การใช้วิกิตำรา/สำหรับชาววิกิพีเดีย
วิกิพีเดียเป็นโครงการพี่น้องที่สำคัญสำหรับวิกิตำราและผู้แก้ไขของเราจำนวนมากเริ่มต้นด้วยการเป็นชาววิกิพีเดียก่อนจะมาที่วิกิตำรา แม้ทั้งสองโครงการจะคล้ายคลึงกันหลายอย่างโดยเฉพาะซอร์ฟแวร์ที่ใช้ การที่ทั้งสองโครงการมีความแตกต่างกันไม่มากอาจสร้างความสับสนให้กับชาววิกิพีเดียในช่วงแรกได้ บทนี้จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นคู่มือเริ่มต้นใช้งานอย่างรวดเร็วสำหรับชาววิกิพีเดียเพื่อให้มีความคุ้นเคยกับโครงการวิกิตำรามากขึ้น
หนังสือตำรากับบทความสารานุกรม
แก้ไขเป็นที่ชัดเจนว่ามีหลายสิ่งใน "หนังสือตำรา" ที่แตกต่างจาก "สารานุกรม" ทั้งที่เป็นรูปเล่มและออนไลน์ ในขณะที่สารานุกรมแสดงถึงข้อมูลสารสนเทศแต่หนังสือตำราจะต้องชี้นำให้กับผู้อ่านและสั่งสอนถึงข้อมูลนั้นในแนวทางที่ทำให้ผู้อ่านสามารถเรียนรู้ได้ เมื่อมีขนาดเท่ากันหนังสือตำรามักจะแสดงข้อมูลน้อยกว่าแต่มีคำอธิบายและคำแนะนำมากกว่าสารานุกรม
หนังสือตำราในวิกิตำราควรมีโครงสร้างคล้ายกับหนังสือตำราแบบดั้งเดิม ตำราประกอบด้วยสารบัญและเนื้อหาของตำราถูกแบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ในแต่ละหน้า ตำราบางเล่มอาจมีแค่หน้าเดียวโดยไม่มีบทหรือใช้การจัดการเพื่อแบ่งเนื้อหาอื่น เช่น "หน่วย" และ "บทย่อย" โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ประพันธ์ อย่างไรก็ตาม ส่วนที่สำคัญคือตำจะถูกจัดเรียงตามลำดับชั้นโดย "ตำรา" จะอยู่ในลำดับชั้นบนสุดและ "หน้า" จะอยู่ในลำดับล่าง เนื่องจากโครงสร้างลำดับชั้นและข้อจำกัดของตำราเอง ทำให้ตำราของเรามีแนวโน้มที่จะใช้การเชื่อมโยงหลายมิติน้อยกว่าบทความในวิกิพีเดีย
ตำราของวิกิตำราและอาจรวมถึงตำราแบบดั้งเดิมอื่น ๆ มีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้
- หน้าปก
- หน้าที่มีชื่อของตำรา ภาพปกและข้อมูลอย่างย่อ
- คำนำ
- หน้าที่เขียนเกี่ยวกับผู้ประพันธ์หรือเกี่ยวกับตำราเล่มนี้
- อภิธานศัพท์
- หน้าสำหรับอธิบายคำและวลีที่ใช้ในตำรา
- ภาคผนวก
- หน้าที่แสดงข้อมูลเพื่อขยายคำอธิบายหลักในตำราซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจต่อเนื้อหาที่ถูกต้อง
การจัดระเบียบและโครงสร้างนั้นไม่เพียงพอที่จะแยกความแตกต่างระหว่างหนังสือตำรากับบทความสารานุกรม อย่างไรก็ตามหน้าในหนังสือตำราควรที่จะมีความสัมพันธ์กับหน้าอื่น ซึ่งโดยปกติหนังสือตำราจะกำหนดลำดับการอ่านไว้อยู่ก่อนและบรรยายจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่งอย่างต่อเนื่อง หนังสือตำราไม่ใช่สารานุกรมเชิงลึกที่เป็นแหล่งรวบรวมบทความสารานุกรมหลายบทความที่มีความสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตามมีตำราบางกลุ่มเช่นตำราอาหารที่มีลักษณะโครงสร้างเป็นแหล่งรวบรวมของหน้าโดยเป็นข้อยกเว้นนอกเหนือจากกฎระเบียบอื่น ๆ ถ้าตำราไม่มีการกำหนดลำดับการอ่านและการอธิบายหลัก ตำรานั้นก็ควรมีลักษณะที่เป็น สื่อการเรียนการสอนเป็นอย่างน้อย
"ลิงก์ตำรา" และการจัดรูปแบบคล้ายตำรา
แก้ไขตำราหลายเล่มเริ่มเขียนขึ้นโดยคล้ายกับบทความในสารานุกรมหรือสารานุกรมเชิงลึก ถึงแม้ว่าสารานุกรมเชิงลึกไม่ใช่หนังสือตำราที่ยอมรับได้แต่ก็เป็นเรื่องปกติและยอมรับบางตำราที่มีโครงสร้างเหมือนกับสารานุกรมเชิงลึกที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาโดยมีเหตุผลหลายหลายประการสำหรับประเด็นนี้ อย่างแรกคือตำราส่วนมากถูกสร้างขึ้นด้วยการนำเข้าบทความจากวิกิพีเดียเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับสร้างตำราใหม่ อย่างที่สองคือบ่อยครั้งที่ผู้ใช้มักจะเขียนข้อมูลลงไปก่อนแล้วค่อยจัดระเบียบและปรับปรุงใหม่ในภายหลัง การเขียนคำอธิบายหลักอาจเป็นเรื่องยากในช่วงแรกของการเขียนตำราเมื่อลำดับการอ่านของหน้ายังไม่เสร็จ สารานุกรมเชิงลึกที่อยู่ระหว่างการพัฒนาจะถูกแจ้งเพื่อเก็บกวาดและสารานุกรมเชิงลึกที่เก่ามากหรือไม่ได้เขียนต่อมานานอาจถูกพิจารณาเพื่อลบ
ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น หน้าในหนังสือตำราของวิกิตำรามักใส่ลิงก์เพียงเล็กน้อย มีเหตุผลสองสามอย่างประการสำหรับประเด็นนี้ อย่างแรกคือตำราต้องมีเนื้อหาอยู่ในตัวตำราเอง การใส่ลิงก์มากเกินไปหมายความว่าตำราของคุณมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร นอกจากนี้แหล่งข้อมูลภายนอกก็ไม่อาจใช้ในการสอนได้เหมือนกับตำรา อย่างที่สองคือการใส่ลิงก์มากเกินไปหรือใส่ลิงก์ในกลางประโยคอาจทำให้ผู้อ่านเสียสมาธิและขัดขวางไม่ให้ผู้อ่านไล่อ่านคำอธิบายของตำราและเรียนรู้บทเรียนได้อย่างเหมาะสม