ตำราอาหาร:อาหารเจ
ตำราอาหารเจ มีหลายสูตร และหลายขนาน เป็นตำราที่แสดงวิธีการปรุงอาหารในแบบที่มีข้อจำกัด ซึ่งส่วนมากคำพรรณนาประกอบตำราเกี่ยวกับเรื่องของอาหาร มักแสดงเรื่องแฝงคุณธรรม และการปลูกฝังจารีตที่ดีงามทางสังคม ตำราอาจกล่าวแยกเป็นสองชนิด คือ ตำราที่มีการกำหนดชนิดของเครื่องเทศและพืชผักบางชนิด ที่ใช้สำหรับปรุงแต่งกลิ่นและรส และตำราประเภทที่ไม่มีข้อกำหนดสำหรับเครื่องเทศและชนิดของพืชบางอย่าง ซึ่งไม่เหมาะสมกับท้องถิ่น ซึ่งมากมายหลายเรื่องเกี่ยวกับอาหารนี้ สรุปให้มีส่วนสำคัญที่สุดอย่างเดียวกันว่า จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ที่มีโทษ ทั้งในแง่ของคำครหาประณาม ทั้งในแง่ที่มีผลต่อความเชื่อ รวมถึงในข้อที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบการทำงานในร่างกาย
ตำราที่มีชื่อการพิมพ์เผยแพร่ส่วนมากดำเนินการด้วยกลุ่มคนหรือกลุ่มองค์กรที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร ในส่วนของตำราอาหารเจและมังสวิรัติ ซึ่งมีส่วนสำคัญที่แตกต่างกันไม่ใช่ส่วนประกอบและการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับอาหาร แต่ส่วนที่แตกต่างกันมักเป็นส่วนที่แสดงถึงชื่อเสียงด้านคุณธรรม[1] ที่กลุ่มคนหรืองค์กรนั้นๆพึงพอใจ โดยทั่วไปแล้ว อาจแยกตัวอย่างที่ใช้สำหรับ ปรุงรสชาติ และกลิ่นของอาหาร ว่า จะเป็นแบบทั่วไป จะเป็นแบบชาวไทย หรือว่าจะเป็นแบบชาวไทยเชื้อสายจีน ตำราอาหารเจและอาหารมังสวิรัติ ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปตาม 3 แนวทางดังกล่าว เช่น
- ตำราอาหารมังสวิรัติชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย
- วิธีประกอบอาหารมังสวิรัติ โดย พระยาภรตราชสุพิช ฯ
- ตำราอาหารเจ 108 มูลนิธิรัศมีธรรม
เหตุผลความนิยม
แก้ไขไม่ใช่เหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น นอกจากความนิยมตามความชอบแล้ว การกระทำการปรุงอาหารตามตำรายังมีส่วนสำคัญที่คนส่วนใหญ่คำนึงถึง ในลักษณะที่บ่งบอก ว่า ‘ เพราะข้ออ้างเหตุผลเป็นส่วนของจิตใจ ’ และเมื่อต้องประกอบความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ที่เป็นจารีตทางสังคมและจริยธรรมทางสังคม วิถีชีวิตที่จะนำเสนอนั้นจะต้องเป็นไปพร้อมกับความเกี่ยวโยงตามคำสอนที่เกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ
แม้ว่าปกติมนุษย์ในปัจจุบันจะบริโภคเนื้อสัตว์กันอย่างแพร่หลายแล้วก็ตาม แต่ตำราอาหารเจและอาหารมังสวิรัติได้แสดงบรรยายที่หนักแน่นและบ่งบอกถึงอยู่เสมอว่า การไม่รับประทานเนื้อสัตว์นั้นคงเป็นความปกติของมนุษย์มาแต่ดั้งเดิมมากกว่า ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับตำราอาหารไม่มีรายละเอียดเท่าใดนักที่จะกล่าวถึง พระเจ้าอโศก ซึ่งนักโบราณคดีกล่าวสนับสนุนพระองค์ในฐานะผู้ทรงอุปถัมภ์และทรงเป็นแรกเริ่ม ตั้งต้นสร้างความนิยมในราชสำนักของพระองค์เอง เพื่อการไม่รับประทานเนื้อสัตว์[2] ถึงอย่างไรก็ตามในทางตำราอาหารเจ (ตำราอาหารมังสวิรัติ) ก็ให้เหตุผลบรรยายมากมาย ที่เป็นงานด้านวิทยาศาสตร์ และความเป็นไปของสังคมที่เป็นไปโดยพระสงฆ์ โดยเฉพาะในนิกายที่เผยแพร่ในแถบประเทศ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และธิเบต ศาสนาพุทธแสดงการไม่พึ่งพาการเลี้ยงชีพด้วยปศุสัตว์ ในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาเพื่อวิถีชีวิตที่ดีงามตามคำสอนมุ่งกำหนดให้พึงพอใจอาหารตามธรรมชาติ และอาหารที่เกิดจากการกสิกรรมที่ไม่ทำลายธรรมชาติ
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่คนส่วนใหญ่ใช้ทำความเข้าใจต่อการศึกษาตำราอาหารชนิดดังกล่าวนี้ ที่พบในปัจจุบัน ในประเทศไทย ได้แก่งานศึกษาของ พระ ดร. โลกนาถ พระภิกษุชาวอิตาลี[3] และ พระ ดร. พุทธทาส ที่ให้สำคัญเรื่องการงดเว้นบาป ซึ่งอาจเกิดจากการรับประทานอาหาร พระพุทธทาสศึกษาและแปลพระสูตรสำคัญที่เป็นภาษาจีน เช่น พระสูตร เรื่องลังกาวตารสูตรเป็นภาษาไทย
ตำราอาหาร ตลอดถึงการแสดงผลงานวิจัยที่กล่าวถึงอาหารมังสวิรัติ และตำราเกี่ยวกับอาหารประเภทนี้ แสดงเหตุ-ผลของสารอาหาร และเหตุ-ผลหลายอย่างที่ไม่สามารถจะคาดคะเนได้ ซึ่งร่างกายและจิตใจอาจจะได้รับมาจากการบริโภคที่แตกต่างกัน[4][5]