ขายฝาก/ฎ.
# | เลขที่ | ใจความ | หมายเหตุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การเกิดสัญญา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 170/2497 | ขายที่ดินและโรงเรือนให้แก่กัน โดยตกลงกันด้วยปากเปล่าว่า ผู้ขายมีสิทธิมาไถ่คืนได้ภายในสิบปี ข้อตกลงนี้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงสูญเปล่า ไม่มีผลบังคับแก่กันได้ ผู้ขายมาฟ้องโดยอาศัยข้อตกลงนี้มิได้ อย่างไรก็ดี ต่อมาอีกสองปีเศษ ผู้ซื้อกับผู้ขายสัญญากันอีกโดยทำเป็นหนังสือว่า ที่ดินกับโรงเรือนดังกล่าวจะไม่ขายให้คนอื่น และภายในสิบปีนับแต่วันซื้อขาย ถ้าผู้ขายมีเงินก็จะมาซื้อกลับคืนไป ดังนี้ นับเป็นการที่ผู้ซื้อให้คำมั่นแก่ผู้ขายว่าจะขายที่ดินกับโรงเรือนพิพาทให้ เมื่อทำเป็นหนังสือ คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินเช่นว่าจึงใช้ได้ตาม ป.พ.พ. ม. 456 ว. 2 และผู้ขายฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาใหม่นี้ได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 1075/2507 | น้องชายของจำเลยกู้ยืมเงินจำเลยแล้วไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงร้องทุกข์ว่าน้องชายของจำเลยฉ้อโกงโจทก์ เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมน้องชายของจำเลย จำเลยจึงตกลงกับโจทก์เพื่อเลิกคดี และพากันไปหาพนักงานสอบสวนเพื่อทำสัญญากันไว้เป็นหลักฐาน พนักงานสอบสวนจึงร่างสัญญาขึ้นเพื่อปลดหนี้ให้แก่น้องชายของจำเลย มีข้อความว่า จำเลยจะขายที่ดินฝากไว้กับโจทก์ ราคาหนึ่งหมื่นบาท โจทก์กับจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาของพนักงานสอบสวนนั้นแล้ว พนักงานสอบสวนจึงเอาหนังสือสัญญากู้ยืมข้างต้นมาฉีกทิ้ง แต่สัญญาของพนักงานสอบสวนไม่ได้ระบุว่า โจทก์จำเลยจะทำการขายฝากเป็นหนังสือและจดทะเบียนการขายฝากกันเมื่อใด ย่อมแสดงว่า สัญญาของพนักงานสอบสวนเป็นสัญญาจะขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลย กล่าวคือ โจทก์กับจำเลยต้องไปทำสัญญาขายฝากกันอีกชั้นหนึ่ง และสัญญาจะขายฝากนี้ เมื่อได้ทำเป็นหนังสือทั้งลงลายมือชื่อโจทก์กับจำเลยแล้ว ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. ม. 456 ว. 2 โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะขายฝากได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 3670/2528 | โจทก์ขายที่ดินให้แก่จำเลย ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ต่อมา โจทก์กับจำเลยทำสัญญากันอีกฉบับว่า โจทก์มีสิทธิ์ซื้อที่ดินนั้นคืนภายในกำหนดสิบปี ดังนี้ มิใช่การที่โจทก์ขายที่ดินฝากไว้กับจำเลย เพราะข้อตกลงให้ไถ่คืนไปนั้นต้องมีอยู่แล้วในการซื้อขาย แต่เป็นคำมั่นว่าจะซื้อทรัพย์สินกันในอนาคตตาม ป.พ.พ. ม. 456 ว. 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | 291/2541 | จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 2 กับสามีได้หย่ากัน และตกลงยกที่ดินกับบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว สามีของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจเอาที่ดินกับบ้านนั้นไปขายฝากไว้กับโจทก์อีก ศาลฎีกาเห็นว่า การซึ่งจำเลยที่ 2 กับสามีแบ่งทรัพย์สินกันโดยยกที่ดินกับบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก คือ จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. ม. 374 ว. 2 เพราะฉะนั้น จำเลยที่ 1 จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินกับบ้านไปก็ต่อเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะเข้ารับประโยชน์ดังกล่าวแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาเช่นนั้นแต่ประการใด กรรมสิทธิ์ในที่ดินกับบ้านจึงยังอยู่ที่สามีของจำเลยที่ 2 และเมื่อสามีของจำเลยที่ 2 ขายที่ดินกับบ้านฝากไว้กับโจทก์ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | 7795/2549 | โจทก์กับจำเลยทำสัญญากัน หนังสือสัญญานั้นว่า ผู้ขายตกลงขายที่นาจำนวนสิบห้าไร่ฝากไว้กับผู้ซื้อ เป็นเงินสองแสนบาท มีกำหนดตั้งแต่วันทำสัญญาจนถึงวันที่ 1 เมษายน 2543 รวมสองปี ถ้าผู้ขายไม่มีเงินสองแสนบาทมาคืนให้ผู้ซื้อ ผู้ขายยอมยกที่นาดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ ดังนี้ เป็นสัญญากู้เงิน แล้วเอาที่นามาจำนองไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ มิใช่สัญญาขายฝาก เพราะในเวลาทำสัญญา กรรมสิทธิ์ในที่นามิได้โอนไปยังผู้ซื้อแต่ประการใด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | 8093/2551 | สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. ม. 491 ประกอบ ม. 456 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการขายฝากเกิดขึ้นเลย เมื่อสัญญาขายฝากนี้เป็นโมฆะแล้ว โจทก์จะอ้างว่ามีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยอำนาจตามนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความสมบูรณ์ของสัญญา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 886/2515 | ทรัพย์สินที่รับซื้อฝากมานั้น ผู้ซื้อโอนให้แก่ภริยาโดยเสน่หา ทั้งที่รู้อยู่ว่าผู้ขายยังมีสิทธิไถ่ ดังนี้ เป็นการฉ้อฉลให้ผู้ขายเสียเปรียบ ผู้ขายขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้นั้นได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 515/2525 | จำเลยขายเรือนฝากไว้กับโจทก์ จำเลยไม่ได้ไถ่ เรือนย่อมตกเป็นของโจทก์ ต่อมา จำเลยรื้อเรือนหลังนั้นแล้วสร้างขึ้นใหม่โดยใช้วัสดุบางส่วนที่รื้อมา ศาลฎีกาเห็นว่า เรือนอันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝากได้สิ้นสภาพไปแล้ว เรือนหลังใหม่มิใช่วัตถุแห่งการขายฝาก จึงไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยจากเรือนหลังใหม่มิได้ ได้แต่เรียกร้องกรณีจำเลยรื้อทำลายวัตถุแห่งการขายฝากเท่านั้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 1514/2528 | จำเลยขายบ้านฝากไว้กับโจทก์ โดยไม่ได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ในสัญญาขายฝากนั้นว่า ถ้าจำเลยไม่ไถ่บ้านคืนไปตามกำหนด โจทก์มีสิทธิ์รื้อบ้านไปได้ ดังนี้ บ้านย่อมมีสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์ จนกว่าจะถูกโจทก์รื้อถอนไปตามเงื่อนไขดังกล่าว กรณีจึงเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ มิใช่การซื้อขายไม้ที่ใช้ปลูกสร้างบ้านอันเป็นสังหาริมทรัพย์ เมื่อสัญญามิได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะไปตาม ป.พ.พ. ม. 491 ประกอบ ม. 456 โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับตามสัญญา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | 1523-1524/2528 | ก่อนทำสัญญา เจ้าพนักงานที่ดินเรียกจำเลยไปสอบถามเกี่ยวกับรายการที่ต้องกรอกในแบบแล้ว แสดงว่า จำเลยทราบอยู่แล้วว่ากำลังทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง มิใช่จำนอง เมื่อการขายฝากเป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์และความสมัครใจของจำเลย อันเป็นการกระทำไปตามปรกติธรรมดา การขายฝากจึงสมบูรณ์ มิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการจำนองแต่ประการใด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | 3241/2533 | โจทก์ขายที่ดินฝากไว้กับจำเลย แล้วไม่ไถ่ จำเลยย่อมได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ แม้ว่าที่ดินตามที่ตกลงกันไว้จะมากกว่าที่ปรากฏอยู่ในโฉนดก็ตาม ก็ไม่เป็นการที่จำเลยได้ลาภมิควรได้ เพราะจำเลยมีมูลเหตุตามกฎหมายที่ใช้อ้างอิงการได้ที่ดินนั้นมา และไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบด้วย โจทก์จึงเรียกให้จำเลยส่งที่ดินคืนฐานเป็นลาภมิควรได้มิได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | 4764/2533 | โจทก์ได้ยกที่ดินนาให้แก่นางเวจ พันธ์มะลี บุตรสาวของโจทก์ โดยเสน่หา นางเวจนำที่ดินไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้วกู้ยืมเงินจำเลยโดยเอาที่ดินนั้นขายฝากไว้กับจำเลยเพื่อประกันการชำระหนี้เงินกู้ การขายฝากทำเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมา นางเวจประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขอถอนคืนซึ่งการให้ และศาลฎีกาพิพากษาให้นางเวจคืนที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำเงินไปชำระให้แก่จำเลยเพื่อไถ่ที่ดินคืน จำเลยไม่ยอม โจทก์จึงวางเงินไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ แล้วฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลสั่งให้จำเลยรับเงิน และคืนที่ดินให้แก่โจทก์ กับทั้งห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินนั้นอีกด้วย
ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์มิได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. ม. 456 จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยอาศัยการที่นางเวจขายฝากไว้ และสิทธิครอบครองจึงเป็นของนางเวจอยู่ ต่อมาเมื่อโจทก์ถอนคืนซึ่งการให้แล้ว สิทธิครอบครองย่อมกลับไปสู่โจทก์ โจทก์มีสิทธิไถ่ที่ดินนั้นได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | 391/2534 | จำเลยขอกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ตกลง พนักงานเจ้าหน้าที่ทำสัญญาแล้วอ่านให้โจทก์กับจำเลยฟังว่า จำเลยตกลงขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยจึงท้วงขึ้นว่า ต้องการกู้ยืมเงินโดยเอาทรัพย์สินมาจำนอง ไม่ใช่ขายฝาก โจทก์บอกจำเลยว่า ขายฝากก็เหมือนกับจำนอง จำเลยปรึกษากับภรรยาแล้วก็ตกลงขายฝาก พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมบ่งชี้ว่า จำเลยประสงค์จะทำสัญญาขายฝากแล้ว มิได้ต้องการจำนองอีก เมื่อการขายฝากเป็นไปตามเจตนาของจำเลย จึงสมบูรณ์ ที่จำเลยอ้างว่าการขายฝากใช้ไม่ได้ เพราะทำขึ้นเพื่ออำพรางการกู้ยืมหรือจำนองนั้น ฟังไม่ขึ้น ต่อมาเมื่อครบเวลาไถ่แล้ว จำเลยไม่มาไถ่ โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท จำเลยไม่ยอมออก การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | 810/2546 | นางแสงอรุณ ประดับทอง มารดาของจำเลย เช่าที่ดินจากวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร แล้วปลูกบ้านเพื่ออยู่อาศัยกับจำเลย ต่อมา นางแสงอรุณขายบ้านดังกล่าวฝากไว้กับนางละมัย ป้อมประสาร ภริยาโจทก์ โดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อครบกำหนดเวลาขายฝาก นางแสงอรุณไม่ได้ใช้สิทธิไถ่ นางละมัยจึงอาศัยเหตุนั้นไปเช่าบ้านจากวัดทันที ต่อมา นางละมัยถึงแก่ความตาย และมีโจทก์เป็นทายาทของนางละมัย
มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า สัญญาขายฝากรายนี้เป็นโมฆะหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า ตามสัญญา ถ้าผู้ขายไม่ไถ่ ผู้ซื้อมีสิทธิรื้อถอนบ้านออกไปได้ จึงเป็นสัญญาขายฝากสิ่งที่ใช้ปลูกสร้างบ้านอันเป็นสังหาริมทรัพย์ หาจำต้องจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ในหนังสือสัญญาระบุชื่อสัญญาว่า ขายฝากสังหาริมทรัพย์ แต่เนื้อหากลับว่า นางแสงอรุณขายทั้งบ้านและที่ดินฝากไว้กับนางละมัย ประกอบกับพฤติการณ์ปรากฏว่า เมื่อนางแสงอรุณไม่ไถ่ นางละมัยก็อาศัยเหตุนั้นไปเช่าบ้านและที่ดินจากวัดต่อ ทั้งในการฟ้องคดีนี้ โจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยจากบ้านและที่ดินด้วย แสดงว่า นางละมัยต้องการรับซื้อฝากบ้านหลังนั้นไว้เพื่ออยู่อาศัย มิใช่เพื่อรื้อถอนไปอย่างสังหาริมทรัพย์ และที่โจทก์ขอให้ขับไล่ ก็เพื่อจะได้เข้าใช้สอยและอยู่อาศัยต่อไปเช่นกัน กรณีจึงเป็นสัญญาขายฝากบ้านในลักษณะอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ย่อมเป็นโมฆะไปตาม ป.พ.พ. ม. 456 ว. 1 ประกอบ ม. 491 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | 1522/2546 | โจทก์ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะถูกจำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉล การซื้อขายจึงเป็นโมฆียะ และโจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือไปบอกล้างโมฆียกรรมนั้นแล้ว แต่ในระหว่างนั้น จำเลยที่ 1 ขายที่ดินดังกล่าวฝากไว้กับจำเลยที่ 2 โดยที่ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 รับทราบถึงกลฉ้อฉลอันจำเลยที่ 1 กระทำต่อโจทก์แต่ประการใด จำเลยที่ 2 จึงชื่อว่า ได้รับซื้อฝากที่ดินมาโดยสุจริตและโดยเสียค่าตอบแทน การที่โจทก์บอกล้างโมฆียกรรมก็มีผลทำให้การซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กลายเป็นโมฆะเท่านั้น แต่หากระทบกระเทือนถึงการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนการขายฝากนั้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | 2498/2550 | ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่า จำเลยขายที่ดินฝากไว้กับโจทก์ เพราะฉะนั้น โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไปตาม ป.พ.พ. ม. 491 แล้ว ซึ่งจำเลยมาอาศัยอยู่บนที่ดินนั้นอีกย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้มีสิทธิไถ่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 132/2523 | เจ้าของรวมคนหนึ่งเอาทรัพย์สินพิพาทไปขายฝาก เจ้าหนี้ของบรรดาเจ้าของรวมทั้งหลายจึงสั่งให้เจ้าของรวมคนอื่น ๆ ไปไถ่ทรัพย์สินคืนมา ดังนี้ ไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิไถ่ เพราะไม่ใช่บุคคลที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิไถ่ เป็นแต่การที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้แทนลูกหนี้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 2018/2530 | ผู้มีสิทธิไถ่นั้น กฎหมายกำหนดตัวไว้ชัดเจนแล้ว แม้โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ขายฝาก ก็ไม่มีสิทธิไถ่ เพราะไม่ใช่บุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จะอ้างว่า ทรัพย์สินขายฝากเป็นสินสมรสซึ่งสามีภริยามีสิทธิด้วยกันคนละครึ่ง แล้วขอใช้สิทธิไถ่นั้นมิได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สินไถ่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 8591/2547 | จำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินฝากไว้กับโจทก์ ในสัญญาระบุว่า ขายฝากกันราคาสามแสนหนึ่งหมื่นบาท แต่ไม่ได้ระบุว่า ให้คิดสินไถ่กันเท่าใด จึงต้องถือเป็นปริยายว่า ให้คิดสินไถ่สามแสนหนึ่งหมื่นบาทตามราคาขาย ตาม ป.พ.พ. ม. 499 (เดิม)
ที่จำเลยต่อสู้ว่า ที่จริงขายฝากกันแค่สองแสนบาท ส่วนที่เขียนไว้ในสัญญานั้นบวกดอกเบี้ยด้วย เมื่อคิดแล้วดอกเบี้ยย่อมสูงกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี เป็นการมิชอบตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ม. 4 (6) ศาลฎีกาเห็นว่า ม. 2 แห่งพระราชบัญญัตินี้ ว่า ให้ใช้พระราชบัญญัติเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พระราชบัญญัติลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2540 สัญญาขายฝากรายนี้ทำเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2541 ก่อนพระราชบัญญัติใช้บังคับ จึงนำพระราชบัญญัตินี้มาปรับใช้แก่คดีไม่ได้ และต้องฟังว่า สินไถ่เท่ากับสามแสนหนึ่งหมื่นบาทดังวินิจฉัยมาแล้ว เมื่อจำเลยไปไถ่บ้านพร้อมที่ดินนั้นในราคาสองแสนสามหมื่นบาท จึงเป็นการไถ่โดยมิชอบ โจทก์มีสิทธิบอกปัดได้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยยังมิได้ใช้สิทธิไถ่โดยชอบนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การไถ่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 2662/2530 | โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายที่ดินพร้อมบ้านฝากไว้กับโจทก์ พ้นเวลาไถ่แล้ว จำเลยไม่ได้ไถ่ถอน ขอให้ขับไล่จำเลยกับบริวารออกจากทรัพย์สินพิพาท จำเลยรับว่า ขายฝากกันและล่วงเวลาไถ่แล้วจริง แต่โจทก์ยินยอมให้จำเลยมาไถ่ในภายหลังอีกได้ และจำเลยกำลังรวบรวมเงินมาไถ่อยู่ ศาลฎีกาเห็นว่า การยินยอมให้ไถ่เมื่อพ้นเวลาไถ่แล้ว มิใช่การขยายเวลาไถ่ แต่เป็นการให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินให้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 5377/2539 | โจทก์ชำระสินไถ่เป็นแคชเชียร์เช็คที่ธนาคารออกให้ เช็คดังกล่าวเปรียบเสมือนเงินสด หากจำเลยสงสัยว่าปลอมหรือไม่มีเงิน ก็สามารถตรวจสอบได้โดยง่าย แต่จำเลยยืนกรานไม่ยอมรับไว้ ย่อมผิดปรกติ ประกอบกับถ้าจำเลยต้องการรับชำระหนี้ด้วยเงินสด ก็ควรระบุไว้ในสัญญาหรือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า ดังนี้ จึงถือได้ว่า จำเลยบิดพลิ้วไม่รับชำระหนี้ และโจทก์ได้ใช้สิทธิไถ่โดยชอบแล้ว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 1370/2544 | โจทก์ฟ้องว่า บิดาขายที่ดินฝากไว้กับจำเลย กำหนดไถ่ภายในหนึ่งปี ต่อมาก่อนครบกำหนด บิดาก็ไถ่ และจำเลยก็รับไถ่ โดยตกลงจะไปจดทะเบียนการไถ่ภายหลัง จนบิดาโจทก์ตาย จำเลยก็ยังไม่จดทะเบียนให้ โจทก์จึงขอให้สั่งให้จำเลยไปจดทะเบียน ถ้าจำเลยไม่ไป ก็ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย จำเลยให้การว่า นับตั้งแต่เวลาไถ่จนถึงเวลาฟ้องคดีนี้ เกินสิบปีแล้ว คดีจึงขาดอายุตาม ป.พ.พ. ม. 193/9
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อบิดาโจทก์ไถ่โดยชอบแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททันที ต่อมาเมื่อบิดาโจทก์ตาย โจทก์เป็นทายาท ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นด้วย และย่อมอาศัยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ติดตามเอาที่ดินคืนได้ทุกเมื่อ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ |
ที่คดีนี้ไม่ขาดอายุความ เพราะตาม ป.พ.พ. ม. 193/9 แล้ว สิทธิเรียกร้องจะเสียไป ถ้าไม่ใช้ภายในอายุความ แต่กรรมสิทธิ์มิใช่สิทธิเรียกร้อง (กรรมสิทธิ์เป็นทรัพยสิทธิ สิทธิเรียกร้องเป็นบุคคลสิทธิ) จึงไม่อยู่บังคับว่า ต้องใช้ภายในกำหนดเวลาใด ๆ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | 5873/2550 | ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท และจดทะเบียนขายที่ดินนั้นฝากไว้กับจำเลย ครั้นพ้นเวลาไถ่แล้ว จำเลยจึงกู้ยืมเงินธนาคารกรุงไทยโดยเอาที่ดินนั้นไปจำนองไว้ ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยปล่อยการครอบครองที่ดิน เพราะตนได้ไถ่แล้ว ศาลฎีกาเห็นว่า ตาม ป.พ.พ. ม. 492 ผู้ไถ่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งไถ่ ก็ต่อเมื่อชำระสินไถ่แล้ว สินไถ่นั้นจะชำระโดยตรงต่อผู้มีหน้าที่รับไถ่ หรือจะนำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ก็ได้ แต่เมื่อปรากฏว่า ผู้ร้องยังไม่ได้ชำระสินไถ่หรือวางสินไถ่ที่สำนักวางทรัพย์ ผู้ร้องจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์คืนไป เมื่อไม่ได้ไถ่โดยชอบภายในกำหนดเวลา กรรมสิทธิ์ย่อมตกแก่จำเลย ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งจำเลยปล่อยที่ดินพิพาท | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||