การพูด/การพูดสุนทรพจน์

สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ดีงาม ไพเราะจับใจ การพูดสุนทรพจน์มักมีในพิธีสำคัญ เช่น พิธีต้อนรับแขกเมืองคนสำคัญ พิธีได้รับตำแหน่งสำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีหรือกล่าวในงานฉลองระลึกถึงบุคคลสำคัญ วันสำคัญ ระดับชาติ หรือเป็นการกล่าวในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงใจ เป็นคำพูดที่แสดงความปรารถนาดีในทางการเมือง การกล่าวสุนทรพจน์เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง มักได้รับการยกย่องว่าเป็นการพูดชั้นยอด 

ลักษณะการพูดสุนทรพจน์                   ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม กระตุ้นผู้ฟัง มีความมั่นใจและยินดีร่วมมือ สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษาและให้ความสุขแก่ผู้ฟัง 

โครงสร้างทั่วไปของการพูดสุนทรพจน์                  ๑. ตอนเปิดเรื่อง กระตุ้นให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะพูด        ๒. ดำเนินเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาสาระลำดับความสำคัญอย่างชัดเจน       ๓. ตอนจบเรื่อง สรุปความทิ้งท้ายให้ผู้ฟังนำไปคิด หรือฝากไว้ในความทรงจำตลอดไป โครงสร้าง

ขั้นตอนของสุนทรพจน์                            คำนำ หรือการเริ่มต้น (Introduction) เป็นการบอกกล่าวว่าผู้พูดเป็นใคร พูดในฐานะอะไรในโอกาสใด แล้วนำเข้าสู่เนื้อหาด้วยวิธีการที่เร้าความสนใจ เช่นใช้สุภาษิต คำคม หรือเหตุการณ์ปัจจุบันที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่จะกล่าวต่อไป           เนื้อเรื่อง หรือสาระสำคัญของเรื่อง (Discussion) ควรแยกประเด็นเป็นข้อๆ โดยคำนึงถึงเอกภาพ คือความเป็นหนึ่งเดียวของเรื่อง สัมพันธภาพคือความเกี่ยวเนื่องกัน และสารัตถภาพ หรือการเน้นย้ำประเด็นสำคัญของเรื่อง และประเด็นต้องมีข้อมูลหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และมีตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน                     สรุปจบ หรือการลงท้าย (Conclusion) อาจทำได้หลายวิธี เช่น สรุปทบทวนประเด็นเนื้อหาเสนอข้อคิด หรือแนวทางการปฏิบัติเน้นประเด็นสำคัญ และแสดงความหวังว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้           "ขึ้นต้นให้ตื่นเต้น ตอนกลางให้กลมกลืน และตอนจบให้จับใจ "

ดูเพิ่ม

แก้ไข

การพูด