิมิต (ทุ- + นิมิต) | ทุสฺ-/ทุรฺ- +นิรฺมิต (ทุรฺนิรฺมิต) | ฝันร้าย, นิมิตไม่ดี |
ทุพพล ทุรพล | ทุพฺพล (ทุ- + พล) | ทุสฺ-/ทุรฺ- +พล (ทุรฺพล) | มีกำลังน้อย |
ทุพภิกขภัย | ทุพฺภิกฺขภย (ทุ- + ภิกฺข + ภย) | ทุสฺ-/ทุรฺ- +ภิกฺษา+ภย (ทุรฺภิกฺษภย) | ภัยจากอาหารหายาก |
ทุรชล | ทุรชล (ทุร- + ชล) | ทุสฺ-/ทุรฺ- +ชล (ทุรฺชล) | น้ำร้าย |
ทุรชาติ | ทุรชาติ (ทุร- + ชาติ) | ทุสฺ-/ทุรฺ- +ชาติ (ทุรฺชาติ) | ชาติชั่ว |
ทุรนิมิต | ทุนฺนิมิต (ทุ- + นิมิต) | ทุสฺ-/ทุรฺ- +นิรฺมิต (ทุรฺนิรฺมิต) | ลางร้าย |
ทุรมาน, ทรมาน | ทุรมาน | ทุสฺ+มาน | ไม่มีการถือตัว |
ทุรวาท | ทุรวาท (ทุร- + วาท) | ทุสฺ-/ทุรฺ-+วาท (ทุรฺวาท) | คำชั่ว |
ทูต | ทูต | ทูต | ผู้นําข้อความไปแจ้งทั้ง 2 ฝ่าย. (มักเขียนผิดเป็น ฑูต) |
เทพินทร์ | เทวี+อินฺท | เทวี+อินฺทฺร | จอมเทพี |
เทวโลก | เทวโลก | เทวโลก | สวรรค์ |
เทวษ | โทส | เทฺวษ | เศร้าโศกเสียใจ |
เทวะ | เทว | เทว | ฝน; เทพ, เทวดา; ราชา (สมมติเทพ). (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d) En. divine |
เทวินทร์ | เทว+อินฺท | เทว+อินฺทฺร | จอมเทพ |
เทวี | เทวี | เทวี | พระเจ้าแผ่นดินผู้หญิง |
เท่ห์ | เทห | เทห | ร่างกาย |
เทาะห์ | ฑห | ทห | เผา |
แทตย์ | ไทตฺย | ยักษ์ | |
โท | [ทฺวิ ทิ ทุ] | [ทฺวิ] | สอง. (ฮินดี) โท. En. two |
โทรศัพท์ | ทูร+สทฺท | ทูร+ศพฺท | โทรศัพท์. ทูร-tele (ไกล) + สทฺท-sound (เสียง) En. tele- |
โทษ | โทส | โทษ | ความไม่ดี, ความผิด |
โทสะ | โทส | โทษ | ความโกรธ |
ไทย- | เทยฺย (deyya) | ไทย (daiya) | ควรให้ |
ไทยธรรม | เทยฺยธมฺม (deyyadhamma) | เทยธรฺม (daiyadharma) | "ของที่ควรให้", ของทําบุญต่างๆ, ของถวายพระ. |
ไทยทาน | เทยฺยทาน (deyyadāna) | ไทยทาน (daiyadāna) | ของอันพึงให้ |
ผ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ผฑุ | ผฬุ (phaḷu) | ผฑุ (phaḍu) | ข้อ, ข้อไม้, ปล้อง |
ผลิตผล | ผลิต+ผล | ผลิต+ผล | ผลที่ผลิตออกมาแล้ว |
ผลึก | ผลิก (phalika), ผลิกา (phalikā) | สฺผฎิก (spha ika) | ชื่อแก้วอย่างหนึ่งมีสีขาวใส |
ผฬุ | ผฬุ (phaḷu) | ผฑุ (phaḍu) | ข้อ, ข้อไม้, ปล้อง |
ผัสสะ | ผสฺส (phases) | การกระทบ, การถูกต้อง | |
ผาณิต | ผาณิต (phāṇita) | ผาณิต (phāṇita) | น้ำอ้อย, (น้ำตาล), น้ำอ้อยงบ |
ผาล | ผาล (phāla) | ผาล (phāla) | ผาล ชื่อเหล็กสำหรับสวมหัวหมูเครื่องไถ |
ผาสุก | ผาสุ (phāsu), ผาสุก (phāsuka) | ความอิ่มใจ |
พ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
พงศาวดาร (พงศ- + อวดาร) | วํส + อวตาร (วํสาวตาร) | วํศ + อวตาร (วํศาวตาร) | (ไทย) เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศหรือกษัตริย์ ในเชิงตำนาน |
พจนีย์ | วจนีย | วจนีย | ที่ตั้งแห่งการพูด, ควรพูด, น่าสรรเสริญ |
พธู | วธู | วธู | หญิงสาว |
พนัสบดี | วนปฺปติ | วนสฺปติ | ไม้ใหญ่ที่สุดในป่า |
พยัคฆ์ | วฺยคฺฆ | วฺยาฆฺร | เสือ, เสือโคร่ง |
พยัญชนะ | วฺยญฺชน, พฺยญฺชน | วฺยญฺชน | ตัวหนังสือ |
พยากรณ์ | พฺยากรณ | วฺยากรณ | การแก้, การเฉลย, "ทำให้แจ้ง". (ไทย) ทำนาย |
พยาธิ | พฺยาธิ, วฺยาธิ | วฺยาธิ (พะ-ยา-ทิ) | ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ. (ไทย) (พะ-ยาด) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น พยาธิไส้เดือน |
พยาบาท | พฺยาปาท | วฺยาปาท | ผูกใจเจ็บ |
พยาบาล | วฺยา+ปาล | วฺยา+ปาล | (ไทย) ดูแลรักษาผู้ป่วย |
พยายาม | วายาม | วฺยายาม | พยายาม, ความเพียร |
พยุหยาตฺรา | พฺยูหยาตฺรา | วฺยูหยาตฺรา | การเดินไปเป็นหมู่, การเดินทัพ |
พยูห-, พยู่ห์ | วฺยูห, พฺยูห | วฺยูห | กระบวน, หมู่, ประชุม, กองทัพ |
พร | วร | วร | คำแสดงความปรารถนาดี, สิ่งที่ขอเลือกเองตามประสงค์ |
พรรษา | วสฺส | วรฺษ | ฝน |
พรหมจรรย์ | พฺรหฺมจริย | พฺรหฺมจรฺย | ความประพฤติอันประเสริฐ, การถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น |
พรหมจารี | พฺรหฺมจารี, พฺรหฺมจาริณี | พฺรหฺมนฺ+จารินฺ | ผู้มีความประพฤติอันประเสริฐ. (ไทย) หญิงที่ยังบริสุทธิ์ ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น. |
พฤกษ์ | รุกฺข | วฺฤกฺษ | ต้นไม้ |
พฤศจิกายน | วิจฺฉิก+อายน | วฺฤศฺจิก+อายน | (ไทย) ชื่อเดือนที่ดวงอาทิตย์มาสู่ราศีแมงป่อง |
พฤษภาคม | อุสภ+อาคม | วฺฤษภ+อาคม | (ไทย) ชื่อเดือนที่ดวงอาทิตย์มาสู่ราศีวัว |
พฤหัสบดี | วิหปฺปติ | วฺฤหสฺปติ | ดาวพฤหัสบดี; ชื่อวันที่ 5 ของสัปดาห์. |
พละ | พล | พล | กำลัง, (ไทย) กำลังทหาร, ทหาร |
พสุธา | วสุธา | วสุธา | แผ่นดิน |
พหุ, พหู | พหุ | พหุ | มาก |
พหูสูต | พหุสฺสุต | พหุ+ศฺรุต | ฟังมามาก |
พักตร์ | วตฺต | วกฺตร | หน้า, ปาก |
พัฒนา | วฑฺฒน | วรฺธน | การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ก้าวหน้าไปในทางที่ดี |
พันธะ | พนฺธ | พนฺธ | การผูก, มัด, รัด. En. bond |
พัสตรา | วตฺถ | วสฺตฺร | ผ้า |
พาชี | วาชี | วาชี | ม้า |
พาณิช | วาณิช | วาณิช | พ่อค้า |
พาที | วาที | วาทินฺ | พูดจา |
พายุ วาย | วายุ | วายุ | ลม. (ไทย) ลมที่พัดรุนแรง |
พาล | พาล | พาล | อ่อน เขลา. (ไทย) คนชั่วร้าย, คนเกเร. |
พ่าห์ พาหะ | วาห | วาห | ผู้แบก, ผู้ถือ, ผู้ทรงไว้; ตัวนำ(โรค) |
พาหนะ | วาหน | วาหน | เครื่องพาไป |
พาหา | พาหา | พาหา | แขน |
พาหุรัด | ภารต | (ไทย) ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่มีชาวอินเดียมาอาศัยอยู่มาก เข้าใจว่า เสียงเพี้ยนมาจากคำว่า ภารต (Bharata อินเดีย); เครื่องประดับที่ใช้สวมรัดต้นแขน=ทองต้นแขน. | |
พาเหียร | พาหิร พาหิรา | พหฺย พหิสฺ | ภายนอก |
พิกุล | วกุล | วกุล | ดอกพิกุล |
พิจารณา | วิจารณ วิจารณา | วิจารณา | ตรวจตรา, ตริตรอง, สอบสวน |
พิชิต | วิชิต | วิชิต | ปราบให้แพ้, ชนะแล้ว |
พิณ | วีณา | วีณา | เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง |
พิทักษ์ | วิ+ทกฺข | วิ+ทกฺษ ทักษะ, ขยัน, มีฝีมือ, ฉลาด, ชำนาญ. (ไทย) ดูแลคุ้มครอง. | |
พิธี | วิธิ | วิธิ | งานที่จัดขึ้นตามลัทธิเพื่อความขลัง |
พิมาน | วิมาน | วิมาน | ที่อยู่ของเทวดา |
พิมพ์ | พิมฺพ | พิมฺพ | แบบ (รูป), รูปดวงจันทร์; รูปเปรียบ. (ไทย) ถ่ายแบบ เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่างๆ หรือทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใดๆ. |
พิรุณ | วรุณ | วรุณ | ฝน |
พิศวาส | วิสฺสาส | วิศฺวาส | ความคุ้นเคย, ความวางใจ, ความรักใคร่ |
พิเศษ | วิเสส | วิเศษ | ยิ่งกว่าปกติ, แปลกกว่าสามัญ |
พิษ | วิส (visa) | วิษ (viṣa) | สิ่งร้ายที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย |
พิสดาร | วิตฺถาร | วิสฺตาร | กว้างขวาง, ละเอียด |
พิสุทธิ์ | วิสุทฺธิ | วิศุทฺธิ | สะอาด, บริสุทธิ์, ใส, ขาว |
พืช | พีช | พีช | พืช, พันธุ์ไม้ |
พุทธ | พุทฺธ (Buddha) | พุทฺธ (Buddha) | ผู้รู้, ผู้ตรัสรู้ |
พุธ | พุธ | พุธ | ผู้รู้; ดาวพุธ; พุธวาร ชื่อวันที่ 4 แห่งสัปดาห์. |
พุทธันดร | พุทฺธ+อนฺตร | พุทฺธ+อนฺตร | ในระหว่าง(สมัย, กาล ของ)พระพุทธเจ้า(พระองค์หนึ่งๆ) |
พุทธางกูร | พุทฺธ+องฺกุร | พุทฺธ+องฺกุร | เชื้อสายของพระพุทธเจ้า (องฺกุร หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย) |
พุทรา (พุด-ซา) | พทร | พทร | ผลไม้ชนิดหนึ่ง. (ไทย) เติมสระอุ (และสระอา) |
เพชฌฆาต | วชฺฌ+ฆาต | ผู้ประหารชีวิตนักโทษ | |
เพชร | วชิร | วชฺร | เพชร |
เพดาน | วิตาน | วิตาน | สิ่งที่ดาดเบื้องบนในห้อง |
เพ็ดทูล | วจน+ทูล | วจน+ทูล | คำบอก (แก่พระเจ้าแผ่นดิน). วจน 'คำ' > ปึ๊จ (สำเนียงเขมร) + ทูล 'บอก' (เขมร) |
เพลา | เวลา | เวลา | เวลา. (ไทย) แกนที่สอดในดุมล้อรถ/เกวียน ให้หมุนได้; เบาลง, เบาพอประมาณ. |
แพทย์ | เวชฺช | ไวทฺย | หมอ |
แพศย์ | เวสฺส | ไวศฺย | พ่อค้า; วรรณะพ่อค้า (ในวรรณะ 4) |
แพศยา | เวสิยา | เวศฺยา | โสเภณี |
โพธิ์ | โพธิ | โพธิ | รู้ |
ไพฑูรย์ | เวฬุริย | ไวฑูรฺย | แก้วชนิดหนึ่ง |
ไพบูลย์ | เวปุลฺลํ | ไวปุลฺย | ความเต็มเปี่ยม, ความกว้างขวาง |
ไพรี, ไพริน | เวรี | ไวรินฺ | ผู้มีเวร, ศัตรู |
ไพศาล | วิสาล | วิศาล | กว้างวิเศษ (กว้างขวาง) |
ภ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ภัณฑ์ | ภณฺฑ (bhaṇḍa) | ภณฺฑ (bhaṇḍa) | สิ่งของ, เครื่องใช้ |
ศ
คำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย |
---|---|---|---|
ศก | สก | ศก | ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปีๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น เช่น รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปีหนึ่งๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย 1 2 ... หรือ 0 เช่น ถ้าลงท้ายด้วย 1 เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย 2 เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ภาษาพูด) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. |
ศพ | สว | ศว | ร่างคนตาย |
ศรี สิริ, | สิรี | ศฺรี | สิริ, สิริมงคล |
ศรีสะเกษ | สีส/สิรส+เกส | ศิรฺษ+เกศ | ชื่อจังหวัด. เดิมชื่อจังหวัดขุขันธ์ เปลี่ยนเป็น ศีร์ษะเกษ (ศรีษะ+ผม) แล้วกลายมาเป็น ศรีสะเกษ.
บ้างว่ามาจาก ศรีสระเกศ (สระน้ำ) ศรีสะเกษ (สระผม) (พระ)ศรีอารยเมตไตรย || สิริอริยเมตฺเตยฺย || ศฺรีอารฺยเมไตรฺย || เมตเตยยะ พระนามพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จอุบัติเป็นพระองค์ที่ 5 ต่อจากพระพุทธเจ้าโคตมะของเรา ในภัททกัปนี้. (ปาก) พระศรีอารย์. ศักดานุภาพ || สตฺติ+อานุภาว || ศกฺติ+อานุภาว || อานุภาพแห่งอำนาจ |
ศักดิ์ ศักดา | สตฺติ | ศกฺติ | หอก, อำนาจ |
ศักย์, ศักยะ | สกฺก | ศกฺย, ศกฺต | อาจ; สมควร, เหมาะสม. (ไทย ไฟฟ้า) พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์. |
ศัพท์ | สทฺท | ศพฺท | เสียง. En. sound |
ศัลย- | สลฺล | ศลฺย | เหล็กแหลม |
ศัสตรา (สัด-ตฺรา) ศัสตราวุธ | สตฺถ | ศสฺตฺร | มีด, หอก, อาวุธ. |
ศาขา | สาขา (sākhā) | ศาขา (śākhā) | กิ่งไม้, กิ่งก้าน; แขนง, ส่วนย่อย, ส่วนรอง. |
ศาลา | สาลา | ศาลา | โรง, เรือน, ศาลา. (ไทย) อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรืออื่นๆ. |
ศาสดา | สตฺถา [สตฺถุ] | ศาสฺตา ศาสตฺฤ | ผู้สอน, ครู; ผู้ตั้งลัทธิศาสนา เช่น ศาสดาทั้ง 6 (สตฺถาโร), คำเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระบรมศาสดา (สตฺถา). |
ศาสตร์ | สตฺถ | ศาสฺตฺร | หนังสือ, คัมภีร์, ตำรา. (ไทย) ระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์. |
ศาสตรา (สาด-ตฺรา) | สตฺถ | ศสฺตฺร | มีด, หอก, อาวุธ. |
ศาสตราจารย์ (สาด-ตฺรา-, สาด-สะ-ตฺรา-) | สตฺถาจริย | ศาสตฺราจารฺย | อาจารย์ผู้มีความรู้ในคัมภีร์ ตำรา ศาสตร์. (ไทย บัญญัติ.) ตําแหน่งทางวิชาการชั้นสูงสุดของสถาบันระดับอุดมศึกษา. (มักออกเสียงผิดเป็น สาด-สะ-ดา-จาน) |
ศาสน- ศาสนา | สาสน | ศาสน | คำสอน, คำสั่งสอน; (ไทย) ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์. |
ศาสนิก | สาสนิก | ศาสนิก | ผู้นับถือศาสนา |
ศิถิล | สิถิล (sithila) | ศิถิล (śithila) | เบา, เสียงเบา |
ศิระ | สิร | ศิรสฺ | ศีรษะ, หัว |
ศิโรราบ | สิร+"ราบ" | ศิรสฺ+"ราบ" | (ไทย) กราบกราน, ยอมอ่อนน้อม, ยอมแพ้และอยู่ใต้อำนาจ, "หัวก้มราบลงไป". |
ศิโรเวฐน์ | สิร+เวฐน | ศิรสฺ+เวษฺฏฺ | ผ้าโพกหัว |
ศิลปะ | สิปฺป | ศิลฺป | ฝีมือทางช่าง |
ศิษย์ | สิสฺส | ศิษฺย | ผู้เรียนด้วย |
ศีรษะ | สีส | ศีรฺษ | หัว, สีสะ |
ศีลธรรม | สีล+ธมฺม | ศีล+ธรฺม | (ไทย) ความประพฤติที่ดีที่ชอบ. |
ศึกษา | สิกฺขา | ศิกฺษา | การฝึกฝนอบรม, สิกขา. (ไทย) การเล่าเรียน. |
ศุกร์ | สุกฺก | ศุกฺร | ดาวศุกร์; ชื่อวันที่ 6 ของสัปดาห์ |
ศูนย์ | สุญฺญ | ศูนฺย | ว่าง, ว่างเปล่า (จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง). (ไทย) เลขศูนย์, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม |
เศรษฐี | เสฏฺฐี | เศฺรษฐี | คนมีเงิน(มาก), "ผู้ประเสริฐ/เลิศ(ด้วยทรัพย์สินเงินทอง)" |
เศรษฐกิจ | เสฏฺฐ+กิจฺจ | เศฺรษฺฐ+กฺฤตฺย | (ไทย) การผลิตการบริโภค |
เศวต | เสต | เศฺวต | ขาว, สีขาว |
เศวตคช, คชเศวต | เสตคช, คชเสต | เศฺวตจฺคช | ช้างสีขาว, ช้างเผือก |
เศวตฉัตร | เสตฉตฺต | เศฺวตจฺฉตฺร | ร่มสีขาว, ฉัตรขาว |
เศียร | สิร | ศิรสฺ | หัว |
โศก | โสก | โศก | ความทุกข์, ความเศร้า. (ไทย) ต้นอโศก ตัดพยางค์หน้า เป็น โศก, สีเขียวอ่อนอย่างสีใบอโศกอ่อน เรียกว่า สีโศก. |
ส
สักการะ || สกฺการ || สตฺการ || "กระทำโดยเคารพ", บูชาคำไทย | บาลี | สันสกฤต | ความหมาย | |
---|---|---|---|---|
สกนธ์ | ขนฺธ | สฺกนฺธ | ขันธ์; คอ; ตัว, กาย | |
สกุณา | สกุณ | ศกุน | นก | |
สกุล | กุล | กุล | วงศ์, เชื้อสาย, เชื้อชาติผู้ดี | |
สงกร, สังกร | สงฺกร | สํกร | "ทำพร้อม" (การปะปน, การคาบเกี่ยว) | |
สงกรานต์ | สงฺกนฺต | สงฺกฺรานฺติ | วันเคลื่อนย้ายราศีของดวงอาทิตย์. เทศกาลขึ้นปีใหม่อย่างเก่า กำหนดตามสุริยคติ | |
สงกา | สงฺกา | ศงฺกา | สงสัย | |
สงฆ์ | สงฺฆ | สํฆ | หมู่ | |
สงสัย | สํสย | สํศย | สงสัย | |
สงสาร | สํสาร | สํสาร | การวนเวียน(ตายเวียนเกิด), การท่องเที่ยว(ตายเกิดในภพ 3). (ไทย) เห็นใจ ในความเดือดร้อนความทุกข์ของผู้อื่น=กรุณา. | |
สงเคราะห์ | สงฺคห | สํคฺรห | สงเคราะห์, อนุเคราะห์, ช่วยเหลือ; "ถือพร้อม", รวบรวม, ย่อ. (เทียบ วิเคราะห์ "ถือแยก" แยกให้เห็นชัด) | |
สดมภ์ | ถมฺภ | สฺตมฺพ สฺตมฺภ | เสา, หลัก. (สะดม เขมร =การปล้นโดยวางยาให้หลับ) | |
สดุดี | ถุติ | สฺตุติ | การยกย่อง, สรรเสริญ | |
สตรี | อิตฺถี | สฺตรี | หญิง, เพศหญิง, คู่กับ บุรุษ | |
สตางค์ | สต+องฺค | ศต+องฺค | ประกอบด้วยร้อย. En. centi+ | |
สติ, สมฤดี (สม-รึ-) สติ สฺมฺฤติ ความระลึกได้. (ไทย) เติม ป เป็น สมปฤดี บ้าง. | ||||
สถล | ถล | สฺถล, สฺถลี | ทางบก | |
สถาบัน | ฐาปน | สฺถาปน | (ไทย สังคม) สิ่งซึ่งสังคมจัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นว่ามีประโยชน์ และจําเป็นแก่วิถีชีวิต เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา. | |
สถาปนา | ฐาปน | สฺถาปน | การตั้งไว้ | |
สถิติ | ฐิติ | สฺถิติ | การตั้งอยู่. (ไทย) หลักฐานที่รวบรวมเป็นตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบ | |
สถุล | ถูล | สฺถูล | อ้วน, หยาบ. (ไทย ใช้เป็นคำด่า เช่น ถ่อยสถุล) | |
สถูป | ถูป | สฺตูป สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นต้น | ||
สนเทศ, สันเทศ | สนฺเทส | สนฺเทศ | แสดง. (ไทย) คำสั่ง, ข่าวสาร, ใบบอก. | |
สนเท่ห์ | สนฺเทห | สนฺเทห | ความฉงน, ความไม่แน่ใจ, ความสงสัย, สนเท่ห์. | |
สนธยา | สนฺธฺยา | เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก | ||
สนธิ | สนฺธิ | สนฺธิ | การต่อ | |
สนิท | สินิทฺธ | สฺนิคฺธ | ใกล้ชิด | |
สบถ | สปถ | ศปถ | คำด่า คำแช่ง | |
สบาย | ||||
สมญา | สมญฺญา | สมาชฺญา | ชื่อ. ดู สมัญญา. (ไทย) สมัญญา ตัด ญฺ | |
สมณเพศ | สมณเวส | ศฺรมณเวศ | เพศสมณะ | |
สมณศักดิ์ | สมณสกฺก | สมณศกฺย | (ไทย บัญญ้ติ) ยศของพระ | |
สมถะ | สมถ | ศมถ | การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. (ไทย) มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย | |
สมบัติ | สมฺปตฺติ | สมฺปตฺติ | ความถึงพร้อม, เต็มที่. (ไทย) ของที่มีค่า หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้น ที่มีอยู่ | |
สมพงศ์ | สํ+วํส | สมฺ+วํศ | ร่วมวงศ์ | |
สมเพช (-เพด) | สํเวชน | สํเวชน | ดู สังเวช. (ไทย) สลดใจ ทำให้เกิดความสงสาร หรือหดหู่; (ปาก) กล่าวถึงการกระทำของผู้อื่นในเชิงเย้ยหยัน ดูหมิ่นดูแคลน ว่าไม่น่าทำเช่นนั้น เช่น น่าสมเพชจัง! ทำตัวแบบนี้. | |
สมร | สมร | สมร | การรบ, สงคราม. | |
สมร สมร สฺมร (กามเทพ) หญิงงาม, นางงามซึ่งเป็นที่รัก | ||||
สมัคร | สมคฺค | สมคฺร | ผู้พร้อมเพรียง. (ไทย) เต็มใจ, ปลงใจ, ยินยอมเข้าด้วย | |
สมัชชา | สมชฺชา | สมชฺยา | การประชุม | |
สมัญญา | สมญฺญา | สมาชฺญา | ชื่อเครื่องรู้เสมอ, นาม, ชื่อ; ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ | |
สมาคม | สํ+อาคม | สมฺ+อาคม | การมาพร้อมกัน | |
สมาทาน | สมาทาน | สมาทาน | การถือเอาพร้อม (การถือ, การตั้งใจ) | |
สมาน | สมาน | สมาน | เสมอกัน, เท่ากัน. (ไทย) [สะ-หฺมาน] เชื่อม, ผูกพัน | |
สมานฉันท์ | สมาน+ฉนฺท | สมาน+ฉนฺทส | ความพอใจร่วมกัน หรือความเห็นพ้องกัน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ที่ประชุมมีความเห็นเป็นสมานฉันท์ในการเพิ่มค่าแรงคนงาน. (ไทย) ช่วงหลังความหมายของคำเริ่มถูกกลืนหายไปรวมในคำว่า "ปรองดอง สามัคคี สมานฉันท์" ความจริง ความปรองดองสามัคคี ไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกัน (สมานฉันท์) ในทุกเรื่อง (ก็ยังรักสามัคคีกันได้อยู่) | |
สมาบัติ | สมาปตฺติ | สมาปตฺติ | การถึงพร้อม, การเข้า (ฌาน) | |
สมุทัย | สมุทย | สมุทย | เกิดขึ้นพร้อม (ต้นเหตุ, ที่เกิด) | |
สยมภู, สยัมภู | สยมฺภู | สฺวยมฺภู | พระผู้เป็นเอง (พระอิศวร, พระพุทธเจ้า) | |
สยัมพร, สยุมพร | สยํวร | สยํวร | การเลือกคู่เอาเอง | |
สยาม | สาม | ศฺยาม | ดำ, (สี)น้ำตาล | |
สรรพาวุธ | สพฺพ+อาวุธ | สฺรว+อายุธ | อาวุธทุกชนิด | |
สโรช | สโรช | สโรช | ดอกบัว "เกิดในสระ" | |
สวรรค์ (สะ-หฺวัน) | สคฺค | สฺวรฺค | โลกของเทวดา | |
สวัสดี | โสตฺถิ (สุ+อตฺถิ) | สฺวสฺติ (สุ+อสฺติ) | "มี (สิ่ง)ดี ดีงาม". (ไทย) คำทักทาย | |
สวัสติกะ | (โสตฺถิก) | สฺวสฺติกา | [สะ-หฺวัด-ติ-กะ] สัญลักษณ์รูปกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงความสุขสวัสดีมาแต่โบราณ สันนิษฐานกันว่าเป็นรูปดวงอาทิตย์โคจรเวียนขวา เช่น ที่รู้จักกัน เป็นสัญลักษณ์สวัสติกะของฝ่ายนาซีเยอรมัน ต่างจากแห่งอื่นเพราะเอียง 45 องศา | |
สวาท | สาทุ | สฺวาทุ | น่าใคร่, น่าปรารถนา, หวาน, อร่อย. En. sweet | |
สวาหะ | สฺวาห (สุ+อาห) | สฺวาห (สุ+อาห) | กล่าวดีแล้ว (บทสุดท้ายของคำเสกเป่า) | |
สหชาติ | สหชาติ | สหชาติ | เกิดร่วมกัน | |
สหประชาชาติ | สห+ปชา+ชาติ | สห+ปฺรชา+ชาติ | รวมชาติต่างๆ | |
สหศึกษา | สห+สิกฺขา | สห+ศิกฺษา | ศึกษาร่วมกัน. (ไทย) โรงเรียนที่นักเรียนชายหญิง เรียนร่วมกัน | |
สังกัป | สงฺกปฺป | สํกลฺป | คิด. (ไทย) วิตก. | |
สังเกต | สงฺเกต | สํเกต | กำหนดพร้อม (กำหนดไว้, หมายไว้) | |
สังขยา | สงฺขฺยา | สํขฺยา | การนับ, การคำนวณ. (ไทย) ชื่อขนม. | |
สังขาร | สงฺขาร | สํสฺการ | ร่างกาย, สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารทรุดโทรม; ความคิด เป็นขันธ์ 1 ในขันธ์ 5. | |
สังเขป | สงฺเขป | สํเกฺษป | รวบรวม, โดยย่อ | |
สังคม | สงฺคม | สํคม | ไปพร้อม, ไปร่วมกัน, ไปด้วยกัน (สมาคมกัน) | |
สังคหะ, สังเคราะห์ | สงฺคห | สํคฺรห | การรวบรวม, การย่อ, "ถือพร้อม". (ไทย) สังเคราะห์, (เคมี) ทําให้ธาตุมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบ | |
สังคีต | สงฺคีต | สํคีต | ขับร้อง | |
สังโยค | สํโยค | สํโยค | ประกอบกัน, "ประกอบพร้อม", การสะกดตัวหนังสือ | |
สังวร | สํวร | สํวร | ระวัง, สำรวม "กั้นพร้อม" | |
สังเวช | สํเวชน | สํเวชน | ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก; ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ และนึกถึงสิ่งที่ดีงาม ไม่ประมาท เพียรทำความดี หากสลดใจ แล้วจิตหดหู่ ไม่ใช่ความสังเวช. (ไทย) สลดใจ ทำให้เกิดความสงสาร หรือหดหู่ | |
สังสรรค์ | สํสคฺค | สํสรฺค | คลุกคลี. (ไทย) พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม. | |
สังหรณ์ | สํหรณ | สํหรณ | นำไปพร้อม. (ไทย) ดลใจ | |
สังหาร | สํหาร | สํหาร | นำไปพร้อม, การรวบรวม, ย่อ. (ไทย) ทำลาย, ฆ่า, ล้างผลาญ. (สมฺปหาร การสู้รบกัน) | |
สัจ, สัตย์ | สจฺจ | สตฺย | ความจริง | |
สัญจร | สญฺจร | สญฺจร | ผ่านไปมา | |
สัญชาติ | สญฺชาติ | สํชาติ | เกิดพร้อม, เกิดดี | |
สัญญา | สญฺญา | สํชฺญา | ความจำ "รู้พร้อม", 1 ในขันธ์ 5. (ไทย) ข้อตกลงระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไป | |
สัญญี | สญฺญี | สํชฺญินฺ | มีความรู้สึก | |
สัณฑ์ | สณฺฑ | ษณฺฑ | แนว | |
สัตบุรุษ | สัปปุรุษ | สปฺปุริส | สตฺปุรุษฺ | คนดี |
สันดาน | สนฺตาน | สํตาน | สืบต่อ, อุปนิสัยที่สืบต่อมาหลายภพชาติ. (ไทย) อุปนิสัยที่มีมาแต่กําเนิด มักใช้ไปในทางไม่ดี. | |
สันดาป | สนฺตาป | สํตาป | การเผาไหม้, ความเร่าร้อน | |
สันโดษ | สนฺโตส | สํโตษ | ความยินดีพร้อม (ยินดีในของของตน - ที่หาได้มาโดยสุจริต) | |
สันถวไมตรี | สนฺถวมิตฺต | สูสฺตว+มิตฺร | ไมตรีอันดีต่อกัน | |
สันธาน | สนฺธาน | สนฺธาน | การต่อพร้อม (การเกี่ยว, การเชื่อม) | |
สันนิบาต | สนฺนิปาต | สนฺนิปาต | ที่ประชุม | |
สันนิวาส | สนฺนิวาส | สนฺนิวาส | การอยู่ร่วมกัน | |
สันนิษฐาน สนฺนิฏฺฐาน สํ+นิ+สฺถาน คาดเดา, คาดคะเน | ||||
สับปะรด | สพฺพรส | สรฺวรศ | "รสทุกอย่าง". (ไทย) ผลไม้ชนิดหนึ่ง | |
สัปดาห์ | สตฺตาห | สปฺตาห | เจ็ดวัน | |
สัพเพเหระ | สพฺพ- | สรฺว | (ไทย ภาษาพูด) ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ใช่สิ่งสําคัญ | |
สัมปทา | สมฺปทา | สมฺปทา | ความถึงพร้อม | |
สัมปทาน | สมฺปทาน | สมฺปทาน | การมอบให้ | |
สัมผัส | สมฺผสฺส | สํสฺปรฺศ | แตะต้อง | |
สัมพันธ์ | สมฺพนฺธ | สํ+พนฺธ | สัมพันธ์ | |
สัมพุทธ | สมฺพุทฺธ | สมฺพุทฺธ | ผู้รู้พร้อม | |
สัมภวะ, สมภพ | สมฺภว | สมฺภว | การเกิด | |
สัมภเวสี | สมฺภเวสี | สมฺภเวษินฺ | ผู้แสวงหาที่เกิด | |
สัมมา | สมฺมา | สมฺยกฺ | จริง, แท้โดยชอบ | |
สัมโมทนียกถา | สมฺโมทนียกถา | สมฺโมทนีย+กถา | ถ้อยคำเป็นที่บันเทิงใจ | |
สัมฤทธิ์ | สมิทฺธิ | สมฺฤทฺธิ | ความสำเร็จ. (ไทย) โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์หรือ ทองบรอนซ์ (bronze) ก็เรียก, โบราณเขียนว่า สำริด. | |
สากล | สกล | สกล | ทั่วไป, ทั้งหมด, เป็นที่นิยมของมนุษย์ | |
สาไถย | สาเถยฺย | ศาฐย | แสร้งทำให้หลงเข้าใจผิด | |
สาโท | สาท | สฺวาท | หวาน, อร่อย. (ไทย) น้ำเมาที่ได้จากการหมัก ยังไม่ได้กลั่น เช่น น้ำขาว อุ กะแช่. | |
สาธยาย | สชฺฌาย | สฺวาธฺยาย | สวด, ท่อง | |
สาธารณ์, สาธารณะ | สาธารณ | สาธารณ | ทั่วไป. (ไทย) เพื่อประชาชนทั่วไป; ต่ำ, เลว. | |
สาธารณูปโภค | สาธารณ+อุปโภค | สาธารณ+อุปโภค | เครื่องใช้สอยทั่วไป | |
สาธิต | สาธิต | ให้สําเร็จ. (ไทย) แสดงเป็นตัวอย่าง | ||
สาธุ | สาธุ | สาธุ | ดีแล้ว, ชอบแล้ว; ความดี, คนดี | |
สานุศิษย์ | สิสฺสานุสิสฺส | ศิษฺยานุศิษฺย | ศิษย์น้อยใหญ่ (ศิษย์+อนุศิษย์). (ไทย) ลบ สิส- พยางค์หน้าออก. | |
สาบาน | สปน | ศปน | ด่า, แช่ง. (ไทย) กล่าวคําปฏิญาณโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพยาน | |
สาป | สาป | ศาป | ด่า, แช่ง. | |
สามเณร | สามเณร | ศฺรามเณร | เหล่ากอ เชื้อสาย ลูกหลาน แห่งสมณะ | |
สามัญ | สามญฺญ | สามานฺย | ปกติ, ธรรมดา | |
สามานย์ | สามญฺญ | สามานฺย | ปกติ, ธรรมดา. (ไทย) ชั่วช้า เลวทราม | |
สามารถ | สมตฺถ | สมรฺถ | ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ | |
สายัณห์ | สายณฺห | สายาหฺน | เวลาเย็น | |
สาร | สาร | สาร | สาระ, แก่น, เนื้อแท้, สำคัญ เช่น แก่นสาร; กำลัง เช่น ช้างสาร. (ไทย) ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น ส่งสาร, สื่อสาร, นิตยสาร; ข้าวที่เอาเปลือกออกแล้ว (ข้าวสาน) | |
สารพัด | สพฺพ | สรฺว | ทั้งปวง, ทุกแห่ง, ทั้งหมด, ทุกอย่าง | |
สารวัตร | - | สรฺว+ | ผู้ตรวจงานทั่วไป/ทุกอย่าง | |
สาโรช | สโรช | สโรช | ดอกบัว "เกิดในสระ" | |
สาลิกา | สาลิกา | ศาริกา | นกสาลิกา | |
สาโลหิต | สาโลหิต | ส+โลหิต ผู้มีสายเลือดร่วมกัน (ร่วมท้อง). มักพูดเคลื่อนเป็น สายโลหิต | ||
สาวก | สาวก | ศฺราวก | ผู้ฟัง, ศิษย์ของศาสดา | |
สาสน-, สาสน์ (สาด) | สาสน | ศาสน | คำสั่งสอน เช่น สาสนธรรม, พุทธสาสน์ | |
สาสน์ (สาน), สาสน์ (สาด) | สาสน | จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เช่น พระ
ราชสาส์น/พระราชสาสน์, สมณสาสน์ ฯลฯ | ||
สิกขาบท | สิกฺขาปท | ศิกฺษาปท | ข้อศีล, ข้อวินัย, บทบัญญัติในพระวินัยที่พึงศึกษาปฏิบัติ. (คำว่า ลาสิกขา มักใช้ผิด เป็น ลาสิกขาบท) | |
สิงขร | สิขร | ศิขร | จอม, ยอด, หงอน; ยอดเขา. (ไทย) เพิ่ม ง. | |
สิงห์ | สีห | สิงฺห | สิงโต, ราชสีห์ | |
สิญจน์ | สิญฺจน | การรดน้ำ | ||
สิทธัตถะ | สิทฺธตฺถ | สิทฺธารฺถ | "ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว", พระราชกุมารนามว่าสิทธัตถะ (ทรงสถานะเป็นพระมหาโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้, จึงไม่ควรใช้คำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" หากถือเคร่งครัด) ผู้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหลัง; เมล็ดพันธุ์ผักกาด (สาสป). | |
สินธพ | สินฺธว | ไสนฺธว | ม้า | |
เสโท | เสท | เสฺวท | เหงื่อ. En. sweat | |
สิริลักษณ์ | สิริ+ลกฺขณ | ศฺรี+ลกฺษณ | ลักษณะสวย, คุณภาพดี | |
สีกา | อุปาสิกา | (ภาษาพูด) คําที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้หญิง, คู่กับ ประสก. | ||
สุกร | สุกร, สูกร | สุกร หมู, "(ถูกเขา)ทำได้ง่าย, ผู้มีมือ(เท้า)งาม" | ||
สุขี | สุขี | ศุขินฺ | มีความสุข | |
สุขุม | สุขุม | สูกฺษม | ละเอียด, ประณีต, ฉลาด. (ไทย) ละเอียดประณีตทางความคิด. | |
สุโขทัย | สุข+อุทย | สุข+อุทยฺ | การตั้งขึ้นแห่งความสุข | |
สุคต | สุคต | สุคต | ไปดีแล้ว | |
สุคติ | สุคติ | สุคติ | ที่ไปดี (นอกจากอบาย). (ไทย) สวรรค์. (มักเขียนผิดเป็น สุขคติ) | |
สุคนธ์ | สุคนฺธ | สุคนฺธ | (มี)กลิ่นหอม | |
สุจริต | สุจริต | สุจริต | (มีความ)ประพฤติดี | |
สุจิต | สุ+จิต | สุ+จิตฺต | มีจิตดี, มีการสั่งสมดี | |
สุชน | สุชน | สุชน | คนดี | |
สุชาติ | สุชาติ | สุชาติ | มีกำเนิดดี | |
สุณิสา | สุณิสา | สฺนุษา | สะใภ้ | |
สุดา | สุตา | ลูกสาว (สุต ลูกชาย). (ไทย) ผู้หญิง. | ||
สุทโธทนะ | สุทฺธ+โอทน | ศุทฺธ+โอทน | ชื่อพระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ "ข้าวสุกหมดจด" | |
สุทรรศน์ | สุทสฺสน | สุทรฺศน | การเห็นดี (สวย, งาม) | |
สุธารส | สุธา+รส | สุธา+รส | รสอันสะอาด บริสุทธิ์. (ไทย) น้ำดื่ม | |
สุนทรพจน์ | สุนฺทรวจน | สุนฺทรวจน | คำพูดที่ไพเราะ | |
สุนัข | สุนข | ศุนก | หมา, "มีเล็บงาม" | |
สุนันท์ | สุนนฺท | สุนนฺท | บันเทิงดี | |
สุบรรณ | สุปณฺณ | สุปรฺณ | ครุฑ "ผู้มีปีกงาม" | |
สุบิน | สุปิน | สฺวปฺน | ความฝัน | |
สุปาณี | สุปาณี | สุปาณี | ฝีมือดี | |
สุพจน์ | สุ+วจน | สุ+วจน | (ผู้มี)ถ้อยคำอันดี | |
สุพรรณ | สุวณฺณ | สุวรฺณ | ผิวดี, ทองคำ | |
สุพรรณราช | สุวณฺณ+ราช | สุวรฺณ+ราชนฺ | "ราชาแห่งทอง". (ไทย ราชา.) กระโถนใหญ่, "ทองของพระราชา?" | |
สุพรรณศรี | สุวณฺณ+สิริ | สุวรฺณ+ศฺรี | "สิริแห่งทอง". (ไทย ราชา.) กระโถนเล็ก, "ศรีของพระราชา?" | |
สุภาพ | สุภาว | สุภาว | ภาวะอันดี. (ไทย) เรียบร้อย, อ่อนโยน, ละมุนละม่อม. | |
สุภาษิต | สุภาสิต | สุภาษิต | คำพูดดี | |
สุเมธ | สุเมธ | สุเมธสฺ | ผู้มีปัญญาดี, นักปราชญ์ | |
สุรา | สุรา | สุรา | เหล้า | |
สุรางค์ สุร+องฺค สุร+องฺค ประกอบด้วยความกล้า | ||||
สุวรรณ | สุวณฺณ | สุวรฺณ ทอง "มีสีงาม" | ||
สุวาน | สา สฺวาน, สุวาน | ศฺวน หมา | ||
สุสาน | สุสาน | ศฺมศาน | ป่าช้า | |
สุริย | สุริย | สูรฺย | พระอาทิตย์, สูรย์, สุรีย์, สุริยัน, สุริยน. En. sol, solar | |
สูญ | สุญฺญ | ศูนฺย | ว่าง, ว่างเปล่า (จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง). (ไทย) หายสิ้นไป, ทําให้หายสิ้นไป. En. zero | |
เสถียร | ถิร | สฺถิร | ยั่งยืน, มั่นคง | |
เสน่ห์ | สิเนห, เสฺนห | เสฺนห | ความรัก. (ไทย) ลักษณะที่ชวนให้รัก เช่น เธอเป็นคนมีเสน่ห์;
วิธีการทางไสยศาสตร์ที่ทำให้คนอื่นรัก เช่น เขาถูกเสน่ห์. เสน่ห์ปลายจวัก (สำ) น. เสน่ห์ที่เกิดจากฝีมือปรุงอาหารให้โอชารส. | |
เสนา | เสนา | เสนา | กองทัพ, ทหาร | |
เสนีย์ | เสนา+อิย | ผู้อยู่ในกองทัพ, ทหาร | ||
เสมหะ | เสมฺห | เศฺลษฺมนฺ | เสลด | |
เสมา | สีมา | สีมา | เครื่องหมายบอกเขตสำหรับสงฆ์ทำสังฆกรรม | |
แสนยานุภาพ | เสนา+อานุภาว | ไสนฺย+อานุภาว | อํานาจทางทหาร. | |
เสาวคนธ์ | สุคนฺธ | สุคนฺธ | กลิ่นดี, กลิ่นหอม. | |
เสารภย์, เสาวรภย์ | สุรภี | เสาวรภฺย | ยินดีด้วยดี (กลิ่นหอม, เครื่องหอม) | |
เสาร์ | โสร | โสร | ชื่อวันที่ 7 ของสัปดาห์; ดาวเสาร์ | |
เสาวภา | โสภา | เสาวภา | สวย, งาม "มีรัศมีดี" | |
เสาวภาคย์ | โสภคฺค | เสาวภาคฺย | ความเจริญดี, โชคดี | |
เสาวรส | สุรส | สุรส | รสดี (รสอร่อย) | |
เสาวลักษณ์ | สุลกฺขณ | สุลกฺษณ | ลักษณะดี, ลักษณะงาม | |
โสตถิ โสตถี | โสตฺถิ, สุวตฺถิ | สฺวสฺติ | ความเจริญ, มีดี (ความสวัสดี, ความเจริญ) | |
โสภา | โสภา | งาม | ||
โสมนัส | โสมนสฺส | เสามนสฺย | ใจดี | |
โสรจ (โสด) | โสจ | เศาจ | อาบ, สรง, ชําระ, ทําให้สะอาด. (เขมร โสฺรจ) | |
ไสยา | เสยฺยาสน | ศยฺยา | การนอน | |
ไสยาสน์ | เสยฺยาสน | ศยฺยาสน | ที่นอน, (ไทย) การนอน |