บรรยายสังเขป คำว่า “บุญ”

เรื่องบุญ มีมาด้วยเหตุที่หมายถึง ไม่เบียดเบียน นานัปการหมายถึงการสั่งสมเหตุให้เกิดสุขในที่ทุกประโยค แต่พบว่าที่ดีอยู่ในบทสารานุกรมนั้น ยังนับเป็นแต่บรรยายเหมือนเป็นดังศัพท์อนุทินแค่นั้น ไม่นับที่จะให้เป็นบทความทางสาขาใดสักอย่าง แต่ก็ดีอยู่เพราะเป็นศัพท์ทางศาสนาตั้งไว้เป็นที่นิยม มีอยู่ในสานานุกรมแล้วก็ดี ซึ่งพูดเป็นประมาณเดียวเท่านั้น ว่าเป็น ศีล สมธิปัญญาแล้ว เป็นบุญ! ซึ่งหาอ่านแล้วคนอาจจะว่า ไม่สมดังดีด้วยความจดจ่อ มุ่งจะมาหาอ่านเลย บุญอะไร! จะมีสังเขปเพียงแค่นั้น ซึ่งดูน้อยนัก

ทีนี้พอจะได้ประกอบบทความบ้าง ก็ไม่ได้ไปนำมาแต่ที่ไหนหรอก เป็นที่ขยายความตามนัยอรรถกถาที่มีอยู่แล้วนั้น ที่ควรจะได้นำมาเพิ่มไว้ ว่าอยู่ด้วยนัยแห่ง คำว่า บุญราศี(บุนยะ-ราสี)

บุญ เป็นที่ตั้งศัพท์ว่าเป็นสังเขปแห่งสัคคะ(สวรรค์)และซึ่งสุข ท่านได้กล่าวมาว่าเป็นที่ยิ่งเหลือเกิน จะกล่าวให้ได้ทราบทั้งหมดด้วยบรรยายนั้นไม่ง่าย เพราะมีมากต่างๆ มาแล้วในประโยค อาทิ ว่า สุโข ปุญฺสฺส อุจฺจโย เป็นต้น ว่าการสั่งสมบุญเป็นการนำมาซึ่งความสุข และด้วยนัยอื่นที่เทียบในบาทพระคาถา ก็มีมาแล้วดังต่อไปนี้


มาในความไม่เบียดเบียน ว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารา เอเต ธมฺมา แปลว่า ทิฏฐิ (ไม่เบียดเบียน)วิหารธรรมสุขในปัจจุบันเป็นวิหารธรรม
มาในนิพพาน ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ แปลว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
มาในสุขเวทนา ว่า สุขสฺส จ ปหานา ก็เพราะละสุขเสียได้ (เป็นบุญ (คงหมายถึง ปุณฺณ และปุณติ หมายถึง บุญ ที่แปลว่า บริสุทธิ์ บริบูรณ์))
มาในอุเบกขาเวทนา ว่า อทุกฺขมสุขํ สนฺตํ สุขมิจฺเจว ภาสิตํ แปลว่า เมื่อไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ก็กล่าวได้ว่าเป็นสุขอย่างเดียว
มาในสุขที่น่าปรารถนา ว่า เทฺวปิ มยา อานนฺท เวทนา วุตฺตา ปริยาเยน สุขา เวทนาทุกฺขา เวทนา แปลว่า (ดูก่อนอานนท์) สุขเวทนาและทุกขเวทนาก็โดยปริยายนี้ (ข้อนี้เห็นจะยังไม่มีอรรถาธิบาย)
มาในวิบากที่น่าปรารถนา ว่า สุโข วิปาโก ปุญฺญานํ วิบากแห่งบุญทั้งหลายเป็นความสุข

ดังกล่าว มีบรรยายอีกมาก แต่ได้ยกมาพอเป็นสังเขป. ว่าโดยอริยสัจจ์ ในบทธรรมว่าแม้อริยสัจจ์พึงทราบโดยปรมัตถ์ว่าเป็นของว่าง อย่างนั้นก็จริง แต่กระนั้นเอง ก็ควรเห็นว่า นิโรธสัจ ดุจข้าวปลาหาง่าย, ควรเห็นว่า มรรคสัจ ดุจฝนตกต้องตามฤดูกาล. ซึ่งก็เป็นเหมือนหนึ่งสวรรค์ที่เปรียบไปจากเหตุการณ์ในโลก อันจะกล่าวว่าเป็นบุญตามอย่างที่บรรยายมาแล้วนั้นก็ได้

สารัตถะบรรยายสารูปว่า สิ่งที่ควรใคร่ให้น่าพอใจเป็นที่น่าปรารถนาพร้อม เพราะก้าวเข้าถึงใจแล้วน่ารักเป็นที่อิ่มเอิบ และที่ซึ่งเป็นอาทิแห่งกำลังทั้งปวงด้วยดี เป็นต้องจัดเป็นบุญทั้งนั้น และประการอีกตั้งมาก ซึ่งจะตามรู้ได้ด้วยบทยิ่ง ดั่งที่พระปาลีแสดงแล้ว ถึงประการที่มาในสุข ณ ที่ต่างๆ กล่าวว่าหากบุคคลประกอบตามนัยประโยคและประโยชน์ตามนั้น ย่อมเป็นสุข

บทดังกล่าวนี้ พบในพระไตรปิฎกกล่าวถึงการมีบุญ กล่าวถึงสิ่งที่โลกสมมุติว่าเป็นบุญ กล่าวถึงบุญญาธิสมภาร บุญภินิหารเกี่ยวกับพระบารมี บุญเขต นาแห่งบุญ, การกระทำอันเป็นไปเพื่อความดี กล่าวคือ ปุฺกมฺเมน สยุตฺตํ (บุญนั้นแล) แล้วจึงเป็นฐานที่ตั้ง เป็นที่แห่งสุข ดังนี้คือ บุญ! หากแปรเปลี่ยน ปรับไปตามบทความแล้ว ก็น่าจะมีความหมายนานัปการ ดังที่มีมาด้วยพระศาสนานี้อยู่ เป็นสาธยายร่วมบทสารานุกรมได้ ไม่น่าประกอบกระทำเป็นดั่งเพียงอนุทินศัพท์อยู่แค่นั้นเลย แต่แค่นั้นถึงน้อยในการบรรยายแต่ก็ต้องไม่ว่าน้อย(ซึ่งบุญ) เพราะอย่างไรเสีย จะดูหมิ่นกันนั้นไม่ได้ เพราะบทให้มาพร้อมกันด้วยกับกถาวัตถุ มีเพียงนั้นแล้วก็ย่อมจะนับได้ว่าเพียงพอ แต่พูดในแง่ของการเป็นบทสารานุกรม ที่ควรมีบทแยกเพิ่มเติม ในสิ่งที่ควรรู้

เรื่องบุญและตารางแสดงคำศัพท์ต่อไปนี้ กำหนดให้แสดงถึง วิลาส แล้วสำคัญเป็นสังสัคคะต่างๆ อันได้แก่บุญ ตามหมายที่มีปรากฏมาในพระไตรปิฎก ซึ่งได้หมายเอาตรง ความว่า, หมายถึง, ดังกล่าว, คือ หรือ เป็นอาทิ ว่าเป็นบุญ เป็นทิพย์สุข (หรืออย่างสวรรค์ วิมาน). ซึ่งจะค้นไปกว่าคำศัพท์ตรงตัวตรงศัพท์ตามที่มีกำหนดมานั้นว่า แปลว่า อย่างหนึ่งแล้ว แต่อย่างอื่นที่ใช่มีปรากฏในความหมายเดียวกันและที่ควรศึกษายังมีอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้แสดงไว้เสริมเพื่อนับนัยบรรยายที่ยิ่งกว่าแปลว่านั้น จากนั้นแล้วๆทีนี้จะได้ถึงแก่ความเป็นตำรายิ่งเข้าไปอีก จึงควรได้ค้นออกไปให้ยิ่งกว่าเก่า เป็นที่ได้ทำรวมไว้ให้เป็นสิ่งประดับเสริมพูนความรู้ในทางคำศัพท์ด้วยกัน และความหมายโดยบท(บุญ) สำหรับที่มีปรากฏมาในอรรถกถาฎีกาเป็นสำคัญอยู่แล้วๆ

ว่าด้วยคำศัพท์ เรื่อง บุญ (กุศล)
ลำดับที่ คำศัพท์ อนุทินศัพท์ ความหมาย/หรือนิยามศัพท์
๑. สุขมาวหาติ แปลว่า นำความสุขมาให้
๒. ตโต นํ สุขมเนฺวติ ความว่า ความสุข ย่อมตามบุคคลนั้นไป เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น
๓. โสมนสฺสานิ ได้แก่ ความสุขทางใจ
๔. สุจึ บริสุทธิ์ ชื่นใจ และประกอบด้วยธรรม
๕. ปณีตํ ได้แก่โอฬาร สูงสุด ประเสริฐสุด
๖. เทโว เทวปุรมฺหิว ความว่า เหมือนท้าวสักกเทวราช ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
๗. มญฺเญหํ สุคตี สิยา ความว่า ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระองค์จักพึงไปสุคติเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้
๘. ธีโร จ น เวธติ ความว่า คนฉลาดเห็นสุคตินิมิต ก็ไม่หวั่นไม่ไหว
๙. สคฺคํ โลกํ ได้แก่ โลกอันเลอเลิศด้วยสมบัติมีรูปสมบัติเป็นต้น.
๑๐. - -