ต้อกระจกและต้อหินในสุนัข
ต้อกระจก เป็นโรคที่เกิดขึ้นที่แก้วตา(เลนส์) และถุงหุ้มแก้วตา แก้วตาปกติมีลักษณะเป็นเลนส์นูน ใส โปร่งแสง มีความโค้งนูนทั้ง 2ด้าน มีหน้าที่สำคัญร่วมกับการกระจกตาในการรวมแสงไปโฟกัสบนจอตาหรือเรติน่า ความผิดปกติของแก้วตาหรือเลนส์ตาที่มีลักษณะ ขุ่น ขาว ผิดไปจากธรรมดาไม่ว่าที่ตำแหน่งใดหรือจากสาเหตุใด ก็ตามเรียกว่า ต้อกระจก เจ้าของสัตว์ส่วนใหญ่พาสัตว์เข้ามารับการรักษา เนื่องจากสังเกตเห็นแก้วตาที่ขุ่นขาว ภายในลูกตาและจะเห็นได้ชัดเจน เวลาที่สัตว์อยู่ในที่ๆมีแสงน้อย และเวลากลางคืน ทั้งนี้เป็นผลมาจากรูม่านตา ของสัตว์จะหดและขยายออก ตามความเข้มของแสงสว่าง ในสถานที่ๆมีแสงน้อยและเวลากลางคืนรูม่านตาจะขยายออกเพื่อเปิดรับแสงให้มากขึ้นทำให้เจ้าของสัตว์สามารถมองเห็นแก้วตาและความผิดปกติได้ชัดเจน กว่าในตอนกลางวันหรือที่ๆมีแสงจ้าโดยทั่วไปสัตว์ป่วยมักจะไม่แสดงอาการผิดปกติให้เห็นยกเว้น ในรายที่เป็นทั้ง2ตา และต้อกระตกอยู่ในระยะที่ขุ่นตัวเต็มที่ เจ้าของจะสังเกตเห็นแก้วตามีสีขาว พฤติกรรมของสัตว์เปลี่ยนแปลงไม่ร่าเริง เดินชนสิ่งของ ไม่กล้าลงบันได เป็นต้น
การรักษาต้อกระจกที่ให้ผลดีที่สุดคือ การผ่าตัดเพื่อนำแก้วตาที่เสื่อมสภาพออกแล้วใส่แก้วเทียมให้กับสัตว์ป่วย ในปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคการผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง ซึ่งเป็นวิธีการรักษาเช่นเดียวกันกับการรักษาในคนมาใช้กับสัตว์และประสบผลสำเร็จ
ต้อหินคือ กลุ่มอาการของความผิดปกตินี้เกิดขึ้นต่อดวงตาทั้งส่วนที่แสดงให้เห็นภายนอก คือการเพิ่มขึ้นของความดันภายในลูกตาและความเสียหาย ภายในที่เกิดขึ้นของขั้วประสาทตาและจอตา โดยในระยะแรกความดันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดความเสียหายที่ขั้วประสาทตา ก่อนส่งผลให้ลานสายตาค่อยๆ แคบลงหากไม่ได่รับการแก้ไขออย่างทันท่วงที ความดันภายในลูกตาที่เพิ่มขึ้นจะก่อให้เกิดความเสียการมองเห็น ในที่สุด ความดันภายในลูกตาเพิ่มสูงขึ้นจากระดับปกติเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของการผลิต และการระบายของสารน้ำในลูกตาซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ มาจากการระบายอาการของสุนัขที่เป็นต้อหินจะผันแปรตามความรุนแรง และระยะเวลาที่ความดันภายใน ลูกตาสูงขึ้นและสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติ อาการแสดงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ 1 แบบเฉียบพลัน 2 แบบเริ้อรัง โดยสรุปคือ ในรายเฉียบพลันจะเห็นสัตว์แสดงอาการปวดตา มีน้ำตาไหล ตาข้างที่เป็นแสดงอาการกลัวแสง และหนังตาที่3ยื่น เยื่อตาขาวแดง กระจกตาอาจจะยังปกติอยู่หรืออาจขุ่นเล็กน้อย จากการบวมน้ำ ส่วนการมองเห็นขึ้นอยู่กับความดันลูกตาที่สูงขึ้น ส่วนในรายเรื้อรังซึ่งเป็นอาการแสดงที่พบในสัตว์ส่วนใหญ่ ที่เข้ามารับการรักษาจะพบลักษณะกระจกตาขุ่นอย่างชัดเจนเยื่อตาขาวแดง ตาโปนใหญ่ สัตว์สูญเสียการมองเห็น
การรักษาการมองเห็นของสัตว์ โดยการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับขั้วประสาทตา และ จอประสาทตา คือ จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการรักษาต้อหินการรักษาประกอบไปด้วยการรักษาทางยาและการผ่าตัด การพิจารณาเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหิน
อ้างอิง
แก้ไขหนังสือเรื่อง สารพันปัญหาสัตว์