การปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยจากการเล่นกีฬา

การปฐมพยาบาล แก้ไข

เมื่อข้อต่อส่วนนั้น ๆ ได้รับบาดเจ็บ จะทำให้โลหิตในส่วนนั้นไหลเข้าไปในส่วนของข้อต่อ Symovial เป็นเหตุให้มีการซ้ำบวมในส่วนข้อต่อนั้น การกดด้วยน้ำแข็งหรือความเย็น (Ice Pack) จะช่วยให้ลดอาการบวมได้ หรือการเข้าเฝือกส่วนข้อต่อที่บาดเจ็บแล้วพันรอบด้วยผ้าพันแผล

การฟกช้ำ (Conlusion) แก้ไข

การปฐมพยาบาล

ใช้ความเย็นประคบบริเวณที่ถูกกระแทกนั้น เป็นระยะ ๆ ประมาณ 10-20 นาที ติดต่อกัน 3-4 ระยะ และก็ไม่ควรถูกหรือนวดส่วนที่บาดเจ็บนั้นโดยทันที ถ้าบาดเจ็บบริเวณที่ติดกับกระดูก เช่น หน้าแข้ง หนังศีรษะ อาจจะใช้ผ้าพันรอบไว้ให้แน่น พยายามยกส่วนที่บาดเจ็บนั้นให้สูงไว้เสมอ และก็ไม่ควรให้ส่วนที่บาดเจ็บนั้นรับน้ำหนักหลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้ว การใช้ความร้อนและการนวดเบา ๆ ก็ควรทำได้เพื่อให้บริเวณทีบาดเจ็บนั้นมีระบบ การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น การใช้ครีมหรือยาที่มีความร้อนทาก่อนนวดเบา ๆ จะช่วยให้อาการฟกช้ำยุบได้เร็วขึ้น และการให้บริเวณที่บาดเจ็บได้ออกกำลังกาย ( Exercise) เอง ก็จะช่วยให้การบาดเจ็บหายเร็วยิ่งขึ้น

กล้ามเนื้อฉีกขาด (Strain) แก้ไข

การปฐมพยาบาล

ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าพักกล้ามเนื้อส่วนที่บาดเจ็บนั้นให้นานที่สุด อาจใช้พลาสเตอร์หรือ ฟ้าพันรอบบริเวณ นั้นหลาย ๆ รอบ ภายใน 25 ชั่วโมงแรก ใช้ความเย็นประคบ ช่วยไม่ให้เลือดออกมากในกล้ามเนื้อส่วนที่ ฉีกขาดนั้น หลังจากนั้นต้องพักการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้นจน ไม่มีอาการเจ็บปวดอีก การใช้ความร้อนและการนวดเบา ๆ ด้วยยาหรือครีมที่มีความร้อนก็ใช้ได้หลังจาก 25 ชั่วโมงไปแล้ว และให้บริเวณนั้นได้รับการออกกำลังกายเบา ๆ จะทำให้หายเร็วขึ้น

การเคล็ดหรือแพลง(Sprain) แก้ไข

การปฐมพยาบาล

ใช้ความเย็นประคบบริเวณที่บาดเจ็บนั้นใน 25 ชั่วโมงแรก และใช้ผ้าพันรอบบริเวณนั้นไม่ให้มีการเคลื่อนไหว ในการใช้ความเย็นประคบใช้ประมาณ 3 - 4 ระยะ ๆ ละประมาณ 10 - 20 นาที ภายหลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้ว การประคบด้วยความร้อนและการนวดเบา ๆ ด้วยครีมปาล์มต่าง ๆก็ใช้ได้ การทำให้ส่วนข้อต่อที่บาดเจ็บนั้นได้รับการเคลื่อนไหวเองก็จะทำให้การบาดเจ็บหายเร็วขึ้น การปฐมพยาบาลที่ผิดวิธี มีการพบเสมอ ๆ คือ การนวดหรือประคบด้วยความร้อนทันที เมื่อได้รับการบาดเจ็บขึ้นจะทำให้โลหิตไหลออกสู่บริเวณนั้นมากและคั่งในส่วนของข้อต่อ จนกระทั่งให้แพทย์เจาะออกก็มีในบางราย ในบางครั้งการแพลงอาจรุนแรง จนมีการกระชากเอากระดูกชิ้นเล็ก ๆ แตกออกมาด้วย ในกรณีเช่นนี้การส่งถึงแพพย์ทำการเอกซเรย์และให้การรักษาอย่างถูกวิธีจะทำให้หายเป็นปกติ

ข้อเคลื่อนหรือหลุด (Dislocation) แก้ไข

การปฐมพยาบาล

การจัดให้เข้าที่โดยทันทีได้จะยิ่งดี เพราะการรอไว้จะเจ็บปวดมากและอาจจะกระทำได้ยากขึ้น เพราะกล้ามเนื้อตึง ถึงไม่เคยกระทำหรือไม่แน่ใจ ให้ยึดส่วนที่หลุดไว้ในท่าที่เจ็บน้อยที่สุด และให้เกิดการเคลื่อนไหวน้อยที่สุดอีกด้วย ขั้นตอนต่อไป คือรีบนำส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด และข้อควรระวัง คือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยควรจะกระทำให้ถูกวิธี ถ้าระยะทางไกลควรให้ยาแก้ปวดเพื่อระงับความเจ็บปวด ควรได้รับการใช้ความเย็น (น้ำแข็ง) ประคบเพื่อระงับอาการเจ็บปวดก็ใช้ได้เช่นกัน การรักษาที่ถูกวิธีจะทำให้ผู้บาดเจ็บกลับสู่สภาพเดิมเร็วขึ้น

กระดูกหัก(Fracture) แก้ไข

การปฐมพยาบาล

ให้ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้นควบคู่กับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการเข้าเฝือกฉุกเฉิน

ตะคริว(Cramp) แก้ไข

การปฐมพยาบาล

การหดเกร็งของกล้ามเนื้อสามารถคลายออกได้ โดยการใช้กำลังยืดกล้ามเนื้อตามทิศทางการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อส่วนน่องซึ่งทำหน้าที่เหยียดปลายเท้า ขณะเป็นตะคริวจะหดเกร็งและทำให้ปลายเท้าเหยียด การใช้กำลังดันปลายเท้าเข้าหาเข่า โดยค่อย ๆ เพิ่มกำลังดัน จะช่วยเหยียดกล้ามเนื้อน่องได้ การใช้ความร้อนประคบหรือการนวดเบา ๆ จะช่วยให้เลือดมาหล่อเลี้ยงส่วนนั้น ๆ

หมดสติเพราะศีรษะกระแทก แก้ไข

การปฐมพยาบาล

การช่วยเหลือให้จับผู้ป่วยนอนราบหรือครึ่งนั่งครึ่งนอน ตะแคงศีรษะแล้วรีบนำส่งแพทย์ ถ้าผู้ป่วยฟื้นได้เองต้องหยุดเล่นทันที แล้วให้นอนพัก ใช้น้ำแข็งประคบศีรษะ และต้องส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจอาการบาดเจ็บอย่างละเอียด