ดาราศาสตร์ทั่วไป/บริวารของดาวเคราะห์
ไม่มีดาวบริวาร
แก้ไขบรรดาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ที่ไม่มีดาวบริวารตามธรรมชาติเป็นของตัวเองมีสองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์
โลก
แก้ไขโลกมีดาวบริวารตามธรรมชาติหนึ่งดวง มักเรียกกันว่า "ดวงจันทร์" (บางทีคำว่าดวงจันทร์ยังถูกพูดถึงในบริบทแทนดาวบริวาร เช่น ดวงจันทร์ของดาวเสาร์มีจำนวนมาก) หรือในภาษาอังกฤษว่า "the Moon" หรือบางครั้งก็เรียกว่า "Luna" (ลูน่า)
ดวงจันทร์ของโลกมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 จากบรรดาดาวบริวารของดาวเคราะห์ทั้งแปดดวงในระบบสุริยะ โดยดวงจันทร์ของโลกนับเป็นดาวบริวารที่อยู่ห่างไกลมากที่สุดที่มีความสัมพันธ์กับดาวเคราะห์แม่ ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง 3476 กิโลเมตรและมีอัตราส่วนต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกเป็น 0.2764 เมื่อเทียบกันแล้ว ดาวบริวารถัดไปที่มีความสัมพันธ์กับดาวเคราะห์แม่ขนาดใหญ่ (ดวงจันทร์ไทรทันของดาวเนปจูน) มีอัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 0.0546
ดวงจันทร์ของโลกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดาวเคราะห์แคระพลูโตถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ดาวอังคาร
แก้ไขดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็กสองดวง คือ โฟบอส (Phobos) และ ดีมอส (หรือ ไดมอส) (Deimos) ทั้งสองดวงถูกค้นพบโดยอะแซฟ ฮอลล์ (Asaph Hall) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งโฟบอสอยู่ใกล้ดาวอังคารและดีมอสอยู่ถัดออกมา ดีมอสถูกค้นพบเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1877 (ประมาณ พ.ศ. 2420) ซึ่งชื่อดีมอสนั้นตั้งตามชื่อของเทพเจ้าแห่งความหวาดกลัวของกรีก มีหลุมอุกกาบาตน้อยกว่าและขนาดเล็ก ขนาดของดวงจันทร์ทั้งสองนั้นเล็กมาก โดยดีมอสมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 กิโลเมตรเท่านั้น ในขณะที่โฟบอสมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 26 กิโลเมตร
ส่วนโฟบอสถูกค้นพบเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1877 ชื่อโฟบอสตั้งตามชื่อเทพเจ้าแห่งความกลัวของกรีก มีหลุมอุกกาบาตเยอะกว่า
ดาวพฤหัสบดี
แก้ไขดาวพฤหัสบดี ในปัจจุบันมีดาวบริวารที่ค้นพบแล้ว 64 ดวง กับอีก 1 ดวงที่ยังไม่ได้ระบุชนิด โดยดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง คือ ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ
แกนีมีด
แก้ไขแกนีมีด (Ganymede) เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีและในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5,268 กิโลเมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธถึง 8% และเป็นดวงจันทร์บริวารเพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีย่านที่มีแม่เหล็กกำลังสูง (Magnetosphere) เป็นของตัวเอง
แกนีมีดถูกค้นพบเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 (ประมาณ พ.ศ. 2153) โดยกาลิเลโอ กาลิเลอิ พร้อมกับไอโอ, ยูโรปา และ คัลลิสโต
คัลลิสโต
แก้ไขคัลลิสโต (Callisto) เป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของดาวพฤหัสบดี และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของระบบสุริยะ ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,820 กิโลเมตร ซึ่งเป็น 98% ของขนาดดาวพุธ
คัลลิสโตมีพื้นผิวที่เก่าแก่ที่สุดในระบบสุริยะ คือ มันมีหลุมอุกกาบาตหนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ ซึ่งเก่าแก่กว่าดาวพุธด้วยซ้ำ คัลลิสโตถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1610 พร้อมกับไอโอ, ยูโรปา และ แกนีมีด
ไอโอ
แก้ไขไอโอ (Io) เป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของดาวพฤหัสบดี และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของระบบสุริยะ มี้เส้นผ่านศูนย์กลาง 3,642 กิโลเมตร ซึ่งขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลกเล็กน้อย
การค้นพบและประวัติ
แก้ไขไอโอ มีประวัติมากมายนับตั้งแต่การค้นพบในปี ค.ศ. 1610 (ประมาณ พ.ศ. 2153) โดยกาลิเลโอ กาลิเลอิ ด้วยเทคโนโลยีกล้องโทรทรรศน์ที่ยังจำกัดในสมัยนั้น จนกระทั่งช่วงปลายปี ค.ศ. 1800 เมื่อกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ได้เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลกแล้ว การสังเกตการณ์แสดงให้เห็นว่าบริเวณสีแดง สีน้ำตาล สีส้ม และสีเหลือง ซึ่งในภายหลังถูกพิจารณาว่าเป็นซัลเฟอร์และโซเดียมบนพื้นผิวที่มีความอุดมสมบูรณ์ และยังมีจำนวนกิจกรรมของภูเขาไฟที่มีปริมาณมากเป็นพิเศษ
ไอโอวัตถุที่ยังมีกิจกรรมทางภูเขาไฟที่มากที่สุดในระบบสุริยะ เนื่องจากได้รับผลจากแรงไทดัลอย่างเข้มข้นจากดาวพฤหัสบดีทำให้มันร้อน และวงโคจรที่สั่นพ้องกับดาวบริวารดวงอื่นของดาวพฤหัสบดี
ต้นกำเนิดของพลังงานภายใน
แก้ไขไอโอมีความหนาแน่นใกล้เคียงดวงจันทร์ของเรา แต่ส่วนใหญ่องค์ประกอบของมันเป็นซัลเฟอร์ ไอโอต้องเผชิญกับแรงไทดัลทำให้มันร้อนเนื่องจากวงโคจรรอบดาวพฤหัสบดี เปรียบเทียบกับระยะห่าง 422,000 กิโลเมตรและปฏิสัมพันธ์ด้านแรงโน้มถ่วงกับดวงจันทร์ของกาลิเลโอดวงอื่น ๆ สนามโน้มถ่วงขนาดใหญ่ของดาวพฤหัสบดีและปฏิสัมพันธ์ของไอโอกับดาวบริวารอื่น ๆ ส่งผลให้วงโคจรสั่นพ้องระหว่างไอโอ, ยูโรปา และ แกนีมีด ซึ่งหมายถึงคาบการโคจรของมันนั้นเป็นจำนวนเต็มของกันและกัน
ในแต่ละวิถีโคจรของแกนีมีด, ยูโรปามีวงโคจรเป็นสองครั้ง และไอโอมีวงโคจรเป็นสี่ครั้ง แรงนี้ทำให้ไอโอมีวงโคจรที่เยื้องศูนย์กลางมากกว่า วงโคจรเยื้องศูนย์กลาง คือ การที่วงโคจรของไอโอมีระยะห่างผันแปรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากการขยายและการหดตัวจากการโป่งของแรงไทดัล พลังงานแรงเสียดทานนี้ถูกปลดปล่อยในรูปของความร้อน ความร้อนภายในของไอโอได้หลอมละลายแกนที่อุดมไปด้วยซัลเฟอร์ของไอโอเป็นหินหนืดเหลว ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในที่จัดเก็บขนาดใหญ่ใต้พื้นผิว กระบวนการนี้ได้กระตุ้นความกดดันภายในไอโอและเป็นเหตุให้เกิดกิจกรรมทางภูเขาไฟขึ้น เชื่อกันว่าไอโอมีเปลือกดาวที่แข็งอยู่บาง ๆ และการไหลเวียนของหินหนืดเหลวที่มีอยู่ตลอดเวลานั้นทำให้เกิดความร้อนภายในอยู่ตลอดเวลา มีการประมาณว่าพลังงานที่สลายตัวจากปฏิกิริยาแรงไทดัลมีขนาดใหญ่เป็นสองอันดับของการสลายกัมมันตรังสี ด้วยเหตุนี้ ไอโอจึงมีอุณหภูมิสูงสุดที่สังเกตการณ์ที่ประมาณ 1,800 เคลวิน ซึ่งสูงเป็นอันดับที่สองในระบบสุริยะ ข้อบ่งชื้อื่นของการสลายตัวของพลังงาน คือ กระแสความร้อนขนาดใหญ่ มากกว่า 30 เท่าที่พบได้ในภูเขาไฟบนโลก
ลักษณะภูเขาไฟ
แก้ไขไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่พื้นผิวของไอโอนั้น ถูกควบคุมด้วยลักษณะภูเขาไฟ พื้นผิวของดาวนั้นเกลื่อนไปด้วยหลุมอุกกาบาต, แคลดีรา (หลุมปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่), กระแสลาวา, ภูเขาไฟรูปโล่, ที่ราบเถ้าภูเขาไฟ, ซัลเฟอร์หรือกำมะถัน (S) ที่ทับถมไว้ และลักษณะอื่น ๆ
ไอโอมีภูเขาไฟมากกว่า 500 ลูกบนพื้นผิวของมัน และมีแคลดีรากว่า 200 หลุม บางหลุมมีขนาดใหญ่กว่า 200 กิโลเมตร แคลดีราเหล่านี้ถูกล้อมรอบโดยรูปร่างที่แตกต่างกันอย่างเช่น วงแหวนที่สว่างจากซัลเฟอร์อีเจ็คตาที่ควบแน่น