การเลี้ยงสุนัขหัวใจสำคัญที่สุดคือ การรักเค้าให้มากที่สุดเลี้ยงดูเค้าให้มากที่สุดและเค้าก็จะรักคนเหมือนกับที่คุณรักเค้า

วิธีเลี้ยงง่ายมากๆเลยค่ะ


ขอต้อนรับเข้าสู่โลกของลูกสุนัข

ลูกสุนัขที่ได้มาใหม่จะนำความปิติมาสู่คุณนานหลายปี ในวันข้างหน้าเขาจะมาเป็นสหายที่ใกล้ชิด เพื่อนเล่นที่เป็นมิตรที่ไว้ใจได้ อย่างไรก็ตาม หากปราศจากความพยายามสิ่งนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น คุณควรเริ่มฝึกเขา ตั้งเต่ยังเล็กอยู่ เพื่อต้อนรับเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัว ก็เหมือนๆกับเด็กทารกนั่นเอง ลูกสุนัขที่ได้มาใหม่ ต้องการอาหาร การหลับนอน การเล่นและการฝึกที่สม่ำเสมอ ซึ่งก็หมายความว่าเขาต้องการการดูแล และเอาใจใส่อย่างมาก เราตระหนักดีว่าเจ้าของลูกสุนัขที่มาใหม่มีความผูกพันกันอย่างมาก เราจึงนำท่านและลูกสุนัขมาอยู่ด้วยกันเพื่อจะได้เริ่มต้นอย่างถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วยเคล็ดลับเบื้องต้นเกี่ยวกับในวันแรกที่เขาเข้ามาอยู่ในบ้าน เป็นต้นว่า ที่อยู่ของลูกสุนัข การเคี้ยวและการฝึกในบ้าน เป็นต้น


ที่อยู่ของลูกสุนัข

ลูกสุนัขต้องการที่อยู่ที่เป็นส่วนตัว หากล่องหรือที่นอนสำหรับสุนัขไว้ในคอกที่อบอุ่นและมีมุมที่ไม่มีลมโกรก (กรงสุนัขที่ใช้ในเวลาการเดินทางจะได้เปรียบ เพราะสามารถนำมาใช้ได้ตลอดอายุขัยของเขา ถ้าจะซื้อมาใช้ ต้องให้มีขนาดใหญ่พอเมื่อเขาโตเต็มที่) เขาจะใช้กรงเป็นสถานที่พักผ่อนนอนหลับและรู้สึกปลอดภัยและอุ่นใจ เอากล่องกระดาษหรือกล่องไม้วางด้านข้างลงทำเป็นเตียงนอนที่มิดชิด เขาก็จะยิ่งรู้สึกปลอดภัย เหตุผลก็คือว่า บรรพบุรุษซึ่งคล้ายกับหมาป่าของเขาเคยอาศัยถ้ำเป็นบ้านพัก โดยสัญชาตญาณลูกสุนัขก็จะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยในที่ที่คล้ายกับถ้ำ อาจจะปูพื้นด้วยผ้าเช็ดตัว หรือผ้าห่มเก่าๆที่อยู่ของเขาก็จะสมบูรณ์แบบ เมื่อเขาอยู่ในที่ของเขา อย่าได้รบกวนหรือดึงตัวเขาออกมา ควรให้เขาออกมาเองอย่าให้เด็กๆ รบกวนหรือเย้าแหย่เขาเล่น เขาต้องการความรู้สึกปลอดภัยถ้าเขาอยู่ในที่ของเขา อย่ากักขังเขาในกรงเป็นเวลานานๆ ถ้าเขาทำอะไรผิดก็อย่าได้ไล่เขาเข้าไปในกรง การทำอย่างนั้นจะทำให้เขารู้สึกว่ามันเป็นที่ทำโทษเขา แทนที่จะเป็นสถานที่พักที่มีความสุขสบาย คุณควรจะรู้สึกสบายใจที่ลูกสุนัขมีที่ของตัวเอง เขาจะไปงีบหรือขดตัวนอนอย่างมีความสุขตลอดคืน โดยไม่เห่าหรือร้องคราง และคุณก็รู้ว่าเขาจะไม่ก่อความเดือดร้อนให้แม้คุณจะไม่คอยเฝ้าดูเขาก็ตาม


การเคี้ยว

ฟันของลูกสุนัขจะขึ้นอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 ถึง 6 เดือน ในช่วงนี้ควรจะให้ อะไรเขาเพื่อขบเคี้ยว เพื่อช่วยในการขึ้นของฟัน ลูกสุนัขจะกัดสิ่งของโดยไม่เลือก เขาไม่รู้ว่านั่นคือรองเท้าคู่ที่ดีที่สุดของคุณ หรือมันคือขาโต๊ะที่เป็นวัตถุโบราณเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากลูกสุนัข ขอแนะนำให้หาของขบเคี้ยวที่ไม่แตกหักหรือเป็นภัยกับลูกสุนัขเพื่อจะขบเคี้ยวเล่น เช่น ลูกบอลยางที่โตและแข็งพอที่เขาจะกลืนไม่ได้ หรืออาจจะเป็นกระดูกเทียม คุณอาจจะให้รองเท้าเก่าๆ หรือวัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรองเท้าเหมือนของคน เพราะสุนัขคิดว่าจะเป็นรองเท้าอะไรก็ได้ทั้งนั้นเพื่อความสนุกสนาน อย่าให้กระดูกจริงทั้งสุกและดิบก็ตาม เพราะกระดูกแตก ทำให้เกิดบาดแผลในปากหรือติดคอในขณะที่เขากลืนเศษกระดูกเข้าไป หาทางทำให้กระดูกเทียมและลูกบอลเป็นที่ดึงดูดสำหรับลูกสุนัข โดยที่คุณนำสิ่งเหล่านั้นมาเล่นเกมส์กับเขา เมื่อไรก็ตามหากลูกสุนัขเขาเริ่มจะกัดแทะสิ่งของที่ต้องห้ามก็รีบนำกระดูกเทียมหรือลูกบอลให้แทน ออกคำสั่งว่า "อย่า" อย่างขึงขังแล้วนำสิ่งของที่มีค่าออกห่างจากเขา เมื่อเห็นว่าเขาเริ่มกัดแทะของที่เราให้เขา ก็ให้กล่าวชมความประพฤติที่ดี แล้วจะรู้สึกว่าจะมีการตอบสนองอย่างมีความสุข ช่วยให้ลูกสุนัขให้อยู่ห่างไกลจากสิ่งที่เป็นโทษ เป็นต้นว่า น้ำยาทำความสะอาดทินเนอร์ สารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน และสิ่งของที่มีอันตราย โดยเก็บสิ่งเหล่านั้นในตู้ที่ล็อกกุญแจได้


การฝึกในบ้าน

ควรฝึกลูกสุนัขโดยทันที เริ่มจากการให้อาหารลูกสุนัขเป็นเวลาและพาออกไปเที่ยวนอกบ้านบ่อยๆ ถ้าหากคุณเลี้ยงลูกสุนัขของคุณด้วยอาหารของลูกสุนัขของยูคานูบาหรืออามส์สำหรับลูกสุนัข จะพบว่าเวลาในการฝึกจะสั้นลงเนื่องจากการให้อาหารและการขับถ่ายจะเป็นกิจวัตรจะมีสิ่งบอกเหตุซึ่งคุณคุณต้องคอยสังเกตว่า ถึงเวลาที่จะต้องนำลูกสุนัขออกไปนอกบ้าน ในกรณีที่ลูกสุนัขเดินไปตามพื้นเป็นรูปวงกลม นั่งหรือร้องครางอยู่ที่ประตู หรือถ้าคุณมองเห็นสุนัขของคุณมองคุณด้วยสายตาวิงวอน และกระวนกระวาย นั่นแสดงว่าเป็นเวลาที่คุณควรจะนำเขาออกไปข้างนอกหลังจากที่ลูกสุนัขปัสสาวะเสร็จ ให้ชมเขาอย่างเงียบๆ แล้วนำเขาเข้ามาในบ้านในไม่ช้าเขาก็จะเชื่อมโยงการปัสสาวะนอกบ้านกับคำชมเชยของคุณ

เมื่อไหร่ถึงจะพาลูกสุนัขออกไปนอกบ้าน - หลังจากพระอาทิตย์ขึ้นเพียงเล็กน้อย สำหรับลูกสุนัขส่วนใหญ่ - หลังจากการงีบของเขา - หลังจากกลับบ้านมาหาเขา ซึ่งปล่อยให้อยู่โดยลำพัง - หลังอาหารโดยทันที - หลังจากที่คุณจะพักผ่อน เมือไรก็ตามที่ลูกสุนัขจ้องมองคุณ

แล้วเขาก็กระตือรือร้นที่จะเอาใจคุณ บางครั้งอาจจะพบว่ามีการขับถ่ายเลอะเทอะ คุณก็ไม่ควรขึ้นเสียงหรือตบตีเขาหรือจับเขาดมสิ่งที่เขาขับถ่ายออกมา ในขณะที่เขาอาจจะหมอบคุดคู้ด้วยความหวาดกลัว เขายังเล็กเกินไปที่จะโดนการดุว่าในเรื่องการขับถ่ายที่เลอะเทอะ ถ้าคุณพบเขากำลังถ่ายอยู่ ก็จงรีบนำเขาออกไปนอกบ้านเพื่อให้เขาขับถ่ายจนสุดแล้ว ให้กล่าวชมในความพยายามของเขา การทำความสะอาดสิ่งขับถ่ายที่เลอะเทอะ สารดับกลิ่นและสารขับไล่แมลงจะช่วยได้มาก อย่าใช้สารทำความสะอาดที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนผสม แม้ว่าในทางเคมีแอมโมเนียและยูรีน จะมีส่วนคล้ายคลึงกันเมื่อทำความสะอาด ควรจะต้องให้แห้งสนิท หาไม่แล้วลูกสุนัขของคุณจะกลับมาสูดดมกลิ่นที่ทำให้เลอะเทอะและอาจจะถูกกระตุ้นให้ทำความเลอะเทอะอีก


ความพร้อมในการเลี้ยงสุนัข

  1. ความพร้อมของสถานที่ การเลี้ยงสุนัขต้องมีสถานที่หรือบริเวณสำหรับให้สุนัขวิ่งเล่นออกกำลังกายบ้าง อย่าปล่อยให้สุนัขอยู่ในที่แคบ สิ่งแวดล้อมไม่ดี มันจะรู้สึกซึมและส่งเสียงคราง อุปนิสัยผิดไป ดังนั้นผู้เลี้ยงสุนัขควรคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสถานที่ให้พอเหมาะกับสุนัขด้วย
  2. ความพร้อมของผู้เลี้ยง ผู้เลี้ยงควรสำรวจตัวเองเสียก่อนกว่า ชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร และมีเวลาให้กับสุนัขหรือไม่ เช่น ถ้าสถานที่แคบไม่มีบริเวณที่จะปล่อยให้สุนัขวิ่งเล่น แต่อยากจะเลี้ยงสุนัขมากจึงขังกรงเอาไว้ ก็จะไม่ได้อะไรขึ้นมา ผู้เลี้ยงจะได้รับเพียงเสียงเห่าที่หนวกหูเท่านั้น ผู้เลี้ยงต้อยมีเวลาพามันออกกำลังวิ่งเล่นบ้าง คอยฝึกสอนบางสิ่งบางอย่างที่เป็นพื้นฐานต่าง ๆ ให้สุนัข จะทำให้สุนัขที่เลี้ยงมีคุณค่ามากขึ้น เช่นการนั่งคอย การไหว้ ไม่ขโมยอาหารและกินมูมมาม
  3. ความรัก การเลี้ยงดูสุนัขต้องมีความรัก ความจริงใจและเสมอต้นเสมอปลายด้วย เพราะบางคนนำสุนัขมาเลี้ยงขณะที่ยังเป็นลูกสุนัข มีความน่ารักขนปุกปุย ขี้เล่น แต่พอสุนัขโตขึ้นความน่ารักดังกล่าวก็จะค่อย ๆ หายไป นิสัยใจคอเปลี่ยนไป รูปร่างขนที่ปุกปุยก็จะหยาบ ขายาว ตัวโตขึ้น หมดความน่ารักลง ทำให้ไม่อยากเอาใจใส่และไม่เล่นกับมัน แต่สุนัขไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงนี้ยังคงทำในสิ่งที่เคยทำ เช่น อยากจะให้อุ้ม แล้วตะกุยตะกายให้อุ้ม แต่เรามักไม่เข้าใจก็ทำโทษมันด้วยความโมโหและรำคาญที่ถูกเล็บข่วนเป็นเป็นแผล หรือทำให้เสื้อผ้าสกปรก จึงทำโทษด้วยการดุหรือเฆี่ยนตี ทำให้สุนัขเข็ดกลัวไม่อยากเข้าใกล้ หรือคอยหลบ ๆ ซ่อน ๆ ทำให้สุนัขที่เคยน่ารักหมดคุณค่าไป
  4. ความเอาใจใส่ในชีวิตประจำวัน เมื่อสุนัขเกิดอาการไม่สบาย มันไม่สามารถบอกเล่าอาการต่าง ๆ ได้เหมือนคน จึงต้อยคอยสังเกต เอาใจใส่ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้สุนัขมีความเป็นอยู่ที่ดี นอกเหนือไปจากการให้อาหารและน้ำดื่มที่สะอาดแล้ว ต้องคอยสังเกตว่าสุนัขมีสุขภาพอย่างไร ในเรื่องของการขับถ่าย ท้องเสียหรือไม่ มีกิริยาท่าทางร่าเริงหรือหงอย ซึม ไม่สบาย มีแปล มีเห็บหมัดรบกวนหรือไม่ หากพบสิ่งผิดปกติต้องรีบช่วยเหลือทันที

ที่อยู่ที่นอน กลับขึ้นข้างบน

สุนัขควรมีที่หลับนอนของมันเองที่เป็นที่เป็นทางและเป็นสัดส่วน จะเลี้ยงสุนัขไว้ในบ้านหรือนอกบ้านก็แล้วแต่ความพร้อมของเจ้าของและสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ส่วนใหญ่หากมันยังเล็กก็นิยมเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อสะดวกในการดูแล และทำให้มันสนิทสนมกับคนในบ้านได้ง่าย แต่ต้องคอยดุแลเรื่องการขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทาง จัดที่นอนสำหรับลูกสุนัขไว้ในลังไม้หรือตะกร้าตั้งไว้มุมห้องเงียบ ๆ สักมุมหนึ่ง หรืออาจใช้เพียงผ้าผวยเก่า ๆ หรือเศษผ้านุ่ม ๆ หลายชั้นทำเป็นที่นอนขนาดเล็กใหญ่ ก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม

หากมีอาณาบริเวณบ้านมากพอ หรือต้องการเลี้ยงไว้นอกบ้าน ซึ่งมันก็ต้องการที่คุ้มแดดคุ้มฝน หรือหลบร้อนตอนกลางวัน การสร้างคอกหรือกรงเลี้ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็น ขนาดกรงควรกว้างพอให้มันเหียดตัวหรือกลับตัวได้ง่ายและสูงพอที่มันจะยืนได้ บริเวณที่ตั้งกรงหรือคอกเลือกเอาที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้ดีไม่อับชื้น และควรติดมุ้งลวดเพื่อกันยุงและแมลงให้มันด้วย

การอาบน้ำ กลับขึ้นข้างบน

ตามปกติไม่นิยมอาบน้ำให้ลูกสุนัขบ่อยเกินไป เพราะจำทำให้น้ำมันที่เคลือบเส้นขนหมดไป ทำให้ผิวหนังและเส้นขนแห้งไม่เป็นมัน เกิดอาการคัน สุนัขจะกัดหรือเกาให้เป็นแผล นอกจากนี้สุนัขยังแพ้ต่อการเป็นโรคทางระบบหายใจ โดยเฉพาะ จะเป็นโรคปอดบวมได้ง่าย เพราะฉะนั้นหาไม่จำเป็นจริง ๆ แล้วก็ไม่ควรอาบน้ำให้สุนัขสำรับลุกสุนัขอาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดให้แห้งตามตรงที่ตัวสกปรก หรือใช้แปรงและการหวีขนบ่อย ๆ ก็จะรักษาความสะอาดได้ดีโดยไม่ต้องอาบน้ำ เมื่อสุนัขโตขึ้นอาจจะอาบน้ำให้ด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นให้เพียงอาทิตย์ละครั้งก็พอ หรือเมื่อเห็นว่ามันสกปรกมาก มีกลิ่นเหม็นแล้ว การอาบน้ำควรอาบให้ในเวลาที่มีแดดออก อากาศไม่หนาวมาก ใช้สบู่หรือแชมพูอย่างอ่อน ถูให้ทั่วตัวและหัว ระวังไม่ให้ฟองสบู่เข้าตาและน้ำเข้าหู จากนั้นต้องล้างสบู่ออกให้หมด เพราะถ้าล้างออกไม่หมดจะทำให้เกิดการคันจนสุนัขเกาเป็นแผล เสร็จแล้วจึงเช็ดตัวสุนัขให้แห้ง

การกำจัดและป้องกันเห็บ กลับขึ้นข้างบน

เห็บ หมัดและแมลง เป็นพาหะนำโรคบางชนิดมาสู่สุนัข ถึงแม้ไม่เกิดโรคก็จะทำความรำคาญให้สุนัขมาก เห็บหรือหมัดที่มีในสุนัขส่วนมากมักเกิดจากเจ้าของที่ไม่ดุแลสุนัขเท่าที่ควร

หมัด หรือเห็บมักเกาะกินเลือดอยู่ตามบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ ของสุนัข เช่น รอบคอ ริมฝีปาก บริเวณหลังเลยหางขึ้นไป ตามซอกเล็บ และตามบริเวณก้นการกำจัดเห็บ หมัด อาจใช้น้ำมันสนหยดลงไปให้ถูกตัวเล็กน้อย จะทำให้มันหลุดออกมา หากดึงหมัดหรือเห็บขณะที่มันกำลังกัดติดอยู่กับบริเวณผิวหนังแรง ๆ อาจทำให้ผิวสุนัขเป็นแผล การป้องกันกำจัดเห็บหรือหมัดอาจใช้วิธีรักษาความสะอาดตัวสุนัข ใช้อุปกรณ์ในการกำจัดเห็บ เช่น ยกกำจัดเห็บ แป้งกำจัดเห็บ แชมพูกำจัดเห็บ ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์หรือทำด้วยความระมัดระวัง ควรทำการจับหมัดหรือเห็บทุก ๆ อาทิตย์ และทำความสะอาดที่นอนสุนัขด้วย แต่การฆ่ากำจัดเห็บเฉพาะที่ตัวสุนัข ไม่สามารถแกปัญหาได้ตลอด เพราะเห็บหรือหมัดเล่านี้จะอาศัยอยู่บริเวณที่อยู่ของสุนัข ดังนั้นควรใช้ยาฆ่าเห็บผสมกับน้ำผสมกับน้ำราดตามบริเวณที่สุนัขอาศัยอยู่ด้วย การกำจัดสิ่งเหล่านี้จะต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะประสบความสำเร็จ

การทำหมัน กลับขึ้นข้างบน

หากไม่ต้องการให้มีลูกสุนัขเกิดเกินจำนวนที่จะเลี้ยงได้ หรือเพื่อเสี่ยงกับการผสมพันธุ์ในครอกได้ลุกสุนัขผิดลักษณะควรทำหมันให้กับสุนัข นอกจากนั้น การทำหมันจะช่วยลดควมวุ่นวายเนื่องจากพฤติกรรมของสุนัขในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วยการทำหมันสุนัขตัวผู้สามารถกระทำได้เมื่ออายุ 7-8 เดือนขึ้นไป สำหรับตัวเมียควรทำเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป หรือหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรกไปแล้ว 1 เดือน และไม่ควรทำหมันเมื่อสุนัขมีอายุมากแล้ว

การป้องกันโรค กลับขึ้นข้างบน

ผู้เลี้ยงควรต้องมีเวลาให้กับสุนัข เพื่อทำความคุ้นเคยและศึกษาสุนัขแต่ละตัว ต้องคอยเอาใจใส่สังเกตความเป็นอยู่ การกินอาหาร การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นอกจากนี้ควรจะต้องมีความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับสุนัข โรคต่างๆ เมื่อสุนัขเกิดอาการเจ็บป่วยจะได้นำไปรักษาได้ทันทีโรคที่เกิดกับสุนัขมีหลายชนิดและมักเกิดการระบาดอยู่เสมอทุกปี หลายโรคอาจร้ายแรงทำให้สุนัขพิการหรือเสียชีวิต ทั้งอาจติดต่อถึงคนภายในบ้านด้วย การหมั่นเอาใจใสในตัวสุนัขและดูแลสุขภาพทั่วไปของสุนัขจึงเป็นฯการป้องกันโรคเบื้องต้นที่ดีที่สุด อาการของสุนัขที่เริ่มป่วยสังเกตได้จาก อาการเซื่องซึม , ไม่ร่างเริงแจ่มใส , ไม่กินอาหารหรือกินอาหารน้องลง , อาเจียน , มีอาการท้องร่วง , ท้องผูก , ผอมลง , ขนหยาบกระด้าง , ผิวหนังเป็นผื่นแดง , ตาแฉะ , จมูกแห้งหรือมีน้ำมูก หากสุนัขมีอาการดังกล่าว ควรทำการรักษาหรือนำสุนัขไปหาสัตวแพทย์โรคสุนัขหลายโรคสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลาที่เหมาะสม หลังการฉีดวัคซีนควรงดอาบน้ำภายใน 1 สัปดาห์ เพราะสุนัขอาจมีไข้เล็กน้อยจากปฏิกิริยาต่อวัคซีน ดูแลให้สุนัขกินยาตามเวลาที่สัตวแพทย์กำหนด รวมทั้งควรแยกสุนัขตัวที่ป่วยออกจากตัวปกติ สิ่งที่ช่วยให้สุนัขรอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บได้อีกประการหนึ่งคือ การรักษาความสะอาด ทั้งของสุนัขและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย กำจัดเห็บ หมัด ยุง หนู หรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะเหล่านี้

กำหนดการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคของสุนัข กลับขึ้นข้างบน

อายุ ข้อปฏิบัติ

3 สัปดาห์ ตรวจอุจจารและถ่ายพยาธิ

2 เดือน ฉีดวัคซีนป้องอกันโรคไข้หัดสุนัข โรคพาร์โวไวรัส เลปโตสไปโรซีส ตับอักเสบติดต่อ

3 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และถ่ายพยาธิ

4 เดือน ฉีดซ้ำเช่นเดียวกับเมื่ออายุ 2 เดือน

วิธีการสังเกตดูลักษณะของสุนัขที่ดี มีดังต่อไปนี้

  1. ส่วนหัวไม่มีรอยยุบ บวม หัวมีลักษณะสมดุลกัน
  2. ตา ทั้ง 2 ข้าง มีขนาดเท่ากันทั้ง 2 ข้าง มีประกาย สดใส สนใจในสิ่งแวดล้อม
  3. หู ตรงตามลักษณะของสายพันธุ์ รูปร่างได้ขนาด ไม่เป็นแผล
  4. จมูกชื้นเป็นมัน จับดูต้องเย็น เวลาเดินต้องดมกลิ่นไปด้วย
  5. ปากและฟันต้องไม่ฉีกหรือแหว่ง เหงือกสีชมพูสดใส ฟันมีการเรียงตัว เป็นระเบียบ
  6. ผิวหนังมีความยืดหยุ่น เวลาดึงผิวหนังขึ้นแล้วปล่อยต้องคลายตัวทันที ไม่มีรังแค
  7. ขนเป็นประกายเงางามอ่อนนุ่ม
  8. ลำตัว ควรเป็นทรงกระบอก อกมีกล้ามเนื้อแข็งแรง ไหล่ 2 ข้าง สมดุลกันท้องไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
  9. ทวารหนัก ต้องไม่บวมหรือแดง ไม่ควรมีเศษอุจจาระติดโดยรอบ
  10. เท้าขนานกันเวลายืน ปลายเท้าไม่บิดเข้าหรือออก ปลายนิ้วไม่งุ้ม ขาหลังไม่ลาดเอียงเกินไป
  11. อวัยวะสืบพันธุ์ เพศผู้ต้องตรวจดูว่ามีลูกอัณฑะครบ 2 ข้าง เพศเมียต้องตรวจรูอวัยวะสืบพันธุ์ปกติ
  12. ท่าทางและอารมณ์ควรจะร่าเริง ขี้เล่น อยากรู้อยากเห็น

สุนัขมีความต้องการต่างๆดังนี้ - ที่อยู่อาศัยและการปกป้องรักษา - อาหารที่ถูกต้องตามหลักอนามัยในปริมาณที่เหมาะสม - น้ำดื่มที่สะอาดดื่ม - การออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ - เพื่อนเล่น

หลายปีมาแล้วที่ผม เริ่มพัฒนาการนวดจนได้มาตราฐานเป็นที่ยอมรับในวันนี้ แต่เมื่อหวลคิดถึงก้าวแรกแล้วก็เหมือนกับมันเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ การจะทำอะไรสักอย่างที่เป็นเรื่องใหม่ เป็นนวัตกรรมใหม่ต้องใช้เวลาในการทอลอง อย่างภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า ( Innovation ) ไม่ใช่เรื่องง่ายมักผ่านเหตุการณ์ที่ทั้งร้ายและดีมานับไม่ถ้วนแยงกี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์เลวร้ายนั้นที่ผมไม่มีวันลืมไปจนชั่วชีวิต หลังจากทดลองนวดแยงกี้หมาชเนาว์เซอร์รูปหล่อของผม มันตกใจวิ่งเตลิดหนีไปทางประตูหน้าบ้านในขณะที่รถยนต์วิ่งผ่านหน้าบ้านขวักไขว่ อนิจจาผมลืมปิดประตูรั้ว ได้สติก็วิ่งกวดตามไปติดๆ

“ แยงกี้ รถยนต์...ระวัง ” รถเก๋งฮอนด้าสีแดงราวสีเลือด วิ่งเร็วปานมนุตญูเข้าชนร่างสุนัขอย่างแรงเหตุการณ์เกิดขึ้นเร็วเกินกว่าที่ผมและภรรยาจะตั้งตัวติด เสียงร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดปวดหัวใจผมสุดขั้ว รถฮอนด้าเสียหลักเล็กน้อยก่อนเปลี่ยนเกียร์ออกรถไปอย่างรวดเร็วไม่ใส่ใจว่าได้ทิ้งร่างหนึ่งนอนจมกองเลือดอยู่ เลือดสีแดงไหลนองพื้น

“ แยงกี้เป็นอะไรบ้าง...ฮื้อๆ ” ภรรยาผมร้องไห้ อนาถกับร่างสุนัขที่ร่างเละนอนจมกองเลือดอยู่กลางถนน กลิ่นคาวเลือดฟุ้งกระจาย ไส้แตกออกมากองข้างลำตัว

“ ไม่ใช่แยงกี้นี่....แยงกี้อยู่ไหน ” ผมวิ่งตามมาพบว่าสุนัขที่นอนจมกองเลือดเป็นหมาไร้วิญญานอยู่นั้นไม่ใช่แยงกี้ เมื่อไม่ใช่เราก็มองหาแยงกี้ทันที

“ นั่นไงแยงกี้ ” ลูกชายของผมชี้ไปที่ชเนาว์เซอร์รูปหล่อ นอนหมอบคอตกซุกตัวอยู่โคนต้นมะม่วง หัวใจของผมแทบแตกสลาย หากแยงกี้ถูกรถชนไปชาตินี้คงไม่สามารถให้อภัยตัวเองได้ และอาจล้มเลิกการทดลองการนวดแผนโบราณสุนัขตั้งแต่นั้น เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างบทเรียนบทแรกให้ผม ทำอะไรอย่าได้ประมาทควรรอบคอบกว่านี้การทดลองทุกขั้นตอนถูกจดบันทึกผลของการนวดตลอดละเอียดยิบการเฝ้าระวังดูปฏิกิริยาสุนัขหลังจากการนวด การลำดับการนวด ทดลองด้านการนวดแบบใช้เวลายาวๆ เช่น 3 ชั่วโมง 5 ชั่วโมง หรือสั้นๆอย่าง 1 ชั่วโมง จน 5 นาที ทำแล้วจด จดแล้ววิเคราะห์ติดตาม เทียบเคียงจากพันธุ์เล็กไปจนพันธุ์ใหญ่ จากพันธุ์น่ารักไปจนถึงพันธุ์ดุ คิดอยู่อย่างเดียวว่าต้องทำให้สำเร็จเพราะถ้าทำให้สำเร็จเพราะถ้าทำสำเร็จนั่นก็หมายความว่า สุนัขจะสบายไปอีกนาน สุนัขที่มีปัญหาด้านความเครียดจะได้รับการแก้ไขในที่สุด

ด้านวิชาการก็ไม่หยุดนิ่ง ผมหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตในเรื่องศาสตร์ของการนวดทั่วโลกค้นหางานวิจัยในต่างประเทศที่เขานวดสุนัข สอบถามผู้รู้ เซี่ยนสุนัข สัตว์แพทย์ ควบคู่ไปกับการทดลอง

การใช้สมุนไพรร่วมด้วย เช่น น้ำมันหอมระเหย ลูกประคบ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องรู้จริงศึกษาอย่างถ่องแท้ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้ผลอย่างแท้จริงแล้วเวลาที่ทุ่มเททั้งหมด......ก็ทำให้ผมค้นพบสิ่งมหัศจรรย์

บทความโดย อ.อนุพันธ์ บุญชื่น ผู้พัฒนาการนวดสุนัขแผนโบราณคนแรกของโลก

  1. เคล็ดลับน่ารู้

เมื่อลูกสุนัขอายุ 6-8 สัปดาห์ ควรนำมาตรวจร่างกายโดยสัตวแพทย์ และรับคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงดู ดังนี้

  1. ทำการตรวจร่างกายทั่วไปโดยละเอียด ชั่งน้ำหนักและจดบันทึกประวัติสัตว์
  2. ตรวจหาพยาธิภายนอกร่างกาย

- ตรวจหาหมัด เห็บและไรในหู - ตรวจหาตัวไรขี้เรื้อนเปียกและขี้เรื้อนแห้ง - ตรวจหาเชื้อรา

  1. ตรวจหาอุจจาระลูกสุนัข
  2. เริ่มโปรแกรมการป้องกันโรคพยาธิหัวใจในสุนัข
  3. ให้ยาถ่ายพยาธิ
  4. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้หัดสุนัข โรคตับอักเสบ โรคฉี่หนูและโรคลำไส้อักเสบ
  5. ให้คำแนะนำเรื่องอาหารที่เหมาะสม การแปรงขน ดูแลความ สะอาดของหัวใจ

• เมื่อลูกสุนัขอายุ 12 สัปดาห์ ควรนำมาตรวจร่างกายครั้งที่ 2 และฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญซ้ำเป็นเข็มที่ 2 และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แนะนำเรื่องอาหาร การเลี้ยงดู อาบน้ำหวีขน ตลอดจนให้คำแนะนำในเรื่องการฝึกหัดลูกสุนัขและการ อบรมนิสัยของลูกสุนัขและเน้นการให้ลูกสุนัขออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยการจูงเดินหรือวิ่งเล่น เมื่อลูกสุนัขอายุ 16 สัปดาห์ ควรนำมาตรวจร่างกายครั้งที่ 3 และฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคลำไส้อักเสบติดต่อเป็นเข็มที่ 3

• เมื่อลูกสุนัขอายุ 6 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ควรนัดหมายให้เจ้าของนำสุนัขมาตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนทุกชนิดซ้ำปีละ 1 ครั้ง เคล็ดลับน่ารู้วันนี้ เห็บ หมัดและแมลง เป็นพาหะนำโรคบางชนิดมาสู่สุนัข ถึงแม้ไม่เกิดโรคก็จะทำความรำคาญให้สุนัขมาก เห็บหรือหมัดที่มีในสุนัขส่วนมากมักเกิดจากเจ้าของที่ไม่ดุแลสุนัขเท่าที่ควร

หมัด หรือเห็บมักเกาะกินเลือดอยู่ตามบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ ของสุนัข เช่น รอบคอ ริมฝีปาก บริเวณหลังเลยหางขึ้นไป ตามซอกเล็บ และตามบริเวณก้นการกำจัดเห็บ หมัด อาจใช้น้ำมันสนหยดลงไปให้ถูกตัวเล็กน้อย จะทำให้มันหลุดออกมา หากดึงหมัดหรือเห็บขณะที่มันกำลังกัดติดอยู่กับบริเวณผิวหนังแรง ๆ อาจทำให้ผิวสุนัขเป็นแผล การป้องกันกำจัดเห็บหรือหมัดอาจใช้วิธีรักษาความสะอาดตัวสุนัข ใช้อุปกรณ์ในการกำจัดเห็บ เช่น ยกกำจัดเห็บ แป้งกำจัดเห็บ แชมพูกำจัดเห็บ ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์หรือทำด้วยความระมัดระวัง ควรทำการจับหมัดหรือเห็บทุก ๆ อาทิตย์ และทำความสะอาดที่นอนสุนัขด้วย แต่การฆ่ากำจัดเห็บเฉพาะที่ตัวสุนัข ไม่สามารถแกปัญหาได้ตลอด เพราะเห็บหรือหมัดเล่านี้จะอาศัยอยู่บริเวณที่อยู่ของสุนัข ดังนั้นควรใช้ยาฆ่าเห็บผสมกับน้ำผสมกับน้ำราดตามบริเวณที่สุนัขอาศัยอยู่ด้วย การกำจัดสิ่งเหล่านี้จะต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะประสบความสำเร็จ