ดาราศาสตร์ทั่วไป/ดาวหาง
ดาวหางอาจถูกกล่าวได้ว่าเป็น "ก้อนน้ำแข็งสกปรก" แต่ด้วยเหตุที่มันมีฝุ่นมากกว่าน้ำแข็ง เราจึงกล่าวถึงมันเป็น "ก้อนสกปรกที่เย็น" แทน นิวเคลียสของมันมีส่วนประกอบหลักเป็น น้ำ (H2O) และบางส่วนเป็น แอมโมเนีย (NH3), มีเทน (CH4) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ตอนที่เกิดบิ๊กแบงขึ้นเมื่อ 4.6 พันล้านปีก่อน ไฮโดรเจนและฮีเลียมเกิดรวมกันขึ้นเป็นดาวฤกษ์รุ่นแรก และกลายเป็นมหานวดารา (หรือที่เรียกทับศัพท์กันว่า ซูเปอร์โนวา) อย่างรวดเร็วขณะที่ธาตุหนักกว่า (เรียกโดยรวมว่าโลหะ) ถูกสร้างขึ้นและถูกทำให้น้อยลงอีกครั้งโดยลำดับด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมจากดาวฤกษ์รุ่นที่สอง "โลหะ" จำนวนมากถูกทำให้น้อยลงในเวลานั้นจากการเป็นวัตถุดิบของดาวเคราะห์หิน แต่วัตถุบางส่วนก็กลายเป็นก้อนเล็กของแก๊สและฝุ่นเยือกแข็ง ก้อนเหล่านั้นอยู่ที่ขอบนอกของระบบสุริยะ ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำพอที่จะสร้างน้ำแข็งเพื่อแช่ก้อนเหล่านั้นได้ บริเวณดังกล่าวเรียกว่า เมฆออร์ต หรือ แถบไคเปอร์ ซึ่งในเมฆออร์ตถูกประมาณว่ามีดาวหางประกอบอยู่ถึง 1011 (หนึ่งแสนล้าน) ดวง
วงโคจรของดาวหางต่อดวงอาทิตย์ของเรา พวกมันอาจถูกรบกวนจากการเผชิญกับวัตถุอื่น ๆ แบบใกล้ชิด และบางครั้งก็เคลื่อนตัวออกมาจากเมฆออร์ตมุ่งหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ เมื่อพวกมันเข้ามันเข้ามาใกล้ แก๊สเยือกแข็งจะเริ่มกลายเป็นไอและฝุ่นถูกผลักออกไป ซึ่งจะเป็นลำแสงที่เรียกว่าหาง หางนั้นโน้มเอียงไปหลังนิวเคลียสดาวหาง แก๊สและฝุ่นนั้นได้รับอิทธิพลได้ง่ายโดยแรงประยุกต์ที่กระทำต่อมัน โดยโปรตอนในแสงของดวงอาทิตย์นั้นกระเด็นใส่มัน และโดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีผลต่ออนุภาคมีประจุ ดาวหางมีสองหาง หางแรกคือหางไอออน (มีสีฟ้า, ประกอบด้วยแก๊ส) และหางที่สองคือหางฝุ่น (มีสีเหลือง) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของฝนดาวตก เช่น ฝนดาวตกสิงโต เมื่อโลกเคลื่อนผ่านแนวของฝุ่นที่หางฝุ่นของดาวหางทิ้งไว้
ดาวหางที่โด่งดังที่สุดดวงหนึ่งคือดาวหางฮัลเลย์ ถูกค้นพบโดย เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ เมื่อปี ค.ศ. 1705 ครั้งนั้นดาวหางถูกสังเกตได้ครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1682 ฮัลเลย์ได้ทำนายว่ามันจะกลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1758 แต่โชคร้ายที่เขาเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1742 ทำให้เขาไม่มีโอกาสได้รับรู้ว่าการทำนายของเขานั้นถูกต้อง ภายหลังจึงตั้งชื่อดาวหางดวงนี้ตามชื่อของเขา
ดาวหางฮัลเลย์มีคาบการโคจรประมาณ 76 ปี ซึ่งมองเห็นจากโลกครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 1986 และจะกลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 2061 (พ.ศ. 2604)