การศึกษาทิศสำหรับการพยากรณ์

10. พยากรณ์ ศูนยพาหะ คัมภีร์โหราศาสตร์ฉบับมาตรฐาน ว่า ดังต่อไปนี้

 • หัวข้อหลักที่มีมาในเรื่องของทิศ และการศึกษาเรื่อง ทิศ เช่น



 ในทางโบราณาจารย์อาจได้กล่าวเรื่องทิศมาเป็นเบื้องต้น เช่นปรากฏในคัมภีร์ กล่าวว่า โดยรอบ ในทิศตรงทิศเฉียง และในท่ามกลางเป็นต้น. แสดงเรื่องในทิศต่างๆนั้นเป็นเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวางเป็นอาทิ เช่นที่ปรากฏมาในพระสูตรกล่าวถึงเรื่องอารมณ์อย่างทั่วไปว่า เป็น(อารมณ์นั้น เป็น) ไปในอดีต ปัจจุบัน และเป็นไปในอนาคต กล่าวว่าอนาคตนั้นให้กำหนดลงเป็นทิศเบื้องล่าง ส่วนการศึกษาเรื่องทิศในปัจจุบันนั้น ดังต่อไปนี้

 1. การหาระยะ และหาระดับใกล้ไกล จากอุปกรณ์ เข็มทิศ
       การกำหนดองศา องศาละ(ระยะ) แปรค่าด้วยการคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม แล้วได้ขนาดหรือระยะทาง เป็นต้น

 2. การใช้เข็มทิศ ในการศึกษาแผนที่และภูมิประเทศ
       การแปลงอัตราส่วนและมาตราส่วน การกำหนดพิกัด การอ่านและการจดจำรหัสและสัญลักษณ์บนภาพแผนที่ เป็นต้น

 3. เส้นระดับ(ระยะ)และตัวชี้บอกทิศทางของแรงแม่เหล็ก การอ่านเรือนหน้าปัดตามแบบซึ่งบอกเป็นตัวเลขเป็นกำหนดองศา ( ํ)
       เช่นเรื่องเส้นรุ้ง เส้นแวง ตารางกริด และการแสดงระนาบแบบเทียบรัศมีมณฑลท้องฟ้าเป็นต้น

 4. ชื่อทิศของไทย
       ได้แก่ ทิศาดร(อุดร) ทักษิณ บูรพา ประจิม อาคเนย์ เป็นต้น

 5. ชื่อทิศ ลมทิศ และการบอกลมมรสุมตามฤดูกาล
       เช่นชื่อลมสลาตัน เป็นชื่อลมในทิศ ที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้, ลมพัดหลวง ชื่อว่าลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ว่า ชื่อลมตะโก้) และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ ว่า เรียกลมชนิดหนึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในต้นฤดูร้อน ว่า ลมอุตรา. เป็นต้น

 6. คำอธิบายทั่วไป

พื้นผิววัตถุในระนาบเรียกว่า การกำกับและการกำหนดทิศในรัศมีวงกลมเป็น 360 องศา( ํ) คือทำสังเขปนั้นด้วยรัศมีเป็นการตกลงกันในโลก เพื่อแจ้งการกำหนดที่ตั้ง และทิศทาง จากปลายทาง ถึงต้นทาง ว่ากำหนดนับ หรือตั้งอยู่ที่ไหน ทำอย่างเรือนหน้าปัดนาฬิกา วางระนาบและกำหนดทิศหลักที่ต้องการ วางเข็มทิศแม่เหล็กเพื่อกำหนดที่ตั้งตามทิศเหนือ ทิศตะวันออกจึงมีค่าเท่ากับ 90 องศา และทิศใต้ จึงมีค่าเท่ากับ 180 องศา ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าทั้งทิศน้อยทิศใหญ่ และที่ไปในอนุจรทิศตามกันนั้น ได้ตรงความกันกับบทธรรมพอดี พอดีแก่คำเปรียบตามอย่างพระคัมภีร์พระไตรปิฎก อาทิเช่นที่ว่า “ดีแล้ว หรือที่ดี ที่อาจกระทำได้ดีนี้ ถึงอย่างไรก็คงไม่ถึง แม้เสี้ยวที่ 16(ทิศน้อยใหญ่แบ่งย่อยรวมกันเป็น 16 ทิศ) ของที่ท่านกระทำอยู่” ซึ่งเป็นสำนวนมาในการกล่าวถ่อมตน ว่ายังเรียนยังศึกษาน้อย เป็นต้น.(ทิศหลักสี่ทิศนั้นแบ่งเป็นทิศน้อยอีกสี่ทิศ เป็น 8 ทิศ เมื่อแบ่งอีก 8 ทิศนั้นเป็นอนุจรด้วยตามไป จึงเป็น 16 ทิศ หรือ สิบหกเสี้ยวอย่างคร่าวๆ และเมื่อนับควบรวมกะวันเพ็ญดิถีรวมแก่ปักษ์ทุกคาบ ให้ได้เป็น 15 คาบ เสี้ยวที่สิบหก!จึงตกลงเป็นคำด่าประณามก็มี ว่าทำอะไรก็ไม่อาจให้เห็นเป็นประโยชน์ได้ เหมือนเป็นสิ่ง หรือบุคคลที่อยู่ในเสี้ยวที่สิบ หานับประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ ที่จะได้คำรบครบคาบระนาบส่วนได้ตามที่ตั้งไว้ ก็ต้องยืนยันแต่ว่าหาไม่เห็น เพราะว่าเสี้ยวหนึ่งในลำดับที่สิบหกเกี่ยวกับจำนวนนับค่ำแรมเพ็ญนั้น ไม่มีถึงนั้น เพราะปักษ์หนึ่งนับได้แค่ 15 ฉะนั้นส่วนเสี้ยวที่ 16 จึงจำต้องไม่มี จะมีก็แต่ในที่ๆ พูดถึงทิศ ทิศนั้นอาจต้องมีถึงสิบหกทิศ มีไว้เป็นอย่างน้อย เพราะเป็นทวีคูณไปจากทิศทั้ง 8)

 7. การบอกองศาด้วยกำหนดเลขตามอย่างหน้าปัดนาฬิกา
       เที่ยงตรงว่า เท่ากับ 360 องศา

  1 นาฬิกา เท่ากับ 30 องศา
  2 นาฬิกา เท่ากับ 60 องศา
  3 นาฬิกา เท่ากับ 90 องศา
  4 นาฬิกา เท่ากับ 120 องศา
  5 นาฬิกา เท่ากับ 150 องศา
  6 นาฬิกา เท่ากับ 180 องศา
  7 นาฬิกา เท่ากับ 210 องศา
  8 นาฬิกา เท่ากับ 240 องศา
  9 นาฬิกา เท่ากับ 270 องศา . . .
 การแบ่งอย่างนาฬิกานี้ อาจทำกำหนดพยากรณ์อย่างพยากรณ์ปทุมโชคแบบโหร เป็นต้น ก็อาจเป็นได้

 8. และด้วยกันกะวิชาโหรนั้น แต่ก่อนกำหนดให้มีการศึกษาการบอกเวลาจากแสงแดด ตามกำหนดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
       เช่นเรื่องมณฑลอาทิตย์โคจรขึ้นเหนือลงใต้ ซึ่งเป็นกำหนดในประเทศนั้น แล้วให้บอกเวลาตามองศาราศีและบอกเป็นนาทีเป็นต้น

 9. การกำหนดชื่อหลักเทียบ แบบภาษาไทย ที่เทียบไว้โดย สุรศักดิ์ ชวยานันท์ มีดังนี้.

Link=
Link=
๑. N = ทิศอุดร
๒. NNE = ทิศอุตรีสาน
๓. NE = ทิศอีสาน
๔. ENE = ทิศบุริมีสาน
๕. E = ทิศบูรพา
๖. ESE = ทิศบูริมาคเนย์
๗. SE = ทิศอาคเนย์
๘. SSE = ทิศทักษิณาคเนย์
๙. S = ทิศทักษิณ
๑๐. SSW = ทิศทักษิณเนรดี
๑๑. SW = ทิศหรดี
๑๒. WSW = ทิศปัจฉิมเนรดี
๑๓. W = ทิศประจิม
๑๔. WNW = ทิศปัจฉิมพายัพ
๑๕. NW = ทิศพายัพ
๑๖. NNW = ทิศอุดรพายัพ



พระเคราะห์ใดๆ เป็น ๒ กับลัคนา พระเคราะห์นั้นเรียกว่าศูนยพาห คำว่าศูนยพาหนี้ ต้องแยกออกเป็น ๒ ศัพท์ จึงจะเข้าใจเนื้อความได้ดี ศูนย์แปลว่าอากาศ หรือที่ว่าง พาห บางทีเราใช้ว่าพาห์ แปลว่าผู้พาไปหรือผู้นำไป เมื่อรวมกันเข้าทั้งสองศัพท์แล้ว ก็แปลว่าผู้นำไปในอากาศ คือหมายเอาพระเคราะห์ที่นำหน้าลัคน์ พระเคราะห์ที่นำหน้าลัคน์หรือศูนยพาหนี้ ย่อมให้คุณแก่เจ้าชะตาและบริษัทบริวารยิ่งนัก เหมือนอย่างดวงพระชะตาของสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า พระจันทร์เป็นอุจจาวิลาสและมหาจักรนำหน้าพระราชลัคนา ดังนี้

ลำดับพระเคราะห์

พระองค์ก็ทรงนำประเทศไปสู่ความเจริญเหลือที่จะนับประมาณได้ ดังนั้นพระบรมรูปทรงม้าจึงเป็นที่สักการะของประชาชน หาวันเสื่อมมิได้ ส่วนการพยากรณ์ตามลำดับพระเคราะห์ท่านแสดงไว้ดังนี้

๑ เป็นศูนยพาห จะมีบุญฤทธิ์และโภคทรัพย์มาก
๒ เป็นศูนยพาห จะมีความสุขความเจริญมาก
๓ เป็นศูนยพาห จะมียศเป็นทหารแกล้วกล้าสามารถ
๔ เป็นศูนยพาห จะเป็นอำมาตย์มีสมบัติมาก
๕ เป็นศูนยพาห จะมีปัญญาดีสุขุมดีนัก
๖ เป็นศูนยพาห จะรุ่งเรืองเกียรติยศ ยิ่งด้วยบุตรภรรยา มีมิตรสหายมาก ปัญญาดี เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย
๗ เป็นศูนยพาห จะมีฤทธิ์มียศเป็นที่ยำเกรงของผู้ใหญ่
๘ เป็นศูนย์พาห จะมีกำลังเข้มแข็งนักแล