เรื่อง อนุโมทามิ (ปัจ.)
ลำดับที่ คำศัพท์ อนุทินศัพท์ ความหมาย/หรือนิยามศัพท์
๑. สาหุการํ คือสาธุการ
๒. ยนฺนูนาหํ ได้แก่ สาธุ วตาหํ แปลว่า ดีละหนอเรา. . .
๓. สมนุญฺโญสตฺถา อโหสิ ความว่า ได้เป็นผู้พอใจด้วยการอนุโมทนาแล้ว
๔. อนุจิณฺโณ ได้แก่ เดินตามกันไป
๕. อนุสมฺปวงฺกตา มีความว่า ความเป็นผู้คล้อยตามคือ ความเป็นผู้พลอยประสม ในการโจทนั้นนั่นแล ด้วยกายจิตและวาจา
๖. อิมาหิ คาถาหิ อนุโมทามิ ความว่า เราอนุโนทนา (คือ ชื่นชมบทคาถา)
๗. - -

บรรยายสังเขป คำว่า “อนุโมทนา”

คำว่า มิ ควรคิดแล้วว่า คงจะเป็นการกล่าวเป็นคำย้ำ คำจบ ควรจะใช่ทาง สมาสภาวะหรือทำมาไว้กล่าวเป็นที่สุด ดังนี้ว่า จะต้องนับเหตุการณ์อธิบายแบบกว้างๆอย่างนี้ก่อนหรือที่เป็นมาก่อนๆ เช่นดังนี้ ดังนี้ก่อน แต่ที่จะต้องเป็นไปบ่อยๆ และถึงซึ่งด้วยการประกอบวาจาที่รวดเร็ว ฉะนั้น จึงต้องให้เรียกว่า สัมภมะ (วุ่นไปทั่วๆ) ตามแต่อาการในคำของสมาส ที่ทำซึ่งอาการอยากให้เห็น ซึ่งภวะหมายถึงการแสดงเป็นความหมาย หรือเป็นคำ ที่ประกอบเป็นนิมิตด้วยอักขระนั้นแล้ว (สดับแล้ว) ว่าควร (เมื่อ) ฟังแล้ว (ว่า มิ) หรืออ่านแล้ว (มิ นั้น, ท่าน)จงทราบและรับรู้ด้วยใจ. อาจเป็นอย่างนี้ แล้วก็จึงให้มี “มิ”‎

“มิ”‎ ไม่ได้แปลว่า ไม่ใช่! ซึ่งเป็นคำไทยกำกับเข้ามาเกลื่อนกล่นประกอบเอาภายหลัง ยังไม่เป็นตาม มิ. ในข้อนี้ ข้อนี้เป็นแต่แสดงถึงคำว่า มิ ในทางบาลีที่ใช้อยู่แล้วแทบจะเป็นสามัญ เหมือนอย่างกล่าวว่า อนุโมทนา ดังนี้ แล้วว่า อนุโมทามิ ซึ่งก็คือการอนุโมทนา แต่คำว่า “อนุโมทนา”‎ ควรเป็นแต่แจ้งความกัน แต่ไม่ถึงต้องกะต้องบอกต้องให้ทราบให้ถึงด้วยใจ แต่ซึ่งว่า หากกล่าวแล้วว่า อนุโมทามิ จึงเป็นอันต้องทราบว่า (ข้าพเจ้า) แสดง ว่า จงทราบด้วยใจเทอญ (ว่าข้าพเจ้าอนุโมทนาอยู่ อนุโมทนาแล้ว.)

ถ้ากล่าวอย่างบรรยายภาษาไทย ก็ควรจะกล่าวว่า เหตุแห่งการมุ่งกล่าวนั้น อ่อนโยนแล้ว อ่อนโยนกว่า (การอนุโมทนา) เพราะในทางภาษาไทยเรานั้น จะถือว่าบทใดประโยคใดประกอบด้วยคำมีสร้อยคำ มีคำจบ หรือมีคำลงท้ายในบทในประโยคนั้นๆ จะถือกันว่าเป็นคำน่ารัก อ่อนโยน และเป็นบทของคำที่ควรสดับรับรู้ไว้ด้วยใจ หรือแม้ถึงจะเป็นคำที่ไม่อ่อนโยนหรืออาจจะดุ แต่ก็ยังจะหมายถึงว่า (เช่นคำว่า ติ เต และ หิ เป็นต้น) ควรให้รู้ไปถึงซึ่งวิเศษแห่งความหมาย แห่งบท แห่งคุณเครื่องตามที่ยับยั้งอยู่ทั้งบทหรือทั้งหมดที่ได้แสดงแล้ว

เรื่องการยินดี เรื่องการพลอยโมทนาคุณนี้ และประกอบเห็นคุณแห่งอนุโมทนาคุณตามกัน เหตุนี้ คำว่าอนุโมทนา ก็ดูเหมือนเป็นอีกประการที่แปลกอยู่ เพราะคำว่าอนุโมทนาดูเป็นคำ ที่เสนออรรถรสและราคาค่างวดที่ใหญ่กว่า คำว่า โมทนา! ซึ่งความว่า เป็นเครื่องสามารถและเป็นเครื่องแห่งอันจะบันเทิงตาม นั้น มาได้แก่คำว่า อนุโมทนา.. ซึ่งประกอบว่าแปลกอยู่หน่อยหนึ่งนั้นก็คือ คำว่า“อนุ”‎นั้นจะแปลอยู่ว่า เล็กๆน้อยๆในภาษาไทย เมื่อให้เป็นคำเอออวย แต่ก็กลับไม่นับกันนักว่า เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ อย่างคำว่า อนุวัตร อนุกูล อนุเคราะห์ สงเคราะห์ มาอย่างนี้เป็นต้น. แต่ละคำไม่อาจจะนับว่าหมายถึงเล็กน้อย (อนุ) ไปเสียทีเดียว. และคำว่าทิศน้อยนั้นด้วย หากประกอบอนุกูลอยู่ว่าเป็นที่แรกหรือที่หลัก ถึงตามมาด้วยให้เป็นความหมายแก่ คำว่า อนุทิศก็จริง แม้เมื่อไม่มีเป็นมหัพภาคแล้ว (เป็นใหญ่ทั่วไป) ดังนี้พูดกล่าวไปจากเรื่องโมทนาคุณตามกรณีๆ ตามที่เป็นอยู่นั้นๆ ในทิศน้อย หรือจะใน ทิศใหญ่ ก็ตาม หากว่าพร้อม และเมื่อปรากฏเป็นอนุศาสน์คำสอนประกอบพร้อมตามอนุโมทนาแล้ว ย่อมจะสร้างสลักสำคัญไปได้ทุกๆแห่ง การกล่าวคำเป็นอนุกูลคุณเครื่องดังกล่าวไม่ได้ให้ลดน้อยลงตามคำที่ว่าอนุๆ เพราะด้วยใคร่จะได้กระทำจิตกล่าวเป็นอนุโมทนาแล้วย่อมจะกำหนดเป็นวิเศษที่ให้ได้จบลงตรงนั้น ฉะนั้นชื่อว่าเป็นวิเศษ (ดี) ก็จึงไม่ให้เล็กน้อยไปด้วยกับคำตามนั้น (ไม่อนุ..) ที่กล่าว.

สุดท้ายเป็นเรื่องเตือนระวังกันไม่ให้พูดผิด! เพราะจะเข้าใจกันว่าให้กล่าวว่า อนุโมทนามิ! คำหนึ่ง คำว่าอนุโมทนา คำหนึ่ง ว่าโมทนาก็ได้ แต่ต้องไม่ใช้ว่า อนุโมทนามิ เพราะที่ถูกคือ อนุโมทามิ ✔ และเมื่ออนุโมทนาทาน หรือคุณธรรมแล้ว ในที่โมทนานั้นจะกล่าวเป็น สาธุ สาธุ สาธุ ด้วยก็ได้ สาธุเป็นวิเศษทางกลาง ว่าดีแล้วๆ ไม่ต้องว่า สาธุ มิ. สาธุ มิ. เพราะจะเป็นผิดซ้ำอีก เพราะคำว่า สาธุ. ไม่ต้องมีกิริยาคำให้ต้องกล่าวว่า มิ.