ดาราศาสตร์ทั่วไป/สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
ในส่วนก่อนหน้า เราอภิปรายกันถึงตัวเลขที่มีขนาดใหญ่มาก ในดาราศาสตร์ ตัวเลขขนาดมหาศาลนั้นเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเหตุให้นักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ใช้สัญกรณ์วิทยาศาสตร์เมื่อต้องทำงานกับตัวเลขขนาดใหญ่มาก ๆ หรือเล็กมาก ๆ สัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็นระบบสำหรับการเขียนและการทำงานกับตัวเลขที่ช่วยให้สามารถจัดการกับตัวเลขขนาดใหญ่หรือเล็กมาก ๆ ได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง ดาราจักรทางช้างเผือกประกอบด้วยวัสดุประมาณสามพันล้านล้านล้านล้านล้านล้านตัน มันเป็นจำนวนที่ค่อนข้างยุ่งยาก (นักดาราศาสตร์ไม่เคยเขียนสิ่งนี้ โดยพวกเขาจะบอกแทนว่า ทางช้างเผือกนั้นมีมวลมากกว่ามวลของดวงอาทิตย์หนึ่งล้านล้านเท่า ซึ่งง่ายกว่า โดยเราจะใช้ตัวเลขขนาดมหาศาลนี้ในการสาธิตของเรา) ซึ่งถ้าเขียนเป็นตัวเลขจะได้ว่า
- 3 000 000 000 000 000 000 000 000 000 000 000 000 000 ตัน
แต่นั่นดูเลวร้ายมาก สัญกรณ์วิทยาศาสตร์จะทำให้ตัวเลขนี้กะทัดรัดขึ้นและง่ายต่อการอ่าน คือ
- 3 × 1039 ตัน
ตัวเลขนี้แสดงเป็นคำพูดได้ว่า "สามเท่าของสิบยกกำลังสามสิบเก้าตัน"
การเขียนจำนวนอย่างถูกต้องในสัญกรณ์วิทยาศาสตร์มีสองส่วน ส่วนแรกคือตัวเลขที่มากกว่าหรือเท่ากับ 1 และน้อยกว่า 10 (ซึ่งเป็นค่าบวกหรือค่าลบก็ได้) บางครั้งเรียกว่า แมนทิสซา (Mantissa) ส่วนที่สองคือเลขสิบพร้อมตัวเลขยกขึ้นที่เป็นจำนวนเต็ม เลขชี้กำลังของตัวเลขส่วนที่สองเรียกว่า กำลัง (Power) นี่คือตัวอย่างบางส่วนที่เขียนจำนวนเป็นสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
- 2 × 1018
- -1.4 × 102
- 7.656 × 10-4
- 2.1 × 100
ในทางกลับกับ นี่เป็นตัวอย่างของจำนวนซึ่งไม่ถูกต้องตามสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
- 0.1 × 104 ผิด เพราะแมนทิสซาน้อยกว่า 1
- 12 × 103 ผิด เพราะแมนทิสซามากกว่า 10
- 8.4 × 102.2 ผิด เพราะเลขยกกำลังไม่ใช่จำนวนเต็ม
ระลึกไว้ว่า
- 10n = 10 × 10 × 10 × ... เป็นจำนวน n ครั้ง
หมายความว่าสิบถูกยกขึ้นไปกำลัง n เหมือนกับสิบคูณด้วยตัวมันเองเป็นจำนวน n ครั้ง ซึ่งมีค่าเดียวที่จะเท่ากับ 1 คือเมื่อ n เป็นศูนย์ ตัวอย่างเช่น 103 คือ 10 × 10 × 10 หรือ 1000 นั่นหมายความว่าจำนวนก่อนหน้านี้ของเราที่ 3 × 1039 ตัน นั้นมีค่าเท่ากับ
- 3 000 000 000 000 000 000 000 000 000 000 000 000 000 ตัน
โดยที่ 3 และตามด้วยเลขศูนย์อีก 39 ตัว จำนวนที่เขียนด้วยสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ที่มีกำลังเป็นลบนั้นสมนัยกับจำนวนที่น้อย ตัวอย่างเช่น 1 × 10−3 เขียนได้เป็น 0.001 ในสัญกรณ์สามัญ โดยทั่วไปคือ
- 10−n = 1/10 × 1/10 × 1/10 × ... เป็นจำนวน n ครั้ง
ตั้งแต่สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับกำลังของสิบ ทำให้การแปลงจำนวนจากสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ไปสัญกรณ์มาตรฐานและในทางกลับกันนั้นง่ายขึ้น ในการแปลงจำนวนมาก (โดยกำลังเป็นบวก) จากสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ไปเป็นสัญกรณ์มาตรฐาน อันดับแรก ระบุจุดทศนิยมลงไปในแมนทิสซา จากนั้นเลื่อนจุดทศนิยมไปทางขวาตามจำนวนของเลขชี้กำลัง ในการแปลงจำนวนจากสัญกรณ์มาตรฐานไปเป็นสัญกรณ์วิทยาศาสตร์นั้นให้ทำย้อนกลับขั้นตอนก่อนหน้านี้โดย ค้นหาจุดทศนิยมในจำนวน และเลื่อนไปจนกว่าจะเหลือค่าอย่างน้อยหนึ่ง 1 แต่น้อยกว่า 10 จำนวนหลักที่คุณย้ายจุดทศนิยมไปนั้นเป็นค่าของเลขชี้กำลัง ถ้าย้ายจุดทศนิยมไปทางซ้าย ให้ค่าชี้กำลังเป็นบวก ถ้าย้ายจุดทศนิยมไปทางขวา ให้ค่าชี้กำลังเป็นลบ
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์นั้นยังช่วยทำให้การคูณและหารทำได้ง่ายขึ้น การคูณเลขสองจำนวนในสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ให้นำแมนทิสซาคูณกันและนำตัวชี้กำลังมาบวกกัน เช่น
- (3 × 104) × (4 × 10-2)
- = (3 × 4) × 104 - 2
- = 12 × 102
- = 1.2 × 103
ในบางกรณี ดังในตัวอย่างด้านบน คุณอาจจำเป็นต้องเลื่อนจุดทศนิยมอีกครั้งเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้นั้นถูกต้องตามหลักของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ โดยไม่ควรมีการเลื่อนจุดทศนิยมมากกว่าหนึ่งหลัก ในการหารจำนวนในสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ให้นำแมนทิสซามาหารกันและนำเลขชี้กำลังมาลบกัน เช่น
- = 0.75 × 106
- = 7.5 × 105
เช่นกัน ในตัวอย่างนี้ก็ต้องการการเลื่อนจุดทศนิยมและเปลี่ยนเลขชี้กำลัง
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ทำให้การเปรียบเทียบจำนวนที่มีค่าต่างกันมากเป็นไปได้โดยง่าย เพราะเลขศูนย์ทั้งหมดถูกแทนเลขยกกำลังซึ่งง่ายต่อการอ่านค่า จำนวนที่มีเลขชี้กำลังมากกว่าย่อมมากกว่าจำนวนที่มีเลขชี้กำลังน้อยกว่าเสมอ
ถ้าหนึ่งในเลขชี้กำลังนั้นใหญ่กว่าเลขชี้กำลังอื่นโดยมากกว่าสอง ความแตกต่างของจำนวนทั้งสองย่อมมีขนาดใหญ่มาก การรู้ถึงความต่างมหาศาลระหว่างจำนวนสองจำนวนบางครั้งก็เป็นประโยชน์มาก ดังนั้นจึงมักใช้เวลาครู่หนึ่งในการทำความเข้าใจการพัฒนาความรู้สึกตามสัญชาตญาณ สำหรับปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนที่จะลงมือทำ ในบางกรณี มันก็เป็นประโยชน์ในการแสดงให้เห็นว่าจำนวนหนึ่งมากกว่าอีกจำนวนเท่าไร สำหรับการประมาณค่า คุณต้องหาจำนวนความต่างของเลขยกกำลัง เช่น 107 ใหญ่กว่า 103 โดย 7 - 3 = 4
- นักท่องเที่ยวบางคนในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติชิคาโกประหลาดใจในกระดูกไดโนเสาร์ หนึ่งในจำนวนนั้นถามพนักงานรักษาความปลอดภับว่า "คุณบอกได้ไหมว่ากระดูกไดโนเสาร์พวกนี้อายุเท่าไร"
- พนักงานรักษาความปลอดภัยตอบว่า "พวกมันอายุ 73 ล้าน กับอีก 4 ปีและอีก 6 เดือน"
- "ตัวเลขนั้นแน่นอนจังเลย" นักท่องเที่ยวกล่าว "คุณรู้อายุที่แม่นยำของมันได้อย่างไรกัน"
- พนักงานรักษาความปลอดภัยตอบว่า "ครับ กระดูกไดโนเสาร์อายุ 73 ล้านปี เมื่อผมเริ่มทำงานที่นี่ ตอนนี้ผมทำงานมาได้ 4 ปีครึ่งแล้วครับ"
- (จาก เว็บเพจเรื่องขบขันทางวิทยาศาสตร์ [1])
ในทางวิทยาศาสตร์ การวัดจะไม่สมบูรณ์แบบและเลขจะไม่แน่นอน ผลที่ตามมาคือ ทุก ๆ การวัดที่เราทำมีความไม่แน่นอนเข้ามาเกี่ยวข้อง สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ทำให้จำนวนนั้นชัดเจนขึ้นมาให้รู้ สมมติว่านักบรรพชีวินวิทยาค้นพบกระดูกไดโนเสาร์โบราณและพบว่ามันมีอายุ 73 ล้านปีก่อน แน่นอนนักบรรพชีวินวิทยาไม่ทราบว่าอายุที่แน่นอนของมันเท่าไร อาจจะ 73,124,987 ปี แต่นักบรรพชีวินวิทยาจะรู้เฉพาะอายุภายใน 1 ล้านปีเท่านั้น ดังนั้นอายุจึงเขียนได้เป็น 73,000,000 ปี หรือ 7.3 × 107 ปี คำพูดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ากระดูกอายุนั้นไม่ได้อายุ 73 ล้านปีแบบแน่นอน แต่เป็น 73 ล้านปี บวกหรือลบอีกล้านปี